“E-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นรูปแบบของหนังสือที่เสามารถอ่านในอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต หรืออะไรอย่างอื่นที่เปิดอ่านไฟล์ในรูปแบบดิจิตอลได้”
ซ่อนนาม จากกระทู้ “ทำ E-Book โอกาสหรือกับดัก ?”
https://ppantip.com/topic/30676456
เรื่องมันเริ่มต้นที่ผมอยากอ่านการ์ตูนเรื่องหนึ่ง
แต่ผมไม่รู้ว่ามันสนุกรึเปล่า ?
ถ้าไม่สนุก จะทำยังไงกับหนังสือที่ซื้อมาแล้ว ?
พื้นที่เก็บหนังสือเองก็แทบไม่มีเหลือพอเก็บแล้ว
...
เรื่องนี้มีฉบับ e-book ขายรึเปล่าน่ะ ?
คนที่ชอบอ่านหนังสือมักมีความเห็นต่อ E-book ไปในทางที่คล้าย ๆ กันคือ มันไม่ได้ความรู้สึกเหมือนอ่านแบบที่เป็นรูปเล่ม
สัมผัสของกระดาษ, กลิ่นหมึกที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสำนักพิมพ์, เสียงกระดาษเสียดสีเวลาพลิกหน้ากระดาษ
ส่วนตัวแล้ว ผมก็คิดเหมือนหลาย ๆ คนที่ชอบอ่านหนังสือเป็นเล่มมากกว่า
แต่อย่างที่เกริ่นไว้ ด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ อย่างทำให้ผมตัดสินใจทดลองอ่าน E-book ดู
และนี่คือมุมมองความคิดของผมที่มีต่อ E-book และรูปแบบการทำธุรกิจ E-book จากการทดลองอ่านมาได้ราว ๆ 3 เดือน
1. ทุกเล่มมี sample
สารภาพมาซะว่ามีใครที่เคยซื้อหนังสือการ์ตูน, LN มาแล้วไม่ถูกใจบ้าง
งานภาพไม่เห็นเหมือนบนปก, เนื้อเรื่องไม่ใช่แนว, ไม่เอาปวดตับ ฯลฯ
ผมก็เคย
และที่ซื้อมาก็เพราะไม่มีทางเลือก ที่ร้านไม่มีตัวอย่างให้อ่าน เรื่องย่อปกหลังบางทีก็ไม่บอกอะไร เลยต้องวัดดวงซื้อมาอ่านเอา
มีหลายเรื่องไม่น้อยที่แทบอยากจะโยนทิ้ง มันไม่ใช่อะกิ๊ป
แต่ด้วย sample ทำให้ผู้อ่านลดโอกาสที่จะเสียเงินฟรี ๆ ไปกับเรื่องที่ไม่ชอบได้มาก
แต่ในทางกลับกันก็ทำให้ผู้อ่านเจอเรื่องที่ตนเองชอบจากการทดลองอ่าน sample ได้เช่นกัน
ในเรื่องของ sample จึงมีกระทบกับผู้เขียน/สำนักพิมพ์ทั้งในแง่ดีและไม่ดี
แต่ผู้อ่านนั้นได้เต็ม ๆ
ปล. เรื่องนี้จะไม่มีผลต่อผู้อ่านที่ชอบอ่านนิยายหรือหนังสือปกติทั่วไปเพราะหนังสือเหล่านั้นไม่มีมีการซีลถุงพลาสติกทำให้ทดลองอ่านก่อนซื้อได้
2. ซื้อง่ายได้ทุกที่ทุกเวลา (ที่มี internet)
เคยไหมที่อ่าน ๆ อยู่แล้วก็เล่มนั้นก็จบแบบค้างคาสุด ๆ หรือไม่ก็ติดลม
ทีนี้ลองนึกดูว่าอ่านจบตอน 3-4 ทุ่มหรือดึกกว่านั้นดู จะออกไปซื้อเล่มต่อก็ไม่ได้เพราะร้านปิดแล้ว
เผลอ ๆ เล่มต่อไม่มีขายด้วยเพราะหมดหรือออกมานานจนเก่าเกินขึ้นชั้นวางหรือมีแต่เล่มที่โดดข้ามไปอีก 2-3 เล่ม
หรือบางทีก็ร้านหนังสือแถวนั้นไม่มี
เมื่อวางขายแบบ E-book ทำให้ปัญหาเรื่องที่ว่ามาหมดไปและทำให้ผู้เขียน/สำนักพิมพ์สามารถขายหนังสือได้ตลอด 24 ชม.
และขายได้ไม่ว่าผู้ซื้อจะซื้อจากที่ไหนก็ได้ ไม่อยู่ในประเทศก็ขายได้ขอเพียงเข้า internet ได้ก็พอ ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้เขียน/สำนักพิมพ์
ประสบการณ์ส่วนตัวคือตอนรอขึ้นเครื่องบินครั้งหนึ่งเครื่องเกิดดีเลย์ ระหว่างรอโดยไม่มีอะไรทำก็เลยซื้อ E-book มาอ่าน ณ ตรงนั้นเลย ก่อนขึ้นเครื่องก็ซื้อตุนขึ้นไปอ่านบนเครื่องด้วย
แต่กับผู้อ่านแล้วมีผลเสียเล็กน้อยคือ มีแนวโน้มที่ค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือจะเพิ่มขึ้นเพราะซื้อได้ง่าย
3. ประหยัดพื้นที่จัดเก็บ
อย่างที่ผมเกริ่นไว้ว่าเริ่มทดลองอ่าน E-book เพราะมีปัญหาในการจัดเก็บ
ช่วงที่ซื้อแรก ๆ นั้นไม่ได้มีความรู้สึกว่ามันจะช่วยประหยัดพื้นที่ได้สักเท่าไหร่เลย
แต่เมื่อซื้ออ่านเยอะ ๆ เข้า สัก 10 เล่มขึ้นไปผมก็เริ่มเข้าใจ
ถึงจะซื้อมาตั้ง 10 เล่มแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปกังวลว่าจะเก็บหนังสือที่ไหนดีเลย
ปัญหาเรื่องฝุ่นจับก็ไม่มี ไม่ต้องเสียเวลามาทำความสะอาดตู้หนังสือด้วย
สบายสุด ๆ
แต่ก็มาพร้อมข้อเสีย ที่คิดว่าอาจจะเป็นความคิดส่วนตัวสักหน่อยแต่จะขออธิบายไว้ด้วย
คือ ทำให้มีความคิดที่จะโละหนังสือแบบเป็นเล่มขึ้นมา เก็บเฉพาะ Master piece ที่ตัวเองชอบเท่านั้น
ผมรู้สึกได้เลยว่าในอนาคตนักอ่านรุ่นใหม่ ๆ อาจจะคิดแบบนี้มากขึ้นและทำให้ยุคของหนังสือเป็นรูปเล่มจบลง
ส่วนผู้เขียน/สำนักพิมพ์เองก็สามารถลดภาระในการจัดเก็บหนังสือสินค้าลงไปได้เพราะไม่จำเป็นต้องพิมพ์สต๊อกไว้มาก
และนั้นหมายถึงหากเกิดอะไรขึ้นกับสำนักพิมพ์ หนังสือก็จะยังคงถูกเก็บรักษาไว้ได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปทำลาย
จำข่าวที่ว่ามีการโละทำลายหนังสือจำนวนมากของสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งได้ไหมครับ
http://www.thaidk.com/dk2016.html
4. ความรู้สึกในการอ่าน เมื่อเทียบกับเป็นรูปเล่ม
สำหรับคนที่อ่านหนังสือแบบเล่มมาก่อนมักจะไม่ชอบ e-book ด้วยปัญหาคลาสสิคคือ ไม่ได้อารมณ์แบบอ่านเป็นเล่ม
แต่ตอนผมทดลองอ่านช่วงแรก ๆ กลับพบว่ามันก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น
หรือในทางกลับกัน เรา ๆ เริ่มชินกับการอ่าน “ข้อความ” บนหน้าจอกันแล้ว
Smart phone, Tablet, Facebook, Line, social media ต่าง ๆ ทำให้เราคุ้นชินกับการอ่านบนหน้าจอ
สำหรับการ์ตูนเอง ผู้อ่านจำนวนไม่น้อยก็เคยมีประสบการณ์อ่านบนหน้าจอมาก่อนอยู่แล้ว
การอ่านผ่านหน้าจอในบางแง่มุมกลับเป็นผลดีต่อผู้อ่านซ้ำ เช่น โหมด Night ที่ทำให้หน้ากระดาษเป็นสีดำและตัวหนังสือเป็นสีขาวหรือสีครีม ทำให้อ่านหนังสือประเภทนิยาย, บทความหรือประเภทที่มีตัวหนังสือมาก ๆ ได้ง่ายขึ้นในบางสถาณการณ์
และสำหรับการ์ตูนที่เต็มไปด้วยรูปภาพขาวดำยังมีโหมด sepia ที่ทำให้หน้ากระดาษสีเหมือนกระดาษถนอมสายตาอีกด้วย
อีกจุดที่สำคัญคือคุณภาพกระดาษที่ใช้พิมพ์และคุณภาพการพิมพ์ไม่มีผลกับ E-book
หนังสือบางเล่มโดยเฉพาะการ์ตูนนั้นคุณกระดาษที่ใช้พิมพ์และคุณภาพการพิมพ์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางถึงขั้นแย่เพื่อให้ทำราคาต้นทุนได้แต่เมื่ออ่านด้วย E-book แล้ว ไม่ว่าเป็นการ์ตูนเล่มไหนก็ให้ภาพที่ดีและคมชัดได้
ทิศทางของนักเขียน/สำนักพิมพ์ต่อการขาย E-book
จากมุมมองของผู้เขียน E-book เริ่มสร้างผลกระทบต่อผู้เขียน/สำนักพิมพ์ในประเด็นต่อไปนี้
นักเขียนที่มีชื่อเริ่มจำหน่ายผลงานของตัวเองโดยไม่ผ่านสำนักพิมพ์มากขึ้น
ช่วงนี้ผมเริ่มเห็นนักเขียนชื่อดังเริ่มวางจำหน่ายผลงานตัวเองโดยไม่สังกัดสำนักพิมพ์มากขึ้น อนาคตนักเขียนอาจจะไม่จำเป็นต้องพึ่งพาหรือสังกัดกับสำนักพิมพ์เพื่อเผยแพร่ผลงานของตัวเองอีกต่อไปด้วยสาเหตุต่าง ๆ นา ๆ เช่น อิสระในการสร้างผลงานหรือรายรับที่เข้ากระเป๋านักเขียนเต็ม ๆ
ถ้าอนาคตทิศทางมาทางนี้จริงสำนักพิมพ์คงจะต้องปรับตัวครั้งใหญ่ การจัดกิจกรรม workshop ต่าง ๆ ในไทยของ Kadokawa สำนักพิมพ์ใหญ่ของญี่ปุ่นที่มาทำตลาดในไทยโดยตรงนั้นอาจจะบ่งบอกถึงอะไรบ้างอย่างถึงทิศทางของสำนักพิมพ์ในอนาคตก็ได้
นักเขียนหน้าใหม่มีช่องทางจำหน่ายผลงานของตัวเองที่หลากหลายขึ้น
ในอดีตนักเขียนหน้าใหม่ไม่มีทางเลือกที่จะต้องสังกัดกับสำนักพิมพ์เพื่อสร้างผลงานเพราะจำเป็นต้องพึ่งพาสำนักพิมพ์ในการเผยแพร่งานเขียนและช่วยในการควบคุมและอาจรวมถึงพัฒนาคุณภาพของผลงานให้ดีขึ้นด้วย เป็นรูปแบบของน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าในระดับหนึ่ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือซี่รีย์ แฮรี่ พอตเตอร์ เล่มแรกที่ผู้เขียนนำไปเสนอแก่สำนักพิมพ์หลายที่แต่ไม่มีใครรับจนกระทั้งสำนักพิมพ์ Bloomsbury ตกลงตีพิมพ์ถึงจะได้รับการเผยแพร่
แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีผลงานชื่อดังมากมายที่แจ้งเกิดได้โดยผ่านการเผยแพร่ผลงานด้วยตัวนักเขียนเองทาง internet ก่อนที่จะถูกตีพิมพ์เป็นเล่มภายใต้สำนักพิมพ์ เช่น Sword art online, Goblin slayer เป็นต้น จุดนี้ยิ่งตอกย้ำความเปลี่ยนแปลงที่สำนักพิมพ์จะต้องเตรียมพร้อมรับมือในอนาคต
เพิ่มโอกาสอยู่รอดของสำนักพิมพ์
ต้นทุนสำคัญของสำนักพิมพ์ที่หลีกหนีไม่ได้คือค่าใช้จ่ายในการพิมพ์, พื้นที่ที่ใช้ในการพิมพ์, จัดเก็บหมึกและกระดาษวัตถุดิบรวมถึงพื้นที่จัดเก็บหนังสือที่พิมพ์และเข้าเล่มเสร็จเรียบร้อยรอจำหน่ายหรือหนังสือที่เรียกกลับคืนรอวางแผงอีกครั้งหรือนำไปทำลาย
รายได้และกำไรถ้าไม่มีธุรกิจเสริมก็จะมาจากการขายหนังสือที่พิมพ์ได้ ถ้าขายไม่ได้จนต้องทำลายหนังสือก็เท่ากับว่าเสียเงินค่าจัดพิมพ์ไปเปล่า ๆ ธุรกิจสิ่งพิมพ์จึงเป็นอะไรที่ยากในการตัดสินใจ หากต้องการขายให้ได้ก็ต้องพิมพ์ให้มากเพื่อที่จะวางขายได้ทุกที่แต่ถ้าพิมพ์ออกมากแล้วขายไม่ได้สำนักพิมพ์ก็จะขาดทุนค่าจัดพิมพ์จำนวนมากและยังต้องเสียพื้นที่เก็บหนังสือที่ขายไม่ออกอีกด้วย
ด้วย E-book สำนักพิมพ์จะมีตัวเลือกให้เล่นเกมทางการตลาดมากขึ้น ผู้เขียนพบว่าบางสำนักพิมพ์ใช้วิธีออกหนังสือฉบับรูปเล่มพร้อม ๆ กับ E-book เพื่อลดจำนวนการพิมพ์แบบเป็นเล่มลงแล้วชดเชยความต้องการที่ขาดด้วยฉบับ E-book หรือ บางสำนักพิมพ์เมื่อขายฉบับรูปเล่มไประยะหนึ่งแล้วก็ค่อยเริ่มขายฉบับ E-book เพื่อเก็บตกหรือขายให้กับผู้ที่ไม่สามารถหาซื้อฉบับเป็นเล่มได้เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น สำนักพิมพ์เลิกพิมพ์ เป็นต้น
อนาคตของสำนักพิมพ์
ความนิยมของ E-book ย่อมกระทบต่อสำนักพิมพ์ จากความเคลื่อนไหวของ Kadokawa ในไทยทำให้ผมเห็นว่าเค้าเตรียมการปรับตัวเพื่อรับมือกับยุค E-book โดยตั้งตำแหน่งของสำนักพิมพ์ไว้ที่
- ผู้ช่วยให้คำแนะนำในการพัฒนาผลงานของนักเขียน
แต่ละสำนักพิมพ์ย่อมมีนักเขียนและบรรณาธิการระดับมืออาชีพอยู่ในสังกัดอยู่แล้ว การเสนอตัวเป็นผู้ช่วยให้คำแนะนำในการพัฒนาผลงานของนักเขียนด้วยนักเขียนและบรรณาธิการชื่อดังที่มีอยู่ถือว่าเป็นข้อตกลงที่น่าเย้ายวนที่จะทำให้นักเขียนยอมเข้ามาอยู่ในสังกัด
- เป็นตัวแทนในการเผยแพร่งานเขียนไปยังกลุ่มที่นักเขียนเองเข้าไม่ถึง
แม้นักเขียนจะสามารถเผยแพร่ผลงานผ่าน internet ได้แล้วแต่การที่จะให้ผลงานของตนเป็นที่รู้จักในต่างประเทศหรือในระดับโลกนั้นยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยากโดยปราศจากความช่วยเหลือของสำนักพิมพ์
- เฟ้นหานักเขียนหน้าใหม่
ตรงตามตัวอักษรคือการหานักเขียนหน้าใหม่มาสังกัดสำนักพิมพ์ของตนเพื่อสร้างผลงาน การหาตัวนักเขียนหน้าใหม่ก็มักจะทำผ่านการประกวดหรือกิจกรรม workshop ที่สำนักพิมพ์จัดขึ้น
พูดไปแล้วก็ดูคล้ายสโมสรฟุตบอลที่มีการค้นหาและปั้นดาวรุ่งผ่านอคาดิมี่ของสโมสรเอง, ซื้อตัวนักเตะมาสร้างผลงานหรือซื้อตัวมาปั้นให้ดังแล้วจึงขายปล่อยตัวย้ายสโมสร
และนี่คือสิ่งที่ผู้เขียนคิดเห็นต่อการอ่าน E-book , ความเป็นไปได้ในอนาคตและธุรกิจที่จะกระทบในอนาคต
ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคือ หนังสือแบบเป็นเล่มจะไม่หายไปไหน E-book ก็เช่นกัน
หนังสือแบบเป็นเล่มจะสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น เพราะผมเชื่อว่าในอนาคตคนจะ “อ่าน” ผ่านหน้าจอกันมากยิ่งกว่านี้และ “หนังสือ” จะกลายเป็น merchandise อย่างหนึ่งในฐานะของสะสมหรือสินค้าพรีเมี่ยมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบ คล้าย ๆ กับ Figure หรือ nendoroid เป็นต้น
นักสะสมหนังสือบางคนที่จะซื้อหนังสือที่จะสะสมเล่มเดียวกัน 3 เล่ม
1 เพื่ออ่าน
1 เพื่อเก็บสะสม
และอีก 1 สำรอง
ในอนาคต “เล่มเพื่ออ่าน” อาจจะหายไปเป็น E-book แทน ก็เป็นได้
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “เมื่อเริ่มอ่าน E-book”
ซ่อนนาม จากกระทู้ “ทำ E-Book โอกาสหรือกับดัก ?” https://ppantip.com/topic/30676456
เรื่องมันเริ่มต้นที่ผมอยากอ่านการ์ตูนเรื่องหนึ่ง
แต่ผมไม่รู้ว่ามันสนุกรึเปล่า ?
ถ้าไม่สนุก จะทำยังไงกับหนังสือที่ซื้อมาแล้ว ?
พื้นที่เก็บหนังสือเองก็แทบไม่มีเหลือพอเก็บแล้ว
...
เรื่องนี้มีฉบับ e-book ขายรึเปล่าน่ะ ?
คนที่ชอบอ่านหนังสือมักมีความเห็นต่อ E-book ไปในทางที่คล้าย ๆ กันคือ มันไม่ได้ความรู้สึกเหมือนอ่านแบบที่เป็นรูปเล่ม
สัมผัสของกระดาษ, กลิ่นหมึกที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสำนักพิมพ์, เสียงกระดาษเสียดสีเวลาพลิกหน้ากระดาษ
ส่วนตัวแล้ว ผมก็คิดเหมือนหลาย ๆ คนที่ชอบอ่านหนังสือเป็นเล่มมากกว่า
แต่อย่างที่เกริ่นไว้ ด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ อย่างทำให้ผมตัดสินใจทดลองอ่าน E-book ดู
และนี่คือมุมมองความคิดของผมที่มีต่อ E-book และรูปแบบการทำธุรกิจ E-book จากการทดลองอ่านมาได้ราว ๆ 3 เดือน
1. ทุกเล่มมี sample
สารภาพมาซะว่ามีใครที่เคยซื้อหนังสือการ์ตูน, LN มาแล้วไม่ถูกใจบ้าง
งานภาพไม่เห็นเหมือนบนปก, เนื้อเรื่องไม่ใช่แนว, ไม่เอาปวดตับ ฯลฯ
ผมก็เคย
และที่ซื้อมาก็เพราะไม่มีทางเลือก ที่ร้านไม่มีตัวอย่างให้อ่าน เรื่องย่อปกหลังบางทีก็ไม่บอกอะไร เลยต้องวัดดวงซื้อมาอ่านเอา
มีหลายเรื่องไม่น้อยที่แทบอยากจะโยนทิ้ง มันไม่ใช่อะกิ๊ป
แต่ด้วย sample ทำให้ผู้อ่านลดโอกาสที่จะเสียเงินฟรี ๆ ไปกับเรื่องที่ไม่ชอบได้มาก
แต่ในทางกลับกันก็ทำให้ผู้อ่านเจอเรื่องที่ตนเองชอบจากการทดลองอ่าน sample ได้เช่นกัน
ในเรื่องของ sample จึงมีกระทบกับผู้เขียน/สำนักพิมพ์ทั้งในแง่ดีและไม่ดี
แต่ผู้อ่านนั้นได้เต็ม ๆ
ปล. เรื่องนี้จะไม่มีผลต่อผู้อ่านที่ชอบอ่านนิยายหรือหนังสือปกติทั่วไปเพราะหนังสือเหล่านั้นไม่มีมีการซีลถุงพลาสติกทำให้ทดลองอ่านก่อนซื้อได้
2. ซื้อง่ายได้ทุกที่ทุกเวลา (ที่มี internet)
เคยไหมที่อ่าน ๆ อยู่แล้วก็เล่มนั้นก็จบแบบค้างคาสุด ๆ หรือไม่ก็ติดลม
ทีนี้ลองนึกดูว่าอ่านจบตอน 3-4 ทุ่มหรือดึกกว่านั้นดู จะออกไปซื้อเล่มต่อก็ไม่ได้เพราะร้านปิดแล้ว
เผลอ ๆ เล่มต่อไม่มีขายด้วยเพราะหมดหรือออกมานานจนเก่าเกินขึ้นชั้นวางหรือมีแต่เล่มที่โดดข้ามไปอีก 2-3 เล่ม
หรือบางทีก็ร้านหนังสือแถวนั้นไม่มี
เมื่อวางขายแบบ E-book ทำให้ปัญหาเรื่องที่ว่ามาหมดไปและทำให้ผู้เขียน/สำนักพิมพ์สามารถขายหนังสือได้ตลอด 24 ชม.
และขายได้ไม่ว่าผู้ซื้อจะซื้อจากที่ไหนก็ได้ ไม่อยู่ในประเทศก็ขายได้ขอเพียงเข้า internet ได้ก็พอ ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้เขียน/สำนักพิมพ์
ประสบการณ์ส่วนตัวคือตอนรอขึ้นเครื่องบินครั้งหนึ่งเครื่องเกิดดีเลย์ ระหว่างรอโดยไม่มีอะไรทำก็เลยซื้อ E-book มาอ่าน ณ ตรงนั้นเลย ก่อนขึ้นเครื่องก็ซื้อตุนขึ้นไปอ่านบนเครื่องด้วย
แต่กับผู้อ่านแล้วมีผลเสียเล็กน้อยคือ มีแนวโน้มที่ค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือจะเพิ่มขึ้นเพราะซื้อได้ง่าย
3. ประหยัดพื้นที่จัดเก็บ
อย่างที่ผมเกริ่นไว้ว่าเริ่มทดลองอ่าน E-book เพราะมีปัญหาในการจัดเก็บ
ช่วงที่ซื้อแรก ๆ นั้นไม่ได้มีความรู้สึกว่ามันจะช่วยประหยัดพื้นที่ได้สักเท่าไหร่เลย
แต่เมื่อซื้ออ่านเยอะ ๆ เข้า สัก 10 เล่มขึ้นไปผมก็เริ่มเข้าใจ
ถึงจะซื้อมาตั้ง 10 เล่มแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปกังวลว่าจะเก็บหนังสือที่ไหนดีเลย
ปัญหาเรื่องฝุ่นจับก็ไม่มี ไม่ต้องเสียเวลามาทำความสะอาดตู้หนังสือด้วย
สบายสุด ๆ
แต่ก็มาพร้อมข้อเสีย ที่คิดว่าอาจจะเป็นความคิดส่วนตัวสักหน่อยแต่จะขออธิบายไว้ด้วย
คือ ทำให้มีความคิดที่จะโละหนังสือแบบเป็นเล่มขึ้นมา เก็บเฉพาะ Master piece ที่ตัวเองชอบเท่านั้น
ผมรู้สึกได้เลยว่าในอนาคตนักอ่านรุ่นใหม่ ๆ อาจจะคิดแบบนี้มากขึ้นและทำให้ยุคของหนังสือเป็นรูปเล่มจบลง
ส่วนผู้เขียน/สำนักพิมพ์เองก็สามารถลดภาระในการจัดเก็บหนังสือสินค้าลงไปได้เพราะไม่จำเป็นต้องพิมพ์สต๊อกไว้มาก
และนั้นหมายถึงหากเกิดอะไรขึ้นกับสำนักพิมพ์ หนังสือก็จะยังคงถูกเก็บรักษาไว้ได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปทำลาย
จำข่าวที่ว่ามีการโละทำลายหนังสือจำนวนมากของสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งได้ไหมครับ
http://www.thaidk.com/dk2016.html
4. ความรู้สึกในการอ่าน เมื่อเทียบกับเป็นรูปเล่ม
สำหรับคนที่อ่านหนังสือแบบเล่มมาก่อนมักจะไม่ชอบ e-book ด้วยปัญหาคลาสสิคคือ ไม่ได้อารมณ์แบบอ่านเป็นเล่ม
แต่ตอนผมทดลองอ่านช่วงแรก ๆ กลับพบว่ามันก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น
หรือในทางกลับกัน เรา ๆ เริ่มชินกับการอ่าน “ข้อความ” บนหน้าจอกันแล้ว
Smart phone, Tablet, Facebook, Line, social media ต่าง ๆ ทำให้เราคุ้นชินกับการอ่านบนหน้าจอ
สำหรับการ์ตูนเอง ผู้อ่านจำนวนไม่น้อยก็เคยมีประสบการณ์อ่านบนหน้าจอมาก่อนอยู่แล้ว
การอ่านผ่านหน้าจอในบางแง่มุมกลับเป็นผลดีต่อผู้อ่านซ้ำ เช่น โหมด Night ที่ทำให้หน้ากระดาษเป็นสีดำและตัวหนังสือเป็นสีขาวหรือสีครีม ทำให้อ่านหนังสือประเภทนิยาย, บทความหรือประเภทที่มีตัวหนังสือมาก ๆ ได้ง่ายขึ้นในบางสถาณการณ์
และสำหรับการ์ตูนที่เต็มไปด้วยรูปภาพขาวดำยังมีโหมด sepia ที่ทำให้หน้ากระดาษสีเหมือนกระดาษถนอมสายตาอีกด้วย
อีกจุดที่สำคัญคือคุณภาพกระดาษที่ใช้พิมพ์และคุณภาพการพิมพ์ไม่มีผลกับ E-book
หนังสือบางเล่มโดยเฉพาะการ์ตูนนั้นคุณกระดาษที่ใช้พิมพ์และคุณภาพการพิมพ์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางถึงขั้นแย่เพื่อให้ทำราคาต้นทุนได้แต่เมื่ออ่านด้วย E-book แล้ว ไม่ว่าเป็นการ์ตูนเล่มไหนก็ให้ภาพที่ดีและคมชัดได้
ทิศทางของนักเขียน/สำนักพิมพ์ต่อการขาย E-book
จากมุมมองของผู้เขียน E-book เริ่มสร้างผลกระทบต่อผู้เขียน/สำนักพิมพ์ในประเด็นต่อไปนี้
นักเขียนที่มีชื่อเริ่มจำหน่ายผลงานของตัวเองโดยไม่ผ่านสำนักพิมพ์มากขึ้น
ช่วงนี้ผมเริ่มเห็นนักเขียนชื่อดังเริ่มวางจำหน่ายผลงานตัวเองโดยไม่สังกัดสำนักพิมพ์มากขึ้น อนาคตนักเขียนอาจจะไม่จำเป็นต้องพึ่งพาหรือสังกัดกับสำนักพิมพ์เพื่อเผยแพร่ผลงานของตัวเองอีกต่อไปด้วยสาเหตุต่าง ๆ นา ๆ เช่น อิสระในการสร้างผลงานหรือรายรับที่เข้ากระเป๋านักเขียนเต็ม ๆ
ถ้าอนาคตทิศทางมาทางนี้จริงสำนักพิมพ์คงจะต้องปรับตัวครั้งใหญ่ การจัดกิจกรรม workshop ต่าง ๆ ในไทยของ Kadokawa สำนักพิมพ์ใหญ่ของญี่ปุ่นที่มาทำตลาดในไทยโดยตรงนั้นอาจจะบ่งบอกถึงอะไรบ้างอย่างถึงทิศทางของสำนักพิมพ์ในอนาคตก็ได้
นักเขียนหน้าใหม่มีช่องทางจำหน่ายผลงานของตัวเองที่หลากหลายขึ้น
ในอดีตนักเขียนหน้าใหม่ไม่มีทางเลือกที่จะต้องสังกัดกับสำนักพิมพ์เพื่อสร้างผลงานเพราะจำเป็นต้องพึ่งพาสำนักพิมพ์ในการเผยแพร่งานเขียนและช่วยในการควบคุมและอาจรวมถึงพัฒนาคุณภาพของผลงานให้ดีขึ้นด้วย เป็นรูปแบบของน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าในระดับหนึ่ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือซี่รีย์ แฮรี่ พอตเตอร์ เล่มแรกที่ผู้เขียนนำไปเสนอแก่สำนักพิมพ์หลายที่แต่ไม่มีใครรับจนกระทั้งสำนักพิมพ์ Bloomsbury ตกลงตีพิมพ์ถึงจะได้รับการเผยแพร่
แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีผลงานชื่อดังมากมายที่แจ้งเกิดได้โดยผ่านการเผยแพร่ผลงานด้วยตัวนักเขียนเองทาง internet ก่อนที่จะถูกตีพิมพ์เป็นเล่มภายใต้สำนักพิมพ์ เช่น Sword art online, Goblin slayer เป็นต้น จุดนี้ยิ่งตอกย้ำความเปลี่ยนแปลงที่สำนักพิมพ์จะต้องเตรียมพร้อมรับมือในอนาคต
เพิ่มโอกาสอยู่รอดของสำนักพิมพ์
ต้นทุนสำคัญของสำนักพิมพ์ที่หลีกหนีไม่ได้คือค่าใช้จ่ายในการพิมพ์, พื้นที่ที่ใช้ในการพิมพ์, จัดเก็บหมึกและกระดาษวัตถุดิบรวมถึงพื้นที่จัดเก็บหนังสือที่พิมพ์และเข้าเล่มเสร็จเรียบร้อยรอจำหน่ายหรือหนังสือที่เรียกกลับคืนรอวางแผงอีกครั้งหรือนำไปทำลาย
รายได้และกำไรถ้าไม่มีธุรกิจเสริมก็จะมาจากการขายหนังสือที่พิมพ์ได้ ถ้าขายไม่ได้จนต้องทำลายหนังสือก็เท่ากับว่าเสียเงินค่าจัดพิมพ์ไปเปล่า ๆ ธุรกิจสิ่งพิมพ์จึงเป็นอะไรที่ยากในการตัดสินใจ หากต้องการขายให้ได้ก็ต้องพิมพ์ให้มากเพื่อที่จะวางขายได้ทุกที่แต่ถ้าพิมพ์ออกมากแล้วขายไม่ได้สำนักพิมพ์ก็จะขาดทุนค่าจัดพิมพ์จำนวนมากและยังต้องเสียพื้นที่เก็บหนังสือที่ขายไม่ออกอีกด้วย
ด้วย E-book สำนักพิมพ์จะมีตัวเลือกให้เล่นเกมทางการตลาดมากขึ้น ผู้เขียนพบว่าบางสำนักพิมพ์ใช้วิธีออกหนังสือฉบับรูปเล่มพร้อม ๆ กับ E-book เพื่อลดจำนวนการพิมพ์แบบเป็นเล่มลงแล้วชดเชยความต้องการที่ขาดด้วยฉบับ E-book หรือ บางสำนักพิมพ์เมื่อขายฉบับรูปเล่มไประยะหนึ่งแล้วก็ค่อยเริ่มขายฉบับ E-book เพื่อเก็บตกหรือขายให้กับผู้ที่ไม่สามารถหาซื้อฉบับเป็นเล่มได้เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น สำนักพิมพ์เลิกพิมพ์ เป็นต้น
อนาคตของสำนักพิมพ์
ความนิยมของ E-book ย่อมกระทบต่อสำนักพิมพ์ จากความเคลื่อนไหวของ Kadokawa ในไทยทำให้ผมเห็นว่าเค้าเตรียมการปรับตัวเพื่อรับมือกับยุค E-book โดยตั้งตำแหน่งของสำนักพิมพ์ไว้ที่
- ผู้ช่วยให้คำแนะนำในการพัฒนาผลงานของนักเขียน
แต่ละสำนักพิมพ์ย่อมมีนักเขียนและบรรณาธิการระดับมืออาชีพอยู่ในสังกัดอยู่แล้ว การเสนอตัวเป็นผู้ช่วยให้คำแนะนำในการพัฒนาผลงานของนักเขียนด้วยนักเขียนและบรรณาธิการชื่อดังที่มีอยู่ถือว่าเป็นข้อตกลงที่น่าเย้ายวนที่จะทำให้นักเขียนยอมเข้ามาอยู่ในสังกัด
- เป็นตัวแทนในการเผยแพร่งานเขียนไปยังกลุ่มที่นักเขียนเองเข้าไม่ถึง
แม้นักเขียนจะสามารถเผยแพร่ผลงานผ่าน internet ได้แล้วแต่การที่จะให้ผลงานของตนเป็นที่รู้จักในต่างประเทศหรือในระดับโลกนั้นยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยากโดยปราศจากความช่วยเหลือของสำนักพิมพ์
- เฟ้นหานักเขียนหน้าใหม่
ตรงตามตัวอักษรคือการหานักเขียนหน้าใหม่มาสังกัดสำนักพิมพ์ของตนเพื่อสร้างผลงาน การหาตัวนักเขียนหน้าใหม่ก็มักจะทำผ่านการประกวดหรือกิจกรรม workshop ที่สำนักพิมพ์จัดขึ้น
พูดไปแล้วก็ดูคล้ายสโมสรฟุตบอลที่มีการค้นหาและปั้นดาวรุ่งผ่านอคาดิมี่ของสโมสรเอง, ซื้อตัวนักเตะมาสร้างผลงานหรือซื้อตัวมาปั้นให้ดังแล้วจึงขายปล่อยตัวย้ายสโมสร
และนี่คือสิ่งที่ผู้เขียนคิดเห็นต่อการอ่าน E-book , ความเป็นไปได้ในอนาคตและธุรกิจที่จะกระทบในอนาคต
ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคือ หนังสือแบบเป็นเล่มจะไม่หายไปไหน E-book ก็เช่นกัน
หนังสือแบบเป็นเล่มจะสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น เพราะผมเชื่อว่าในอนาคตคนจะ “อ่าน” ผ่านหน้าจอกันมากยิ่งกว่านี้และ “หนังสือ” จะกลายเป็น merchandise อย่างหนึ่งในฐานะของสะสมหรือสินค้าพรีเมี่ยมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบ คล้าย ๆ กับ Figure หรือ nendoroid เป็นต้น
นักสะสมหนังสือบางคนที่จะซื้อหนังสือที่จะสะสมเล่มเดียวกัน 3 เล่ม
1 เพื่ออ่าน
1 เพื่อเก็บสะสม
และอีก 1 สำรอง
ในอนาคต “เล่มเพื่ออ่าน” อาจจะหายไปเป็น E-book แทน ก็เป็นได้
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/