จากกรณีที่เกิดขึ้นในกระทู้
++++ จากใจแกะน้อยนักเขียน แด่คุณหมาป่าชื่อ B2S eBook ++++
กรณีศึกษาแกะน้อยนักเขียน (ภาค 2): คำชี้แจงจาก B2S
+++กรณีศึกษาแกะน้อยนักเขียน (ภาคจบ): ค่าเรื่องจาก B2S+++
จึงขออนุญาตใช้ความรู้ที่มีอยู่อย่างงู ๆ ปลา ๆ เขียนบทวิเคราะห์กับสิ่งที่เกิดและกำลังจะเกิดในแวดวง E-Book สักเล็กน้อย
– ทำ E-Book โอกาสหรือกับดัก –
E-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นรูปแบบของหนังสือที่เสามารถอ่านในอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต หรืออะไรอย่างอื่นที่เปิดอ่านไฟล์ในรูปแบบดิจิตอลได้
ด้วยที่มีความสะดวกและสามารถพกพาหนังสือในรูปแบบนี้ได้มากและง่ายดายกว่าเพียงมีอุปกรณ์ที่สนับสนุน จึงให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้อนาคตข้างหน้ามีโอกาสสูงที่จะเข้าแทนที่หนังสือที่เป็นรูปเล่มทั่วไป ดังนั้นจึงมีหลายคนที่เริ่มก้าวเข้าสู่ธุรกิจในสายนี้ ไม่ว่าสนพ.ที่มีอยู่เดิม นักธุรกิจหน้าใหม่ รวมถึงเหล่านักเขียนทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่ E-Book ยังเป็นธุรกิจใหม่ จึงทำให้ยังไม่ถูกพบเจอปัญหาอย่างแน่ชัด โดยที่ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนเป็นของตนเอง ทำให้ผู้ที่ก้าวมาทำธุรกิจนี้มักจะยึดรูปแบบเดิมของธุรกิจที่เคยใช้อยู่กับธุรกิจ E-Book นี้ ซึ่งจะเห็นได้ชัดกับผู้ก้าวทำทำธุรกิจนี้จากที่เคยทำสนพ.มาก่อน ที่มักจะใช้รูปแบบของธุรกิจ E-Book ที่อ้างอิงมาจากธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ที่ตนเองเคยทำมากันแทบทั้งสิ้น
ทว่าบริบทของ E-Book ถือว่าแตกต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์อยู่มาก โดยสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
Product - ตัวสินค้าเป็นรูปแบบไฟล์ดิจิตอลที่อาจนับได้ว่าไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง จึงทำให้มีต้นทุนที่ต่ำ และสามารถคัดลอกไปสู่บุคคลอื่นโดยไม่ต้องผ่านการซื้อขายผ่านต้นสังกัดได้โดยง่าย อีกทั้งเพราะไม่มีรูปเล่มเหมือนหนังสือจริง ทำให้มีคุณค่าทางจิตใจที่น้อย ทั้งในปัจจุบันทางผู้บริโภคเองยังไม่มีการยึดมั่นในตัวแบรนด์ของ E-Book เหมือนที่เคยมีกับธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์อื่น
Place - E-Book ไม่จำเป็นต้องพึ่งสายส่ง หรือวางขายตามร้านหนังสืออีกต่อไป ขอเพียงมีโซเชียลเน็ตเวิร์คก็สามารถทำการซื้อขายได้ทุกที่บนโลกนี้ ทำให้ถือได้ว่ามีค่าใช้จ่ายในด้านนี้ที่ต่ำ ซ้ำยังสามารถเผยแพร่ได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวางมากกว่า
Price - ด้วยที่ Produce ไม่มีอยู่จริง สามารถคัดลอกสร้างใหม่ได้อยู่เสมอ ไม่มีคุณค่าทางจิตใจ และมีต้นทุนที่ต่ำ จึงทำให้ต้องขายในราคาที่ต่ำกว่าหนังสือที่เป็นรูปเล่มจริง
Promotion - เทคนิคการตลาดที่ช่วยสนับสนุนการขายของสินค้าใช้กับ E-Book ได้ยาก ด้วยที่มันซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดข้อจำกัดในหลายด้าน
ด้วยเหตุนี้ทำให้เห็นได้ว่า บริบทของ E-Book มีความแตกต่างกับสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทำเป็นรูปเล่มจริงค่อนข้างมาก ดังนั้นหากใช้รูปแบบที่เคยทำมาในธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วไปจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้เข้ามาทำธุรกิจนี้ จะต้องพัฒนาและดัดแปลงรูปแบบธุรกิจที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับบริบทที่แตกต่างของ E-Book เพื่อให้สามารถดำเนินอยู่ในธุรกิจนี้ได้อย่างลุล่วง
สรุป: แม้จะเป็นโอกาส แต่ E-Book ก็มีบริบทที่แตกต่างจากการทำสื่อสิ่งพิมพ์ปรกติอยู่มาก ดังนั้นหากไม่ทำการปรับปรุงรูปแบบของธุรกิจให้รองรับกับ E-Book ได้จริง แต่ยังคงยึดติดกับสื่อสิ่งพิมพ์อื่น อาจจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้
ไม่เพียงแต่ผู้ที่เข้าทำธุรกิจนี้โดยตรง หากด้วยการที่มีหลายสนพ.เริ่มก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจนี้ จึงทำให้นักเขียนหน้าใหม่มักถูกยื่นข้อเสนอให้ตีพิมพ์เป็น E-Book แทนที่จะเป็นการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มตามปรกติ
ซึ่งจุดนี้ให้เราถามตัวเองก่อน ว่าการที่เราเสนอต้นฉบับกับสนพ.เพื่ออะไร ?
โดยเรื่องนี้ขอสรุปให้ดังต่อไปนี้
1. ให้ทางสนพ.ช่วยจัดรูปเล่ม และหาคนวาดปกที่เหมาะสมให้
2. ให้ทางสนพ.จัดการขอเลข ISBN เพื่อขึ้นทะเบียนหนังสือของเรากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ให้ทางสนพ.ใช้แบรนด์ที่มีชื่อของตนเองในการช่วยเผยแพร่และโฆษณางานเขียนของเรา
4. ให้ทางสนพ.ทำการใช้ทุนของตนเองเพื่อตีพิมพ์หนังสือให้กับเรา
5. ให้ทางสนพ.ทำการติดต่อหาช่องทางวางจำหน่ายหนังสือให้กับเรา
6. คุณค่าทางจิตใจ เพราะการที่ได้ผ่านการพิจารณาจนได้ตีพิมพ์เป็นรูปเล่มถือเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง
โดยข้อ 1 กับ 2 คนทั่วไปไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญสักเท่าไหร่ เพราะสามารถทำเองได้เสมอ สำหรับข้อ 3 หลายคนอาจจะถือว่าสำคัญ ทั้งอาจมีโอกาสเป็นไปได้บ้างสำหรับ E-Book แต่น่าจะยังไม่ใช่อนาคตอันใกล้นี้ ทว่าข้อ 4 และ 5 เป็นสิ่งสำคัญ เพราะนักเขียนที่เสนอกับสนพ.ต่างไม่มีความสามารถในด้านนี้ที่มากพอจึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาสนพ.ในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามสำหรับข้อ 6 เป็นสิ่งที่ถือได้ว่าสำคัญยิ่ง เพราะในจุดนี้แม้จะทำได้ทั้งข้อ 1 – 5 ได้ด้วยตนเองทั้งหมด แต่ก็ไม่สะท้อนถึงความสามารถของตนเท่าไหร่นัก การที่สนพ.ให้การยอมรับด้วยการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มได้จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความภูมิใจในตนเองของนักเขียนมากกว่า
ทว่า สำหรับ E-Book มันไม่จำเป็นที่จะต้องมีส่วนที่ยกมานี้แทบทั้งสิ้น เพราะไม่มีความจำเป็นที่นักเขียนจะต้องลงทุนอะไรที่สูงมากนัก การวางจำหน่ายก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งสายส่งแบบสื่อสิ่งพิมพ์ที่ติพิมพ์เป็นรูปเล่ม ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะทำเป็น E-Book กับทาง สนพ.
ดังนั้น ทำ E-Book กับสนพ. ไปทำไม ?
เพราะผู้ให้บริการวางจำหน่าย E-Book ในปัจจุบันที่ไม่ใช่สนพ.ก็มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะทำ E-Book กับสนพ. ด้วยเหตุผลใดเป็นพิเศษ หากจะกล่าวถึงข้อได้เปรียบเดียวที่การทำ E-Book กับสนพ.จะมีได้คือเมื่อ E-Book ของเราขายดี ก็จะมีโอกาสสูงที่บทความของเรานี้จะได้รับการตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม
แต่มีอะไรรับประกันว่าจะเป็นเช่นนั้นจริง ?
หนำซ้ำ แม้สนพ.ที่ทำ E-Book ในปัจจุบันจะไม่มีความคิดที่จะตีพิมพ์หนังสือของเราเป็นรูปเล่ม แต่ใช่ว่าสนพ.อื่นจะไม่คิดเช่นนั้นตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ข้อได้เปรียบที่ว่าจึงไม่มีความสำคัญอย่างมีนัยยะอันใด
อย่างไรก็ตาม ถึงจุดนี้มีเพียงแค่พูดถึงว่าไม่มีความจำเป็นที่จะทำ E-Book กับทาง สนพ. เพียงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วไม่สมควรอย่างยิ่งที่นักเขียนจะเผลอทำสัญญาตีพิมพ์ E-Book กับทาง สนพ. เสียด้วยซ้ำ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การทำ E-Book กับรายอื่น ไม่จำเป็นต้องทำสัญญามอบอำนาจสิทธิ์ในการทำธุรกรรมของตัวหนังสือให้กับทางสนพ. ทำให้นักเขียนสามารถตัดสินใจได้ต่อว่าจะทำอะไรกับหนังสือของเราต่อได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะทำ E-Book กับที่อื่นเพิ่มขึ้นอีกหลาย ๆ ที่ ทำการตีพิมพ์หนังสือทำมือ หรือส่งสนพ.เพื่อให้พิจารณาตีพิมพ์เป็นหนังสือในสังกัด
2. การทำ E-Book กับรายอื่น ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาพิจารณาเหมือนการทำ E-Book กับทาง สนพ.
3. อาจมีการถูกหักรายได้มากกว่าการทำ E-Book กับรายอื่น
4. สนพ.มักจะไม่ใช่ผู้ชำนาญในตลาด E-Book จึงทำให้อาจจะไม่สามารถโฆษณา E-Book ได้อย่างมีประสิทธิผล
ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับ E-Book ที่ทำกับสนพ. มักจะเป็นข้อ 1 เพราะหลายสนพ.พยายามที่จะแทงกั๊กต้นฉบับที่ได้รับมาด้วยการทำเป็น E-Book กล่าวคือหนังสือของนักเขียนจะถูกสนพ.ชี้เป็นชี้ตายได้ว่าจะทำอย่างไรกับมัน หากต้องการให้เป็นรูปเล่มก็ทำได้ทุกเวลา กลับกันหากคิดว่าไม่คุ้มค่าก็สามารถทิ้งหนังสือให้อยู่ในรูปแบบของ E-Book ตลอดไปจนกว่าจะสิ้นสุดสัญญา ซึ่งเวลาของการดำเนินสัญญาที่ว่านี้อาจลากยาวไปหลายปี และหากโชคร้ายก็อาจเกิดการผูกขาดส่งมอบสิทธิ์ทั้งหมดของตัวหนังสือไปให้สนพ.เลยก็ได้ โดยหากเกิดสัญญาเช่นนี้ฝ่ายนักเขียนจะเสียโอกาสอย่างแน่นอน เพราะหากนักเขียนทำ E-Book กับแหล่งอื่นที่ไม่ใช่สนพ. ก็ยังสามารถมีสิทธิ์เหนือหนังสือของตนเองได้อย่างเต็มที่
และแม้ถึงทางสนพ.จะไม่มีการทำสัญญาเกี่ยวกับสิทธิ์ที่ว่านี้กับตัวบทความ (แต่ที่จริงหลายสนพ.มักจะทำ เพราะติดจากรูปแบบการทำสัญญาแบบเดิม รวมถึงไม่เช่นนั้นก็ไม่มีประโยชน์ที่จะยื่นข้อเสนอนี้ให้กับนักเขียนแทนการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มโดยตรง) ก็ยังมีจุดด้อยในข้อที่ 2 3 4 อีก ดังนั้นจึงไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะทำ E-Book กับทางสนพ. และแม้ทางสนพ.จะกล่าวอ้างว่าไม่มีการทำสัญญาผูกมัด หรือสัญญาว่าจะทำการตีพิมพ์รูปเล่มให้ในภายหลัง แต่คำพูดเหล่านี้จะสามารถเชื่อถือได้มากแค่ไหน ?
สรุป: สำหรับนักเขียน ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะทำ E-Book กับทางสนพ. เพราะอาจจะทำให้เสียโอกาสในหลายอย่างได้
นอกจากนี้ควรทำความเข้าใจสัญญาที่ทำกับสนพ.ให้ดี มีนักเขียนหลายคนพบเจอแล้วว่าสัญญาที่ตัวเองคิดว่าเป็นการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มนั้นแท้จริงเป็นการทำสัญญาตีพิมพ์เป็น E-Book โดยไม่มีการยื่นสัญญาใดให้อ่านก่อนเลย มีเพียงการบอกให้ส่งสำเนาบัตรประชาชนไปให้เพียงเท่านั้น
สรุป: สำหรับสนพ.ที่ต้องการทำ E-Book ให้ถามอยู่เสมอว่า นักเขียนจะได้อะไรที่น้อยกว่าหรือมากกว่าการทำ E-Book กับที่อื่นหรือไม่ ถ้าได้น้อยกว่า นักเขียนก็ไม่ทำ ที่ทำอาจเพียงเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพียงเท่านั้น
[CR] ทำ E-Book โอกาสหรือกับดัก ?
++++ จากใจแกะน้อยนักเขียน แด่คุณหมาป่าชื่อ B2S eBook ++++
กรณีศึกษาแกะน้อยนักเขียน (ภาค 2): คำชี้แจงจาก B2S
+++กรณีศึกษาแกะน้อยนักเขียน (ภาคจบ): ค่าเรื่องจาก B2S+++
จึงขออนุญาตใช้ความรู้ที่มีอยู่อย่างงู ๆ ปลา ๆ เขียนบทวิเคราะห์กับสิ่งที่เกิดและกำลังจะเกิดในแวดวง E-Book สักเล็กน้อย
– ทำ E-Book โอกาสหรือกับดัก –
E-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นรูปแบบของหนังสือที่เสามารถอ่านในอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต หรืออะไรอย่างอื่นที่เปิดอ่านไฟล์ในรูปแบบดิจิตอลได้
ด้วยที่มีความสะดวกและสามารถพกพาหนังสือในรูปแบบนี้ได้มากและง่ายดายกว่าเพียงมีอุปกรณ์ที่สนับสนุน จึงให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้อนาคตข้างหน้ามีโอกาสสูงที่จะเข้าแทนที่หนังสือที่เป็นรูปเล่มทั่วไป ดังนั้นจึงมีหลายคนที่เริ่มก้าวเข้าสู่ธุรกิจในสายนี้ ไม่ว่าสนพ.ที่มีอยู่เดิม นักธุรกิจหน้าใหม่ รวมถึงเหล่านักเขียนทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่ E-Book ยังเป็นธุรกิจใหม่ จึงทำให้ยังไม่ถูกพบเจอปัญหาอย่างแน่ชัด โดยที่ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนเป็นของตนเอง ทำให้ผู้ที่ก้าวมาทำธุรกิจนี้มักจะยึดรูปแบบเดิมของธุรกิจที่เคยใช้อยู่กับธุรกิจ E-Book นี้ ซึ่งจะเห็นได้ชัดกับผู้ก้าวทำทำธุรกิจนี้จากที่เคยทำสนพ.มาก่อน ที่มักจะใช้รูปแบบของธุรกิจ E-Book ที่อ้างอิงมาจากธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ที่ตนเองเคยทำมากันแทบทั้งสิ้น
ทว่าบริบทของ E-Book ถือว่าแตกต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์อยู่มาก โดยสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
Product - ตัวสินค้าเป็นรูปแบบไฟล์ดิจิตอลที่อาจนับได้ว่าไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง จึงทำให้มีต้นทุนที่ต่ำ และสามารถคัดลอกไปสู่บุคคลอื่นโดยไม่ต้องผ่านการซื้อขายผ่านต้นสังกัดได้โดยง่าย อีกทั้งเพราะไม่มีรูปเล่มเหมือนหนังสือจริง ทำให้มีคุณค่าทางจิตใจที่น้อย ทั้งในปัจจุบันทางผู้บริโภคเองยังไม่มีการยึดมั่นในตัวแบรนด์ของ E-Book เหมือนที่เคยมีกับธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์อื่น
Place - E-Book ไม่จำเป็นต้องพึ่งสายส่ง หรือวางขายตามร้านหนังสืออีกต่อไป ขอเพียงมีโซเชียลเน็ตเวิร์คก็สามารถทำการซื้อขายได้ทุกที่บนโลกนี้ ทำให้ถือได้ว่ามีค่าใช้จ่ายในด้านนี้ที่ต่ำ ซ้ำยังสามารถเผยแพร่ได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวางมากกว่า
Price - ด้วยที่ Produce ไม่มีอยู่จริง สามารถคัดลอกสร้างใหม่ได้อยู่เสมอ ไม่มีคุณค่าทางจิตใจ และมีต้นทุนที่ต่ำ จึงทำให้ต้องขายในราคาที่ต่ำกว่าหนังสือที่เป็นรูปเล่มจริง
Promotion - เทคนิคการตลาดที่ช่วยสนับสนุนการขายของสินค้าใช้กับ E-Book ได้ยาก ด้วยที่มันซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดข้อจำกัดในหลายด้าน
ด้วยเหตุนี้ทำให้เห็นได้ว่า บริบทของ E-Book มีความแตกต่างกับสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทำเป็นรูปเล่มจริงค่อนข้างมาก ดังนั้นหากใช้รูปแบบที่เคยทำมาในธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วไปจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้เข้ามาทำธุรกิจนี้ จะต้องพัฒนาและดัดแปลงรูปแบบธุรกิจที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับบริบทที่แตกต่างของ E-Book เพื่อให้สามารถดำเนินอยู่ในธุรกิจนี้ได้อย่างลุล่วง
สรุป: แม้จะเป็นโอกาส แต่ E-Book ก็มีบริบทที่แตกต่างจากการทำสื่อสิ่งพิมพ์ปรกติอยู่มาก ดังนั้นหากไม่ทำการปรับปรุงรูปแบบของธุรกิจให้รองรับกับ E-Book ได้จริง แต่ยังคงยึดติดกับสื่อสิ่งพิมพ์อื่น อาจจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้
ไม่เพียงแต่ผู้ที่เข้าทำธุรกิจนี้โดยตรง หากด้วยการที่มีหลายสนพ.เริ่มก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจนี้ จึงทำให้นักเขียนหน้าใหม่มักถูกยื่นข้อเสนอให้ตีพิมพ์เป็น E-Book แทนที่จะเป็นการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มตามปรกติ
ซึ่งจุดนี้ให้เราถามตัวเองก่อน ว่าการที่เราเสนอต้นฉบับกับสนพ.เพื่ออะไร ?
โดยเรื่องนี้ขอสรุปให้ดังต่อไปนี้
1. ให้ทางสนพ.ช่วยจัดรูปเล่ม และหาคนวาดปกที่เหมาะสมให้
2. ให้ทางสนพ.จัดการขอเลข ISBN เพื่อขึ้นทะเบียนหนังสือของเรากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ให้ทางสนพ.ใช้แบรนด์ที่มีชื่อของตนเองในการช่วยเผยแพร่และโฆษณางานเขียนของเรา
4. ให้ทางสนพ.ทำการใช้ทุนของตนเองเพื่อตีพิมพ์หนังสือให้กับเรา
5. ให้ทางสนพ.ทำการติดต่อหาช่องทางวางจำหน่ายหนังสือให้กับเรา
6. คุณค่าทางจิตใจ เพราะการที่ได้ผ่านการพิจารณาจนได้ตีพิมพ์เป็นรูปเล่มถือเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง
โดยข้อ 1 กับ 2 คนทั่วไปไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญสักเท่าไหร่ เพราะสามารถทำเองได้เสมอ สำหรับข้อ 3 หลายคนอาจจะถือว่าสำคัญ ทั้งอาจมีโอกาสเป็นไปได้บ้างสำหรับ E-Book แต่น่าจะยังไม่ใช่อนาคตอันใกล้นี้ ทว่าข้อ 4 และ 5 เป็นสิ่งสำคัญ เพราะนักเขียนที่เสนอกับสนพ.ต่างไม่มีความสามารถในด้านนี้ที่มากพอจึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาสนพ.ในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามสำหรับข้อ 6 เป็นสิ่งที่ถือได้ว่าสำคัญยิ่ง เพราะในจุดนี้แม้จะทำได้ทั้งข้อ 1 – 5 ได้ด้วยตนเองทั้งหมด แต่ก็ไม่สะท้อนถึงความสามารถของตนเท่าไหร่นัก การที่สนพ.ให้การยอมรับด้วยการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มได้จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความภูมิใจในตนเองของนักเขียนมากกว่า
ทว่า สำหรับ E-Book มันไม่จำเป็นที่จะต้องมีส่วนที่ยกมานี้แทบทั้งสิ้น เพราะไม่มีความจำเป็นที่นักเขียนจะต้องลงทุนอะไรที่สูงมากนัก การวางจำหน่ายก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งสายส่งแบบสื่อสิ่งพิมพ์ที่ติพิมพ์เป็นรูปเล่ม ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะทำเป็น E-Book กับทาง สนพ.
ดังนั้น ทำ E-Book กับสนพ. ไปทำไม ?
เพราะผู้ให้บริการวางจำหน่าย E-Book ในปัจจุบันที่ไม่ใช่สนพ.ก็มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะทำ E-Book กับสนพ. ด้วยเหตุผลใดเป็นพิเศษ หากจะกล่าวถึงข้อได้เปรียบเดียวที่การทำ E-Book กับสนพ.จะมีได้คือเมื่อ E-Book ของเราขายดี ก็จะมีโอกาสสูงที่บทความของเรานี้จะได้รับการตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม
แต่มีอะไรรับประกันว่าจะเป็นเช่นนั้นจริง ?
หนำซ้ำ แม้สนพ.ที่ทำ E-Book ในปัจจุบันจะไม่มีความคิดที่จะตีพิมพ์หนังสือของเราเป็นรูปเล่ม แต่ใช่ว่าสนพ.อื่นจะไม่คิดเช่นนั้นตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ข้อได้เปรียบที่ว่าจึงไม่มีความสำคัญอย่างมีนัยยะอันใด
อย่างไรก็ตาม ถึงจุดนี้มีเพียงแค่พูดถึงว่าไม่มีความจำเป็นที่จะทำ E-Book กับทาง สนพ. เพียงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วไม่สมควรอย่างยิ่งที่นักเขียนจะเผลอทำสัญญาตีพิมพ์ E-Book กับทาง สนพ. เสียด้วยซ้ำ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การทำ E-Book กับรายอื่น ไม่จำเป็นต้องทำสัญญามอบอำนาจสิทธิ์ในการทำธุรกรรมของตัวหนังสือให้กับทางสนพ. ทำให้นักเขียนสามารถตัดสินใจได้ต่อว่าจะทำอะไรกับหนังสือของเราต่อได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะทำ E-Book กับที่อื่นเพิ่มขึ้นอีกหลาย ๆ ที่ ทำการตีพิมพ์หนังสือทำมือ หรือส่งสนพ.เพื่อให้พิจารณาตีพิมพ์เป็นหนังสือในสังกัด
2. การทำ E-Book กับรายอื่น ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาพิจารณาเหมือนการทำ E-Book กับทาง สนพ.
3. อาจมีการถูกหักรายได้มากกว่าการทำ E-Book กับรายอื่น
4. สนพ.มักจะไม่ใช่ผู้ชำนาญในตลาด E-Book จึงทำให้อาจจะไม่สามารถโฆษณา E-Book ได้อย่างมีประสิทธิผล
ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับ E-Book ที่ทำกับสนพ. มักจะเป็นข้อ 1 เพราะหลายสนพ.พยายามที่จะแทงกั๊กต้นฉบับที่ได้รับมาด้วยการทำเป็น E-Book กล่าวคือหนังสือของนักเขียนจะถูกสนพ.ชี้เป็นชี้ตายได้ว่าจะทำอย่างไรกับมัน หากต้องการให้เป็นรูปเล่มก็ทำได้ทุกเวลา กลับกันหากคิดว่าไม่คุ้มค่าก็สามารถทิ้งหนังสือให้อยู่ในรูปแบบของ E-Book ตลอดไปจนกว่าจะสิ้นสุดสัญญา ซึ่งเวลาของการดำเนินสัญญาที่ว่านี้อาจลากยาวไปหลายปี และหากโชคร้ายก็อาจเกิดการผูกขาดส่งมอบสิทธิ์ทั้งหมดของตัวหนังสือไปให้สนพ.เลยก็ได้ โดยหากเกิดสัญญาเช่นนี้ฝ่ายนักเขียนจะเสียโอกาสอย่างแน่นอน เพราะหากนักเขียนทำ E-Book กับแหล่งอื่นที่ไม่ใช่สนพ. ก็ยังสามารถมีสิทธิ์เหนือหนังสือของตนเองได้อย่างเต็มที่
และแม้ถึงทางสนพ.จะไม่มีการทำสัญญาเกี่ยวกับสิทธิ์ที่ว่านี้กับตัวบทความ (แต่ที่จริงหลายสนพ.มักจะทำ เพราะติดจากรูปแบบการทำสัญญาแบบเดิม รวมถึงไม่เช่นนั้นก็ไม่มีประโยชน์ที่จะยื่นข้อเสนอนี้ให้กับนักเขียนแทนการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มโดยตรง) ก็ยังมีจุดด้อยในข้อที่ 2 3 4 อีก ดังนั้นจึงไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะทำ E-Book กับทางสนพ. และแม้ทางสนพ.จะกล่าวอ้างว่าไม่มีการทำสัญญาผูกมัด หรือสัญญาว่าจะทำการตีพิมพ์รูปเล่มให้ในภายหลัง แต่คำพูดเหล่านี้จะสามารถเชื่อถือได้มากแค่ไหน ?
สรุป: สำหรับนักเขียน ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะทำ E-Book กับทางสนพ. เพราะอาจจะทำให้เสียโอกาสในหลายอย่างได้
นอกจากนี้ควรทำความเข้าใจสัญญาที่ทำกับสนพ.ให้ดี มีนักเขียนหลายคนพบเจอแล้วว่าสัญญาที่ตัวเองคิดว่าเป็นการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มนั้นแท้จริงเป็นการทำสัญญาตีพิมพ์เป็น E-Book โดยไม่มีการยื่นสัญญาใดให้อ่านก่อนเลย มีเพียงการบอกให้ส่งสำเนาบัตรประชาชนไปให้เพียงเท่านั้น
สรุป: สำหรับสนพ.ที่ต้องการทำ E-Book ให้ถามอยู่เสมอว่า นักเขียนจะได้อะไรที่น้อยกว่าหรือมากกว่าการทำ E-Book กับที่อื่นหรือไม่ ถ้าได้น้อยกว่า นักเขียนก็ไม่ทำ ที่ทำอาจเพียงเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพียงเท่านั้น