ชี้แนวโน้มการฟ้องร้องทางการแพทย์สูงขึ้นเรื่อยๆ
Thu, 2019-01-10 15:22
ผอ.ศูนย์สันติวิธี สธ.ชี้แนวโน้มการฟ้องร้องทางการแพทย์สูงขึ้นเรื่อยๆ เผยข้อมูลย้อนหลัง 20 ปี สธ.ชนะคดีฟ้องร้องทางการแพทย์ 45 คดี ไกล่เกลี่ยจบชั้นศาล 164 คดี และแพ้ 21 คดี ต้องจ่ายเงินให้ผู้ร้อง 36 ล้านบาท แจงมาตรการ 2P safety ช่วยแก้ไขปัญหาได้ พร้อมจับมือ สปสช. – ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอิสระ – สถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล คัดเลือกศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพดีเด่นระดับเขต
วันที่ 9 มกราคม 2562 ณ โรงแรมอวานี อ.เมือง จ.ขอนแก่น นพ.อิทธิพล สูงแข็ง ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข และผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุม 4 จังหวัด ร้อยแก่นสารสินธุ์ (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์) บรรยายพิเศษเรื่องการบริหารจัดการความขัดแย้งในหน่วยบริการ ในการประชุมพัฒนาศักยภาพศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ ซึ่งจัดโดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น ว่าสถานการณ์เรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ด้านสาธารณสุขมีเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ประมาณ 1,000 ราย/ปี หลังจากรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตาม มาตรา 41 ไปแล้ว ผู้เสียหายได้ไปฟ้องร้องทั้งทางแพ่ง และคดีผู้บริโภคประมาณ 20 คดีต่อปี หรือ 2% ของผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ
นพ.อิทธิพล กล่าวต่อว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 หลังจาก พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เป็นต้นมา การฟ้องร้องด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่จะเป็นการฟ้องคดีผู้บริโภค ไม่ใช่การฟ้องในคดีแพ่งเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมด้วยการให้ความรู้ อบรมเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล การกำหนดนโยบายความปลอดภัย ฯลฯ เนื่องจากคดีผู้บริโภคนั้นไม่มีอายุความ ผู้ฟ้องไม่ต้องวางเงินมัดจำกับศาล และเป็นหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาจะต้องเป็นผู้หาหลักฐานมาหักล้างคำฟ้อง
นพ.อิทธิพล กล่าวว่า จากสถิติการฟ้องร้องทางการแพทย์ย้อนหลัง 20 ปี ( 2539 - 31 ตุลาคม 2560) พบว่ามีการฟ้องร้องคดีฟ้องแพ่ง จำนวน 287 คดี คดีผู้บริโภค จำนวน 168 คดี คดีปกครอง 3 คดี รวมเป็น 499 คดี ทุนทรัพย์ที่ฟ้องรวมประมาณ 3,192 ล้านบาท จากคดีทั้งหมดที่ฟ้องร้อง มีคดีที่ศาลตัดสินถึงที่สุดแล้ว 66 คดี กระทรวงสาธารณสุข ชนะ 45 คดี แพ้ 21 คดี และมีการถอนฟ้องด้วยการไกล่เกลี่ยได้จบในชั้นศาล จำนวน 164 คดี
จากสถิติพบว่าสาเหตุการฟ้องคดีกว่าครึ่งหนึ่งของคดีเป็นการรักษาผิดพลาด วินิจฉัยผิดพลาด รองลงมาเป็นการคลอด พฤติกรรมบริการ แพ้ยา รักษาผิดมาตรฐาน และคดีที่ศาลตัดสินจนถึงที่สุดและกระทรวงสาธารณสุขต้องชำระเงินให้กับผู้ฟ้องตามคำพิพากษาแล้ว 36 ล้านบาท
นพ.อิทธิพล กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้วางกรอบยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย Patient and Personal safety (2P safety) โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประเทศไทยมีระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสำหรับทุกคน ทั้งผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข โดยมุ่งเน้นการแก้ไขเพื่อการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล และลดปัญหาการฟ้องร้องทางการแพทย์ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งผู้ป่วย ภาคประชาชน บุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
นพ.อิทธิพล กล่าวว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ 2P safety ในโรงพยาบาล คือ ผู้บริหารจะต้องกำหนดให้ 2P safety เป็นนโยบาย และมีการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และมีการรายงานความเสี่ยง จัดเวทีสร้างการเรียนรู้ และมีการติดตาม ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการคัดเลือกศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ และการบริหารจัดการความขัดแย้งในหน่วยบริการดีเด่นระดับเทศ ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง ศูนย์สันติวิธี กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), หน่วยรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียนตามมาตรา 50(5) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งขาติ พ.ศ. 2545, และ สถานบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) โดยมีเป้าหมายที่จะต้องมีศูนย์บริการฯ ที่ดีเด่นระดับเขต จำนวน 13 เขต แบ่งเป็น โรงพยาบาลขนาดเตียงไม่เกิน 150 เตียง และ โรงพยาบาลที่มีขนาดเตียงตั้งแต่ 150 เตียงขึ้นไป
ทั้งนี้ กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สรุปสาเหตุการฟ้องร้องทางการแพทย์ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2560) พบว่า มีสาเหตุ คือ
1. รักษาผิดพลาด จำนวน 143 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 108 คดี โรงพยาบาลชุมชน 35 คดี
2. การคลอด จำนวน 69 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 41 คดี โรงพยาบาลชุมชน 28 คดี
3. ไม่เอาใจใส่ดูแล (พฤติกรรมบริการ) จำนวน 23 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 21 คดี โรงพยาบาลชุมชน 2 คดี
4. วินิจฉัยผิดพลาด จำนวน 27 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 21 คดี โรงพยาบาลชุมชน 6 คดี
5. แพ้ยา จำนวน 11 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 4 คดี โรงพยาบาลชุมชน 11 คดี
6. รักษาผิดมาตรฐาน จำนวน 6 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 3 คดี โรงพยาบาลชุมชน 3 คดี
7. อุปกรณ์ในการรักษา จำนวน 2 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 2 คดี
https://www.hfocus.org/content/2019/01/16725
ชี้แนวโน้มการฟ้องร้องทางการแพทย์สูงขึ้นเรื่อยๆ
Thu, 2019-01-10 15:22
ผอ.ศูนย์สันติวิธี สธ.ชี้แนวโน้มการฟ้องร้องทางการแพทย์สูงขึ้นเรื่อยๆ เผยข้อมูลย้อนหลัง 20 ปี สธ.ชนะคดีฟ้องร้องทางการแพทย์ 45 คดี ไกล่เกลี่ยจบชั้นศาล 164 คดี และแพ้ 21 คดี ต้องจ่ายเงินให้ผู้ร้อง 36 ล้านบาท แจงมาตรการ 2P safety ช่วยแก้ไขปัญหาได้ พร้อมจับมือ สปสช. – ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอิสระ – สถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล คัดเลือกศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพดีเด่นระดับเขต
วันที่ 9 มกราคม 2562 ณ โรงแรมอวานี อ.เมือง จ.ขอนแก่น นพ.อิทธิพล สูงแข็ง ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข และผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุม 4 จังหวัด ร้อยแก่นสารสินธุ์ (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์) บรรยายพิเศษเรื่องการบริหารจัดการความขัดแย้งในหน่วยบริการ ในการประชุมพัฒนาศักยภาพศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ ซึ่งจัดโดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น ว่าสถานการณ์เรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ด้านสาธารณสุขมีเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ประมาณ 1,000 ราย/ปี หลังจากรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตาม มาตรา 41 ไปแล้ว ผู้เสียหายได้ไปฟ้องร้องทั้งทางแพ่ง และคดีผู้บริโภคประมาณ 20 คดีต่อปี หรือ 2% ของผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ
นพ.อิทธิพล กล่าวต่อว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 หลังจาก พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เป็นต้นมา การฟ้องร้องด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่จะเป็นการฟ้องคดีผู้บริโภค ไม่ใช่การฟ้องในคดีแพ่งเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมด้วยการให้ความรู้ อบรมเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล การกำหนดนโยบายความปลอดภัย ฯลฯ เนื่องจากคดีผู้บริโภคนั้นไม่มีอายุความ ผู้ฟ้องไม่ต้องวางเงินมัดจำกับศาล และเป็นหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาจะต้องเป็นผู้หาหลักฐานมาหักล้างคำฟ้อง
นพ.อิทธิพล กล่าวว่า จากสถิติการฟ้องร้องทางการแพทย์ย้อนหลัง 20 ปี ( 2539 - 31 ตุลาคม 2560) พบว่ามีการฟ้องร้องคดีฟ้องแพ่ง จำนวน 287 คดี คดีผู้บริโภค จำนวน 168 คดี คดีปกครอง 3 คดี รวมเป็น 499 คดี ทุนทรัพย์ที่ฟ้องรวมประมาณ 3,192 ล้านบาท จากคดีทั้งหมดที่ฟ้องร้อง มีคดีที่ศาลตัดสินถึงที่สุดแล้ว 66 คดี กระทรวงสาธารณสุข ชนะ 45 คดี แพ้ 21 คดี และมีการถอนฟ้องด้วยการไกล่เกลี่ยได้จบในชั้นศาล จำนวน 164 คดี
จากสถิติพบว่าสาเหตุการฟ้องคดีกว่าครึ่งหนึ่งของคดีเป็นการรักษาผิดพลาด วินิจฉัยผิดพลาด รองลงมาเป็นการคลอด พฤติกรรมบริการ แพ้ยา รักษาผิดมาตรฐาน และคดีที่ศาลตัดสินจนถึงที่สุดและกระทรวงสาธารณสุขต้องชำระเงินให้กับผู้ฟ้องตามคำพิพากษาแล้ว 36 ล้านบาท
นพ.อิทธิพล กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้วางกรอบยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย Patient and Personal safety (2P safety) โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประเทศไทยมีระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสำหรับทุกคน ทั้งผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข โดยมุ่งเน้นการแก้ไขเพื่อการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล และลดปัญหาการฟ้องร้องทางการแพทย์ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งผู้ป่วย ภาคประชาชน บุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
นพ.อิทธิพล กล่าวว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ 2P safety ในโรงพยาบาล คือ ผู้บริหารจะต้องกำหนดให้ 2P safety เป็นนโยบาย และมีการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และมีการรายงานความเสี่ยง จัดเวทีสร้างการเรียนรู้ และมีการติดตาม ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการคัดเลือกศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ และการบริหารจัดการความขัดแย้งในหน่วยบริการดีเด่นระดับเทศ ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง ศูนย์สันติวิธี กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), หน่วยรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียนตามมาตรา 50(5) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งขาติ พ.ศ. 2545, และ สถานบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) โดยมีเป้าหมายที่จะต้องมีศูนย์บริการฯ ที่ดีเด่นระดับเขต จำนวน 13 เขต แบ่งเป็น โรงพยาบาลขนาดเตียงไม่เกิน 150 เตียง และ โรงพยาบาลที่มีขนาดเตียงตั้งแต่ 150 เตียงขึ้นไป
ทั้งนี้ กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สรุปสาเหตุการฟ้องร้องทางการแพทย์ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2560) พบว่า มีสาเหตุ คือ
1. รักษาผิดพลาด จำนวน 143 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 108 คดี โรงพยาบาลชุมชน 35 คดี
2. การคลอด จำนวน 69 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 41 คดี โรงพยาบาลชุมชน 28 คดี
3. ไม่เอาใจใส่ดูแล (พฤติกรรมบริการ) จำนวน 23 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 21 คดี โรงพยาบาลชุมชน 2 คดี
4. วินิจฉัยผิดพลาด จำนวน 27 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 21 คดี โรงพยาบาลชุมชน 6 คดี
5. แพ้ยา จำนวน 11 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 4 คดี โรงพยาบาลชุมชน 11 คดี
6. รักษาผิดมาตรฐาน จำนวน 6 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 3 คดี โรงพยาบาลชุมชน 3 คดี
7. อุปกรณ์ในการรักษา จำนวน 2 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 2 คดี
https://www.hfocus.org/content/2019/01/16725