วันนี้ (6 มค. 2562) เป็นวันแรกสำหรับการสอบ CU-TEP ในปี 2562 ซึ่งผมเองได้ไปสอบด้วยเช่นกันในช่วงเช้านี้ ที่อาคารมหิตลาธเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นครั้งแรกที่ผมเองได้เข้าไปร่วมสอบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อดูแนวข้อสอบจริงมาเพื่อติวสอบให้กับลูก เพราะจากที่ดูหนังสือติวสอบ CU-TEP มาหลายๆเล่ม คิดว่าวิธีที่ดีที่สุดที่จะเข้าใจข้อสอบ บรรยากาศในการสอบและการเตรียมตัวต่างๆ ควรจะต้องมานั่งสอบเองจะดีที่สุด ซึ่งตัวผมเองนั้น ไม่ได้เตรียมตัวอะไรมากไปกว่าการหาหนังสือติวสอบมาดูแนวทางการตั้งคำถาม ฟังซีดีในส่วนของ listening และลองทำข้อสอบด้วยตนเองบ้าง ทั้งนี้ ผมเองทำงานอยู่กับบริษัทข้ามชาติมาเป็นเวลาเกือบๆจะ 20 ปี และเรียนหนังสือที่ต่างประเทศมาตั้งแต่สมัยมัธยม จึงไม่ได้รู้สึกว่าต้องกดดันตัวเอง เพราะภาษาที่ใช้ในการสอบนั้น ส่วนใหญ่ก็มักจะได้ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
สำหรับแนวทางในการเตรียมตัวเพื่อที่จะสอบ CU-TEP ให้ได้ผลที่ดีนั้น ผมอยากขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆดังนี้ โดยเริ่มจากการสอบในส่วนแรก คือ listening ซึ่งในส่วนแรกนี้ ผู้สอบมีเวลา 30 นาที สำหรับการทำข้อสอบ 30 ข้อ โดยจะมีทั้งประโยคสนทนาสั้นๆแล้วถามคำถามในเนื้อความนั้นแบบข้อต่อข้อ หลังจากนั้นก็จะมีบทสนทนายาว ให้ตอบหลายข้ออย่างต่อเนื่อง และตบท้ายข้อที่เหลือด้วยคำพูดในเชิงการให้คำแนะนำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อตอบคำถามหลายๆข้ออย่างต่อเนื่องเช่นกัน ผมขอให้คำแนะนำดังนี้ครับ
1. เมื่อได้รับสัญญาณให้เปิดข้อสอบดูได้ ให้รีบกวาดสายตาอ่านคำตอบในข้อแรก ทั้ง 4 ข้อก่อน เพื่อจับเนื้อหาที่อ่านให้ได้ก่อนว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร เช่นถ้าคำตอบมีแต่ตัวเลข เช่น 5, 10, 15, 20 ก็ให้พุ่งจุดโฟกัสของการสนทนาที่จะได้ยินนั้น ไปที่ตัวเลขที่ผู้พูดจะกล่าว หรือถ้าในคำตอบนั้น เป็นชื่อคน เช่น She didn’t recognize Jeff ก็ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า จะมีชื่อคนในบทสนทนานี้ให้เราโฟกัสว่า มีเรื่องราวอะไรเกี่ยวกับคนๆนี้ที่เราต้องโฟกัสมาเพื่อตอบบ้าง เป็นการเตรียมปรับ “โหมด” ในการรับฟังก่อนที่จะได้ยินบทสนทนานั้นๆ ควรทำเช่นนี้ไล่ไปเรื่อยๆ ทุกข้อ
2. อย่าคิดว่าการสอบภาษาอังกฤษ ไม่ต้องคำนวณตัวเลขนะครับ ข้อสอบในวันนี้มีคำถามที่ว่า “สรุปแล้วมีคนที่ไม่มาร่วมงานกี่คน” ซึ่งในบทสนทนานั้น มีการพูดตัวเลขของผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน และผู้ที่ไม่ได้แจ้งยืนยันการเข้าร่วม มาให้เราบวกลบกันเพื่อตอบคำถาม ดังนั้น ต้องให้ความใส่ใจเมื่อมีตัวเลขมาเกี่ยวข้องในบทสนทนานั้นเสมอ
3. ใน Direction ของส่วน listening นี้ แจ้งไว้ชัดเจนว่า You may take notes if you wish ดังนั้น เราจึงสามารถที่จะจดรายละเอียดที่ได้ยินบนกระดาษคำถามได้ แต่ห้ามจดลงบนกระดาษคำตอบโดยเด็ดขาด แต่ผมเองแนะนำว่าวิธีที่น่าจะดีที่สุดคือตั้งใจฟัง 100% เพราะหากมัวแต่จดรายละเอียดแล้วฟังไม่ทัน อาจจะหลุดข้อมูลสำคัญๆได้
4. ในข้อที่อ่านแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าควรจะตอบอะไร ให้เว้นไว้ก่อน โดยอาจจะทำเครื่องหมายเล็กๆบนกระดาษคำตอบตรงข้อนั้นไว้ก็ได้ แล้วข้ามไปตั้งใจฟังในข้อถัดไป อย่าพะวงกับข้อเดิมที่ติดอยู่ เพราะจะทำให้เราขาดสมาธิกับข้อมูลใหม่ที่กำลังจะได้ยิน
5. ในส่วน listening ที่เป็นบทสนทนายาวนั้น ข้อมูลในการสนทนาจะมีค่อนข้างมาก สำคัญที่สุดคือการจับใจความของการสนทนานั้น ว่าผู้ชายและผู้หญิงที่คุยกัน แต่ละคนมีความเห็นในสิ่งที่พูดแบบไหน อย่างไร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มีการเปรียบเปรยอะไร ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นแนวในการตอบคำถาม ที่มักจะมีให้เราลงความเห็นจากสิ่งที่เค้าคุยกัน ดังนั้น การจับใจความจึงสำคัญพอๆกับรายละเอียด ยิ่งจับใจความได้เยอะ ก็ยิ่งตอบได้ง่ายขึ้น
6. ในส่วนของ listening นี้ จะมีเวลาเหลือให้ตรวจทานคำตอบได้ จึงเหมาะที่จะใช้เวลาดังกล่าวนี้ กลับไปพิจารณาข้อที่ยังไม่ได้ตอบ หรือใช้เวลาอ่านคำตอบที่ตอบไว้แล้วให้ชัดๆอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าที่ตอบไปแล้วนั้น เป็นคำตอบที่ดีที่สุด
มาต่อกันในส่วนของ reading ซึ่งมีคำถามทั้งหมด 60 ข้อ และมีเวลาให้ 70 นาที
7. ข้อแรก มักจะเป็นการเติมคำในช่องว่างของบทความ ในส่วนนี้ รูปประโยคจะเป็นตัวกำหนดคำตอบที่เราจะต้องเลือกมาเติม ในส่วนนี้ ความเข้าใจ grammar สำคัญมาก จึงไม่มีอะไรมากไปกว่าแนะนำให้ลองฝึกเติมคำในช่องว่างจากหนังสือติวสอบ CU-TEP ที่มีแบบฝึกหัดให้ลองทำ
8. เนื่องจากการอ่านจับใจความ โดยเฉพาะบทที่ค่อนไปทางวิชาการที่นำมาให้อ่านนั้น ค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร ผมจึงแนะนำว่าให้อ่านแบบผ่านตาเร็วๆ เพื่อ”จับใจความ” หลักๆให้ได้ก่อน อย่าเพิ่งอ่านทุกตัวอักษร ทุกรายละเอียด เพราะแต่ละคำถามที่จะตามมานั้น ส่วนใหญ่และจะชี้ไปที่บรรทัดนั้นๆ หรือ paragraph นั้นๆแบบจำเพาะเจาะจง เราจึงต้องย้อนกลับไปอ่านใหม่อยู่ดี จึงแนะนำให้ทำ 3 steps คือ 1.) อ่านผ่านตาก่อน 2.)จับใจความหลัก 3.) สแกนหารายละเอียดที่จะตอบในแต่ละข้อเป็นอันดับสุดท้ายครับ
9. เช่นเดียวกัน หากมีเวลาเหลือ ให้กลับมาทบทวนคำตอบอีกครั้ง ผมเองพบว่าการกลับมาตรวจคำตอบแบบไม่ต้องรีบเร่งเหมือนตอนแรก จะทำให้เราอ่านได้ละเอียดมากขึ้น และพบคำตอบที่อาจจะถูกมากกว่าที่ตอบตอนแรกก็ได้
ส่วนสุดท้าย writing ในส่วนนี้เป็นเหมือนการเล่นเกมส์ “จับผิด” ที่ให้เราหาคำที่เขียนไว้อย่างไม่ถูกต้องในประโยคนั้นๆ ผมมีคำแนะนำดังนี้ครับ
10. ให้คิดเสมอว่ารูปแบบประโยคในภาษาเขียน และภาษาพูด จะไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นอะไรก็ตามที่เราอ่านในใจแล้วรู้สึกว่ามัน “แปร่งหูเราเอง” ให้ดูดีๆเลยครับว่าตรงนั้นมันผิดหรือเปล่า
11. การใช้เอกพจน์และพหูพจน์ ตามด้วยกริยาที่มีหรือไม่มี “s” มีให้เห็นเป็นเรื่องปกติของส่วนนี้ ดูให้ดีเสมอว่านามในประโยคนั้นเป็นอันไหน
12. การหลอกล่อด้วยคำที่ดูยาวและยาก เช่นคำว่า A breakthrough discovery หรืออื่นๆ มีให้เห็นว่านำมาใช้เพื่อดึงดูดความสนใจของเราไปที่คำยาวๆพวกนี้ แต่แท้ที่จริงแล้ว คำที่ผิดกลับซ่อนอยู่ในคำง่ายๆ สั้นๆ ในประโยคนั้นทา
13. การหลอกด้วยคำที่ไม่ผิดในเชิง grammar แต่ทำให้ความหมายเพี้ยนก็มีเช่นกัน เช่นประโยคที่ใช้คำว่า Despite ดังเช่นคำว่า Despite being able to speak English, those boys can also write it well. ประโยคนี้ ไม่ควรใช้คำว่า Despite แต่ควรใช้คำว่า “Not only” แทน
14. การวางคำที่ดูเหมือนจะผิดไว้ที่ต้นประโยค ดูคล้ายเป็นกับดักให้เราเลือกจุดๆนั้นซะก่อนที่จะอ่านทั้งประโยค เช่นคำว่า In the waters of Lake Minnetonka, ones can plenty of fish and other marine animals. จะเห็นได้ว่าการใช้คำว่า waters ไม่ผิดที่จะใช้ แต่เมื่ออ่านต่อมาจะเห็นคำว่า fish ที่ต้องเป็น fishes แทน
ผมพยายามบันทึกสิ่งที่ควรพึงใส่ใจไว้สำหรับการสอบ CU-TEP ไว้ประมาณนี้ และหวังว่าคำแนะนำนี้ คงมีประโยชน์กับทุกๆท่านบ้างไม่มากก็น้อย ขอให้ทุกๆท่านโชคดีกับการสอบ CU-TEP นะครับ
คำแนะนำสำหรับผู้ที่จะสอบ CU-TEP
สำหรับแนวทางในการเตรียมตัวเพื่อที่จะสอบ CU-TEP ให้ได้ผลที่ดีนั้น ผมอยากขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆดังนี้ โดยเริ่มจากการสอบในส่วนแรก คือ listening ซึ่งในส่วนแรกนี้ ผู้สอบมีเวลา 30 นาที สำหรับการทำข้อสอบ 30 ข้อ โดยจะมีทั้งประโยคสนทนาสั้นๆแล้วถามคำถามในเนื้อความนั้นแบบข้อต่อข้อ หลังจากนั้นก็จะมีบทสนทนายาว ให้ตอบหลายข้ออย่างต่อเนื่อง และตบท้ายข้อที่เหลือด้วยคำพูดในเชิงการให้คำแนะนำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อตอบคำถามหลายๆข้ออย่างต่อเนื่องเช่นกัน ผมขอให้คำแนะนำดังนี้ครับ
1. เมื่อได้รับสัญญาณให้เปิดข้อสอบดูได้ ให้รีบกวาดสายตาอ่านคำตอบในข้อแรก ทั้ง 4 ข้อก่อน เพื่อจับเนื้อหาที่อ่านให้ได้ก่อนว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร เช่นถ้าคำตอบมีแต่ตัวเลข เช่น 5, 10, 15, 20 ก็ให้พุ่งจุดโฟกัสของการสนทนาที่จะได้ยินนั้น ไปที่ตัวเลขที่ผู้พูดจะกล่าว หรือถ้าในคำตอบนั้น เป็นชื่อคน เช่น She didn’t recognize Jeff ก็ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า จะมีชื่อคนในบทสนทนานี้ให้เราโฟกัสว่า มีเรื่องราวอะไรเกี่ยวกับคนๆนี้ที่เราต้องโฟกัสมาเพื่อตอบบ้าง เป็นการเตรียมปรับ “โหมด” ในการรับฟังก่อนที่จะได้ยินบทสนทนานั้นๆ ควรทำเช่นนี้ไล่ไปเรื่อยๆ ทุกข้อ
2. อย่าคิดว่าการสอบภาษาอังกฤษ ไม่ต้องคำนวณตัวเลขนะครับ ข้อสอบในวันนี้มีคำถามที่ว่า “สรุปแล้วมีคนที่ไม่มาร่วมงานกี่คน” ซึ่งในบทสนทนานั้น มีการพูดตัวเลขของผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน และผู้ที่ไม่ได้แจ้งยืนยันการเข้าร่วม มาให้เราบวกลบกันเพื่อตอบคำถาม ดังนั้น ต้องให้ความใส่ใจเมื่อมีตัวเลขมาเกี่ยวข้องในบทสนทนานั้นเสมอ
3. ใน Direction ของส่วน listening นี้ แจ้งไว้ชัดเจนว่า You may take notes if you wish ดังนั้น เราจึงสามารถที่จะจดรายละเอียดที่ได้ยินบนกระดาษคำถามได้ แต่ห้ามจดลงบนกระดาษคำตอบโดยเด็ดขาด แต่ผมเองแนะนำว่าวิธีที่น่าจะดีที่สุดคือตั้งใจฟัง 100% เพราะหากมัวแต่จดรายละเอียดแล้วฟังไม่ทัน อาจจะหลุดข้อมูลสำคัญๆได้
4. ในข้อที่อ่านแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าควรจะตอบอะไร ให้เว้นไว้ก่อน โดยอาจจะทำเครื่องหมายเล็กๆบนกระดาษคำตอบตรงข้อนั้นไว้ก็ได้ แล้วข้ามไปตั้งใจฟังในข้อถัดไป อย่าพะวงกับข้อเดิมที่ติดอยู่ เพราะจะทำให้เราขาดสมาธิกับข้อมูลใหม่ที่กำลังจะได้ยิน
5. ในส่วน listening ที่เป็นบทสนทนายาวนั้น ข้อมูลในการสนทนาจะมีค่อนข้างมาก สำคัญที่สุดคือการจับใจความของการสนทนานั้น ว่าผู้ชายและผู้หญิงที่คุยกัน แต่ละคนมีความเห็นในสิ่งที่พูดแบบไหน อย่างไร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มีการเปรียบเปรยอะไร ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นแนวในการตอบคำถาม ที่มักจะมีให้เราลงความเห็นจากสิ่งที่เค้าคุยกัน ดังนั้น การจับใจความจึงสำคัญพอๆกับรายละเอียด ยิ่งจับใจความได้เยอะ ก็ยิ่งตอบได้ง่ายขึ้น
6. ในส่วนของ listening นี้ จะมีเวลาเหลือให้ตรวจทานคำตอบได้ จึงเหมาะที่จะใช้เวลาดังกล่าวนี้ กลับไปพิจารณาข้อที่ยังไม่ได้ตอบ หรือใช้เวลาอ่านคำตอบที่ตอบไว้แล้วให้ชัดๆอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าที่ตอบไปแล้วนั้น เป็นคำตอบที่ดีที่สุด
มาต่อกันในส่วนของ reading ซึ่งมีคำถามทั้งหมด 60 ข้อ และมีเวลาให้ 70 นาที
7. ข้อแรก มักจะเป็นการเติมคำในช่องว่างของบทความ ในส่วนนี้ รูปประโยคจะเป็นตัวกำหนดคำตอบที่เราจะต้องเลือกมาเติม ในส่วนนี้ ความเข้าใจ grammar สำคัญมาก จึงไม่มีอะไรมากไปกว่าแนะนำให้ลองฝึกเติมคำในช่องว่างจากหนังสือติวสอบ CU-TEP ที่มีแบบฝึกหัดให้ลองทำ
8. เนื่องจากการอ่านจับใจความ โดยเฉพาะบทที่ค่อนไปทางวิชาการที่นำมาให้อ่านนั้น ค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร ผมจึงแนะนำว่าให้อ่านแบบผ่านตาเร็วๆ เพื่อ”จับใจความ” หลักๆให้ได้ก่อน อย่าเพิ่งอ่านทุกตัวอักษร ทุกรายละเอียด เพราะแต่ละคำถามที่จะตามมานั้น ส่วนใหญ่และจะชี้ไปที่บรรทัดนั้นๆ หรือ paragraph นั้นๆแบบจำเพาะเจาะจง เราจึงต้องย้อนกลับไปอ่านใหม่อยู่ดี จึงแนะนำให้ทำ 3 steps คือ 1.) อ่านผ่านตาก่อน 2.)จับใจความหลัก 3.) สแกนหารายละเอียดที่จะตอบในแต่ละข้อเป็นอันดับสุดท้ายครับ
9. เช่นเดียวกัน หากมีเวลาเหลือ ให้กลับมาทบทวนคำตอบอีกครั้ง ผมเองพบว่าการกลับมาตรวจคำตอบแบบไม่ต้องรีบเร่งเหมือนตอนแรก จะทำให้เราอ่านได้ละเอียดมากขึ้น และพบคำตอบที่อาจจะถูกมากกว่าที่ตอบตอนแรกก็ได้
ส่วนสุดท้าย writing ในส่วนนี้เป็นเหมือนการเล่นเกมส์ “จับผิด” ที่ให้เราหาคำที่เขียนไว้อย่างไม่ถูกต้องในประโยคนั้นๆ ผมมีคำแนะนำดังนี้ครับ
10. ให้คิดเสมอว่ารูปแบบประโยคในภาษาเขียน และภาษาพูด จะไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นอะไรก็ตามที่เราอ่านในใจแล้วรู้สึกว่ามัน “แปร่งหูเราเอง” ให้ดูดีๆเลยครับว่าตรงนั้นมันผิดหรือเปล่า
11. การใช้เอกพจน์และพหูพจน์ ตามด้วยกริยาที่มีหรือไม่มี “s” มีให้เห็นเป็นเรื่องปกติของส่วนนี้ ดูให้ดีเสมอว่านามในประโยคนั้นเป็นอันไหน
12. การหลอกล่อด้วยคำที่ดูยาวและยาก เช่นคำว่า A breakthrough discovery หรืออื่นๆ มีให้เห็นว่านำมาใช้เพื่อดึงดูดความสนใจของเราไปที่คำยาวๆพวกนี้ แต่แท้ที่จริงแล้ว คำที่ผิดกลับซ่อนอยู่ในคำง่ายๆ สั้นๆ ในประโยคนั้นทา
13. การหลอกด้วยคำที่ไม่ผิดในเชิง grammar แต่ทำให้ความหมายเพี้ยนก็มีเช่นกัน เช่นประโยคที่ใช้คำว่า Despite ดังเช่นคำว่า Despite being able to speak English, those boys can also write it well. ประโยคนี้ ไม่ควรใช้คำว่า Despite แต่ควรใช้คำว่า “Not only” แทน
14. การวางคำที่ดูเหมือนจะผิดไว้ที่ต้นประโยค ดูคล้ายเป็นกับดักให้เราเลือกจุดๆนั้นซะก่อนที่จะอ่านทั้งประโยค เช่นคำว่า In the waters of Lake Minnetonka, ones can plenty of fish and other marine animals. จะเห็นได้ว่าการใช้คำว่า waters ไม่ผิดที่จะใช้ แต่เมื่ออ่านต่อมาจะเห็นคำว่า fish ที่ต้องเป็น fishes แทน
ผมพยายามบันทึกสิ่งที่ควรพึงใส่ใจไว้สำหรับการสอบ CU-TEP ไว้ประมาณนี้ และหวังว่าคำแนะนำนี้ คงมีประโยชน์กับทุกๆท่านบ้างไม่มากก็น้อย ขอให้ทุกๆท่านโชคดีกับการสอบ CU-TEP นะครับ