นาฬิกา เมื่อสามัญสำนึกป่วยไข้ ............................................................ โดย ตระกองขวัญ

กระทู้คำถาม
มีข้อกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่สองข้อ

1. การแจ้งบัญชีทรัพย์สิน-หนี้สิน
2. การรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์เกินสามพันบาท



ตอนแจ้งทรัพย์สิน  ไม่มีเรื่องนาฬิกานับ 22 เรือน มูลค่าหลายสิบล้านรวมอยูด้วย
แล้วก็กลายมาเป็นเรื่องว่า ยืมเพื่อนมาใส่ เพื่อนเสียชีวิตไปแล้ว คืนครอบครัวเพื่อนไปแล้ว

ทำไมถึงต้องเป็นเรื่องยืม
ก็เพราะรับตำแหน่งมาตั้งแต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ และรัฐบาลปัจจุบัน
การแจ้งบัญชีทรัพย์สิน ทั้งในการเข้ารับตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง  ไม่เคยมีเรื่องนาฬิกา
"ยืม"  จึงเป็นข้ออ้างที่เป็นทางออกดีที่สุด  คือ แค่ "ยืม" ก็จบ
หากบอกว่าซื้อ  ต้องชี้แจงเป็นอลเวงเลยว่า  ซื้อเมื่อไร หลักฐานอยู่ไหน ทำไมไม่ชี้แจง

ประเด็นนี้  อยู่ที่ความน่าเชื่อถือ  
ความน่าเชื่อถือจะเกิดก็คือ  มีหลักฐานปรากฎชัดว่า  นาฬิกาเป็นของเพื่อนที่เสียชีวิตไปแล้วจริง ๆ

เท่านั้นเอง

แต่หลักฐานก็ไม่ปรากฎ   กลับปรากฎการยุติการหาหลักฐานแทน
ยกคำร้อง



เรื่องรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์เกินสามพันบาท
กฎหมายข้อนี้ชัดมาก  ว่าห้าม  ไม่ว่ากรณีใด ๆ  ยกเว้นตามธรรมจรรยา

การ "ยืม" ไม่ใช่เรื่องธรรมจรรยาแน่ ๆ

ก็รอดูว่าจะออก "รู" ไหน




กฎหมายมี   แต่กฎหมายกลายเป็นกฎเมิน
เรื่องบัญชีทรัพย์สิน-หนี้สิน  ถูกยุติเรื่องไปแล้ว  ด้วยคำว่า "ยืม"
เรื่องเกินสามพันบาท  ผ่านมาเป็นปี  ยังสอบไม่เสร็จ   คือคนสอบคงมึนมั้งว่า จะหารูไหนให้ไม่ใช่การรับผลประโยชน์

อย่าออกมาในรูปว่า  เป็นแค่การยืมใส่ในบางครั้งบางคราว ชั่วขณะ  ไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่ตีมูลค่าได้ ก็แล้วกัน
เพราะจะไปขัดกับคำว่า  พอเกิดปัญหาก็คืนเพื่อนไปหมดแล้ว



ที่ปวดตับสุด ๆ  ก็คือ   คนเกลียดคนโกง  คนรับไม่ได้กับการโกง
ดันเชื่ออย่างไม่มีข้อสงสัย และเรียกร้องว่า หาหลักฐานมาเอาผิดสิ อย่าแค่มโน

เซ่อสิครับ  เพราะแทนที่คนยืมจะหาหลักฐานมาแสดงว่า นี่ไง ยืมจริง  นี่ไงหลักฐานการซื้อนาฬิกาว่าเป็นของคนอื่นจริง  
กลับกลายว่าคนสงสัยต้องหาหลักฐาน   กลายเป็นว่าคนใส่นาฬิกาบอกว่ายืม จบ
ใครเห็นว่าไม่น่าเชื่อ  ก็ไปหาหลักฐานมาว่าไม่ได้ยืม

มึนตึ๊บ
มึนตึ๊บ



คือ เป็นเรื่องความน่าเชื่อถือ   ไม่ใช่เรื่องกล่าวหาเอาผิดที่คนกล่าวหาต้องใช้หลักฐานเอาผิด
อยู่แค่ขั้นตอน "ความน่าเชื่อถือ"   ที่ควรมีอะไร ๆ ให้น่าเชื่อถือ    แต่อย่างว่า  จะเชื่อซะอย่าง

คือ เมื่อไม่มีความน่าเชื่อ  ข้อกล่าวหาก็จะเกิดตามมา
แต่เพื่อไม่ให้เกิดข้อกล่าวหา  ก็จบง่าย ๆ ว่า เชื่อว่ายืมมาจริง  ไม่มีหลักฐาน  หาหลักฐานยาก  จบ

นี่แหละกฎหมายจึงกลายเป็นกฎเมิน

แต่เรื่องนี้  ไม่ใช่เรื่องข้อกฎหมายอย่างเดียว   แต่เป็นเรื่อง สามัญสำนึก  ด้วย

ใครมี  ใครไม่มีสามัญสำนึก  เห็นได้จากเรื่องนี้แหละครับ




ใช้เวลาเป็นปี  เพื่อบอกว่า  นาฬิกาอยู่ในบ้านใคร  พบหลักฐาน 3 เรือนจาก 22 เรือน  ยกคำร้อง
ใช้เวลาเป็นปี  เพื่อบอกว่า  เรื่องรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์เกินสามพัน  ยังไต่สวนไม่เสร็จ

สามัญสำนึกผมต้องรีบวิ่งไปหาหมอเลยครับ

ไปหาหมอคราวหน้า  จะให้ริโตะพาไป
เพราะริโตะชำนาญการในเรื่องหมอ ๆ
อมยิ้ม16
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่