ชีวิตหญิงไทย 200 ปี -- เรามาถึงจุดๆนี้ได้ยังไง?

ก่อนที่จะเริ่มอ่านอ่านอันนี้ก่อนหน่อยนะคะ
ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่โรสได้สรุปจากสิ่งที่อ่านมา (source อยู่ด้านล่างนะคะ) ถ้ามีตรงไหนผิดพลาดหรือ fact ไม่แม่น
สามารถบอกได้เลยนะคะจะรีบเช็คและแก้ไข ใครที่อยากเสริมเข้าไปในตัวบทความสามารถทิ้งข้อมูลไว้ในคอมเมนต์ได้นะคะ
สนับสนุนให้คนไทยมาแชร์ความรู้และไอเดียกันค่ะ ยิ้ม

***

เชื่อว่าทุกๆคนต้องเคยดูหนังไทยย้อนยุคอย่างน้อย 1 เรื่อง ในเรื่องที่แม้จะเกิดขึ้นเพียงสองร้อยปีที่แล้ว
ชีวิตในวันนี้กับวันนี้ก็ต่างกันมากจริงๆ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างทางชนชั้นและเพศ เพราะโรสเป็นผู้หญิง
ทำให้รู้สึกอินเวลามีฉากที่ผู้หญิงในสมัยก่อนโดนเหยียดเพศ แต่อยู่ๆวันนึงก็เกิดสงสัยขึ้นมาว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้างที่ทำให้สังคมเราเปลี่ยนไปจนถึงทุกวันนี้
ซึ่งยังมีอีกหลายๆ ประเทศในเอเชียที่ผู้หญิงยังคงเป็นชนชั้นที่สอง และมีกฎหมายที่ให้อำนาจผู้ชายมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด

ผ่านมา 200 ปี เกิดอะไรบ้าง?

ชีวิตของหญิงไทยเพิ่งจะเริ่มดีขึ้นเมื่อกลางศตวรรษที่
19 (หรือช่วงปีค.ศ. 1801 - 1900) ก่อนหน้านั้นผู้หญิงไทยนั้นเหมือนเป็นสิ่งของซะมากกว่า เพราะว่าสมัยนั้นสามีหรือพ่อแม่สามารถมารถขายหรือให้ภรรยา/ลูกตัวเองได้โดยไม่ผิด แต่ในปี 1867 นั้นรัชการที่4 ท่านได้ทรงสั่งห้ามไม่ให้เกิดการขายหรือให้ดังกล่าวขึ้นอีก ถือว่าเป็นครั้งแรกที่หญิงไทยมีคำสั่งจากหลวงคุ้มครองสิทธิในร่างกายและชีวิตของตัวเอง

แต่ว่าคำสั่งห้ามดังกล่าวนั้นมีผลมากน้อยแค่ไหนก็วัดไม่ได้เพราะว่าการซื้อขายผู้หญิง
(หรือทาส) ในสมัยนั้นไม่ได้ถูกจดบันทึกไว้ และเมืองไทยก็ไม่เคยได้มีตลาดค้ามนุษย์อย่างเป็นทางการมาก่อน
ส่วนใหญ่จะเป็นการให้และแลกเงินโดยตรง ไม่เหมือนในหนังฝรั่งที่มีการประมูลทาสกลางเมือง

นอกจากนี้แล้ว ร.4 ยังทรงอนุญาตให้นางสนมสามารถออกจากวังเพื่อมาอยู่กับลูกนอกวัง หรือถ้าไม่มีลูกก็สามารถขอออกมาเพื่อสร้างครอบครัวใหม่ได้อีกด้วย
ในสมัยก่อนนั้นลูกผู้หญิงของครอบครัวที่มียศระดับนึงมีโอกาสที่จะถูกส่งเข้าวังไปเป็นนางสนม เพราะหวังยศที่ใหญ่ขึ้น หรือเงินทองและที่ดิน

ทำไมต้องมีภรรยาหลายคน
เมื่อก่อนจำนวนภรรยา ที่ดิน และทาส เป็นตัวที่ใช้แสดงอำนาจและบารมี ดังนั้นการได้ลูกสาวคนอื่นไปเป็นภรรยา
ก็เหมือนการที่คนหนึ่งคนแสดงความเคารพและนับถือนั่นเอง


ทำไมรัชการที่4ทรงตัดสินใจที่ออกคำสั่งเหล่านั้น?
ว่าตามแหล่งข้อมูลแล้ว (ลิงค์อยู่ด้านล่าง) รัชการที4 เป็นกษัตย์องค์แรกๆที่นำความเชื่อและการปฏิบัติของฝั่งตะวันตกเข้ามาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย
เพราะว่าในสมัยนั้นประเทศไทยติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น ท่านจึงทรงเล็งเห็นว่าประเทศเราควรที่จะเดินไปข้างหน้าให้ทันประเทศทางฝั่งตะวันตก

การศึกษาสำหรับผู้หญิง
ในช่วงปลายศรรตวรรตที่ 19 นั้นถือได้ว่าเป็นช่วงที่การศึกษาอยู่ในขารุ่ง เพื่อสืบเนื่อง vision ที่จะปรับให้เมืองไทยตามทางตะวันตกให้ทัน ของรัชการที่4
รัชการที่5 ทรงได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทาง politic ครั้งใหญ่ ระบอบทาสโดนยกเลิก โรงเรียนสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีตังค์และลูกขุนนางได้ถูกสร้างขึ้น
ทำให้การศึกษาก็แพร่หลายมากยิ่งขึ้นในหมู่คนไทยไฮคลาส ลูกสาวครอบครัวดังๆมีตังค์ทั้งหลายก็ถูกส่งไปร่ำเรียนที่โรงเรียนมากขึ้น
แต่ว่าในตอนนั้นสิ่งที่ถูกสอนในโรงเรียนสำหรับผู้หญิงนั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่สามารถใช้ทำมาหากินได้
เพราะส่วนมากจะเป็นการสอนเพื่อเตรียมพร้อมออกเรือน และ How to เป็นภรรยาที่ดี

ส่วนชาวบ้านคนธรรมดาที่ไม่ค่อยมีเงินนั้นก็มีวัดเป็นแหล่งการเรียนรู้ชั้นดี แต่เพราะว่าสมัยนั้นผู้หญิงนั้นต้องเว้นระยะห่างจากพระแบบยาวไกลหลายเมตร
จึงไม่มีโอกาสที่จะได้เข้าไปในวันเรียนหนังสือ ส่วนใหญ่คนที่ได้เรียนก็ยังคงเป็นผู้ชายซะมากกว่า

ยุคที่ในที่สุดหญิงชายนั้นคือสหาย
เนื่องจากรัชการที่6 นั้น ทรงโปรดศิลปะและวัฒนธรรมของชาวตะวันตก เมืองไทยจึงได้รับอิถธิพลจาก culture ของทางตะวันตกมาเยอะระดับนึง
ภาพหญิงแต่งตัวสวยงาม ฟันขาวไม่เคี้ยวหมากก็เริ่มมาจากช่วงยุคนี้ ว่าด้วยเรื่องผู้ชายคนนึงแต่งงานกับผู้หญิงได้หลายคนนั้น
ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาโดยรัชการที่6 เช่นเดียวกัน ท่านทรงเห็นว่าการที่ผู้ชายมีหลายภรรยาได้นั้นเป็นการเอาเปรียบผู้หญิง แต่น่าเสียดายไม่มีใครสนับสนุนท่าน ผู้ชายหลายภรรยาจึงยังมีอยุ่ในสังคม พวกปาร์ตี้เข้าสังคมต่างๆแบบหนังฝรั่งก็เริ่มมาจากสมัยนี้เหมือนกันนะคะ
เพราะว่าท่านทรงให้ความเห็นว่าหญิงและชายไทยควรพูดคุยด้วยกันและแตะเนื้อต้องตัวกันได้เหมือนเพื่อนปรกติ
ในสมัยนี้จึงมีเพื่อนสหายต่างเพศให้เห็นมากขึ้นนั่นเอง

ในช่วงครึ่งแรกของศรรตวรรตที่ 20 นี้ก็เป็นช่วงที่ status ของหญิงไทยดีขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน
ช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องสร้างภาพความดูดีและศิวิไล และยกระดับให้เท่าฝั่งตะวันตก
เพื่อให้ชาติอื่นเห็นว่าเราแข็งแรง จะตีเราไม่ได้นะ แต่ประเทศจะดูฉลาดศิวิไลไม่ได้ถ้าคนในประเทศส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการศึกษาในระดับที่เท่าเทียมกัน
ผู้หญิงได้มีโอกาสได้เข้าไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัยมากขึ้น และหลายๆคนนั้นได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลให้ไปเรียนเป็นพยาบาลที่เมืองนอก
(เพราะว่าพยาบาลช่วงสงครมไม่ค่อยพอด้วย) นอกจากนี้แล้วประเทศไทยยังเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ผู้หญิงสามารถโหวตเลือกตั้งได้
และในที่สุดกฎหมายใหม่ก็ได้ระบุให้ผู้ชายมีภรรยาได้เพียงคนเดียว

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในยุคนี้นั้นเปิดโอกาสให้ผู้หญิงไทยสามารถเข้าไปแจมในงานต่างๆที่เมื่อก่อนไม่มีหวังที่จะยื่นมือเข้าไปลอง
ทั้งสายอาชีพ การเมือง และอีกหลายๆอย่าง

ในช่วงปลายศรรตวรรตที่ 20 คุ้นๆกันมั้ยคะว่าเกิดอะไรขึ้นในปี 1973.... 14 ตุลานั่นเอง
นอกจาก 14 ตุลาจะเป็นครั้งแรกที่นักศึกษาไทยลุกขึ้นมาประท้วง สู้เพื่อความยุติธรรมแล้ว ยังเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้รัฐบาลต้องกลับไปเปลี่ยนกฎหมายที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกชนชั้น และออกรัฐธรรมนูญใหม่ที่ให้สิทธิคนไทยทุกๆคนอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นเพศหรือศาสนาไหน

หลังจากนั้นทุกๆอย่างก็ดีขึ้นมากเรื่อยๆ ในระยะเวลาเพียงไม่กี่สิบปีนั้น จำนวนผู้หญิงที่เข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้พุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
สูงกว่าจำนวนนักศึกษาชายซะอีก (มิน่าหาแฟนในมหาลัยมันยากเหลือเกิน) และประเทศไทยนั้นก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีจำนวน CEO ผู้หญิงที่เยอะที่สุดในโลก!


ก็จริงอยู่ที่ผู้หญิงไทยเรานั้นเดินมาไกลจริงๆในระยะเวลาเพียงแค่200ร้อยปี แต่สถิติต่างๆไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าไม่มีการเหยีดเพศเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย
ถึงแม้ ‘explicit bias’ (การที่เราลำเอียงแบบที่รู้ตัว) ในเรื่องของเพศนั้นอาจจะดีขึ้นมากจากสมัยก่อนแล้ว แต่ ‘implicit bias’ (การที่เราลำเอียงแบบที่เราไม่รู้ตัว) นั้นยังคงเกิดขึ้นในสังคมเรา เนื่องจากการลำเอียงในรูปแบบนี้กำจัดออกไปได้ยาก เพราะมันเกิดขึ้นจากการโดนชี้นำและปลูกฝังจากครอบครัว
ที่ๆเราถูกเลี้ยงขึ้นมา สังคมที่เราอยู่ ฯลฯ และไม่ใช้แค่เฉพาะระหว่างเพศนะคะ แต่เป็น bias ในเรื่องชาติ และความเชื่ออีกด้วย
ซึ่งคอนเซปท์ implicit bias ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่น่าศึกษาเพื่อหาสาเหตุถึงความ Bias ลึกๆที่เราเองอาจจะรู้สึกโดยไม่รู้ตัว
เอาเป็นว่าอาจจะมาเขียนเรื่องนี้ในบทความหน้านะคะ : )



อยากรู้เกี่ยวกับ
Implicit Bias มากขึ้น? ดูคลิปนี้ได้เลยค่ะ สรุปสั้นๆได้กระชับมากมาย
https://www.youtube.com/watch?v=fuGu_ughDGw

ติดตามบทความใหม่ๆของโรสได้ที่: https://medium.com/@rosevallikul
บทความแรก:
https://medium.com/@rosevallikul/โลกที่ทุกๆอย่างราคาเท่าต้นทุนนั้นอยู่ไกลไม่เกินเอื้อม-the-third-industrial-revolution-31ce5db44608

Source
เกี่ยวกับประวัติต่างๆ:
https://www.tsukuba-g.ac.jp/library/kiyou/99/10.ONOZAWA.pdf
https://pdfs.semanticscholar.org/7b28/01cd842dccc898c660814f2f9709c632ecac.pdf
http://whattodobangkok.com/thailand-royal-family/king-of-siam-rama-iv/

สถิติอื่นๆ:
http://www.nationmultimedia.com/detail/breakingnews/30308273
http://uis.unesco.org/country/TH



มาร่วมแชร์ความรู้และไอเดียดีๆกันเถอะค่ะ!
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
แรกเริ่มเดิมที่ ภูมิภาคอุษาคเนย์นี้เป็น มาตาธิปไตย นะครับ

สังเกตว่า ในชื่อเรียกดั้งเดิม เราจะเรียกนั่นเรียกนี่ ขึ้นต้นด้วยคำว่า แม่

น้อยมาก ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า พ่อ

แม้แต่ในทุกวันนี้ ก็ยังเหมือนเดิม ในชนบทหลายๆ พื้นที่ ผู้ที่รับสืบทอดมรดกคือลูกสาวนะครับ เพราะถือว่าผู้หญิงนั้นเป็นคนเลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่ชรา ส่วนฝ่ายชายนั้นแต่งเข้าบ้านฝ่ายหญิง

ภูมิภาคนี้เริ่มเปลี่ยนมาเป็น ปิตาธิปไตย ก็ตั้งแต่รับวัฒนธรรมจีนและอินเดียเข้ามานี่ล่ะครับ สังเกตได้ว่า จีนกับอินเดียนี่เป็นวัฒนธรรมที่ชายเป็นใหญ่อย่างแท้จริง และทั้งสองชาติต่างก็ให้ฝ่ายหญิงแต่งเข้าบ้านฝ่ายชาย นอกจากนี้ทั้งวัฒนธรรมจีนและอินเดียยังแบ่งแยกหน้าที่ของหญิงและชายออกจากกันอย่างชัดเจน วัฒนธรรมนี้เริ่มเข้ามาให้เห็นอย่างเด่นชัดในสมัยอยุธยาครับ เพราะเรารับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาจากทางอินเดียและจีน ดังนั้นวัฒนธรรมเรื่องการแบ่งแยกหญิงชายก็รับเข้ามาด้วย ดังนั้นราชสำนักอยุธยาเป็นต้นมา จึงแบ่งแยกฝ่ายหน้ากับฝ่ายในออกจากกันชัดเจน เรื่องการทหาร หรือการปกครอง และเรื่องใหญ่ต่างๆ จึงโดนกำหนดโดยผู้ชายนับแต่นั้นเป็นต้นมา หลังจากนั้นแนวคิดนี้ก็ถูกส่งต่อจากราชสำนักไปยังราษฎรทั่วไปในที่สุด

แต่ทั้งนี้ ยังดีว่าการแบ่งแยกชายหญิงของเรายังไม่หนักข้อเท่ากับทางจีนและอินเดียครับ จีนกับอินเดียนี่กดขี่แบบมหาโหด ในอินเดียเดิม มีพิธีที่เรียกว่า พิธีสตี คือ หากว่าสามีตายก่อนภรรยา จะโดนญาติๆ กดดันให้ภรรยานั้นเผาตัวตายตามสามีไปด้วยครับ ปัจจุบันนี่ยกเลิกไปได้เยอะแล้วครับ แต่ในพื้นที่ห่างไกลบางแห่งก็ยังเชื่อกันแบบนี้อยู่  ในขณะที่บ้านเรานับตั้งแต่อยุธยาลงมานั้นไม่ได้หนักข้อแบบนี้ ฝ่ายหญิงยังมีอำนาจในการเสนอความคิดเห็นและตัดสินใจต่างๆ อยู่พอสมควรครับ

ข้อเสียเปรียบของหญิงไทยในอดีตคือเรื่องการศึกษา เพราะสมัยก่อนมีแต่ต้องไปเรียนที่วัด และผู้ถ่ายทอดก็จะเป็นพระสงฆ์ ซึ่งมีข้อจำกัดมากกว่าฝ่ายชาย เช่น ไม่อยู่ด้วยกันยามวิกาล ไม่อยู่ร่วมกันสองต่อสองในที่รโหฐาน ดังนั้นสิ่งที่ผู้หญิงเรียนรู้ได้จึงมีแต่เรื่องการบ้านการเรือนเท่านั้นครับ ยิ่งเวลาผ่านไป ความแตกต่างตรงนี้ก็ยิ่งห่างกันมากขึ้นไปเรื่อยๆ

หญิงชาวบ้านไทยเริ่มกลับมามีบทบาทอีกครั้งนับตั้งแต่กรณี อำแดงเหมือน ครับสมัยนั้นราชสำนักเริ่มตื่นตัวกับสิทธิความเท่าเทียมทางเพศแล้ว เพราะมีเจ้านายฝ่ายหญิงจำนวนมาก และกำลังเผชิญภัยคุกคามจากอังกฤษที่มีผู้ปกครองคือพระราชินีนาถวิคตอเรีย เพียงแต่เรื่องนี้ยังไม่ค่อยตื่นตัวในระดับชาวบ้าน จนการมาถึงของอำแดงเหมือน นี่ล่ะครับ สมัยนั้นผู้หญิงยังไม่มีการไปโรงเรียนแบบเป็นทางการ แต่เริ่มได้รับการศึกษาในวงกว้างขึ้นโดยการไปศึกษาเล่าเรียนจากคณะมิชชันนารีคริสตังและคริสเตียนครับ หลังจากนั้นก็ดีขึ้นมาโดยลำดับ

ส่วนเรื่องผัวเดียวเมียเดียว นี่ก็เป็นความนิยมมาจากทางตะวันตกเช่นกันครับ เพิ่งมาบูมจริงๆ ก็ช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 และ 7 นี่เอง โดยเฉพาะในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงมีภรรยาเพียงคนเดียว หลังจากนั้นจึงเป็นเทรนด์มีภรรยาคนเดียวตามกันมาเรื่อยๆ

บ้านเราถือว่าเร็วแล้วนะครับ อีกหลายๆ ประเทศสิทธิสภาพของผู้หญิงยังแย่อยู่เลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่