ขอแบ่งปันบทความจากที่คุณพ่อได้เขียนเรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังจากการได้ไปเรียนในห้องเรียนพ่อแม่แล้วลงไว้ในบล็อคนะคะ
เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายท่านค่ะ (ลูกสาวอายุยังไม่สองขวบค่ะ)
ตอนที่ 3 สิ่งเล็กๆที่มิอาจมองข้าม
เหตุการณ์ ที่ผมจะเล่าต่อไปนี้มักจะเกิดขึ้นกับพ่อแม่ มนุษย์เงินเดือนเป็นส่วนใหญ่เคยไหมครับ
ที่เวลาเราจะออกจากบ้านไปทำงาน แล้วลูกร้องตามแล้วเราก็จะทำเนียนๆ ออกจากบ้าน เพราะกลัวลูกร้อง
ผมกับภรรยาทำบ่อยครับ
โดยการให้ย่าล่อหลอกให้ณดาไปดูแมวบ้าง ดูนั้นดูนี่บ้าง เพราะกลัวเค้าร้องครับ
แต่หารู้ไม่เหตุการณ์เล็กๆแค่นี้ถือเป็นเหตุการณ์เลวร้ายสำหรับเด็กจะทำให้เกิด
ประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ไม่ถูกระบุขึ้นมาและ ฝังตัวลงไป เป็น Implicit Memory
คือเป็นความทรงจำที่เราจำไม่ได้ หากพูดในทางจิตวิทยาก็คือเหตุการณ์ที่ฝังตัวลงไปในจิตไร้สำนึกสั่งสมกลายเป็นปม
ที่แม้เวลาจะผ่านไปแต่มันก็ยังคอยหลอกหลอนและส่งผลต่อลักษณะนิสัยของคนๆนั้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
เคยเห็นไหมครับผู้หญิงที่ติดแฟน มากๆ หรือผู้ชายที่หวงแฟนมากๆ หวงจนไรเหตุผล
บางทีแค่หายหน้าไปแป็บก็ถึงกับโมโหว่าเธอไปไหนมา โทรตามจิก นี่แหละครับ สาเหตุที่สั่งสมมาจากวัยเด็ก
อีกหนึ่งตัวอย่างนะครับ คุณเคยไหมครับที่รู้สึกไม่ชอบขี้หน้าคนนี้เลยทั้งๆที่ยังไม่เคยคุยกันด้วยซ้ำ ก็เนื่องมาจาก ผลของ Implicit Memory ที่เราเคยโดนคนลักษณะนั้นๆทำให้โกรธหรือพบเจอเรื่องแย่ๆ ในอดีตที่เรานั้นลืมไปแล้ว
สำหรับผมแล้ววิธีการที่จะไม่ให้เกิด Implicit Memory ขึ้นนะครับก็ได้รับการแนะนำมา ว่า…
ก่อนออกจากบ้านให้บอกลูกไปเลย ว่าเรากำลังจะไปทำงานแล้วนะ ในวันรุ่งขึ้นผมกับภรรยาก็ได้ทดลองทำเลยครับ
ผลปรากฎว่าลูกสาวดูเหมือนจะร้องและโผเข้าหาแม่ แม่ก็กอดแน่นๆและบอกกับเค้าว่าพ่อกับแม่จะไปทำงานแล้วนะ
ลูกก็เข้าใจครับและก็โผไปหาย่า แถมยังโบกมือบายๆ ส่งพ่อกับแม่ อีกแนะ
สรุปคือได้ผลครับ บางครั้งการที่เรากลัวลูกร้องนี่ก็อาจจะส่งผลร้ายแรงโดยไม่รู้ตัวเลยทีเดียว
ผมอยากจะยกบทความของอาจารย์ วิศิษฐ์ วังวิญญู จากในเฟสบุคมาให้อ่านเพื่อความเข้าใจมากขึ้นนะครับ อาจยาวนิดหนึ่งแต่อยากแบ่งปันเรื่องราวดีๆครับ
(ขออนุญาติซ่อนนะคะเพราะเกรงว่าบางท่านจะไม่สะดวกอ่าน)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้“เรื่องเล่า” จุดเชื่อมต่อระหว่างความคิด กับอารมณ์ความรู้สึก ภาพ อุดมคติของชีวิตก็คือสมองทั้งสองซีกสามารถหลอมเข้ามาทำงานร่วมกันได้
สิ่งที่น่าสนใจก็คือศาสตร์สายงานวิจัยสมองเขาจะให้ความสำคัญกับ “เรื่องเล่า”เป็นอย่างมากคือในชีวิตมนุษย์นี่ โดยเฉพาะในเด็ก เวลาเจอเรื่องทุกข์ใจเจออารมณ์ความรู้สึกที่รับมือได้ยาก สมองซีกขวามันจะรับเข้ามาก่อนในช่วงแรกที่เรื่องเข้ามาปะทะ
สมองซีกขวาจะปั่นป่วน สับสน เต็มไปด้วยความรู้สึกที่ระบุไม่ได้ตรงนี้ ถ้าพ่อแม่มีความเข้าใจ พ่อแม่ก็จะสามารถเอาสมองซีกขวาของตนมาเชื่อมต่อเข้ากับสมองซีกขวาของลูกก่อน ที่จะรีบอธิบายด้วยเหตุผล (สมองซีกซ้าย) โดยปฏิเสธความเจ็บปวดที่เด็กกำลังเผชิญอยู่(ตัวอย่าง Classic ก็คือ ลูกล้ม พ่อแม่ก็รีบวิ่งเข้ามาแล้วบอกลูกว่า “ไม่เจ็บลูกอย่าร้องไห้!!”)
ขั้นแรกในการเอื้อให้ลูกรับมือความเจ็บปวด พ่อแม่ต้องเชื่อมต่อแบบขวา-ขวาก่อนคือรับรู้สิ่งที่เด็กกำลังเผชิญอยู่รับรู้ไม่ใช่แค่ในความคิด แต่เข้าไปเห็นอกเห็นใจ สื่อสารกับเขาด้วยภาษาเดียวกัน คือภาษาของสีหน้าท่าทาง สมองซีกขวาคือประตูที่พ่อแม่จะสามารถเข้าไปช่วยเหลือลูกได้จริงๆ อันนี้ก็คือการเริ่มต้นด้วยการConnect ขั้นต่อมา พอเชื่อมต่อแล้วเราก็ค่อยๆน้อมนำให้ลูกพัฒนาสมองซีกซ้ายของเขาค่อยๆให้เขา เอาสมองซีกซ้ายเชื่อมเข้ามา เรื่องเล่าจะเข้ามามีบทบาทตรงนี้
การประกบความคิดเข้ากับอารมณ์ความรู้สึกการระบุอารมณ์ที่เกิดขึ้นก็จะช่วย สงบความสับสนอลหม่านในสมองซีกขวาลงได้ในหนังสือเรียกกระบวนการนี้ว่า “Making Sense” คือการระบุประสบการณ์อารมณ์ความรู้สึกที่ยุ่งเหยิงขึ้นมาเป็นเรื่องเล่าที่ สามารถทำความเข้าใจได้ เหตุการณ์ที่เจ็บปวด กับความทรงจำ 2 ประเภท เมื่อ เด็กพบเจอกับความเจ็บปวด หากพ่อแม่สามารถ Connect แล้วค่อยๆช่วยให้เขาลำเลียงเรื่องราวภายในของตนออกมาจนสามารถทำความเข้าใจ มันได้เป็นเรื่องราวที่ Make Sense สำหรับเขา เหตุการณ์ความเจ็บปวดดังกล่าวก็จะไม่คั่งค้างในการเล่าเรื่องนั้นเองที่ เหตุการณ์จะค่อยๆแปรสภาพเป็น Explicit Memory คือเป็นความทรงจำที่สามารถรับรู้ได้ชัดจำได้ ตระหนักว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอดีตไปแล้ว
แต่ถ้าในตอนนั้น เด็กไม่มีผู้ใหญ่ที่เข้าใจที่ช่วยให้เขาทำความเข้าใจเรื่องราวของตนเอง ประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ไม่ถูกระบุขึ้นมาเป็นเรื่องเล่าก็จะฝังตัวลงไป เป็นImplicit Memory คือเป็นความทรงจำที่เราจำไม่ได้ หากพูดในทางจิตวิทยาก็คือเหตุการณ์ที่ฝังตัวลงไปในจิตไร้สำนึกสั่งสมกลาย เป็นปม ที่แม้เวลาจะผ่านไป แต่มันก็ยังคอยหลอกหลอน คอยก่อกวนชีวิตของเราต่อมาโดยเราไม่รู้ตัว
อย่างคนบางคน ตอนเด็กอาจมีประสบการณ์เลวร้ายกับการแสดงออกในที่สาธารณะพอเกิดความรู้สึก แย่แล้วผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ กลับบอกให้กล้ามากขึ้นกลับรีบบอกให้ตั้งใจออกไปแสดงใหม่ ความรู้สึกแย่ที่ไม่ได้รับการดูแลก็จะคั่งค้างฝังลงไปเป็น Implicit Memory ที่แม้เมื่อโตขึ้นคนๆนั้นอาจลืมเรื่องราวดังกล่าวไปแล้วแต่ความกลัวการ แสดงออกก็ยังคงก่อกวนอยู่อย่างไม่รู้ที่มา แนวโน้มของการตัดอารมณ์ความรู้สึก หาก เราโตขึ้นมาในบ้านที่การเชื่อมต่อซีกขวากับซีกขวาขาดหายไปโอกาสที่เราจะได้ ทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกก็จะมีน้อยมาก เมื่อขาดสัมผัสทางใจจากผู้ใหญ่ความทุกข์ก็จะกลายเป็นสิ่งที่เด็กเกินจะทานทน นี่อาจเป็นสาเหตุให้เด็กหลายคนต้องดูแลตัวเองผ่านการ “ผลักไสอารมณ์ความรู้สึก”พยายามตัดการทำงานของสมองซีกขวาออกไปทั้งยวง (จริงๆ ก็ไม่ใช่ตัด เพียงปิดการรับรู้ถึงมันมากกว่า)
เมื่อไม่มีคนที่พร้อมจะฟังเราก็ไม่พูด เมื่อไม่พูดไปนานๆ เราก็อาจไม่รับรู้ถึงมันอีกต่อไปเราโตขึ้นกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่ยอมรับ อารมณ์ความรู้สึกโดยเห็นว่ามันเป็นความอ่อนแอ ภายนอกเราดูเข้มแข็ง มีเหตุผล แต่ก็ด้านชาเราไม่รับรู้อารมณ์ตัวเอง และยากที่จะเข้าใจอารมณ์ของผู้คนรอบข้าง ที่สำคัญเมื่อเราปิดการทำงานของสมองซีกขวา ความสามารถในการ Connect กับผู้คนก็หายไปด้วยเราแยกขาดจากคนที่เรารัก กลายเป็นความเหงาที่เราไม่รับรู้เป็นความเหงาที่ระบุไม่ได้
จริงๆแล้วเรื่องการบอกลูกก่อนออกจากบ้านหลายบ้านอาจทำอยู่แล้ว อันนั้นเป็นเรื่องดีมากๆเลยครับ เพราะผมก็พึ่งจะมาลองทำดูแล้วเห็นผลที่รู้สึกดีมากๆ บางคนอาจจะรู้สึกเฉยๆกับเรื่องนี้ แต่สำหรับบ้านของเราเราคิดว่าเป็นเรื่องไม่ใหญ่แต่ได้ผลลัทพ์ที่น่าสนใจและประจักษ์กับตัวผมเองแล้วจริงๆ
คุณพ่อ
---------------------
เป็นกำลังใจให้พ่อแม่ทุกคนค่ะ
copy จาก
http://nadahome.wordpress.com/
อยากแบ่งปันเรื่องดีๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เวลาจะออกจากบ้านแล้วต้องค่อยๆย่องแอบลูกเล็กออกไป
เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายท่านค่ะ (ลูกสาวอายุยังไม่สองขวบค่ะ)
ตอนที่ 3 สิ่งเล็กๆที่มิอาจมองข้าม
เหตุการณ์ ที่ผมจะเล่าต่อไปนี้มักจะเกิดขึ้นกับพ่อแม่ มนุษย์เงินเดือนเป็นส่วนใหญ่เคยไหมครับ
ที่เวลาเราจะออกจากบ้านไปทำงาน แล้วลูกร้องตามแล้วเราก็จะทำเนียนๆ ออกจากบ้าน เพราะกลัวลูกร้อง
ผมกับภรรยาทำบ่อยครับ
โดยการให้ย่าล่อหลอกให้ณดาไปดูแมวบ้าง ดูนั้นดูนี่บ้าง เพราะกลัวเค้าร้องครับ
แต่หารู้ไม่เหตุการณ์เล็กๆแค่นี้ถือเป็นเหตุการณ์เลวร้ายสำหรับเด็กจะทำให้เกิด
ประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ไม่ถูกระบุขึ้นมาและ ฝังตัวลงไป เป็น Implicit Memory
คือเป็นความทรงจำที่เราจำไม่ได้ หากพูดในทางจิตวิทยาก็คือเหตุการณ์ที่ฝังตัวลงไปในจิตไร้สำนึกสั่งสมกลายเป็นปม
ที่แม้เวลาจะผ่านไปแต่มันก็ยังคอยหลอกหลอนและส่งผลต่อลักษณะนิสัยของคนๆนั้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
เคยเห็นไหมครับผู้หญิงที่ติดแฟน มากๆ หรือผู้ชายที่หวงแฟนมากๆ หวงจนไรเหตุผล
บางทีแค่หายหน้าไปแป็บก็ถึงกับโมโหว่าเธอไปไหนมา โทรตามจิก นี่แหละครับ สาเหตุที่สั่งสมมาจากวัยเด็ก
อีกหนึ่งตัวอย่างนะครับ คุณเคยไหมครับที่รู้สึกไม่ชอบขี้หน้าคนนี้เลยทั้งๆที่ยังไม่เคยคุยกันด้วยซ้ำ ก็เนื่องมาจาก ผลของ Implicit Memory ที่เราเคยโดนคนลักษณะนั้นๆทำให้โกรธหรือพบเจอเรื่องแย่ๆ ในอดีตที่เรานั้นลืมไปแล้ว
สำหรับผมแล้ววิธีการที่จะไม่ให้เกิด Implicit Memory ขึ้นนะครับก็ได้รับการแนะนำมา ว่า…
ก่อนออกจากบ้านให้บอกลูกไปเลย ว่าเรากำลังจะไปทำงานแล้วนะ ในวันรุ่งขึ้นผมกับภรรยาก็ได้ทดลองทำเลยครับ
ผลปรากฎว่าลูกสาวดูเหมือนจะร้องและโผเข้าหาแม่ แม่ก็กอดแน่นๆและบอกกับเค้าว่าพ่อกับแม่จะไปทำงานแล้วนะ
ลูกก็เข้าใจครับและก็โผไปหาย่า แถมยังโบกมือบายๆ ส่งพ่อกับแม่ อีกแนะ
สรุปคือได้ผลครับ บางครั้งการที่เรากลัวลูกร้องนี่ก็อาจจะส่งผลร้ายแรงโดยไม่รู้ตัวเลยทีเดียว
ผมอยากจะยกบทความของอาจารย์ วิศิษฐ์ วังวิญญู จากในเฟสบุคมาให้อ่านเพื่อความเข้าใจมากขึ้นนะครับ อาจยาวนิดหนึ่งแต่อยากแบ่งปันเรื่องราวดีๆครับ
(ขออนุญาติซ่อนนะคะเพราะเกรงว่าบางท่านจะไม่สะดวกอ่าน)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จริงๆแล้วเรื่องการบอกลูกก่อนออกจากบ้านหลายบ้านอาจทำอยู่แล้ว อันนั้นเป็นเรื่องดีมากๆเลยครับ เพราะผมก็พึ่งจะมาลองทำดูแล้วเห็นผลที่รู้สึกดีมากๆ บางคนอาจจะรู้สึกเฉยๆกับเรื่องนี้ แต่สำหรับบ้านของเราเราคิดว่าเป็นเรื่องไม่ใหญ่แต่ได้ผลลัทพ์ที่น่าสนใจและประจักษ์กับตัวผมเองแล้วจริงๆ
คุณพ่อ
---------------------
เป็นกำลังใจให้พ่อแม่ทุกคนค่ะ
copy จาก http://nadahome.wordpress.com/