NGThai
Daniah De Villiers รับบทเป็นมีอา ในภาพยนตร์ “Mia and the White Lion”
ขอบคุณภาพจาก IMDB
This is Africa! เมื่อการล่าถูกกฎหมายช่วย อนุรักษ์สัตว์ป่า
ในชุมชนของคุณทุกๆ ปีจะต้องมีสมาชิกถูกสังเวยชีวิตราว 10 คน นี่คือเงื่อนไขที่จะปกป้องผู้คนทั้งชุมชนเอาไว้ ฟังดูไม่สมเหตุสมผลใช่ไหม? ทำไมต้องฆ่าใครสักคนโดยไม่จำเป็นด้วย สถานการณ์ตัวอย่างนี้ไม่ใช่โลกจากหนังสือนวนิยาย “The Hunger Games” แต่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับบรรดาสัตว์ป่าในทวีปแอฟริกา เมื่อ การล่าสัตว์เพื่อเป็นรางวัล (Trophy Hunting) กำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือพิทักษ์ธรรมชาติองค์รวมทั้งหมด
(หมายเหตุบทความต่อไปนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ “Mia and the White Lion”)
ในภาพยนตร์เรื่อง
“Mia and the White Lion” ซึ่งบอกเล่ามิตรภาพระหว่าง “มีอา” เด็กหญิงชาวอังกฤษที่ย้ายมาอาศัยอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้ กับ “ชาร์ลี” ลูกสิงโตขาวที่เกิดในฟาร์มเพาะพันธุ์ของครอบครัว มีฉากสะเทือนใจที่ฉายภาพให้เห็นถึงอีกด้านหนึ่งของแอฟริกาที่ไม่ได้มีแค่ธรรมชาติงดงามเพียงอย่างเดียว มีอาค้นพบความจริงอันปวดร้าวว่าที่ผ่านมาสิงโตจากฟาร์มของเธอจำนวนหนึ่งถูกส่งไปตาย ให้บรรดานักท่องเที่ยวต่างชาติที่ชื่นชอบการล่าเป็นพิเศษได้สุขสำราญกับการยิงสัตว์ป่าแบบถูกกฎหมาย “นี่คือวิถีของแอฟริกา และเธอเปลี่ยนอะไรมันไม่ได้” ใครบางคนกล่าวเช่นนั้นกับเธอ
ใช่! เพราะที่แอฟริกา การล่าสัตว์ซับซ้อนกว่าแค่หอบหิ้วปืนผาหน้าไม้ออกไปยิงตัวอะไรก็ตามที่พบเจอ และความตายที่ไร้เหตุผลนี้เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของสัตว์อื่นๆ ไปจนถึงชนพื้นเมือง และเศรษฐกิจของประเทศ
ชาร์ลีและมีอา จากภาพยนตร์ “Mia and the White Lion” ทั้งคู่เติบโตขึ้นมาด้วยกันในฟาร์มของครอบครัว ก่อเกิดเป็นมิตรภาพข้ามสายพันธุ์อันน่าประทับใจ
ขอบคุณภาพจาก IMDB
อันที่จริงทวีปแอฟริกาไม่ใช่ดินแดนบริสุทธิ์อีกแล้ว ทุกวันนี้แทบไม่มีที่ดินผืนไหนที่ไม่ถูกอ้างกรรมสิทธิ์ และบรรดาสัตว์ป่าน้อยใหญ่เองก็มีชีวิตไม่ต่างจากสินค้า ในแต่ละปีธุรกิจการล่าสัตว์เพื่อเป็นรางวัล เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ทำกำไรให้แก่ประเทศนั้นๆ มหาศาล ขอเพียงคุณมีเงิน ช้างตัวโตก็ล้มได้ไม่ยาก แถมหิ้วของที่ระลึก และเรื่องผจญภัยกลับไปเล่าให้ลูกหลานฟังได้อีกยาว บรรดาผู้ล่าเหล่านี้เดินทางมายังทวีปแอฟริกาพร้อมๆ กับนักท่องเที่ยว จะต่างกันก็ตรงที่พวกเขาไม่ได้สะพายกล้อง แต่สะพายปืนไรเฟิล
งานวิจัยโดย ศาสตราจารย์ Peet van der Merwe จาก Toursim Research in Economic Environs and Society หรือ TREES ร่วมกับสถาบัน Professional Hunters of South Africa พบว่า การล่าเพื่อรางวัลทำรายได้ให้ประเทศแอฟริกาใต้มากถึง 1,980 ล้านแรนด์ หรือมากกว่า 4,400 ล้านบาท
โดยเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการล่าสัตว์เพื่อรางวัลอยู่ที่ 134,500 แรนด์ หรือราว 330,000 บาท แต่ถ้าในแอฟริกาใต้ราคาจะสูงขึ้นเป็นเฉลี่ยที่ 590,000 บาท ทั้งนี้ราคาจะผันแปรไปตามประเทศและชนิดของสัตว์ที่ต้องการล่า จากการสำรวจในปี 2015 – 2016 สัตว์ที่นิยมล่ามากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ อิมพาลา, หมูป่าหน้าหูด, สปริงบ็อก (สัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่งจำพวกแอนทิโลป), คูดู และเบลสบอค แต่หากวัดจากรายได้สัตว์ที่ทำเงินจากการล่ามากที่สุดจะเป็นควายป่า, สิงโต, เซเบิล (สัตว์ชนิดหนึ่งในตระกูลพังพอน), คูดู และไนอาลา คุณอาจสงสัยว่าทำไมไม่มีช้างแอฟริกาติดอันดับ ค่าใช้จ่ายในการล่าช้างหนึ่งตัว ซึ่งใช้ระยะเวลา 14 วันอยู่ที่ 2,600,000 บาท นอกเหนือจากราคาแพงลิ่วแล้ว จำนวนก็มีผลเนื่องจากในปีหนึ่งๆ มีโควตาช้างให้ล่าไม่มากนัก ยกตัวอย่างเช่นที่อุทยานไนไน ประเทศนามิเบีย พวกเขาจำกัดจำนวนที่ปีละ 5 ตัวเท่านั้น
หัวและหนังสิงโตซึ่งร้านสตัฟฟ์สัตว์ในแอฟริกาใต้เป็นผู้จัดเตรียม จะนำส่งไปยังลูกค้าชาวอเมริกันซึ่งเป็นผู้ล่าสิงโตตัวนี้ เมื่อปี 2010 เพื่อตอบสนองต่อการลดจำนวนลงของสิงโตในธรรมชาติ และความเคลือบแคลงเกี่ยวกับคุณค่าเชิงอนุรักษ์ของการล่าสิงโต สหรัฐฯ กำหนดให้การนำเข้าซากสิงโตในฐานะรางวัล หรือนุสรณ์จากการล่าเป็นเรื่องยากขึ้น
ภาพถ่ายโดย เดวิด แชนเซลเลอร์
ในการล่า แน่นอนว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเหล่านี้คาดหวังกับประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นแบบแอฟริกา ฉะนั้นนี่จึงไม่ใช่การจำลอง พรานแกะรอยสัตว์อย่างน้อย 1 คนจะต้องร่วมเดินทางไปด้วย พวกเขาจะตามร่องรอยสัตว์เข้าไปในผืนป่าจริงๆ และรอนแรมอยู่ในนั้นนาน 10 – 15 คืน บางครั้งนานเกือบเดือนกว่าจะได้ลั่นกระสุน ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายนี้คิดเป็น 5% เท่านั้นของกระบวนการทั้งหมด แต่หากไม่ต้องการเสียเวลา กระบวนการล่าก็ถูกปรับให้ง่ายขึ้นได้ด้วยเป้าหมายเป็นสัตว์ป่าในกรงเลี้ยงที่เติบโตมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ บ้างใช้เหยื่อล่อ หรือทุ่นแรงด้วยการยิงจากบนรถ
แล้วใครกันที่เป็นผู้ปลิดชีพสัตว์เหล่านี้? จากงานวิจัยของศาสตราจารย์ Peet van der Merwe พบว่า 97% ของลูกค้าที่เดินทางมาล่าสัตว์เพื่อรางวัลเป็นผู้ชายอายุเฉลี่ยที่ 61 ปี ในจำนวนนี้มี 41% ที่มีวุฒิปริญญา และอีก 19% มีวุฒิศาสตราจารย์ และหากแบ่งสัดส่วนตามสัญชาติ นักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกามีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 86% ตามมาด้วยแคนาดา 6% และชาติอื่นๆ เช่น เยอรมนี, กรีนแลนด์, ไอร์แลนด์, นอร์เวย์, สเปน และสวิสเซอร์แลนด์
ชาวบ้านในซิมบับเวแบ่งปันเนื้อช้าง ซึ่งถูกพรานชาวอเมริกันยิงเมื่อปี 2009 พวกเขาเป็นผู้เข้าร่วมแคมป์ไฟร์ ซึ่งเป็นโครงการที่ขายสิทธิการเข้าถึงสัตว์ป่าแลกกับกำไรบางส่วน แคมป์ไฟร์ซึ่งเคยเป็นต้นแบบของการล่าสัตว์ประเภทนี้ ปัจจุบันได้รับคำวิจารณ์ว่าบ่อยครั้งที่เงินสำหรับชุมชนตกไม่ถึงมือพวกเขา หรือไม่ก็ถูกใช้ไปกับการพัฒนาท้องถิ่นแทน
ภาพถ่ายโดย เดวิด แชนเซลเลอร์
การล่าจะช่วยปกป้องสัตว์ป่าได้จริงหรือ?
คำถามสำคัญที่ยังคงเป็นข้อถกเถียง ฝั่งผู้สนับสนุนมองว่าประโยชน์จากไม่กี่ชีวิตที่ถูกสังเวยมีมากให้คุ้มเสีย เงินก้อนโตจากการล่าจะถูกนำไปแบ่งจัดสรรให้แก่สมาชิกชุมชน หรือชนพื้นเมือง ทั้งยังช่วยสนับสนุนกองทุนสำหรับการอนุรักษ์เพื่อปกป้องสัตว์ป่าในพื้นที่ ในขณะที่เหยื่อที่ถูกล่า ลูกค้าจะนำแค่อวัยวะบางส่วน เช่น เขา งา หรือผืนหนังกลับบ้านเป็นที่ระลึก เนื้อจากสัตว์จะถูกแบ่งแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านท้องถิ่น ส่วนกระดูกจะถูกส่งออกไปยังเอเชียเพื่อผลิตเป็นยาต่อไป ทั้งหมดนี้ดำเนินการในโควตาที่กำหนดตามแต่ละปี และควบคุมโดยรัฐบาลในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันไป เพื่อปกป้องประชากรสัตว์บางชนิดที่กำลังเสี่ยงสูญพันธุ์ เช่น ปัจจุบันที่แอฟริกาใต้ไม่อนุญาตให้ล่าเสือดาวอีกต่อไป
ด้านฝั่งผู้ไม่เห็นด้วยมองว่าประโยชน์ที่ได้แท้จริงไม่เท่ากับที่โฆษณาออกมา บางกรณีการล่าสัตว์เพื่อรางวัลถูกพวกลักลอบล่าสัตว์นำไปแอบอ้าง หรือแฝงตัวเพื่อผลประโยชน์ของตน สิ่งที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นช่วยให้ขบวนการผิดกฎหมายทำงานง่ายขึ้น ประกอบกับรัฐบาลที่ฉ้อฉลอะลุ่มอล่วยกับโควตายิ่งทำให้ประชากรสัตว์ลดลงมากกว่าที่ควรจะเป็น
ในหลายองค์กรทุนสนับสนุนเพื่ออนุรักษ์และปกป้องสัตว์ป่าแท้จริงมีสัดส่วนมาจากการล่าเพียงน้อยนิด เป็นไปได้ว่าเม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้ากระเป๋านายพรานมากกว่าส่วนรวม ไม่ก็ไหลไปสู่เจ้าของที่ดินในฐานะค่าธรรมเนียม ด้านนักอนุรักษ์ชี้ว่า ประโยชน์จากการส่งออกชิ้นส่วนสัตว์ถูกกฎหมายจากแอฟริกายิ่งเป็นการกระตุ้นความต้องการในตลาดมาดขึ้น และก่อให้เกิดวงจรการล่าที่ไม่สิ้นสุด ข้อโต้แย้งครอบคลุมไปจนถึงประเด็นทางศีลธรรมที่ว่า ไม่มีวิธีอื่นแล้วหรือที่จะปกป้องสัตว์โดยไม่ต้องปลิดชีวิต
อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบอาชีพพรานนำขบวนการล่าระบุว่า ธุรกิจของพวกเขาส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ หรือผลิตรอยเท้าคาร์บอนน้อยกว่าการพานักท่องเที่ยวเยี่ยมชมซาฟารีเสียอีก หากปราศจากการล่าเพื่อรางวัล พื้นที่นั้นๆ ก็จะไม่มีการดำเนินงานต่อต้าน หรือปกป้องสัตว์อีกต่อไป และนั่นจะทำให้จำนวนประชากรสัตว์ลดลงมากกว่าการล่าหลายเท่าตัว ในขณะที่ปัญหาอื่นๆ ส่งผลกระทบใหญ่โตต่อธรรมชาติกว่าธุรกิจการล่าสัตว์เพื่อรางวัลมาก ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย, การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไปจนถึงการลักลอบล่าสัตว์แบบผิดกฎหมาย
ช้างเพศผู้อายุมากถูกฆ่าเพื่อรางวัล เหล่าพรานให้เหตุผลว่า การฆ่าสัตว์เพศผู้อายุมากทำอันตรายกับชนิดพันธุ์นั้นๆ น้อยที่สุด แต่ จอยซ์ พูเลอ นักชีววิทยาแย้งว่า “ช้างเพศผู้อายุมากมีบทบาทสำคัญที่สุดในโขลง”
ภาพถ่ายโดย เดวิด แชนเซลเลอร์
เมื่อร้อยปีก่อน แรดขาวใต้เกือบสูญพันธุ์ไปจากทวีปแอฟริกาแล้ว แต่ทุกวันนี้จำนวนของพวกมันเพิ่มจากหลักสิบเป็นหลักหมื่นด้วยด้วยความพยายามในการอนุรักษ์ และการจำกัดจำนวนการล่าเป็นรางวัล ไปจนถึงการชิงตัดนอที่งอกใหม่ได้ นี่คือโมเดลความสำเร็จที่ผู้เห็นด้วยกับการล่ามักยกขึ้นมากล่าวอ้าง
อีกหนึ่งคำกล่าวอ้างจากผู้สนับสนุนระบุว่า เงินกำลังเปลี่ยนวิธีคิดของผู้คนท้องถิ่นเกี่ยวกับคุณค่าของสัตว์ แต่เดิมเมื่อช้างป่าบุกเข้ามาทำลายพืชผลทางการเกษตร หรือเด็กๆ ในหมู่บ้านถูกสิงโตจับไปกินเป็นอาหาร พวกเขาปกป้องทรัพย์สินหรือล้างแค้นด้วยการยิง และวางยาพิษสัตว์ป่าเหล่านั้น ทว่าเมื่อสัตว์ป่ามีค่าในฐานะตัวทำรายได้ให้แก่ชุมชน ผู้คนจะเริ่มอนุรักษ์และปกป้องพวกมันแทน มากไปกว่านั้นพรานอาชีพผู้ดำเนินธุรกิจนี้ยังว่าจ้างผู้คนท้องถิ่น และนำเงินที่ได้บริจาคช่วยสร้างโรงเรียน คลีนิก หรือโครงการพัฒนาด้านอื่นๆ
แต่ไม่ใช่ทุกประเทศในแอฟริกาที่จะเห็นดีเห็นงามไปด้วยทั้งหมด เคนยาห้ามการล่าสัตว์เพื่อเป็นรางวัลมาตั้งแต่ปี 1977 และในปี 2014 บอตสวานา ประเทศที่เป็นบ้านของช้างแอฟริกาประกาศแบนการล่าสัตว์เพื่อรางวัล รวมไปถึงจำกัดจำนวนการยิงสัตว์ป่าเพื่อปกป้องพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้านด้วย หลังพบว่าประชากรสัตว์ป่าในภาคเหนือของประเทศลดลงไปมาก
ทว่าทั้งหมดคือการดำเนินงานในสมัยของอดีตประธานาธิบดี Ian Khama ข้ามมาปี 2018 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Mokgweetsi Masisi ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของบอตสวานากำลังพิจารณาว่าจะนำธุรกิจการล่าสัตว์เพื่อรางวัลกลับมาดีหรือไม่ เนื่องจากพืชผลทางการเกษตรในภาคเหนือถูกช้างป่าทำลายไปมากถึง 72% อย่างไรก็ดีในสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างคนและสัตว์นี้ นักวิทยาศาสตร์จากองค์กรอนุรักษ์ช้าง Elephants Without Borders มองว่า แม้นำการล่ากลับมาก็ไม่ช่วยอะไรมาก เนื่องจากการล่าสัตว์เพื่อรางวัลมักเกิดขึ้นในฤดูร้อน ส่วนปัญหาช้างทำลายพืชผลนั้นเกิดขึ้นในฤดูฝน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นฝีมือของช้างเด็ก และช้างวัยหนุ่มสาว และตามข้อกำหนดแล้วช้างที่มีอายุมากต่างหากที่จะถูกล่าเพื่อเป็นรางวัล
กวางคูดูเพศผู้ที่พรานชาวเยอรมันยิงได้ในปี 2016 ตัวนี้เป็นอาหารชั้นดีสำหรับเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในเขตอนุรักษ์ไนไนของนามิเบีย สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์ที่มีไว้ล่าเพื่อเป็นรางวัล เขตอนุรักษ์แห่งนี้คิดค่าธรรมเนียมทั้งหมดจากผู้จัดการล่าสัตว์ โดยรายได้บางส่วนจะเป็นประโยชน์กับชาวบ้านซึ่งยังได้เนื้อไว้บริโภค ส่วนลูกค้ากลับบ้านพร้อมชิ้นส่วนสัตว์
ภาพถ่ายโดย เดวิด แชนเซลเลอร์
This is Africa! เมื่อการล่าถูกกฎหมายช่วยอนุรักษ์สัตว์ป่า
Daniah De Villiers รับบทเป็นมีอา ในภาพยนตร์ “Mia and the White Lion”
ขอบคุณภาพจาก IMDB
This is Africa! เมื่อการล่าถูกกฎหมายช่วย อนุรักษ์สัตว์ป่า
ในชุมชนของคุณทุกๆ ปีจะต้องมีสมาชิกถูกสังเวยชีวิตราว 10 คน นี่คือเงื่อนไขที่จะปกป้องผู้คนทั้งชุมชนเอาไว้ ฟังดูไม่สมเหตุสมผลใช่ไหม? ทำไมต้องฆ่าใครสักคนโดยไม่จำเป็นด้วย สถานการณ์ตัวอย่างนี้ไม่ใช่โลกจากหนังสือนวนิยาย “The Hunger Games” แต่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับบรรดาสัตว์ป่าในทวีปแอฟริกา เมื่อ การล่าสัตว์เพื่อเป็นรางวัล (Trophy Hunting) กำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือพิทักษ์ธรรมชาติองค์รวมทั้งหมด
(หมายเหตุบทความต่อไปนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ “Mia and the White Lion”)
ในภาพยนตร์เรื่อง “Mia and the White Lion” ซึ่งบอกเล่ามิตรภาพระหว่าง “มีอา” เด็กหญิงชาวอังกฤษที่ย้ายมาอาศัยอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้ กับ “ชาร์ลี” ลูกสิงโตขาวที่เกิดในฟาร์มเพาะพันธุ์ของครอบครัว มีฉากสะเทือนใจที่ฉายภาพให้เห็นถึงอีกด้านหนึ่งของแอฟริกาที่ไม่ได้มีแค่ธรรมชาติงดงามเพียงอย่างเดียว มีอาค้นพบความจริงอันปวดร้าวว่าที่ผ่านมาสิงโตจากฟาร์มของเธอจำนวนหนึ่งถูกส่งไปตาย ให้บรรดานักท่องเที่ยวต่างชาติที่ชื่นชอบการล่าเป็นพิเศษได้สุขสำราญกับการยิงสัตว์ป่าแบบถูกกฎหมาย “นี่คือวิถีของแอฟริกา และเธอเปลี่ยนอะไรมันไม่ได้” ใครบางคนกล่าวเช่นนั้นกับเธอ
ใช่! เพราะที่แอฟริกา การล่าสัตว์ซับซ้อนกว่าแค่หอบหิ้วปืนผาหน้าไม้ออกไปยิงตัวอะไรก็ตามที่พบเจอ และความตายที่ไร้เหตุผลนี้เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของสัตว์อื่นๆ ไปจนถึงชนพื้นเมือง และเศรษฐกิจของประเทศ
ชาร์ลีและมีอา จากภาพยนตร์ “Mia and the White Lion” ทั้งคู่เติบโตขึ้นมาด้วยกันในฟาร์มของครอบครัว ก่อเกิดเป็นมิตรภาพข้ามสายพันธุ์อันน่าประทับใจ
ขอบคุณภาพจาก IMDB
อันที่จริงทวีปแอฟริกาไม่ใช่ดินแดนบริสุทธิ์อีกแล้ว ทุกวันนี้แทบไม่มีที่ดินผืนไหนที่ไม่ถูกอ้างกรรมสิทธิ์ และบรรดาสัตว์ป่าน้อยใหญ่เองก็มีชีวิตไม่ต่างจากสินค้า ในแต่ละปีธุรกิจการล่าสัตว์เพื่อเป็นรางวัล เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ทำกำไรให้แก่ประเทศนั้นๆ มหาศาล ขอเพียงคุณมีเงิน ช้างตัวโตก็ล้มได้ไม่ยาก แถมหิ้วของที่ระลึก และเรื่องผจญภัยกลับไปเล่าให้ลูกหลานฟังได้อีกยาว บรรดาผู้ล่าเหล่านี้เดินทางมายังทวีปแอฟริกาพร้อมๆ กับนักท่องเที่ยว จะต่างกันก็ตรงที่พวกเขาไม่ได้สะพายกล้อง แต่สะพายปืนไรเฟิล
งานวิจัยโดย ศาสตราจารย์ Peet van der Merwe จาก Toursim Research in Economic Environs and Society หรือ TREES ร่วมกับสถาบัน Professional Hunters of South Africa พบว่า การล่าเพื่อรางวัลทำรายได้ให้ประเทศแอฟริกาใต้มากถึง 1,980 ล้านแรนด์ หรือมากกว่า 4,400 ล้านบาท
โดยเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการล่าสัตว์เพื่อรางวัลอยู่ที่ 134,500 แรนด์ หรือราว 330,000 บาท แต่ถ้าในแอฟริกาใต้ราคาจะสูงขึ้นเป็นเฉลี่ยที่ 590,000 บาท ทั้งนี้ราคาจะผันแปรไปตามประเทศและชนิดของสัตว์ที่ต้องการล่า จากการสำรวจในปี 2015 – 2016 สัตว์ที่นิยมล่ามากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ อิมพาลา, หมูป่าหน้าหูด, สปริงบ็อก (สัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่งจำพวกแอนทิโลป), คูดู และเบลสบอค แต่หากวัดจากรายได้สัตว์ที่ทำเงินจากการล่ามากที่สุดจะเป็นควายป่า, สิงโต, เซเบิล (สัตว์ชนิดหนึ่งในตระกูลพังพอน), คูดู และไนอาลา คุณอาจสงสัยว่าทำไมไม่มีช้างแอฟริกาติดอันดับ ค่าใช้จ่ายในการล่าช้างหนึ่งตัว ซึ่งใช้ระยะเวลา 14 วันอยู่ที่ 2,600,000 บาท นอกเหนือจากราคาแพงลิ่วแล้ว จำนวนก็มีผลเนื่องจากในปีหนึ่งๆ มีโควตาช้างให้ล่าไม่มากนัก ยกตัวอย่างเช่นที่อุทยานไนไน ประเทศนามิเบีย พวกเขาจำกัดจำนวนที่ปีละ 5 ตัวเท่านั้น
หัวและหนังสิงโตซึ่งร้านสตัฟฟ์สัตว์ในแอฟริกาใต้เป็นผู้จัดเตรียม จะนำส่งไปยังลูกค้าชาวอเมริกันซึ่งเป็นผู้ล่าสิงโตตัวนี้ เมื่อปี 2010 เพื่อตอบสนองต่อการลดจำนวนลงของสิงโตในธรรมชาติ และความเคลือบแคลงเกี่ยวกับคุณค่าเชิงอนุรักษ์ของการล่าสิงโต สหรัฐฯ กำหนดให้การนำเข้าซากสิงโตในฐานะรางวัล หรือนุสรณ์จากการล่าเป็นเรื่องยากขึ้น
ภาพถ่ายโดย เดวิด แชนเซลเลอร์
ในการล่า แน่นอนว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเหล่านี้คาดหวังกับประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นแบบแอฟริกา ฉะนั้นนี่จึงไม่ใช่การจำลอง พรานแกะรอยสัตว์อย่างน้อย 1 คนจะต้องร่วมเดินทางไปด้วย พวกเขาจะตามร่องรอยสัตว์เข้าไปในผืนป่าจริงๆ และรอนแรมอยู่ในนั้นนาน 10 – 15 คืน บางครั้งนานเกือบเดือนกว่าจะได้ลั่นกระสุน ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายนี้คิดเป็น 5% เท่านั้นของกระบวนการทั้งหมด แต่หากไม่ต้องการเสียเวลา กระบวนการล่าก็ถูกปรับให้ง่ายขึ้นได้ด้วยเป้าหมายเป็นสัตว์ป่าในกรงเลี้ยงที่เติบโตมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ บ้างใช้เหยื่อล่อ หรือทุ่นแรงด้วยการยิงจากบนรถ
แล้วใครกันที่เป็นผู้ปลิดชีพสัตว์เหล่านี้? จากงานวิจัยของศาสตราจารย์ Peet van der Merwe พบว่า 97% ของลูกค้าที่เดินทางมาล่าสัตว์เพื่อรางวัลเป็นผู้ชายอายุเฉลี่ยที่ 61 ปี ในจำนวนนี้มี 41% ที่มีวุฒิปริญญา และอีก 19% มีวุฒิศาสตราจารย์ และหากแบ่งสัดส่วนตามสัญชาติ นักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกามีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 86% ตามมาด้วยแคนาดา 6% และชาติอื่นๆ เช่น เยอรมนี, กรีนแลนด์, ไอร์แลนด์, นอร์เวย์, สเปน และสวิสเซอร์แลนด์
ชาวบ้านในซิมบับเวแบ่งปันเนื้อช้าง ซึ่งถูกพรานชาวอเมริกันยิงเมื่อปี 2009 พวกเขาเป็นผู้เข้าร่วมแคมป์ไฟร์ ซึ่งเป็นโครงการที่ขายสิทธิการเข้าถึงสัตว์ป่าแลกกับกำไรบางส่วน แคมป์ไฟร์ซึ่งเคยเป็นต้นแบบของการล่าสัตว์ประเภทนี้ ปัจจุบันได้รับคำวิจารณ์ว่าบ่อยครั้งที่เงินสำหรับชุมชนตกไม่ถึงมือพวกเขา หรือไม่ก็ถูกใช้ไปกับการพัฒนาท้องถิ่นแทน
ภาพถ่ายโดย เดวิด แชนเซลเลอร์
การล่าจะช่วยปกป้องสัตว์ป่าได้จริงหรือ?
คำถามสำคัญที่ยังคงเป็นข้อถกเถียง ฝั่งผู้สนับสนุนมองว่าประโยชน์จากไม่กี่ชีวิตที่ถูกสังเวยมีมากให้คุ้มเสีย เงินก้อนโตจากการล่าจะถูกนำไปแบ่งจัดสรรให้แก่สมาชิกชุมชน หรือชนพื้นเมือง ทั้งยังช่วยสนับสนุนกองทุนสำหรับการอนุรักษ์เพื่อปกป้องสัตว์ป่าในพื้นที่ ในขณะที่เหยื่อที่ถูกล่า ลูกค้าจะนำแค่อวัยวะบางส่วน เช่น เขา งา หรือผืนหนังกลับบ้านเป็นที่ระลึก เนื้อจากสัตว์จะถูกแบ่งแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านท้องถิ่น ส่วนกระดูกจะถูกส่งออกไปยังเอเชียเพื่อผลิตเป็นยาต่อไป ทั้งหมดนี้ดำเนินการในโควตาที่กำหนดตามแต่ละปี และควบคุมโดยรัฐบาลในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันไป เพื่อปกป้องประชากรสัตว์บางชนิดที่กำลังเสี่ยงสูญพันธุ์ เช่น ปัจจุบันที่แอฟริกาใต้ไม่อนุญาตให้ล่าเสือดาวอีกต่อไป
ด้านฝั่งผู้ไม่เห็นด้วยมองว่าประโยชน์ที่ได้แท้จริงไม่เท่ากับที่โฆษณาออกมา บางกรณีการล่าสัตว์เพื่อรางวัลถูกพวกลักลอบล่าสัตว์นำไปแอบอ้าง หรือแฝงตัวเพื่อผลประโยชน์ของตน สิ่งที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นช่วยให้ขบวนการผิดกฎหมายทำงานง่ายขึ้น ประกอบกับรัฐบาลที่ฉ้อฉลอะลุ่มอล่วยกับโควตายิ่งทำให้ประชากรสัตว์ลดลงมากกว่าที่ควรจะเป็น
ในหลายองค์กรทุนสนับสนุนเพื่ออนุรักษ์และปกป้องสัตว์ป่าแท้จริงมีสัดส่วนมาจากการล่าเพียงน้อยนิด เป็นไปได้ว่าเม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้ากระเป๋านายพรานมากกว่าส่วนรวม ไม่ก็ไหลไปสู่เจ้าของที่ดินในฐานะค่าธรรมเนียม ด้านนักอนุรักษ์ชี้ว่า ประโยชน์จากการส่งออกชิ้นส่วนสัตว์ถูกกฎหมายจากแอฟริกายิ่งเป็นการกระตุ้นความต้องการในตลาดมาดขึ้น และก่อให้เกิดวงจรการล่าที่ไม่สิ้นสุด ข้อโต้แย้งครอบคลุมไปจนถึงประเด็นทางศีลธรรมที่ว่า ไม่มีวิธีอื่นแล้วหรือที่จะปกป้องสัตว์โดยไม่ต้องปลิดชีวิต
อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบอาชีพพรานนำขบวนการล่าระบุว่า ธุรกิจของพวกเขาส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ หรือผลิตรอยเท้าคาร์บอนน้อยกว่าการพานักท่องเที่ยวเยี่ยมชมซาฟารีเสียอีก หากปราศจากการล่าเพื่อรางวัล พื้นที่นั้นๆ ก็จะไม่มีการดำเนินงานต่อต้าน หรือปกป้องสัตว์อีกต่อไป และนั่นจะทำให้จำนวนประชากรสัตว์ลดลงมากกว่าการล่าหลายเท่าตัว ในขณะที่ปัญหาอื่นๆ ส่งผลกระทบใหญ่โตต่อธรรมชาติกว่าธุรกิจการล่าสัตว์เพื่อรางวัลมาก ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย, การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไปจนถึงการลักลอบล่าสัตว์แบบผิดกฎหมาย
ช้างเพศผู้อายุมากถูกฆ่าเพื่อรางวัล เหล่าพรานให้เหตุผลว่า การฆ่าสัตว์เพศผู้อายุมากทำอันตรายกับชนิดพันธุ์นั้นๆ น้อยที่สุด แต่ จอยซ์ พูเลอ นักชีววิทยาแย้งว่า “ช้างเพศผู้อายุมากมีบทบาทสำคัญที่สุดในโขลง”
ภาพถ่ายโดย เดวิด แชนเซลเลอร์
เมื่อร้อยปีก่อน แรดขาวใต้เกือบสูญพันธุ์ไปจากทวีปแอฟริกาแล้ว แต่ทุกวันนี้จำนวนของพวกมันเพิ่มจากหลักสิบเป็นหลักหมื่นด้วยด้วยความพยายามในการอนุรักษ์ และการจำกัดจำนวนการล่าเป็นรางวัล ไปจนถึงการชิงตัดนอที่งอกใหม่ได้ นี่คือโมเดลความสำเร็จที่ผู้เห็นด้วยกับการล่ามักยกขึ้นมากล่าวอ้าง
อีกหนึ่งคำกล่าวอ้างจากผู้สนับสนุนระบุว่า เงินกำลังเปลี่ยนวิธีคิดของผู้คนท้องถิ่นเกี่ยวกับคุณค่าของสัตว์ แต่เดิมเมื่อช้างป่าบุกเข้ามาทำลายพืชผลทางการเกษตร หรือเด็กๆ ในหมู่บ้านถูกสิงโตจับไปกินเป็นอาหาร พวกเขาปกป้องทรัพย์สินหรือล้างแค้นด้วยการยิง และวางยาพิษสัตว์ป่าเหล่านั้น ทว่าเมื่อสัตว์ป่ามีค่าในฐานะตัวทำรายได้ให้แก่ชุมชน ผู้คนจะเริ่มอนุรักษ์และปกป้องพวกมันแทน มากไปกว่านั้นพรานอาชีพผู้ดำเนินธุรกิจนี้ยังว่าจ้างผู้คนท้องถิ่น และนำเงินที่ได้บริจาคช่วยสร้างโรงเรียน คลีนิก หรือโครงการพัฒนาด้านอื่นๆ
แต่ไม่ใช่ทุกประเทศในแอฟริกาที่จะเห็นดีเห็นงามไปด้วยทั้งหมด เคนยาห้ามการล่าสัตว์เพื่อเป็นรางวัลมาตั้งแต่ปี 1977 และในปี 2014 บอตสวานา ประเทศที่เป็นบ้านของช้างแอฟริกาประกาศแบนการล่าสัตว์เพื่อรางวัล รวมไปถึงจำกัดจำนวนการยิงสัตว์ป่าเพื่อปกป้องพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้านด้วย หลังพบว่าประชากรสัตว์ป่าในภาคเหนือของประเทศลดลงไปมาก
ทว่าทั้งหมดคือการดำเนินงานในสมัยของอดีตประธานาธิบดี Ian Khama ข้ามมาปี 2018 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Mokgweetsi Masisi ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของบอตสวานากำลังพิจารณาว่าจะนำธุรกิจการล่าสัตว์เพื่อรางวัลกลับมาดีหรือไม่ เนื่องจากพืชผลทางการเกษตรในภาคเหนือถูกช้างป่าทำลายไปมากถึง 72% อย่างไรก็ดีในสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างคนและสัตว์นี้ นักวิทยาศาสตร์จากองค์กรอนุรักษ์ช้าง Elephants Without Borders มองว่า แม้นำการล่ากลับมาก็ไม่ช่วยอะไรมาก เนื่องจากการล่าสัตว์เพื่อรางวัลมักเกิดขึ้นในฤดูร้อน ส่วนปัญหาช้างทำลายพืชผลนั้นเกิดขึ้นในฤดูฝน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นฝีมือของช้างเด็ก และช้างวัยหนุ่มสาว และตามข้อกำหนดแล้วช้างที่มีอายุมากต่างหากที่จะถูกล่าเพื่อเป็นรางวัล
กวางคูดูเพศผู้ที่พรานชาวเยอรมันยิงได้ในปี 2016 ตัวนี้เป็นอาหารชั้นดีสำหรับเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในเขตอนุรักษ์ไนไนของนามิเบีย สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์ที่มีไว้ล่าเพื่อเป็นรางวัล เขตอนุรักษ์แห่งนี้คิดค่าธรรมเนียมทั้งหมดจากผู้จัดการล่าสัตว์ โดยรายได้บางส่วนจะเป็นประโยชน์กับชาวบ้านซึ่งยังได้เนื้อไว้บริโภค ส่วนลูกค้ากลับบ้านพร้อมชิ้นส่วนสัตว์
ภาพถ่ายโดย เดวิด แชนเซลเลอร์