บทความตามใจฉัน “Prototype(ต้นแบบ) เทพจริงหรือ” Part 2 End
จาก Part 1 ที่ได้อธิบายประเภทของ Prototype ทั้ง 5 ประเภทแล้ว
Part นี้เราจะมาเจาะลงไปประเด็นหลักคือ “Prototype(ต้นแบบ) เทพจริงหรือ” กัน
จากบทความ Super Prototype (
https://tvtropes.org/pmwiki/pmwiki.php/Main/SuperPrototype)
ได้อธิบายแนวคิดไว้ว่าทำไมในการ์ตูน Prototype ถึงมีประสิทธิภาพมากกว่าไว้ดังนี้
1.Prototype with Cutting Edge Technology (ต้นแบบที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย)
เป็นต้นแบบที่สร้างด้วยเทคนิคและเทคโนโลยีล้ำสมัยล่าสุดเพื่อทดสอบและหาขีดจำกัดสูงสุดของเทคโนโลยีที่ทดสอบว่าจะสามารถทำได้ถึงระดับไหน และเพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีได้แสดงศักย์ภาพที่สูงที่สุดที่สามารถทำได้จริงออกมาตัวเครื่องเองจึงออกแบบให้มีประสิทธิ์ภาพสูงตามไปด้วยเพื่อไม่ให้เกิด “ข้อจำกัด” จนทำให้ผลการทดสอบผิดพลาด
ใน Gundam แน่นอนว่า RX-78-02 คือตัวอย่างที่ดีของ Prototype ประเภทนี้ แต่ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ Blue Destiny ซีรีย์
Blue Destiny เป็น MS สำหรับทดสอบระบบ EXAM ที่ทำให้นักบินธรรมดาเลียนแบบความสามารถของ New type ได้
(New type ในเรื่องคือมนุษย์ที่มีการวิวัฒนาการให้เหมาะสมกับการอยู่ในอวกาศ ความสามารถพื้นฐานคือมีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วกว่าคนทั่วไป)
Blue Destiny เครื่องแรกพัฒนาโดยใช้ RGM-79 GM รุ่นภาคพื้นดินมาปรับปรุงประสิทธิ์ภาพและติดตั้งระบบ EXAM
ผลการทดสอบที่ออกมานั้นไม่เป็นที่พอใจเนื่องจากตัวเครื่องประสิทธิ์ภาพด้อยเกินไปจนระบบ EXAM ทำงานได้ไม่เต็มศักย์ภาพจึงได้พัฒนา Blue Destiny เครื่องต่อมาโดยใช้ RX-79 Gundam ภาคพื้นดินมาดัดแปลง ติดตั้งท่อขับดันเพิ่มที่ขาและฉาบ magnetic coating (สารเคลือบพิเศษที่ใช้เคลือบข้อต่อของ MS เพิ่มความเร็วในการเคลื่อนไหว) จึงทำให้ EXAM system แสดงศักย์ภาพถึงขีดสุดออกมาได้
ตัวอย่างของ Prototype with Cutting Edge Technology ของจริง ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง F117 ที่เป็นเครื่องบินขับไล่แบบStealth ลำแรกที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 1983 และได้ออกสนามรบจริงใน Gulf War ปี 1991
Cutting Edge Technology ที่ใช้บน F117 คือ Stealth Technology ซึ่งอาศัยการออกแบบของตัวเครื่องควบคู่กับเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ที่ปัจจุบันวิธีการสร้างยังคงเป็นความลับสุดยอดทำให้ตัวเครื่องสามารถลดการสะท้อนกลับหรือดูดซับคลื่นแม่เหล็กได้และทำให้เรดาห์ตรวจจับไม่ได้
Prototype ของ F117 ถูกสร้างขึ้นมา 5 ลำและผลิตจำนวนมากอีก 59 ลำ
F117 ถูกปลดระวางในปี 2008 เพราะค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโครงสร้างโดยเฉพาะส่วนหน้านั้นสูงมากและ Stealth Technology (ในส่วนโครงสร้าง) ของเครื่องรุ่นนี้ก็เก่าและด้อยประสิทธิ์ภาพกว่าโครงสร้างแบบใหม่(โครงสร้างแบบโค้งมน)
อีกปัจจัยคือเพื่อเอาค่าใช้จ่ายไปสั่งสร้าง F22 ที่ดีกว่าและใช้งานได้หลากหลายกว่าแทน
2.Prototype with Dangerous Technology (ต้นแบบที่มีเทคโนโลยีอันตราย)
ต้นแบบประเภทนี้สร้างเพื่อทดสอบเทคโนโลยีที่ยังไม่สมบูรณ์, ยังอยู่ระหว่างศึกษาวิจัยหรืออันตรายเกินกว่าที่จะนำไปใช้งานจริงอย่างแพร่หลาย
ตัวอย่างของต้นแบบประเภทนี้ใน Gundam ก็ได้แก่ RX-79 BD Blue destiny ตัวเดียวกับที่กล่าวข้างต้นเอง
เนื่องจาก EXAM system นั้นมีปัญหาที่ทำให้ตัวเครื่องเสียการควบคุม โดยเครื่องจะเคลื่อนไหวและเข้าโจมตีเป้าหมายเองจากการบังคับของระบบโดยตรงทำให้นักบินทดสอบหลายคนเสียชีวิตจากแรง G และจากการที่ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ (การเสียความควบคุมทำให้ระบบให้ความสำคัญกับความอยู่รอดของระบบมากกว่านักบิน มีกรณีที่ระบบจงใจใช้โล่กันกระสุนเฉพาะส่วนหัวที่ระบบติดตั้งอยู่โดยปล่อยให้ห้องนักบินถูกยิง)
3. Prototype with unreplicable Technology (ต้นแบบที่มีเทคโนโลยีที่ยากต่อการทำซ้ำหรือไม่สามารถทำซ้ำได้)
ต้นแบบประเภทนี้มักจะคล้ายกับประเภทที่ 1 และ 2 แต่จุดที่แตกต่างคือจะมีเหตุผลอะไรบางอย่างที่ทำให้เทคโนโลยีที่มีในต้นแบบเหล่านั้นยากต่อการทำซ้ำหรือไม่ก็ไม่สามารถทำซ้ำได้
ตัวอย่างของต้นแบบประเภทนี้ใน Gundam ก็ได้แก่ระบบ EXAM ที่ติดตั้งใน Blue destiny ที่หลังจากผู้สร้างตายไปแล้วก็ไม่มีใครสร้างระบบนี้ได้อีกเลย
จะเห็นได้ว่า Prototype แทบทุกเครื่องในการ์ตูนหรืออนิเมมักมาพร้อมเทคโนโลยีอะไรสักอย่างที่ก้าวหน้ากว่าเครื่องรุ่นที่ใช้ในปัจจุบันเสมอ นี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ “Prototype เทพ”
แต่เหตุผลสำคัญของการให้ตัวเอกใช้เครื่องต้นแบบนอกจากจะทำให้ผู้ชมแยกแยะตัวละครได้ง่ายขึ้นแล้วยังทำให้ตัวเอกเก่งจนโดดเด่นได้โดยไม่ต้องยกเหตุผลอะไรมาอ้างอิงนักร่วมถึงสร้างแต้มต่อให้แก่ตัวเอกที่ยังไม่เก่งให้อยู่รอดจนกว่าจะเก่งได้
แต่ก็มีบางเรื่องที่ฉีกแนวคิดนี้ออกไปเช่น Aldnoah.Zero ที่ตัวเอกใช้เครื่องผลิตจำนวนมากสำหรับฝึกซ้อมลุยตลอดทั้งเรื่อง แต่เพื่อให้แยกตัวละครออกได้ง่ายเครื่องที่ตัวเอกใช้จึงเป็นสีส้ม
แต่ในความจริง Prototype ไม่ใช่อะไรที่ใช้งานได้ขนาดนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภท Prototype with Dangerous Technology เป็นเครื่องที่มีเทคโนโลยีที่ยังไม่สมบูรณ์และมีจุดบกพร่อง
ตัวอย่างเช่น Heinkel He 178 เครื่องต้นแบบที่นับเป็นต้นตระกูลเครื่องบิน Jet ของเยอรมันในช่วง WW2 (1939)ที่บินได้เพียง 10 นาทีและทำความเร็วสูงสุดได้แค่ 598 KM/H แพ้ P51 มัสแตงของอเมริกาที่เปิดตัวครั้งแรก 1940 แล้วยังใช้เครื่องยนต์ใบพัดอยู่ด้วยซ้ำ
หรือแม้แต่ Messerschmitt Me 262 ที่เป็นเครื่องบิน Jet ที่ใช้งานได้จริงเองก็ยังเจอปัญหาเครื่องยนต์ขัดข้องในช่วงที่ยังเป็นต้นแบบอยู่บ่อย ๆ
ดังนั้น หากคุณเป็นทหารแล้วโดนให้ขับ Prototype ไปรบจริง นั้นหมายความว่าทรัพยากรของฝั่งคุณแทบไม่เหลือจนต้องใช้เครื่องต้นแบบไปรบ ขอให้คำนึงว่ามันไม่เหมือนในการ์ตูนหรอกน่ะ ขอให้โชคดี
Extra
ในโลกจริง เทคนิคการสร้างต้นแบบให้มีประสิทธิ์ภาพสูงกว่านั้นมีอยู่จริงแต่บ้างครั้งไม่ใช่แค่เพื่อทดสอบเทคโนโลยีอย่างเดียว
เป็นข้อมูลที่ผู้เขียนเคยอ่านเจอแต่กลับไปค้นหาอีกครั้งไม่เจอแล้ว จึงเป็นการเขียนจากความทรงจำเท่านั้น
การสร้างต้นแบบประเภทนี้ Prototype มีประสิทธิ์ภาพที่สูงก็เพราะ “ผู้สร้างเผื่อไว้สำหรับการลดสเปกเพื่อผลิตจำนวนมาก”
ข้อดีของวิธีนี้คือรุ่นผลิตจำนวนมากบางครั้งก็ยังมีประสิทธิ์ภาพที่ดี ถึงจะด้อยกว่าต้นแบบแต่ก็ยังดีกว่าค่ามาตรฐานหรือของแบบเดียวกันในขณะนั้น และบางครั้งยังเอื้อให้กับการอัพเกรดในอนาคตด้วยชิ้นส่วนเกรดเดียวกับที่ต้นแบบใช้แต่ก็มีข้อเสียคือค่าใช้จ่ายในกระบวนการพัฒนาจะสูง
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “Prototype(ต้นแบบ) เทพจริงหรือ” Part 2 End
จาก Part 1 ที่ได้อธิบายประเภทของ Prototype ทั้ง 5 ประเภทแล้ว
Part นี้เราจะมาเจาะลงไปประเด็นหลักคือ “Prototype(ต้นแบบ) เทพจริงหรือ” กัน
จากบทความ Super Prototype (https://tvtropes.org/pmwiki/pmwiki.php/Main/SuperPrototype)
ได้อธิบายแนวคิดไว้ว่าทำไมในการ์ตูน Prototype ถึงมีประสิทธิภาพมากกว่าไว้ดังนี้
1.Prototype with Cutting Edge Technology (ต้นแบบที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย)
เป็นต้นแบบที่สร้างด้วยเทคนิคและเทคโนโลยีล้ำสมัยล่าสุดเพื่อทดสอบและหาขีดจำกัดสูงสุดของเทคโนโลยีที่ทดสอบว่าจะสามารถทำได้ถึงระดับไหน และเพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีได้แสดงศักย์ภาพที่สูงที่สุดที่สามารถทำได้จริงออกมาตัวเครื่องเองจึงออกแบบให้มีประสิทธิ์ภาพสูงตามไปด้วยเพื่อไม่ให้เกิด “ข้อจำกัด” จนทำให้ผลการทดสอบผิดพลาด
ใน Gundam แน่นอนว่า RX-78-02 คือตัวอย่างที่ดีของ Prototype ประเภทนี้ แต่ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ Blue Destiny ซีรีย์
Blue Destiny เป็น MS สำหรับทดสอบระบบ EXAM ที่ทำให้นักบินธรรมดาเลียนแบบความสามารถของ New type ได้
(New type ในเรื่องคือมนุษย์ที่มีการวิวัฒนาการให้เหมาะสมกับการอยู่ในอวกาศ ความสามารถพื้นฐานคือมีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วกว่าคนทั่วไป)
Blue Destiny เครื่องแรกพัฒนาโดยใช้ RGM-79 GM รุ่นภาคพื้นดินมาปรับปรุงประสิทธิ์ภาพและติดตั้งระบบ EXAM
ผลการทดสอบที่ออกมานั้นไม่เป็นที่พอใจเนื่องจากตัวเครื่องประสิทธิ์ภาพด้อยเกินไปจนระบบ EXAM ทำงานได้ไม่เต็มศักย์ภาพจึงได้พัฒนา Blue Destiny เครื่องต่อมาโดยใช้ RX-79 Gundam ภาคพื้นดินมาดัดแปลง ติดตั้งท่อขับดันเพิ่มที่ขาและฉาบ magnetic coating (สารเคลือบพิเศษที่ใช้เคลือบข้อต่อของ MS เพิ่มความเร็วในการเคลื่อนไหว) จึงทำให้ EXAM system แสดงศักย์ภาพถึงขีดสุดออกมาได้
ตัวอย่างของ Prototype with Cutting Edge Technology ของจริง ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง F117 ที่เป็นเครื่องบินขับไล่แบบStealth ลำแรกที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 1983 และได้ออกสนามรบจริงใน Gulf War ปี 1991
Cutting Edge Technology ที่ใช้บน F117 คือ Stealth Technology ซึ่งอาศัยการออกแบบของตัวเครื่องควบคู่กับเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ที่ปัจจุบันวิธีการสร้างยังคงเป็นความลับสุดยอดทำให้ตัวเครื่องสามารถลดการสะท้อนกลับหรือดูดซับคลื่นแม่เหล็กได้และทำให้เรดาห์ตรวจจับไม่ได้
Prototype ของ F117 ถูกสร้างขึ้นมา 5 ลำและผลิตจำนวนมากอีก 59 ลำ
F117 ถูกปลดระวางในปี 2008 เพราะค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโครงสร้างโดยเฉพาะส่วนหน้านั้นสูงมากและ Stealth Technology (ในส่วนโครงสร้าง) ของเครื่องรุ่นนี้ก็เก่าและด้อยประสิทธิ์ภาพกว่าโครงสร้างแบบใหม่(โครงสร้างแบบโค้งมน)
อีกปัจจัยคือเพื่อเอาค่าใช้จ่ายไปสั่งสร้าง F22 ที่ดีกว่าและใช้งานได้หลากหลายกว่าแทน
2.Prototype with Dangerous Technology (ต้นแบบที่มีเทคโนโลยีอันตราย)
ต้นแบบประเภทนี้สร้างเพื่อทดสอบเทคโนโลยีที่ยังไม่สมบูรณ์, ยังอยู่ระหว่างศึกษาวิจัยหรืออันตรายเกินกว่าที่จะนำไปใช้งานจริงอย่างแพร่หลาย
ตัวอย่างของต้นแบบประเภทนี้ใน Gundam ก็ได้แก่ RX-79 BD Blue destiny ตัวเดียวกับที่กล่าวข้างต้นเอง
เนื่องจาก EXAM system นั้นมีปัญหาที่ทำให้ตัวเครื่องเสียการควบคุม โดยเครื่องจะเคลื่อนไหวและเข้าโจมตีเป้าหมายเองจากการบังคับของระบบโดยตรงทำให้นักบินทดสอบหลายคนเสียชีวิตจากแรง G และจากการที่ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ (การเสียความควบคุมทำให้ระบบให้ความสำคัญกับความอยู่รอดของระบบมากกว่านักบิน มีกรณีที่ระบบจงใจใช้โล่กันกระสุนเฉพาะส่วนหัวที่ระบบติดตั้งอยู่โดยปล่อยให้ห้องนักบินถูกยิง)
3. Prototype with unreplicable Technology (ต้นแบบที่มีเทคโนโลยีที่ยากต่อการทำซ้ำหรือไม่สามารถทำซ้ำได้)
ต้นแบบประเภทนี้มักจะคล้ายกับประเภทที่ 1 และ 2 แต่จุดที่แตกต่างคือจะมีเหตุผลอะไรบางอย่างที่ทำให้เทคโนโลยีที่มีในต้นแบบเหล่านั้นยากต่อการทำซ้ำหรือไม่ก็ไม่สามารถทำซ้ำได้
ตัวอย่างของต้นแบบประเภทนี้ใน Gundam ก็ได้แก่ระบบ EXAM ที่ติดตั้งใน Blue destiny ที่หลังจากผู้สร้างตายไปแล้วก็ไม่มีใครสร้างระบบนี้ได้อีกเลย
จะเห็นได้ว่า Prototype แทบทุกเครื่องในการ์ตูนหรืออนิเมมักมาพร้อมเทคโนโลยีอะไรสักอย่างที่ก้าวหน้ากว่าเครื่องรุ่นที่ใช้ในปัจจุบันเสมอ นี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ “Prototype เทพ”
แต่เหตุผลสำคัญของการให้ตัวเอกใช้เครื่องต้นแบบนอกจากจะทำให้ผู้ชมแยกแยะตัวละครได้ง่ายขึ้นแล้วยังทำให้ตัวเอกเก่งจนโดดเด่นได้โดยไม่ต้องยกเหตุผลอะไรมาอ้างอิงนักร่วมถึงสร้างแต้มต่อให้แก่ตัวเอกที่ยังไม่เก่งให้อยู่รอดจนกว่าจะเก่งได้
แต่ก็มีบางเรื่องที่ฉีกแนวคิดนี้ออกไปเช่น Aldnoah.Zero ที่ตัวเอกใช้เครื่องผลิตจำนวนมากสำหรับฝึกซ้อมลุยตลอดทั้งเรื่อง แต่เพื่อให้แยกตัวละครออกได้ง่ายเครื่องที่ตัวเอกใช้จึงเป็นสีส้ม
แต่ในความจริง Prototype ไม่ใช่อะไรที่ใช้งานได้ขนาดนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภท Prototype with Dangerous Technology เป็นเครื่องที่มีเทคโนโลยีที่ยังไม่สมบูรณ์และมีจุดบกพร่อง
ตัวอย่างเช่น Heinkel He 178 เครื่องต้นแบบที่นับเป็นต้นตระกูลเครื่องบิน Jet ของเยอรมันในช่วง WW2 (1939)ที่บินได้เพียง 10 นาทีและทำความเร็วสูงสุดได้แค่ 598 KM/H แพ้ P51 มัสแตงของอเมริกาที่เปิดตัวครั้งแรก 1940 แล้วยังใช้เครื่องยนต์ใบพัดอยู่ด้วยซ้ำ
หรือแม้แต่ Messerschmitt Me 262 ที่เป็นเครื่องบิน Jet ที่ใช้งานได้จริงเองก็ยังเจอปัญหาเครื่องยนต์ขัดข้องในช่วงที่ยังเป็นต้นแบบอยู่บ่อย ๆ
ดังนั้น หากคุณเป็นทหารแล้วโดนให้ขับ Prototype ไปรบจริง นั้นหมายความว่าทรัพยากรของฝั่งคุณแทบไม่เหลือจนต้องใช้เครื่องต้นแบบไปรบ ขอให้คำนึงว่ามันไม่เหมือนในการ์ตูนหรอกน่ะ ขอให้โชคดี
Extra
ในโลกจริง เทคนิคการสร้างต้นแบบให้มีประสิทธิ์ภาพสูงกว่านั้นมีอยู่จริงแต่บ้างครั้งไม่ใช่แค่เพื่อทดสอบเทคโนโลยีอย่างเดียว
เป็นข้อมูลที่ผู้เขียนเคยอ่านเจอแต่กลับไปค้นหาอีกครั้งไม่เจอแล้ว จึงเป็นการเขียนจากความทรงจำเท่านั้น
การสร้างต้นแบบประเภทนี้ Prototype มีประสิทธิ์ภาพที่สูงก็เพราะ “ผู้สร้างเผื่อไว้สำหรับการลดสเปกเพื่อผลิตจำนวนมาก”
ข้อดีของวิธีนี้คือรุ่นผลิตจำนวนมากบางครั้งก็ยังมีประสิทธิ์ภาพที่ดี ถึงจะด้อยกว่าต้นแบบแต่ก็ยังดีกว่าค่ามาตรฐานหรือของแบบเดียวกันในขณะนั้น และบางครั้งยังเอื้อให้กับการอัพเกรดในอนาคตด้วยชิ้นส่วนเกรดเดียวกับที่ต้นแบบใช้แต่ก็มีข้อเสียคือค่าใช้จ่ายในกระบวนการพัฒนาจะสูง
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/