บทความตามใจฉัน “Prototype(ต้นแบบ) เทพจริงหรือ”
ในการ์ตูนหรืออนิเมของญี่ปุ่น เรามักจะเห็นตัวเอกใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรรุ่นต้นแบบออกไปลุยอยู่บ่อย ๆ
แล้วทำผลงานได้ดีด้วย
วันนี้เราจะมาคุยกันว่า “Prototype(ต้นแบบ) เทพจริงหรือ”
โดยผู้เขียนจะอธิบายและยกตัวอย่างจากการ์ตูนหุ่นยนต์ชื่อดังอย่าง Gundam ว่า Prototype แบบใดเทียบได้กับหุ่นรุ่นไหน
และถ้าเป็นไปได้จะยกตัวอย่างอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่มีอยู่จริงมาเปรียบเทียบด้วย
เรามาเริ่มกันที่ จริง ๆ แล้ว Prototype มีประเภทที่แยกย่อยลงไปได้อีก 5 ประเภทตามวัตถุประสงค์การสร้าง
สำหรับผู้เขียนนั้น Prototype ทั้ง 5 ประเภทนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ใช้งานไม่ได้ มีไว้เพื่อทดสอบทางเทคนิคและเทคโนโลยีเท่านั้น
Prototype แบบนี้ต่อให้นักบินเทพแค่ไหนมาขับก็ไม่รอดเพรามันทำงานจริงแทบไม่ได้และพร้อมที่จะพังตลอดเวลา
ในการ์ตูนหรืออนิเมจึงแทบไม่มี Prototype แบบนี้มาให้เห็น
Prototype กลุ่มที่ 1 จำแนกประเภทได้ดังนี้
1. Proof of Concept (POC)หรือ Proof of Principle Prototype
เป็นต้นแบบที่สร้างเพื่อทดสอบแนวคิดหรือทฤษฎีว่าสามารถใช้งานได้จริงเท่านั้น
โดย Prototype แบบนี้มักจะทำงานได้เพียงส่วนหนึ่งของฟังชั่นการใช้งานจริงทั้งหมดที่ออกแบบไว้
เป็น Prototype ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อเอาไปใช้งานจริงแต่มีเพื่อการศึกษาว่าจะสามารถทำงานสร้างผลลัพธ์ตามที่ออกแบบไว้ได้รึไม่
หลายครั้ง Prototype ประเภทนี้มักเป็นเพียงชิ้นส่วนส่วนหนึ่งของชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์เท่านั้น
POC Prototype ที่เรา ๆ มักรู้จักกันดีโดยเฉพาะคนที่อยู่ในสายอิเล็กทรอนิกส์ก็คือการต่อวงจรบน Protoboard
2. Visual Prototype
ต้นแบบที่เป็นแบบจำลอง สร้างเพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้นว่าชิ้นงานเมื่อสร้างขึ้นจริงแล้วจะมีรูปร่างประมาณไหน
ต้นแบบประเภทนี้ไม่สามารถใช้งานได้ มันเป็นแค่โมเดล
Visual Prototype ที่เรารู้จักกันดีและเห็นบ่อย ๆ ก็คือโมเดลตัวอย่างบ้านและคอนโด
ถ้าเป็นเครื่องจักรก็อย่างเช่นโมเดลตัวอย่างของ Mitsubishi X-2 Shinshin
3. Research Prototypes หรือ User Experience Prototypes
จาก POC ที่เมื่อทดสอบแล้วว่าสามารถทำงานตามผลลัพธ์ที่ต้องการได้
ตั้งแต่จุดนี้ไป Prototype จะถูกสร้างเพื่อศึกษารายละเอียดวิธีการว่าจะต้องสร้างอย่างไรชิ้นงานถึงจะใช้งานได้จริง
Prototype ประเภทนี้จะถูกสร้างให้สามารถทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้และลักษณะใกล้เคียงกับชิ้นงานตามที่ออกแบบไว้มากยิ่งขึ้น
แต่ก็ยังอีกไกลที่จะเอาไปใช้งานจริง ยังมีข้อผิดพลาดอยู่ในงานอีกมากที่ต้องค่อย ๆ เรียนรู้ปรับปรุงแก้ไข
ดังนั้น Prototype ประเภทนี้นอกจากเอาไปใช้งานจริงยังไม่ได้แล้วยังจะเสียหายได้ง่ายมาก หากมีทุนและกำลังคนเพียงพอมักจะสร้าง Research Prototypes หลายเครื่องเพื่อลองผิดลองถูกและสำรองใช้
ในเรื่อง Gundam เครื่องต้นแบบที่เข้าข่าย Research Prototypes คือ MS-01 หรือ MW-01 Mobile Worker
ที่ถือเป็นต้นแบบต้นตระกูลของ Mobile suit ของฝ่ายซีออนทั้งหมดในเรื่อง
เครื่องนี้ถูกสร้างอย่างลับ ๆ เพื่อใช้เป็นอาวุธรุ่นใหม่สำหรับต่อสู้กับสหพันธ์โลก
โดยปกปิดว่าเป็นเครื่องจักรรูปร่างมนุษย์สำหรับทำงานก่อสร้างและงานอื่น ๆ ที่ต้องใช้เครื่องจักรหนัก
ผู้เขียนหารูปตอนที่ MS-01 ทดสอบการเดินไม่ได้จึงใช้รูปการทดสอบเดินของ “Method-2” ที่ใกล้เคียงกันมาใส่แทน
วิดีโอการทดสอบเดินของ “Method-2”
https://www.youtube.com/watch?v=gcO8Cegk_ZU
MS-01 ติดตั้งโล่ในการทดสอบประสิทธิ์ภาพการรบด้วย melee กับ Rx75 Guntank
และใน Vdo จะมีการทดสอบกับ MS-01 ด้วยกันเองด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=wLY1xndqklg
ในฝั่งสหพันธ์ Research Prototypes ที่สำคัญคือ RCX-76 Guncannon ที่ถือเป็นต้นแบบของ MS ฝ่ายโลกแทบทั้งหมด
และตามที่ได้กล่าวไปว่าหากมีทุนและกำลังคนเพียงพอมักจะสร้าง Research Prototypes หลายเครื่องเพื่อลองผิดลองถูก
RCX-76 Guncannon จึงถูกสร้างออกเป็น 2 ประเภทตามจุดประสงค์การทดสอบ
RCX-76-01A Guncannon Mobility Test Type
เป็นต้นแบบสำหรับทดสอบความเคลื่อนไหวและความคล่องโดยเฉพาะ
จุดเด่นของรุ่นนี้คือตัวเครื่องจะติดตั้งมือจับแบบสามนิ้ว เพื่อทดสอบการหยิบจับและใช้อาวุธเลียบแบบมือของมนุษย์
และ
RCX-76-01B Guncannon Firepower Test Type
เป็นต้นแบบสำหรับทดสอบการติดตั้งระบบอาวุธหนักกับ MS และทดสอบผลกระทบจากการยิงอาวุธหนักโดยเฉพาะ
คาดว่าอาจจะรวมถึงการทดสอบระบบเล็งเป้าด้วย
กลุ่มต่อมาคือ Prototype กลุ่มที่พอใช้งานได้จนถึงใช้งานได้จริง
เป็น Prototype ที่ปรากฏในการ์ตูนหรืออนิเมชั่นมากที่สุด Prototype กลุ่มที่ 2 แยกประเภทได้ดังนี้
4. Functional Prototype
เป็นต้นแบบเพื่อทดสอบฟังชั่น, เทคนิคหรือเทคโนโลยีบางอย่างโดยเฉพาะ
ต้นแบบประเภทนี้บางครั้งมักจะมีการสร้างไว้หลาย ๆ เครื่องด้วยเทคนิคหรือเทคโนโลยีบางอย่างที่ต่างจากต้นแบบในรุ่นเดียวกัน
เพื่อทดสอบหรือเปรียบเทียบหาเทคนิค, เทคโนโลยีหรือฟังชั่นที่ดีที่สุดในการใช้งาน
ในฝั่งซีออน YMS-03 Waff คือ Functional Prototype ที่พัฒนาต่อยอดจาก MS-01
เพื่อทดสอบเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์รุ่นใหม่ที่เล็กพอจะยัดใส่ในโครงของตัวหุ่นได้รวมถึง Fluid Pulse system
ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพการขับเคลื่อนและการควบคุมเครื่องในอวกาศได้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งต่อมาก็เอาข้อมูลจาก Waff ไปพัฒนาเป็น MS-04 Bugu
Clip การทดสอบ YMS-03 Waff:
https://www.youtube.com/watch?v=ZVag3p_xG0U
ทางสหพันธ์ก็มี Functional Prototype เหมือนกัน รุ่นที่โดดเด่นที่สุดคือ RX-78-01 Prototype Gundam
ที่เป็นรุ่นต่อยอดจาก RX-76 Guncannon
สืบเนื่องจากผลจากการปะทะกันระหว่าง MS ของซีออนกับสหพันธ์ทำให้เห็นว่า Guncannon นั้น
ไม่สามารถต่อกรกับ MS ของซีออนได้เลยเพราะ MS ของซีออนมีความคล่องตัว,ประสิทธิ์ภาพในการรบระยะประชิดและตะลุมบอนที่ดีกว่า
ทางสหพันธ์จึงพัฒนา MS รุ่นใหม่เพื่อมาสู้กับ MS ของซีออนในศึก MS VS MS โดยเฉพาะ
คลิปการปะทะกันของ Guncannon กับ Bugu และ Zaku1
https://www.youtube.com/watch?v=HTJu18eJ4yM
RX-78-01 Prototype Gundam จึงถือเป็น Functional Prototype เพื่อการทดสอบ MS สำหรับต่อสู้กับ MS ด้วยกันเอง
อีกทั้งยังอัดเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างที่นับได้ว่าก้าวหน้ายิ่งกว่าฝั่งซีออนเองในตอนนั้นลงไปด้วย
ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีอาวุธพลังงานที่พลังทำลายสูงมาก
เทคโนโลยีด้านโลหะศาสตร์ Luna Titanium ที่แกร่งพอจะทนรับกระสุนปืน hyper rifle ของอีกฝ่ายได้
รวมถึงการติดตั้ง Learning Computer ที่บันทึกข้อมูลการควบคุมและการเคลื่อนไหวของ MS
เพื่อนำไป copy ใส่ให้กับ MS รุ่นผลิตจำนวนมากให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้นและลด Learning curve ของนักบินใหม่ให้สั้นลง
Working Prototype
Prototype รุ่นสุดท้ายที่สมบูรณ์ที่สุดก่อนก็จะนำการข้อมูลและการออกแบบของต้นแบบตัวนี้
ไปใช้เป็นรากฐานในการสร้างเป็นรุ่นผลิตจำนวนมากต่อไป
แน่นอนว่ารุ่นผลิตจำนวนมากไม่จำเป็นต้อนเหมือน Working Prototype เป๊ะ
ในฝั่งซีออนนั้น Working Prototype ที่โดดเด่นที่สุดคือ Zaku1
ที่เป็น Prototype จากการออกแบบใหม่ของ Working Prototype ตัวก่อนหน้า MS-04 Bugu
ให้เอื้อต่อการผลิตจำนวนมาก (ลดคุณภาพชิ้นส่วนและความซับซ้อนของกลไกเพื่อให้ผลิตง่ายขึ้นรวมถึงตัดฟีเจอร์หรือฟังชั่นบางอย่างที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตต่อเครื่องลง) ก่อนจะนำข้อมูลและการออกแบบไปผลิต Zaku2 ที่เป็นรุ่นผลิตจำนวนมากต่อไป
ส่วนฝั่งสหพันธ์ Working Prototype ที่โดดเด่นที่สุดแน่นอนว่าต้องเป็น RX-78-02 Gundam
ที่ข้อมูลและการออกแบบถูกนำไปใช้สร้าง RGM-78 GM(อ่านว่า จิม) ที่นับเป็น Gundam รุ่นผลิตจำนวนมากออกมา
แน่นอนว่ามีการตัดทอนหลาย ๆ อย่างลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสร้างต่อเครื่อง
ไม่ว่าจะลดคุณภาพวัสดุและเกราะลงจาก Luna Titanium เป็น Titanium ที่ทนทานน้อยกว่า
บีมเซเบอร์ลดเหลืออันเดียว
บีมสเปรยกันที่มีขนาดปืนและระยะยิงลดลงจากบีมไรเฟิลแต่ยังคงพลังทำลายไว้ได้มากพอที่จะยิงเจาะเกราะของ MS อีกฝ่ายได้
แต่ก็มาพร้อมข้อดีที่ว่าตอนยิงจะมีการกระจายของตัวบีมขณะยิงออกไปเหมือนกระสุน shoot gun ทำให้มีโอกาสยิงเข้าเป้าสูงขึ้น
สเปกเครื่องในหลาย ๆ ส่วนก็ปรับลดลงเล็กน้อยยกเว้นความเร็วสูงสุดที่ลดสเปกลงไปถึง 40%
ส่วนที่ถูกอัพเกรดให้ดีกว่า Gundam มีเพียงอย่างเดียวคือ Sensor Radius ที่ระยะไกลกว่า Gundam ราว 300 เมตร
ในตอนนี้ผู้เขียนก็ได้อธิบายประเภทของ Prototype ครบทั้ง 5 อย่างแล้ว
ใน Part หน้าก็จะมาเข้าประเด็นหลักกันเลย “Prototype เทพจริงหรือ”
To be continued in Part 2
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “Prototype(ต้นแบบ) เทพจริงหรือ” Part1
ในการ์ตูนหรืออนิเมของญี่ปุ่น เรามักจะเห็นตัวเอกใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรรุ่นต้นแบบออกไปลุยอยู่บ่อย ๆ
แล้วทำผลงานได้ดีด้วย
วันนี้เราจะมาคุยกันว่า “Prototype(ต้นแบบ) เทพจริงหรือ”
โดยผู้เขียนจะอธิบายและยกตัวอย่างจากการ์ตูนหุ่นยนต์ชื่อดังอย่าง Gundam ว่า Prototype แบบใดเทียบได้กับหุ่นรุ่นไหน
และถ้าเป็นไปได้จะยกตัวอย่างอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่มีอยู่จริงมาเปรียบเทียบด้วย
เรามาเริ่มกันที่ จริง ๆ แล้ว Prototype มีประเภทที่แยกย่อยลงไปได้อีก 5 ประเภทตามวัตถุประสงค์การสร้าง
สำหรับผู้เขียนนั้น Prototype ทั้ง 5 ประเภทนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ใช้งานไม่ได้ มีไว้เพื่อทดสอบทางเทคนิคและเทคโนโลยีเท่านั้น
Prototype แบบนี้ต่อให้นักบินเทพแค่ไหนมาขับก็ไม่รอดเพรามันทำงานจริงแทบไม่ได้และพร้อมที่จะพังตลอดเวลา
ในการ์ตูนหรืออนิเมจึงแทบไม่มี Prototype แบบนี้มาให้เห็น
Prototype กลุ่มที่ 1 จำแนกประเภทได้ดังนี้
1. Proof of Concept (POC)หรือ Proof of Principle Prototype
เป็นต้นแบบที่สร้างเพื่อทดสอบแนวคิดหรือทฤษฎีว่าสามารถใช้งานได้จริงเท่านั้น
โดย Prototype แบบนี้มักจะทำงานได้เพียงส่วนหนึ่งของฟังชั่นการใช้งานจริงทั้งหมดที่ออกแบบไว้
เป็น Prototype ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อเอาไปใช้งานจริงแต่มีเพื่อการศึกษาว่าจะสามารถทำงานสร้างผลลัพธ์ตามที่ออกแบบไว้ได้รึไม่
หลายครั้ง Prototype ประเภทนี้มักเป็นเพียงชิ้นส่วนส่วนหนึ่งของชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์เท่านั้น
POC Prototype ที่เรา ๆ มักรู้จักกันดีโดยเฉพาะคนที่อยู่ในสายอิเล็กทรอนิกส์ก็คือการต่อวงจรบน Protoboard
2. Visual Prototype
ต้นแบบที่เป็นแบบจำลอง สร้างเพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้นว่าชิ้นงานเมื่อสร้างขึ้นจริงแล้วจะมีรูปร่างประมาณไหน
ต้นแบบประเภทนี้ไม่สามารถใช้งานได้ มันเป็นแค่โมเดล
Visual Prototype ที่เรารู้จักกันดีและเห็นบ่อย ๆ ก็คือโมเดลตัวอย่างบ้านและคอนโด
ถ้าเป็นเครื่องจักรก็อย่างเช่นโมเดลตัวอย่างของ Mitsubishi X-2 Shinshin
3. Research Prototypes หรือ User Experience Prototypes
จาก POC ที่เมื่อทดสอบแล้วว่าสามารถทำงานตามผลลัพธ์ที่ต้องการได้
ตั้งแต่จุดนี้ไป Prototype จะถูกสร้างเพื่อศึกษารายละเอียดวิธีการว่าจะต้องสร้างอย่างไรชิ้นงานถึงจะใช้งานได้จริง
Prototype ประเภทนี้จะถูกสร้างให้สามารถทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้และลักษณะใกล้เคียงกับชิ้นงานตามที่ออกแบบไว้มากยิ่งขึ้น
แต่ก็ยังอีกไกลที่จะเอาไปใช้งานจริง ยังมีข้อผิดพลาดอยู่ในงานอีกมากที่ต้องค่อย ๆ เรียนรู้ปรับปรุงแก้ไข
ดังนั้น Prototype ประเภทนี้นอกจากเอาไปใช้งานจริงยังไม่ได้แล้วยังจะเสียหายได้ง่ายมาก หากมีทุนและกำลังคนเพียงพอมักจะสร้าง Research Prototypes หลายเครื่องเพื่อลองผิดลองถูกและสำรองใช้
ในเรื่อง Gundam เครื่องต้นแบบที่เข้าข่าย Research Prototypes คือ MS-01 หรือ MW-01 Mobile Worker
ที่ถือเป็นต้นแบบต้นตระกูลของ Mobile suit ของฝ่ายซีออนทั้งหมดในเรื่อง
เครื่องนี้ถูกสร้างอย่างลับ ๆ เพื่อใช้เป็นอาวุธรุ่นใหม่สำหรับต่อสู้กับสหพันธ์โลก
โดยปกปิดว่าเป็นเครื่องจักรรูปร่างมนุษย์สำหรับทำงานก่อสร้างและงานอื่น ๆ ที่ต้องใช้เครื่องจักรหนัก
ผู้เขียนหารูปตอนที่ MS-01 ทดสอบการเดินไม่ได้จึงใช้รูปการทดสอบเดินของ “Method-2” ที่ใกล้เคียงกันมาใส่แทน
วิดีโอการทดสอบเดินของ “Method-2” https://www.youtube.com/watch?v=gcO8Cegk_ZU
MS-01 ติดตั้งโล่ในการทดสอบประสิทธิ์ภาพการรบด้วย melee กับ Rx75 Guntank
และใน Vdo จะมีการทดสอบกับ MS-01 ด้วยกันเองด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=wLY1xndqklg
ในฝั่งสหพันธ์ Research Prototypes ที่สำคัญคือ RCX-76 Guncannon ที่ถือเป็นต้นแบบของ MS ฝ่ายโลกแทบทั้งหมด
และตามที่ได้กล่าวไปว่าหากมีทุนและกำลังคนเพียงพอมักจะสร้าง Research Prototypes หลายเครื่องเพื่อลองผิดลองถูก
RCX-76 Guncannon จึงถูกสร้างออกเป็น 2 ประเภทตามจุดประสงค์การทดสอบ
RCX-76-01A Guncannon Mobility Test Type
เป็นต้นแบบสำหรับทดสอบความเคลื่อนไหวและความคล่องโดยเฉพาะ
จุดเด่นของรุ่นนี้คือตัวเครื่องจะติดตั้งมือจับแบบสามนิ้ว เพื่อทดสอบการหยิบจับและใช้อาวุธเลียบแบบมือของมนุษย์
และ
RCX-76-01B Guncannon Firepower Test Type
เป็นต้นแบบสำหรับทดสอบการติดตั้งระบบอาวุธหนักกับ MS และทดสอบผลกระทบจากการยิงอาวุธหนักโดยเฉพาะ
คาดว่าอาจจะรวมถึงการทดสอบระบบเล็งเป้าด้วย
กลุ่มต่อมาคือ Prototype กลุ่มที่พอใช้งานได้จนถึงใช้งานได้จริง
เป็น Prototype ที่ปรากฏในการ์ตูนหรืออนิเมชั่นมากที่สุด Prototype กลุ่มที่ 2 แยกประเภทได้ดังนี้
4. Functional Prototype
เป็นต้นแบบเพื่อทดสอบฟังชั่น, เทคนิคหรือเทคโนโลยีบางอย่างโดยเฉพาะ
ต้นแบบประเภทนี้บางครั้งมักจะมีการสร้างไว้หลาย ๆ เครื่องด้วยเทคนิคหรือเทคโนโลยีบางอย่างที่ต่างจากต้นแบบในรุ่นเดียวกัน
เพื่อทดสอบหรือเปรียบเทียบหาเทคนิค, เทคโนโลยีหรือฟังชั่นที่ดีที่สุดในการใช้งาน
ในฝั่งซีออน YMS-03 Waff คือ Functional Prototype ที่พัฒนาต่อยอดจาก MS-01
เพื่อทดสอบเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์รุ่นใหม่ที่เล็กพอจะยัดใส่ในโครงของตัวหุ่นได้รวมถึง Fluid Pulse system
ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพการขับเคลื่อนและการควบคุมเครื่องในอวกาศได้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งต่อมาก็เอาข้อมูลจาก Waff ไปพัฒนาเป็น MS-04 Bugu
Clip การทดสอบ YMS-03 Waff: https://www.youtube.com/watch?v=ZVag3p_xG0U
ทางสหพันธ์ก็มี Functional Prototype เหมือนกัน รุ่นที่โดดเด่นที่สุดคือ RX-78-01 Prototype Gundam
ที่เป็นรุ่นต่อยอดจาก RX-76 Guncannon
สืบเนื่องจากผลจากการปะทะกันระหว่าง MS ของซีออนกับสหพันธ์ทำให้เห็นว่า Guncannon นั้น
ไม่สามารถต่อกรกับ MS ของซีออนได้เลยเพราะ MS ของซีออนมีความคล่องตัว,ประสิทธิ์ภาพในการรบระยะประชิดและตะลุมบอนที่ดีกว่า
ทางสหพันธ์จึงพัฒนา MS รุ่นใหม่เพื่อมาสู้กับ MS ของซีออนในศึก MS VS MS โดยเฉพาะ
คลิปการปะทะกันของ Guncannon กับ Bugu และ Zaku1
https://www.youtube.com/watch?v=HTJu18eJ4yM
RX-78-01 Prototype Gundam จึงถือเป็น Functional Prototype เพื่อการทดสอบ MS สำหรับต่อสู้กับ MS ด้วยกันเอง
อีกทั้งยังอัดเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างที่นับได้ว่าก้าวหน้ายิ่งกว่าฝั่งซีออนเองในตอนนั้นลงไปด้วย
ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีอาวุธพลังงานที่พลังทำลายสูงมาก
เทคโนโลยีด้านโลหะศาสตร์ Luna Titanium ที่แกร่งพอจะทนรับกระสุนปืน hyper rifle ของอีกฝ่ายได้
รวมถึงการติดตั้ง Learning Computer ที่บันทึกข้อมูลการควบคุมและการเคลื่อนไหวของ MS
เพื่อนำไป copy ใส่ให้กับ MS รุ่นผลิตจำนวนมากให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้นและลด Learning curve ของนักบินใหม่ให้สั้นลง
Working Prototype
Prototype รุ่นสุดท้ายที่สมบูรณ์ที่สุดก่อนก็จะนำการข้อมูลและการออกแบบของต้นแบบตัวนี้
ไปใช้เป็นรากฐานในการสร้างเป็นรุ่นผลิตจำนวนมากต่อไป
แน่นอนว่ารุ่นผลิตจำนวนมากไม่จำเป็นต้อนเหมือน Working Prototype เป๊ะ
ในฝั่งซีออนนั้น Working Prototype ที่โดดเด่นที่สุดคือ Zaku1
ที่เป็น Prototype จากการออกแบบใหม่ของ Working Prototype ตัวก่อนหน้า MS-04 Bugu
ให้เอื้อต่อการผลิตจำนวนมาก (ลดคุณภาพชิ้นส่วนและความซับซ้อนของกลไกเพื่อให้ผลิตง่ายขึ้นรวมถึงตัดฟีเจอร์หรือฟังชั่นบางอย่างที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตต่อเครื่องลง) ก่อนจะนำข้อมูลและการออกแบบไปผลิต Zaku2 ที่เป็นรุ่นผลิตจำนวนมากต่อไป
ส่วนฝั่งสหพันธ์ Working Prototype ที่โดดเด่นที่สุดแน่นอนว่าต้องเป็น RX-78-02 Gundam
ที่ข้อมูลและการออกแบบถูกนำไปใช้สร้าง RGM-78 GM(อ่านว่า จิม) ที่นับเป็น Gundam รุ่นผลิตจำนวนมากออกมา
แน่นอนว่ามีการตัดทอนหลาย ๆ อย่างลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสร้างต่อเครื่อง
ไม่ว่าจะลดคุณภาพวัสดุและเกราะลงจาก Luna Titanium เป็น Titanium ที่ทนทานน้อยกว่า
บีมเซเบอร์ลดเหลืออันเดียว
บีมสเปรยกันที่มีขนาดปืนและระยะยิงลดลงจากบีมไรเฟิลแต่ยังคงพลังทำลายไว้ได้มากพอที่จะยิงเจาะเกราะของ MS อีกฝ่ายได้
แต่ก็มาพร้อมข้อดีที่ว่าตอนยิงจะมีการกระจายของตัวบีมขณะยิงออกไปเหมือนกระสุน shoot gun ทำให้มีโอกาสยิงเข้าเป้าสูงขึ้น
สเปกเครื่องในหลาย ๆ ส่วนก็ปรับลดลงเล็กน้อยยกเว้นความเร็วสูงสุดที่ลดสเปกลงไปถึง 40%
ส่วนที่ถูกอัพเกรดให้ดีกว่า Gundam มีเพียงอย่างเดียวคือ Sensor Radius ที่ระยะไกลกว่า Gundam ราว 300 เมตร
ในตอนนี้ผู้เขียนก็ได้อธิบายประเภทของ Prototype ครบทั้ง 5 อย่างแล้ว
ใน Part หน้าก็จะมาเข้าประเด็นหลักกันเลย “Prototype เทพจริงหรือ”
To be continued in Part 2
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/