[CR] ทริปสุดท้าย - ทำบุญ ไหว้พระ @ Myanmar (ตอนจบ)

>>>  ความตอนที่แล้ว >>> https://ppantip.com/topic/38379235


วันที่ 2 เราตื่นกันแบบสบาย ๆ อาหารเช้าที่โรงแรมจะเริ่ม 07.30 – 10.00 น. ห้องอาหารที่โรงแรม เขาเปลี่ยนจากชั้น G ขึ้นไปที่ชั้น 6 คะ กดลิฟท์ PH ชั้น 6 เดิมเป็นดาษฟ้าของโรงแรม เราเคยขึ้นไปถ่ายรูปกันเมื่อครั้งที่แล้ว มารอบนี้จึงไม่ได้ถ่ายภาพเลย วันนี้เราแพลนจะไปเจดีย์โบดาทาวน์ ที่นั่นจะมีเจดีย์ที่บรรจุพระบรมเกศธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า พระพุทธรูปทองคำ เทพทันใจ และเทพกระซิบ

หลังจากอาหารเช้า เราก็เตรียมตัวเพื่อออกไปลุยกัน ประสบการณ์ที่ได้ตอนไปเที่ยวซีอาน เราเลยเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ของโรงแรมให้เขาเขียนชื่อเจดีย์โบดาทาวน์กับพระตาหวานเป็นภาษาพม่า เพื่อเราจะได้ให้แท็กซี่ดู กันเหนียวเผื่อสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง

เราโบกรถแท็กซี่หน้าโรงแรม ส่งโบยให้เขาดู เขาคิดราคา 4,000 จ๊าด ไกลพอสมควร พอถึงเราก็เข้าไปซื้อตั๋วเข้า คนละ 6,000 จ๊าด ก่อนเข้าเขาให้ถอดรองเท้าด้านนอก เราเตรียมถุงไป คนที่เฝ้าที่เก็บรองเท้าบอกว่า ฝากไว้ที่นี่ดีกว่า เพราะต้องเข้าไปไหว้พระบรมเกศาธาตุฯ เราจึงเข้าใจว่ามันไม่ควรนำรองเท้าซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สะอาดเข้าไปภายในองค์เจดีย์ฯ


ประวัติของเจดีย์โบดาทาวน์
“โบดาทาวน์” หมายถึง “ทหาร 1,000 นาย” ตามตำนานในการอัญเชิญพระเกศาธาตุจำนวน 8 เส้นจากประเทศอินเดียทางเรือ มาประดิษฐานไว้ชั่วคราว ณ เจดีย์แห่งนี้ ระหว่างที่เจดีย์ชเวดากองยังก่อสร้างไม่เสร็จ โดยในครั้งนั้น พระเจ้าโอกะลาปะ กษัตริย์มอญ ได้ทรงมีบัญชาให้นำทหาร 1,000 นายไปตั้งแถวรับเสด็จพระบรมเกศาธาตุขณะนำขึ้นจากเรือมายังเจดีย์โบดาทาวน์แห่งนี้ องค์เจดีย์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั้นมีความสูงเพียง 40 เมตร ซึ่งเป็นเจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2496 หลังจากที่เจดีย์องค์เดิมถูกทำลายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในระหว่างการบูรณะองค์เจดีย์ ได้มีการค้นพบผอบทรงสถูปที่บรรจุพระเกศธาตุและพระบรมสารีริกธาตุอื่นๆ จึงได้นำพระเกศธาตุที่พบมาบรรจุในมณฑปครอบแก้วใส ประดิษฐานอยู่ในใจกลางของตัวเจดีย์ และทำช่องทางให้พุทธศาสนิกชนเดินเข้าไปดูและสักการบูชาได้อย่างใกล้ชิด ส่วนพระบรมสารีริกธาตุอีกส่วนหนึ่งที่เป็น ”พระเขี้ยวแก้ว” ได้นำไปเก็บรักษาไว้ในตู้กระจก ตั้งอยู่ใกล้กับวิหารพระพุทธรูปทองคำภายในวัด”
(ขอบคุณข้อมูล: http://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=126)


เสียดายมาตอนไปลืมอ่านข้อมูลไปอีกรอบ ถ่ายภาพพระเขี้ยวแก้วมาด้วย เป็นคล้าย ๆ ไม้เก่า ๆ มีรอยหักตรงกลาง แต่ภาพมัวเลยลบทิ้งไป เศร้า ๆ ๆ

“พระพุทธรูปทองคำ ประดิษฐานในวิหารด้านขวา ซึ่งเป็นพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งนัก ตามประวัติว่าเคยประดิษฐานอยู่ในพระราชวังมัณฑะเลย์ ครั้นเมื่อพม่าตกเป็นอาณานิคมอังกฤษในปี พ.ศ. 2428 ถูกเคลื่อนย้ายไปยังพิพิธภัณฑ์กัลกัตตาในอินเดีย ทำให้รอดพ้นจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ถล่มวังมัณฑะเลย์ ต่อมาในปี 2488 พระพุทธรูปองค์นี้ถูกจัดไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียและแอลเบิร์ต”
(ขอบคุณข้อมูล: http://www.oceansmile.com/Phama/JadiBodatow.htm)

“วิธีการสักการะ นัตโบโบยี หรือ พระเทพทันใจ เพื่อขอสิ่งใดแล้วสมตามความปราถนา ให้เอาดอกไม้ ผลไม้ โดยเฉพาะมะพร้าวอ่อน กล้วย จากนั้นก็ให้เอาเงินจะเป็นดอลล่า บาท หรือจ๊าด ก็ได้ แล้วเอาไปใส่มือของนัตโบโบจี 2 ใบ ไหว้ขอพรแล้วดึกกลับมา 1 ใบ เอามาเก็บรักษาไว้ จากนั้นก็เอาหน้าผากไปแตะกับนิ้วชี้ของนัตโบโบยี แค่นี้ท่านก็จะสมตามความปราถนาที่ตั้งใจไว้ (*โบโบยี เป็นคำกลางเรียก นัตผู้ชายที่เป็นที่เคารพนับถือ คล้ายกับคำว่า เจ้าพ่อ หรือเจ้าปู่ ที่คนไทยใช้เรียกอารักษ์แบบไทยๆ)”
(ขอบคุณข้อมูล: https://travel.mthai.com/blog/135863.html)



แล้วก็พาน้อง ๆ ไปขอพรเทพทันใจ ใครที่จะซื้อของถวายเทพทันใจก็ให้เงยหน้าดูราคาด้านบนด้วยนะคะ คนขายจะขายราคาเกินกว่าราคาที่กำหนด ตอนที่เข้าไปถวายของกับเทพทันใจไม่ได้ถ่ายภาพไว้ แล้วเราก็เดินออกไปไหว้พระรอบ ๆ บริเวณ




“เทพกระซิบ” ซึ่งมีนามว่า “อะมาดอว์เมี๊ยะ” ตามตำนานกล่าวว่า นางเป็นธิดาของพญานาค ที่เกิดศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า รักษาศีล ไม่ยอมกินเนื้อสัตว์จนเมื่อสิ้นชีวิตไปกลายเป็นนัต ซึ่งชาวพม่าเคารพกราบไหว้กันมานานแล้ว การขอพรเทพกระซิบต้องเข้าไปกระซิบเบาๆ ห้ามคนอื่นได้ยิน การบูชาเทพกระซิบ บูชาด้วยน้ำนม ข้าวตอก ดอกไม้ และผลไม้”
(ขอบคุณข้อมูล: https://travel.mthai.com/blog/135863.html)





และข้ามไปขอพระเทพกระซิบ ไปที่นี่เราไมได้ซื้อของถวาย คนเยอะ และเขาไม่อนุญาติให้เข้าไปด้านในแล้ว หลายปีก่อนมากับพี่ ๆ เรายังได้เข้าไปกระซิบของพรถึงหูเทพฯ เลย มารอบนี้เขาสร้างรั้วกัน ใครต้องการถวายสิ่งของจะมีคนรับและถวายให้แทน ส่วนพรที่ต้องการจะขอก็ยืนพนมมือขออยู่ข้างนอก

ออกมาก็พาน้อง ๆ แวะซื้อของฝากซึ่งเป็นรูปแกะสลักเทพทันใจ เป็นที่พอใจของผู้ร่วมทริป เราก็เดินทางออกมาเพื่อหาแท็กซี่ไปไหว้พระตาหวานหรือเจาทัตจี เราก็ส่งโบยภาษาพม่าให้แท็กซี่ ๆ เรียกราคา 3,000 จ๊าด เป็นวัดที่ไม่ต้องเสียค่าเข้าชมคะ ช่วงที่ไปพระตาหวานซ่อมแซมดังภาพด้านล่าง



พอกราบพระเสร็จ ก็ออกมาเยี่ยมชมร้านค้า แล้วหาชื่อสถานที่ ๆ เราจะไปกัน เราเคยไปมาเมื่อครั้งที่แล้ว มื้อกลางวันมื้อนี้เราตั้งใจจะไปกินพิซซ่ากัน เราก็หารูปจากที่เคยรีวิวครั้งที่แล้ว และก็เจอมันมีที่ตั้งอยู่ในภาพที่ถ่ายมาด้วย “Myanmar Culture Valley” จะอยู่ใกล้ ๆ กับทางขึ้นพระมหาชเวดากอง แต่ไม่ทราบว่าประตูทิศไหน รู้แต่ว่าสามารถเดินเท้ากลับที่พักได้ เราก็กางแผนที่ที่ได้มาจากสนามบิน แล้วชี้ให้แท็กซี่ดูว่าเราจะไปที่นี่ คันแรกเรียกเรา 5,000 จ๊าด เราก็ส่ายหน้าเขาก็ลดลงมา 4,000 จ๊าด แพงไปป่าว... เราก็เลยเดินออกมา และถามแท็กซี่อีกคัน ๆ นี้เรียก 3,500 จ๊าด เราต่อ 3,000 จ๊าด เราส่ายหน้า และพูดเราฟังไม่รู้เรื่อง เหมือนจะบอกว่ารถมันต้องวิ่งวันเวย์ อ้าวไปก็ไป ปรากฏว่ารถวิ่งเข้าด้านในรั้วพระมหาเจดีย์ชเวดากอง เหมือนจะเป็นทางลัด เขาต้องจ่ายค่าเข้า 500 จ๊าด แล้วส่งเราก่อนเข้าออกจากประตู ให้เราข้ามถนนไปอีกฝั่ง มองไป...ใช่เลยที่นี่แหละ มันมีร้าน Daiso ด้วย แต่พอข้ามไปถึงเดินหาร้านไม่เจอซะแล้ว ร้านค้าน้อยกว่าที่เคยมา คนก็เดินน้อย

หลังจากเข้าห้องน้ำล้างมือ เราก็ดรงไปที่ The Pizza Company น้องคนหนึ่งขอแยกสั่ง เราสามคนสั่งเป็นชุดมาทานกัน 3 คน มีพิชช่าถาดกลาง 1 ทาน ไก่ทอด 6 ชิ้น พาสต้าผัดกระเพรา และน้ำเป๊บซี่ 3 แก้ว ชุดนี้ 39,000 จ๊าด บวกค่าบริการอีก 5% เป็นมื้อที่แพงที่สุด จ่ายเงินเสร็จจนลงทันที เพราะเงินที่แลกมาเหลือไม่พอค่าแท็กซี่พรุ่งนี้ที่ต้องนั่งกลับเข้าสนามบิน

ระหว่างออกมาก็แวะซื้อเสื้อยืดกัน เป็นภาษาพม่าน่ารักดี เลยต้องกู้น้องทีไปด้วย เธอแลกเงินมามากสุด 100 US กู้มา 10,000 จ๊าด ซื้อเสื้อไป 6,000 จ๊าด รวมที่เหลืออยู่พอค่ารถแท็กซี่ไปสนามบินพรุ่งนี้แล้ว


หลังจากอิ่มเราก็เดินย่อยกลับโรงแรมกัน ถึงโรงแรมก็ห้องใครห้องมัน พอสักห้าโมงกว่า เราก็ลงไปแวะวัดที่อยู่ข้าง ๆ ที่พัก ไปสวดมนต์ไหว้พระ องค์ท่านเหลืองอร่ามหมือนทองคำรวมทั้งเครื่องทรงที่ใส่ตู้ไว้ข้าง ๆ ด้วย แต่ไม่รู้จะถามใคร แต่คิดว่าเครื่องทรงที่สวมอยู่บนพระเศียรน่าจะเป็นทองคำจริง ๆ ขออนุโมทนาบุญด้วยนะคะ








ได้เวลาก็แวะซื้อของนิดหน่อยและแยกย้ายห้องใครห้องมัน

วันที่ 3 เราต้องกลับวันนี้แล้ว เราบินกลับรอบ 17.35 น. ส่วนน้องสองคนที่ตามมากลับนกเหลือง รอบ 11.00 น.กว่า เช้าขึ้นไปทานข้าวเช้ากัน แล้วแยกย้ายไม่ได้ลงมาส่ง เราก็ลงมาเข้าห้องพัก รอเวลาเช็คเอ้าท์ ตอนเข้าที่พักเราให้น้องที่ไปด้วยช่วยเจรจาจะขอเช็คเอ้าท์ช้า กะจะออกสักบ่าย 3 ปรากฎว่าทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่าหากออกบ่าย 3 จะขอเก็บเงินค่าที่พักเพิ่ม 50% เราเลยขอต่อรองเขาขอออกบ่ายโมง พอถึงวันกลับจริง ๆ เราเช็คเอ้าท์ ประมาณ 11.50 น. กะจะออกไปเก็บภาพตลาดก่อนกลับ ลงมาเจอรถแท็กซี่มาส่งผู้โดยสารเข้าที่พัก เราเลยถามราคาไปสนามบินเขาบอก 8,000 จ๊าด ราคานี้ OK เดินมาบอกน้องว่าไปสนามบินกันเลยดีกว่า

ไปถึงสนามบินก็ไปเดินดูอัตราแลกเปลี่ยน ราคาอยู่ที่ 46.7 จ๊าด ให้น้องสาวแลก 200 บาท ได้มา 9,300 จ๊าด ซื้อไก่ KFC มา 1 ชุด และเป๊บซี่ 2 แก้ว จ่ายไป 8,300 จ๊าด นั่งกินฆ่าเวลาอันมีค่า นั่งเล่นไลน์ และเล่นเกมส์แบบชิว ๆ



เคาน์เตอร์เปิดให้เช็คอิน ประมาณบ่ายสามโมงกว่า ตอนเช็คอิน เจ้าหน้าที่ให้เราโหลดกระเป๋า เราก็งง บอกไปว่า No วันนี้ได้มาเช็ค booking ถึงได้รู้ว่าไปซื้อน้ำหนักกระเป๋าขากลับไว้ด้วย เสียค่าโง่ไป 700 บาท ...หุหุ...ตั้ง 700 บาท ถ้าเปลี่ยนเป็นจ๊าดก็ได้ตั้ง 33,600 จ๊าด คิดไปก็เสียเวลาเปล่ามันผ่านไปแล้ว คิดซะว่า...เป็นการซื้อความสุขกาย สุขใจให้ตัวเองในวันเกิดแล้วกัน ต่อนี้ไปขอให้ชีวิตได้พบและได้รับสิ่งที่ดี ๆ ได้เดินทางท่องเที่ยวไปในทุกที่ ๆ อยากไป และอื่น ๆ อีกมากมาย


ประเดิมเสื้อยืดตัวใหม่กลับเมืองไทย


ช่วงเข้าไปนั่งรอขึ้นเครื่อง หางแดงเปลี่ยนเกจ เราก็นั่งฟังเพลง น้องก็เล่นเกมส์ ดีที่มีน้องที่เจอกันตอนมาพม่า และเข้าพักที่โรงแรมเดียวกันอีก วิ่งมาตาม ไม่งั้นคงตกเครื่อง คงเป็นบุญกุศลที่ได้ทำมา หางแดงบินมาถึงก่อนเวลา 30 นาที เที่ยวไปมันนานมากเราหลับตลอดการเดินทาง แต่ขากลับพอเครื่องเชิดหน้าขึ้น ทานอาหารเย็นบนเครื่อง เครื่องก็เตรียมลงซะแล้ว ขากลับมันไวจริง ๆ เขาถึงมีภาษิตบอกว่า “ช่วงเวลาแห่งความสุขมักผ่านไปเร็วเสมอ” กว่าผู้ปกครองจะมารับถึงบ้านก็สี่ทุ่ม ง่วงมากมาย ๆ


...... พบกันใหม่ทริปหน้านะคะ
ชื่อสินค้า:   Yangon, Myanmar
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่