ความหมายของ “ธรรม”
คำว่า “ธรรม” คนยังไปสิ้นสุดในคำว่า “ธรรมชาติ”
ผู้ศึกษา : อย่างเช่น คนทั่วไปแปลว่า ธรรมะ คือ ธรรมชาติ
ผู้รู้ : ต้องลึกกว่านั้น คือ เป็นตัวขบวนการก่อเกิดให้เกิดธรรมชาติ
ในธรรมสูงสุด
ธรรมชาติยังอยู่ข้างนอก ยังเป็นมารยาธรรม เป็นรูปเป็นร่างให้เรา
"ธรรม" เป็นขบวนการก่อเกิดของทุกสรรพสิ่ง
พอมีขบวนการก่อเกิดจึงเกิดเป็นขั้นที่สอง คือ ภาวะ ระหว่างเป็นภาวะ ภาวะนี้ๆๆ
ธรรม + ภาวะ (บวกกัน) ก็จะออกมาเป็นธรรมชาติ เป็นรูปออกมาให้เราเห็น
เรามองต้นไม้ต้นนี้ มองเป็นสีเขียว สีเขียวออกมานี่แหละเราเรียกว่าเป็นธรรมชาติ แต่ตรงนี้ เกิดตรงนี้ต้องมีสองอย่างนี้ มีภาวะและมีธรรม มีคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) มีอะไรต่างๆ มีเวลานี้ เช่น ต้นไม้นี้เป็นภาวะสดชื่น กำลังเบ่งบานเป็นสีเขียว แต่ถ้าอยู่ในภาวะที่เหี่ยว จะตายก็จะเหี่ยว เราเห็นเหี่ยวก็เป็นธรรมชาติ แต่ขบวนการที่ทำให้ห่อเหี่ยว คือ ธรรมกับภาวะ มันลึกเข้าไปข้างใน พูดไปแล้วก็คือ เป็นนามกับรูป
สภาวะธรรม คือ ทุกๆ อย่าง, เหตุการณ์ต่างๆ, รูปแบบต่างๆ
ตอนนี้ดอกไม้นี้กำลังเบ่งบาน ธรรมกับสภาวะ สภาวะนั้นดอกไม้อยู่ในภาวะที่สองกำลังเต่งตึง ก็จะมีรูปแบบอย่างนี้ รูปแบบอย่างนี้เขาเรียกว่า มารยาธรรม เพราะว่าปรุงแต่งออกมาแล้ว เราก็เรียกว่าเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติมันเป็นเช่นนี้
แต่ในธรรมชาติมันออกมาปรุงแต่งเช่นนี้ ความเป็นอนิจจังก็แป๊บเดียวจะอยู่ในธรรมชาติ จะดำรงอยู่
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะอยู่ในธรรมชาติ แต่ในภาวะธรรมจะดำรง นี่แหละเขาเรียกว่า โลกุตตระ
โลกุตตรจะมีเหตุแห่งธรรม จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นเช่นนั้นล่ะ เรียกว่า ตถาตา คือ ดำรงอยู่อย่างนั้น
ถ้าดำรงอยู่อย่างนั้น จะตรงกับพระไตรลักษณ์หรือ? ตรงอยู่ คือ จะดำรงอยู่ก่อเกิดอยู่ตลอดเวลา เราอย่าไปตีความผิด ตรงรูปออกมา ต้องอยู่พลังภายใน พลังตัวนี้จะยั่งยืนจะก่อเกิดไปเรื่อยๆ สรรพสิ่งหนึ่งสูญ แต่อีกสรรพสิ่งหนึ่งก็ก่อเกิดขึ้นมา หมุนไปเรื่อย ไม่มีที่สิ้นสุด
สมมติว่าจักรวาลระเบิด ธรรมชาติก็จะมีจักรวาลใหม่เกิดขึ้นมาแทน ตรงตูมก็เกิดพอดี
ให้มองทุกอย่างเป็นธาตุ ธาตุนี้อยู่ในธรรมชาติแล้ว เป็นขบวนการให้เกิดธาตุ
ธรรมชาติแล้วมาเป็นธาตุ แม้แต่ ธาตุเราก็เรียกว่าเป็นธรรมชาติแล้ว อยู่ในธรรมชาติ
สรุป สิ่งที่ปรากฏให้เราเห็นด้วยตาสามัญ เป็นธรรมชาติหมด แต่ถ้าลึกกว่าข้างในคือ ภาวะแห่งธรรม และ ธรรม
ภาวะธรรม แห่งธรรมนี่ เราใช้ตาสามัญสัมผัสไม่ได้ เราจะต้องใช้ตาญาณ คือ ตาแห่งปัญญาจึงจะเข้าถึง นี่คือที่มา ที่ว่าสามตาที่ระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง ตาตรงนี้เปรียบเสมือนตาใน คือ ทางจีนเรียกว่า "หุยงั้ง" แต่ทางไทยเราเรียกว่า ตาแห่งปัญญา ตาปัญญาแห่งพุทธะ จะเข้าถึงภาวะแห่งธรรม และธรรม
นักวิทยาศาสตร์จะเข้าถึงแค่ธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เอาสีนี้ผสมสีนี้ออกมาเป็นสีนี้ แต่ขบวนการว่าทำไมสีนี้กับสีนี้ผสมกันแล้วออกมาเป็นสีนี้ นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ นั่นเป็นภาวะธรรม และธรรม เป็นขบวนการก่อเกิดอยู่ตลอด
องค์พรหมดำรงอยู่ในตัวธรรม พอเป็นพรหมที่มีรูปล่ะ เป็นธรรมชาติล่ะ ไม่ใช่ตัวธรรมล่ะ ตรงพรหมข้างในธรรมจะไม่มีรูป ไม่จำกัดรูปสิ่งต่างๆ
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
ความหมายของ “ธรรม”
คำว่า “ธรรม” คนยังไปสิ้นสุดในคำว่า “ธรรมชาติ”
ผู้ศึกษา : อย่างเช่น คนทั่วไปแปลว่า ธรรมะ คือ ธรรมชาติ
ผู้รู้ : ต้องลึกกว่านั้น คือ เป็นตัวขบวนการก่อเกิดให้เกิดธรรมชาติ
ในธรรมสูงสุด
ธรรมชาติยังอยู่ข้างนอก ยังเป็นมารยาธรรม เป็นรูปเป็นร่างให้เรา
"ธรรม" เป็นขบวนการก่อเกิดของทุกสรรพสิ่ง
พอมีขบวนการก่อเกิดจึงเกิดเป็นขั้นที่สอง คือ ภาวะ ระหว่างเป็นภาวะ ภาวะนี้ๆๆ
ธรรม + ภาวะ (บวกกัน) ก็จะออกมาเป็นธรรมชาติ เป็นรูปออกมาให้เราเห็น
เรามองต้นไม้ต้นนี้ มองเป็นสีเขียว สีเขียวออกมานี่แหละเราเรียกว่าเป็นธรรมชาติ แต่ตรงนี้ เกิดตรงนี้ต้องมีสองอย่างนี้ มีภาวะและมีธรรม มีคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) มีอะไรต่างๆ มีเวลานี้ เช่น ต้นไม้นี้เป็นภาวะสดชื่น กำลังเบ่งบานเป็นสีเขียว แต่ถ้าอยู่ในภาวะที่เหี่ยว จะตายก็จะเหี่ยว เราเห็นเหี่ยวก็เป็นธรรมชาติ แต่ขบวนการที่ทำให้ห่อเหี่ยว คือ ธรรมกับภาวะ มันลึกเข้าไปข้างใน พูดไปแล้วก็คือ เป็นนามกับรูป
สภาวะธรรม คือ ทุกๆ อย่าง, เหตุการณ์ต่างๆ, รูปแบบต่างๆ
ตอนนี้ดอกไม้นี้กำลังเบ่งบาน ธรรมกับสภาวะ สภาวะนั้นดอกไม้อยู่ในภาวะที่สองกำลังเต่งตึง ก็จะมีรูปแบบอย่างนี้ รูปแบบอย่างนี้เขาเรียกว่า มารยาธรรม เพราะว่าปรุงแต่งออกมาแล้ว เราก็เรียกว่าเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติมันเป็นเช่นนี้
แต่ในธรรมชาติมันออกมาปรุงแต่งเช่นนี้ ความเป็นอนิจจังก็แป๊บเดียวจะอยู่ในธรรมชาติ จะดำรงอยู่
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะอยู่ในธรรมชาติ แต่ในภาวะธรรมจะดำรง นี่แหละเขาเรียกว่า โลกุตตระ
โลกุตตรจะมีเหตุแห่งธรรม จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นเช่นนั้นล่ะ เรียกว่า ตถาตา คือ ดำรงอยู่อย่างนั้น
ถ้าดำรงอยู่อย่างนั้น จะตรงกับพระไตรลักษณ์หรือ? ตรงอยู่ คือ จะดำรงอยู่ก่อเกิดอยู่ตลอดเวลา เราอย่าไปตีความผิด ตรงรูปออกมา ต้องอยู่พลังภายใน พลังตัวนี้จะยั่งยืนจะก่อเกิดไปเรื่อยๆ สรรพสิ่งหนึ่งสูญ แต่อีกสรรพสิ่งหนึ่งก็ก่อเกิดขึ้นมา หมุนไปเรื่อย ไม่มีที่สิ้นสุด
สมมติว่าจักรวาลระเบิด ธรรมชาติก็จะมีจักรวาลใหม่เกิดขึ้นมาแทน ตรงตูมก็เกิดพอดี
ให้มองทุกอย่างเป็นธาตุ ธาตุนี้อยู่ในธรรมชาติแล้ว เป็นขบวนการให้เกิดธาตุ
ธรรมชาติแล้วมาเป็นธาตุ แม้แต่ ธาตุเราก็เรียกว่าเป็นธรรมชาติแล้ว อยู่ในธรรมชาติ
สรุป สิ่งที่ปรากฏให้เราเห็นด้วยตาสามัญ เป็นธรรมชาติหมด แต่ถ้าลึกกว่าข้างในคือ ภาวะแห่งธรรม และ ธรรม
ภาวะธรรม แห่งธรรมนี่ เราใช้ตาสามัญสัมผัสไม่ได้ เราจะต้องใช้ตาญาณ คือ ตาแห่งปัญญาจึงจะเข้าถึง นี่คือที่มา ที่ว่าสามตาที่ระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง ตาตรงนี้เปรียบเสมือนตาใน คือ ทางจีนเรียกว่า "หุยงั้ง" แต่ทางไทยเราเรียกว่า ตาแห่งปัญญา ตาปัญญาแห่งพุทธะ จะเข้าถึงภาวะแห่งธรรม และธรรม
นักวิทยาศาสตร์จะเข้าถึงแค่ธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เอาสีนี้ผสมสีนี้ออกมาเป็นสีนี้ แต่ขบวนการว่าทำไมสีนี้กับสีนี้ผสมกันแล้วออกมาเป็นสีนี้ นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ นั่นเป็นภาวะธรรม และธรรม เป็นขบวนการก่อเกิดอยู่ตลอด
องค์พรหมดำรงอยู่ในตัวธรรม พอเป็นพรหมที่มีรูปล่ะ เป็นธรรมชาติล่ะ ไม่ใช่ตัวธรรมล่ะ ตรงพรหมข้างในธรรมจะไม่มีรูป ไม่จำกัดรูปสิ่งต่างๆ
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์