กระทู้ว่าด้วยการที่ คนๆ นึงเริ่มทำงานไม้ครั้งแรกในชีวิตครับ //ฮา
ถามว่าทำไมต้องทำเองด้วยล่ะเหตุผลก็ไม่มีอะไรมาก
1.ชั้นแบบที่ต้องการหาสำเร็จไม่มี
2.ถ้าสั่งทำก็คงเเพงมาก
3.ไม่มีตังสั่งทำ
เเละในเมื่อไม่มีตังให้ใช้เเก้ปัญหาก็คงต้องใช้กำลังเเก้ปัญหาเเทน
เริ่มต้นขั้นเเรก ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนเริ่มจากหาแรงบัลดาลใจก่อนเลย(หรือก็คือหาแบบจากชาวบ้านที่เราชอบนั่นล่ะ)
ซึ่งเนื่องจากถ้ามีเเต่ชั้นหนังสือก็คงธรรมดาไป เลยอยากทำให้มุมที่วางชั้นเป็นที่นั่งอ่านนอนอ่านหนังสือได้ด้วย ซึ่งก็ไปสะดุดกับแบบนี้เข้า
ดูเเล้วเก็เข้าท่าดี ก็ทำชั้นหนังสือติดกำเเพงนั่นล่ะ เเล้วเอากล่องนี้ไปชิดชั้นเป็นที่นั่งข้อดีที่ได้คือ
1.ทำให้ชั้นเเข็งแรงขึ้นเพราะชั้นหนังสือการ์ตูนมันเป็นชั้นไม่ลึก ลึกเเค่ประมาณ 16cm ถ้าไม่มีอะไรยันล่างชั้นหน่อยมันก็จะไม่แข็งแรง
2.ได้ที่งนั่งนอนเล่น
3.ได้ที่เก็บของอีกผมเล็งไว้ว่าเอาไว้เก็บพวกกล่องฟิกเกอร์เนี่ยล่ะ
พอได้แบบเเล้วขั้นต่อไป ก็ดูว่าจะใช้วัสดุอะไรดีเริ่มจากไม้ก่อนเลย
หลังจากที่หาข้อมูลก็ได้ข้อสรุปดังนี้ ไม้ที่ใช้ทำหลักๆ ก็มีให้เลือกอยู่ 3 อย่าง
ภาพจาก
https://www.thanop.com/type-of-furniture-wood/
1.particle board
มักใช้กันเยอะในพวกตู้สำเร็จที่เราเห็นตามร้านต่างๆ น้ำหนักเบา ราคาถูก ทนทานต่ำ เเต่ถึงต่ำยังไง เราก็ยังใช้กันได้หลายปีอยู่ดีนั่นล่ะครับ
2.MDF
มักใช้พวก Built in แบบทำสี เพราะผิวเรียบทำให้ทำสีง่าย น้ำหนักกลาง ราคากลาง ทนทานกลาง ไม่ทนน้ำ
3.ไม้อัด
ทนทานสุด หนักสุด เเละเเพงสุด ทำสียาก เก็บขอบยาก
ซึ่งจากตัวเลือกทั้งหมดผมก็เลือก MDF นั่นล่ะครับ ถามว่าได้ทำไมถึงเลือกถ้าให้เเยกเป็นข้อๆก็ตามนี้
1.ขอบเรียบเก็บงานง่าย
2.particle board ยังทำได้อันนี้เเข็งเเรงกว่าอีกถ้าใช้ความหนาเท่ากันก็คงไม่มีปัญหาอะไร
3.ราคาถูกกว่าไม้อัดเยอะมาก โดยผมเลือก 18 มิลมาใช้ทำส่วนของชั้นหนังสือ เเผ่นนึงตก 400 บาทเเค่นั้นเองส่วนไม้อัดเกรดดีๆ เเพงกว่าหลายเท่า
เลือกไม้ได้เเล้ว ต่อไปก็มาดูกันว่าเเล้วจะใช้วิธีต่อชั้นแบบไหนใช้อะไรเป็นตัวยึดชั้น
หลักๆ ส่วนใหญ่ก็จะต่อแบบในรูปฝั่งขวานั่นล่ะครับ เเผ่นไม้ประกบข้าง 2 แผ่น เเล้วพื้นชั้นเเต่ละชั้นอยู่กลาง
ภาพจาก
https://woodworking.stackexchange.com/questions/2624/corner-butt-joint-longer-top-or-longer-sides
เเล้วคำถามต่อไปคือ เเล้วจะใช้อะไรยึดเเผ่นไม้แนวนอนกับเเนวตั้ง หลักๆก็มี
1.เจาะรูใส่เดือย เเล้วใช้กาวทา
วิธีมาตราฐาน ไม่เห็นรอยอะไรจากด้านข้างเลย เเละค่อนข้างเเข็งแรงมาก
ข้อเสีย ต้องมาวัดเจาะซึ่งกินเวลา
2.ตะปูยึดจากด้านข้าง
เหมือนจะง่ายเเต่ไม่ง่าย เพราะจับฉากห้ามพลาดยิงเเล้วยิงเลย เเละหัวตะปูค่อนข้างใหญ่(ผมมองว่าใช้ปืนตะปูหัว ST นะครับไม่ใช่หมุดแบบตะปู F) เเล้วยังเสี่ยงยิงเเล้วไม้เเตกอีก
3.เกลียวปล่อย
เนื่องจากใช้ไม้ MDF คงต้องขันเเล้วขันเลย คลายไปก็คงหลวม เเละต้องมาคอยเก็บหัวสกรูด้านข้างอีก ซึ่งก็ต้องเก็บหลังประกอบเสร็จเเล้ว
ผมเลยได้ข้อสรุปว่า เดือยนั่นล่ะง่ายสุด ทำเเยกชิ้นให้เสร็จก่อน ทั้งเจาะ เก็บผิว เเล้วค่อยประกอบทีเดียว
ภาพประกอบจาก
http://www.startwoodworking.com/plans/dowel-joints-without-dowel-jig
เเละเรื่องสุดท้ายวัสดุปิดผิวจะใช้อะไร หลักๆก็มี
1.ทำสี
วิธีนี้ผมผ่าน เลยการทำสียุ่งจากกว่าที่คิดเยอะ ถ้าจะทำให้ดี ทั้งการเตรียมพื้นผิว ขัด พ่นรองพื้น พ่นกันยาง พ่นสีจริง เเละถ้าต้องการสี PU มันก็ไม่ได้ถูกเลยครับ
2.ติดวัสดุปิดผิว
เเน่นอนผมเลือกวิธีนี้ล่ะ เเล้ววัสดุปิดผิวมีอะไรบ้างล่ะ
-สติกเกอร์กระดาษ
เป็นอะไรที่นิยมสุดเพราะถูก เเต่ผมผ่านเลยไม้ทนน้ำ ไม่ทนอะไรเลย
-ลามิเนต(HPL)
หรือที่คนชอบเรียกกันว่า ฟอไมก้า นั่นล่ะครับซึ่ง ฟอไมก้าเป็นยี่ห้ออารมเหมือนคนเรียกเเฟ้บนั่นล่ะ
ซึ่งข้อดีคือ ผิวทนขีดข่วนดี กันน้ำ ผิวเหมือนไม้จริง(นอกจากไม้ยังมีเหมือนเเสตนเลสอะไรอีก) มักใช้กันในพวกเฟอร์นิเจอร์เเพงๆ
ข้อเสีย ทำงานยากครับ เเละเเพงเกินจำเป็นสำหรับชั้นหนังสือที่ไม่ได้ต้องทนขูดขีดอะไรมาก
-สติกเกอร์ PVC
ผมจบที่อันนี้ล่ะ กันน้ำ มีหน้ากว้างหลายขนาดให้เลือกซื้อ ใช้งานง่าย ราคากลางๆ
หลังจากสรุปวัสดุได้เเล้ว ก็ได้เวลาทำแบบ
เริ่มจากวัดขนาดหนังสือที่จะเอามาใส่ก่อน มังงะทั่วไปก็ขนาดประมาณ 13cm*18cm นั่นล่ะครับ ก็เผื่อๆไว้หน่อย ให้เเต่ละชั้นสูงซัก 22 ลึก 16
รูปร่างชั้นที่จะออกมา(เสกลมั่วเเค่เอาไว้ให้เห็นภาพรวม) สำหรับขนาดที่นั่งที่เป็นกล่องผมจะทำขนาด 190*90 อิงขนาดเสื่อ tatami มาตราฐาน
ไว้เดี๋ยวมาต่อ ขั้นเตรียมอุปกรณ์
งานไม้ครั้งเเรก ทำชั้นหนังสือการ์ตูนใช้เอง
ถามว่าทำไมต้องทำเองด้วยล่ะเหตุผลก็ไม่มีอะไรมาก
1.ชั้นแบบที่ต้องการหาสำเร็จไม่มี
2.ถ้าสั่งทำก็คงเเพงมาก
3.ไม่มีตังสั่งทำ
เเละในเมื่อไม่มีตังให้ใช้เเก้ปัญหาก็คงต้องใช้กำลังเเก้ปัญหาเเทน
เริ่มต้นขั้นเเรก ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนเริ่มจากหาแรงบัลดาลใจก่อนเลย(หรือก็คือหาแบบจากชาวบ้านที่เราชอบนั่นล่ะ)
ซึ่งเนื่องจากถ้ามีเเต่ชั้นหนังสือก็คงธรรมดาไป เลยอยากทำให้มุมที่วางชั้นเป็นที่นั่งอ่านนอนอ่านหนังสือได้ด้วย ซึ่งก็ไปสะดุดกับแบบนี้เข้า
ดูเเล้วเก็เข้าท่าดี ก็ทำชั้นหนังสือติดกำเเพงนั่นล่ะ เเล้วเอากล่องนี้ไปชิดชั้นเป็นที่นั่งข้อดีที่ได้คือ
1.ทำให้ชั้นเเข็งแรงขึ้นเพราะชั้นหนังสือการ์ตูนมันเป็นชั้นไม่ลึก ลึกเเค่ประมาณ 16cm ถ้าไม่มีอะไรยันล่างชั้นหน่อยมันก็จะไม่แข็งแรง
2.ได้ที่งนั่งนอนเล่น
3.ได้ที่เก็บของอีกผมเล็งไว้ว่าเอาไว้เก็บพวกกล่องฟิกเกอร์เนี่ยล่ะ
พอได้แบบเเล้วขั้นต่อไป ก็ดูว่าจะใช้วัสดุอะไรดีเริ่มจากไม้ก่อนเลย
หลังจากที่หาข้อมูลก็ได้ข้อสรุปดังนี้ ไม้ที่ใช้ทำหลักๆ ก็มีให้เลือกอยู่ 3 อย่าง
ภาพจาก https://www.thanop.com/type-of-furniture-wood/
1.particle board
มักใช้กันเยอะในพวกตู้สำเร็จที่เราเห็นตามร้านต่างๆ น้ำหนักเบา ราคาถูก ทนทานต่ำ เเต่ถึงต่ำยังไง เราก็ยังใช้กันได้หลายปีอยู่ดีนั่นล่ะครับ
2.MDF
มักใช้พวก Built in แบบทำสี เพราะผิวเรียบทำให้ทำสีง่าย น้ำหนักกลาง ราคากลาง ทนทานกลาง ไม่ทนน้ำ
3.ไม้อัด
ทนทานสุด หนักสุด เเละเเพงสุด ทำสียาก เก็บขอบยาก
ซึ่งจากตัวเลือกทั้งหมดผมก็เลือก MDF นั่นล่ะครับ ถามว่าได้ทำไมถึงเลือกถ้าให้เเยกเป็นข้อๆก็ตามนี้
1.ขอบเรียบเก็บงานง่าย
2.particle board ยังทำได้อันนี้เเข็งเเรงกว่าอีกถ้าใช้ความหนาเท่ากันก็คงไม่มีปัญหาอะไร
3.ราคาถูกกว่าไม้อัดเยอะมาก โดยผมเลือก 18 มิลมาใช้ทำส่วนของชั้นหนังสือ เเผ่นนึงตก 400 บาทเเค่นั้นเองส่วนไม้อัดเกรดดีๆ เเพงกว่าหลายเท่า
เลือกไม้ได้เเล้ว ต่อไปก็มาดูกันว่าเเล้วจะใช้วิธีต่อชั้นแบบไหนใช้อะไรเป็นตัวยึดชั้น
หลักๆ ส่วนใหญ่ก็จะต่อแบบในรูปฝั่งขวานั่นล่ะครับ เเผ่นไม้ประกบข้าง 2 แผ่น เเล้วพื้นชั้นเเต่ละชั้นอยู่กลาง
ภาพจาก https://woodworking.stackexchange.com/questions/2624/corner-butt-joint-longer-top-or-longer-sides
เเล้วคำถามต่อไปคือ เเล้วจะใช้อะไรยึดเเผ่นไม้แนวนอนกับเเนวตั้ง หลักๆก็มี
1.เจาะรูใส่เดือย เเล้วใช้กาวทา
วิธีมาตราฐาน ไม่เห็นรอยอะไรจากด้านข้างเลย เเละค่อนข้างเเข็งแรงมาก
ข้อเสีย ต้องมาวัดเจาะซึ่งกินเวลา
2.ตะปูยึดจากด้านข้าง
เหมือนจะง่ายเเต่ไม่ง่าย เพราะจับฉากห้ามพลาดยิงเเล้วยิงเลย เเละหัวตะปูค่อนข้างใหญ่(ผมมองว่าใช้ปืนตะปูหัว ST นะครับไม่ใช่หมุดแบบตะปู F) เเล้วยังเสี่ยงยิงเเล้วไม้เเตกอีก
3.เกลียวปล่อย
เนื่องจากใช้ไม้ MDF คงต้องขันเเล้วขันเลย คลายไปก็คงหลวม เเละต้องมาคอยเก็บหัวสกรูด้านข้างอีก ซึ่งก็ต้องเก็บหลังประกอบเสร็จเเล้ว
ผมเลยได้ข้อสรุปว่า เดือยนั่นล่ะง่ายสุด ทำเเยกชิ้นให้เสร็จก่อน ทั้งเจาะ เก็บผิว เเล้วค่อยประกอบทีเดียว
ภาพประกอบจาก
http://www.startwoodworking.com/plans/dowel-joints-without-dowel-jig
เเละเรื่องสุดท้ายวัสดุปิดผิวจะใช้อะไร หลักๆก็มี
1.ทำสี
วิธีนี้ผมผ่าน เลยการทำสียุ่งจากกว่าที่คิดเยอะ ถ้าจะทำให้ดี ทั้งการเตรียมพื้นผิว ขัด พ่นรองพื้น พ่นกันยาง พ่นสีจริง เเละถ้าต้องการสี PU มันก็ไม่ได้ถูกเลยครับ
2.ติดวัสดุปิดผิว
เเน่นอนผมเลือกวิธีนี้ล่ะ เเล้ววัสดุปิดผิวมีอะไรบ้างล่ะ
-สติกเกอร์กระดาษ
เป็นอะไรที่นิยมสุดเพราะถูก เเต่ผมผ่านเลยไม้ทนน้ำ ไม่ทนอะไรเลย
-ลามิเนต(HPL)
หรือที่คนชอบเรียกกันว่า ฟอไมก้า นั่นล่ะครับซึ่ง ฟอไมก้าเป็นยี่ห้ออารมเหมือนคนเรียกเเฟ้บนั่นล่ะ
ซึ่งข้อดีคือ ผิวทนขีดข่วนดี กันน้ำ ผิวเหมือนไม้จริง(นอกจากไม้ยังมีเหมือนเเสตนเลสอะไรอีก) มักใช้กันในพวกเฟอร์นิเจอร์เเพงๆ
ข้อเสีย ทำงานยากครับ เเละเเพงเกินจำเป็นสำหรับชั้นหนังสือที่ไม่ได้ต้องทนขูดขีดอะไรมาก
-สติกเกอร์ PVC
ผมจบที่อันนี้ล่ะ กันน้ำ มีหน้ากว้างหลายขนาดให้เลือกซื้อ ใช้งานง่าย ราคากลางๆ
หลังจากสรุปวัสดุได้เเล้ว ก็ได้เวลาทำแบบ
เริ่มจากวัดขนาดหนังสือที่จะเอามาใส่ก่อน มังงะทั่วไปก็ขนาดประมาณ 13cm*18cm นั่นล่ะครับ ก็เผื่อๆไว้หน่อย ให้เเต่ละชั้นสูงซัก 22 ลึก 16
รูปร่างชั้นที่จะออกมา(เสกลมั่วเเค่เอาไว้ให้เห็นภาพรวม) สำหรับขนาดที่นั่งที่เป็นกล่องผมจะทำขนาด 190*90 อิงขนาดเสื่อ tatami มาตราฐาน
ไว้เดี๋ยวมาต่อ ขั้นเตรียมอุปกรณ์