เกิดมาทำไม ตามหลักวิทยาศาสตร์

กระทู้คำถาม
เมื่อมองย้อนไปสมัยมนุษย์เริ่มแรก อยู่ในรูในถ้ำ...บรรพบุรุษเราเหล่านี้ เกิดมาเพื่ออะไร
มีเหตุอะไรที่ทำให้ต้องเกิดมาหรือไม่ หรือเป็นแค่เรื่องบังเอิญที่ทำให้เกิดมนุษย์คนแรกของโลกขึ้นมา แต่หากไม่ใช่เรื่องบังเอิญ...
เขาเกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาทำไม และทำไมต้องมีสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิดเกิดขึ้นมาเหมือนกัน



ทำไมต้นไม้ถึงต้องใช้CO2ในการหายใจ ราวกับว่าล่วงรู้เหตุการณ์อีกล้านๆปีข้างหน้าว่าโลกใบนี้จะเต็มไปด้วยCO2และมลพิษมากมาย
ทำไมความบังเอิญนี้มันช่างสมดุลและสมบูรณ์แบบอย่างไร้ที่ติ ราวกับว่ามีผู้สรรสร้างขึ้นมา

เราพยายามจะทำความเข้าใจให้สอดคล้องกับศาสนานะ ว่า เกิดมาเพื่อใช่กรรม.... แต่ มันฟังดูแปลกๆ แล้วจิตแรกที่สร้างขึ้นมาทำไมต้องทำกรรมละ ทำไมต้องทำให้ผลของกรรมส่งต่อเป็นทอดๆไม่จบไม่สิ้น ส่วนคริสต์ก็บอกว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างซึ่งก็สอดคล้องกับพราหมณ์ ถ้าทุกคำสอนเป็นจริง ทำไมมันช่างดูย้อนแย้งในตัวเอง มีทางพอที่จะเชื่อมหลักศาสนาเข้ากับวิทยาศาสตร์เรื่องนี้ได้ไหม
หรือว่าอันที่จริงแล้วนั่นเป็นคนละเรื่องกัน

เพื่อนเราคนหนึ่งเคยบอกว่า วิทยาศาสตร์ ก็เหมือนลัทธิหนึ่ง ที่มีพระเจ้า คือ เหตุผล
หรือว่าเราไม่ควรแท็ก ศาสนา กับ วิทยาศาสตร์ไว้ด้วยกัน 5555555 แงงงง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 27
คำถามประมาณนี้ เราก็เคยสงสัยค่ะ และก็เคยแสวงหาคำตอบ
แต่มันไม่มี "คำตอบสุดท้าย" อันเป็นที่สิ้นสุดน่ะสิคะ

แต่ละคำถาม พาไปสู่คำตอบประมาณนึง แล้วก็พาไปสู่อีกคำถาม ไม่รู้จบรู้สิ้นค่ะ 55
เช่น โลกอยู่ในอะไร? อะไรที่ใหญ่กว่าโลก...แล้วบรรจุโลกไว้?  คำตอบคือ จักรวาล
แล้วจักรวาลมีอาณาเขตแค่ไหน สิ้นสุดตรงไหน  แล้วอะไรที่ใหญ่กว่าจักรวาล ที่บรรจุจักรวาลนี้อยู่
..... ก็ไม่รู้จะตอบยังไงดี  

แล้วทั้งหมดนี้ มันเกิดขึ้นได้ยังไง  อยู่ดีๆ มันเกิดขึ้นเอง หรือมีใครกำหนด มีใครสร้างสิ่งเหล่านี้
แล้วคนสร้างสิ่งเหล่านี้เค้าเกิดมาจากไหน  สร้างสิ่งเหล่านี้มาทำไม
...  โอ่ย...  มันมีคำถามที่สาวไปได้ไม่สิ้นสุดค่ะ 55

ใครเป็นมนุษย์คนแรก  เกิดขึ้นได้ยังไง?  แล้วเกิดมาทำไม?
หรือถ้าเชื่อเรื่องชาตินี้ชาติหน้า  ก็จะมีคำถามว่า แล้วชาติแรกล่ะ  อยู่ดีๆ ใครสักคนจะมีชาติแรกได้ยังไง
เพราะอะไร ทำไม ?????   บลา บลา  ฯลฯ

ถึงมีคนตอบได้ ไม่ว่าจะตามศาสตร์ใดๆ ก็ตาม  เช่น วิทยาศาสตร์ ศาสนา ฯลฯ  
เราก็ไม่รู้จะพิสูจน์ให้เห็นดำเห็นแดงกันยังไง ว่ามันจริงหรือเท็จยังไงค่ะ เพราะ

1. พวกเราเอง ก็ไม่มีสติปัญญามากพอที่จะเข้าใจเรื่องพวกนี้ได้อย่างสุดลิ่มทิ่มประตูค่ะ
เหมือนการจะพยายามอธิบายเรื่องอินเตอร์เน็ต หรือ social media หรือ smartphone หรือฯลฯ
ให้ชาวพื้นเมืองที่อยู่กลางป่าได้เข้าใจว่ามันทำงานยังไง มันมีไว้ทำไม  สร้างมันมาทำไม  สารพันคำถาม ฯลฯ
อะไรคือไฟฟ้า  อะไรคือสัญญาณไฟเบอร์  มันอยู่ตรงไหน  มันจับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น ....ฯลฯ
มันอธิบายยากมากที่จะให้เข้าใจได้  แม้แต่ทุกวันนี้ เราเองใช้งานสิ่งเหล่านี้อยู่ทุกวัน  
เราก็ยังไม่เข้าใจกลไกการทำงานของมันมากนัก  ว่ามันทำได้ไงอ่ะ  มันช่างซับซ้อน มหัศจรรย์ยิ่งนัก

2. ไม่มีใครมีปัญญาหรือความรู้มากพอ ที่จะอธิบายสิ่งเหล่านี้ได้ค่ะ (เรื่องการกำเนิดของสรรพสิ่ง)
ถึงมีใครพยายามจะอธิบาย  พวกเราก็ไม่รู้หรอกค่ะว่า ที่เค้าอธิบายมันผิดหรือถูก
ปลายจักรวาลมันมีอะไร มันสิ้นสุดตรงไหน  มันเกิดเพราะอะไร  บลา บลา

ถ้าเป็นแต่ละความเชื่อทางศาสนา ก็จะมีข้อมูลต่างๆ กันไป  เหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง

แต่ถ้าในทางพุทธ  เรื่องพวกนี้ ถือเป็นเรื่องอจินไตยค่ะ
ใครอยากรู้ความหมายคำว่า "อจินไตย" ก็ google หาได้ค่ะ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในเมื่อมันไม่มีคำตอบให้เข้าใจได้ง่ายๆ  หรือไม่รู้จะสิ้นสุดยังไง??
เราก็เลยเกิดคำถามใหม่ว่า ถ้าตัวเราไม่รู้จุดกำเนิดที่แท้จริงของสรรพสิ่งในโลกนี้ หรือในจักรวาลนี้
แล้วเราจะใช้ชีวิตต่อไปได้มั้ย?

มันก็ได้นะคะ  ไม่ต้องเข้าใจอะไรทุกอย่าง ก็ใช้ชีวิตต่อไปได้
ถ้าจะระบุให้แคบลงไปอีก คือ ใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข หรือเป็นประโยชน์  มันทำได้ค่ะ โดยไม่ต้องมีคำตอบในหลายเรื่อง

ถ้าเป็นศาสนิกชนของศาสนาต่างๆ  เค้าก็มีวิธีของเค้าไปตามแนวทางความเชื่อของเค้า
ถ้าเป็นชาวพุทธ ก็ไม่ต้องไปสนใจเรื่องอจินไตย  สนใจเรื่องการเรียนรู้เรื่องทุกข์และการดับทุกข์
เพื่อพ้นไปจากวงจร (วัฏสงสาร) นี้ค่ะ

หรือถ้าเชื่อในวิทยาศาสตร์ หรือศาสตร์อื่นๆ  ก็ลองแสวงหาแนวทางที่เหมาะกับตัวเองได้ค่ะ

เราเชื่อว่า การตั้งคำถาม การสงสัย การใช้เหตุผล และการมุ่งแสวงหาคำตอบ เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ค่ะ  
เพียงแต่ในหลายเรื่อง มันก็ไม่มี "คำตอบสุดท้าย" ให้เราได้เข้าใจอย่างจริงแท้ค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่