ตามหัวข้อเลยค่ะ
เราเกิดมา บ้านอยู่ข้างทุ่งนา ได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวนา เห็นเขาเกี่ยวข้าว เผาฟาง ไถนา ดำนา เราเองยังไปตกปลา ตีหนู ชีวิตวัยเด็กสนุกมาก พอยิ่งโต นายิ่งน้อยลง เพราะเจ้าของที่นาขายนา แล้วทำเป็นหมู่บ้านจัดสรร ตอนนี้ที่บ้านเกิดเราที่ปากเกร็ดแทบไม่มีท้องนาแล้ว กลายเป็นหมู่บ้านเกือบ 90%
ตอนนี้เรามาแต่งงาน บ้านสามีที่คลองห้าทำนา ดีใจที่เรายังได้กลับมาตกปลา ตีหนู ได้เห็นรถเกี่ยวข้าว รถตีเทือก ได้วิ่งเล่นบนคันนา ชีวิตมีความสุขดี แต่เริ่มมีปัญหาเข้ามา เพราะนาใกล้ๆ เขาทยอยขายให้นายทุน เเล้วสร้างเป็นหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านก็ดีนะ แต่ปัญหาตามมาคือ
- จะเผาฟางก็ยาก เดี๋ยวเศษฟางจะลงไปบ้านเขา หรือไฟจะลามไปยังหมู่บ้านเขา เลยแก้ปัญหาด้วยการอัดฟางขายซะเลย ลดมลพิษในอากาศด้วย
- น้ำในร่องนา ก็เริ่มเน่า เพราะน้ำเสียจากหมู่บ้าน
- ขยะเริ่มมาทีละชิ้น สองชิ้น เพราะความมักง่าย โยนข้ามรั้วโครงการมาใส่นาเฉยเลย งงแท้ แบบนี้ก็ได้ด้วย มีบ้านราคา 5-10 ล้าน แต่ความรับผิดชอบไม่มีเลย
.
.
.
เฮ้อ
ยอมรับนะว่าความเจริญทำให้บ้านเราเจริญก้าวหน้า แต่ความเจริญก็พาหายนะมาเยือนชาวนาแบบเรา โจรเยอะมาก กล้วย มะม่วง มะพร้าว ปลูกไว้ริมคันนา รวมถึงปลาในร่อง โดยโจรแอบมาขโมยไปกินหมด ยิ่งใกล้หน้าเกี่ยวข้าว มีการจุดไฟเผาเพื่อหาหนูอีก ถ้าเกิดไฟไหม้ข้าวนิ จบเลย วันดีคืนดี มีเพื่อนบ้านที่เดินทางมาจากประเทศเข้ามาขายแรงงานในบ้านเรา เดินมาเก็บหน่อไม้ ตกปลา เก็บมะม่วง เก็บผักที่เราปลูกไว้ในบ้านเฉย บ้านก็มีรั้วนะ พอถามไปก็ได้คำตอบว่า ก็นึกว่าเก็บได้ อ้าว แบบนี้ก็ได้หรือ
นิรุ่นเรายังขนาดนี้ แล้วรุ่นลูก รุ่นหลาน ภัยจะมากขนาดไหน
อนาคตเราไม่รู้เลยว่าจะเป็นอย่างไร แต่เรายืนยันว่าเรากะสามีไม่ขายที่ดินตรงนี้ให้นายทุนแน่นอน ที่ดินเราบรรพบุรุษสร้างมาให้เราอยู่ ในความคิดเรา ถ้าเราสร้างเพิ่มไม่ได้ เราก็ไม่ควรทำให้มันลดลง เมื่อหมดรุ่นพ่อแม่ไป ทำนาแล้วลำบาก ปัญหาเยอะ คงเเปลงนาเป็นสวน ปลูกต้นไม้ให้เยอะๆ เพื่อคืนพื้นที่สีเขียวให้ชุมชน
รู้สึกอย่างไร เมื่อท้องนาในอดีต กลายมาเป็นหมู่บ้านจัดสรร แล้วความเจริญทำให้วิถีชีวิตเดิมๆเปลี่ยนไป
เราเกิดมา บ้านอยู่ข้างทุ่งนา ได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวนา เห็นเขาเกี่ยวข้าว เผาฟาง ไถนา ดำนา เราเองยังไปตกปลา ตีหนู ชีวิตวัยเด็กสนุกมาก พอยิ่งโต นายิ่งน้อยลง เพราะเจ้าของที่นาขายนา แล้วทำเป็นหมู่บ้านจัดสรร ตอนนี้ที่บ้านเกิดเราที่ปากเกร็ดแทบไม่มีท้องนาแล้ว กลายเป็นหมู่บ้านเกือบ 90%
ตอนนี้เรามาแต่งงาน บ้านสามีที่คลองห้าทำนา ดีใจที่เรายังได้กลับมาตกปลา ตีหนู ได้เห็นรถเกี่ยวข้าว รถตีเทือก ได้วิ่งเล่นบนคันนา ชีวิตมีความสุขดี แต่เริ่มมีปัญหาเข้ามา เพราะนาใกล้ๆ เขาทยอยขายให้นายทุน เเล้วสร้างเป็นหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านก็ดีนะ แต่ปัญหาตามมาคือ
- จะเผาฟางก็ยาก เดี๋ยวเศษฟางจะลงไปบ้านเขา หรือไฟจะลามไปยังหมู่บ้านเขา เลยแก้ปัญหาด้วยการอัดฟางขายซะเลย ลดมลพิษในอากาศด้วย
- น้ำในร่องนา ก็เริ่มเน่า เพราะน้ำเสียจากหมู่บ้าน
- ขยะเริ่มมาทีละชิ้น สองชิ้น เพราะความมักง่าย โยนข้ามรั้วโครงการมาใส่นาเฉยเลย งงแท้ แบบนี้ก็ได้ด้วย มีบ้านราคา 5-10 ล้าน แต่ความรับผิดชอบไม่มีเลย
.
.
.
เฮ้อ
ยอมรับนะว่าความเจริญทำให้บ้านเราเจริญก้าวหน้า แต่ความเจริญก็พาหายนะมาเยือนชาวนาแบบเรา โจรเยอะมาก กล้วย มะม่วง มะพร้าว ปลูกไว้ริมคันนา รวมถึงปลาในร่อง โดยโจรแอบมาขโมยไปกินหมด ยิ่งใกล้หน้าเกี่ยวข้าว มีการจุดไฟเผาเพื่อหาหนูอีก ถ้าเกิดไฟไหม้ข้าวนิ จบเลย วันดีคืนดี มีเพื่อนบ้านที่เดินทางมาจากประเทศเข้ามาขายแรงงานในบ้านเรา เดินมาเก็บหน่อไม้ ตกปลา เก็บมะม่วง เก็บผักที่เราปลูกไว้ในบ้านเฉย บ้านก็มีรั้วนะ พอถามไปก็ได้คำตอบว่า ก็นึกว่าเก็บได้ อ้าว แบบนี้ก็ได้หรือ
นิรุ่นเรายังขนาดนี้ แล้วรุ่นลูก รุ่นหลาน ภัยจะมากขนาดไหน
อนาคตเราไม่รู้เลยว่าจะเป็นอย่างไร แต่เรายืนยันว่าเรากะสามีไม่ขายที่ดินตรงนี้ให้นายทุนแน่นอน ที่ดินเราบรรพบุรุษสร้างมาให้เราอยู่ ในความคิดเรา ถ้าเราสร้างเพิ่มไม่ได้ เราก็ไม่ควรทำให้มันลดลง เมื่อหมดรุ่นพ่อแม่ไป ทำนาแล้วลำบาก ปัญหาเยอะ คงเเปลงนาเป็นสวน ปลูกต้นไม้ให้เยอะๆ เพื่อคืนพื้นที่สีเขียวให้ชุมชน