มีคดีหนึ่ง โจทก์เป็นเจ้าหนี้นอกระบบฟ้องบังคับจำนองลูกหนี้ ในระหว่างอุทธรณ์ ลูกหนี้ได้แถลงเรื่อง โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจเป็นหนังสือในวันทำนิติกรรมจำนอง เพราะว่าลูกหนี้ไม่เคยเห็นหนังสือมอบอำนาจของเจ้าหนี้ในตอนทำจำนอง และในแฟ้มเอกสารของ สนง.ที่ดินก็ไม่มีหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ จึงแถลงไปพร้อมกับอุทธรณ์ว่า ขอให้ย้อนสำนวนมาสืบพยานเรื่องหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ว่ามีอยู่จริงหรือไม่มี ผลก็คือ
ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ ไม่เอ่ยถึง ไม่กล่าวถึงเรื่อง ประเด็น เจ้าหนี้ไม่ได้มอบอำนาจเป็นหนังสือในการทำจำนอง วินิจฉัยแต่ว่า ต้องจ่ายหนี้ให้เจ้าหนี้เท่าไหร่และถ้าไม่จ่ายต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด
ลูกหนี้จึงร้องขอเพิกถอนกระบวนการพิจารณาผิดระเบียบ ไปยัง ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ เพราะว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ ยังไม่วินิจฉัยในเรื่อง โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจเป็นหนังสือ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งลงมาว่า ข้ออ้างของลูกหนี้เป็นการโต้แย้งคำพิพากษา ต้องฎีกาไปศาลฎีกา
ลูกหนี้จึงฎีกาขึ้นไป โดยให้เหตุผลในคำร้องขออนุญาตฎีกาว่า กระบวนการพิจารณาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ผิดระเบียบ เพราะไม่กล่าวถึงประเด็นเรื่องที่จำเลยอ้างถึงในคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ สมควรเพิกถอนกระบวนการพิจารณานี้ ไม่ควรอ้างว่าให้ฎีกาไปศาลฎีกา ปัญหานี้ขอให้ศาลฎีกาตัดสินเป็นบรรทัดฐาน
ผลจะเป็นอย่างไรต่อไป จะมาแจ้งให้ทราบกันนะครับ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยเรื่องการมอบอำนาจทำจำนองของโจทก์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ ไม่เอ่ยถึง ไม่กล่าวถึงเรื่อง ประเด็น เจ้าหนี้ไม่ได้มอบอำนาจเป็นหนังสือในการทำจำนอง วินิจฉัยแต่ว่า ต้องจ่ายหนี้ให้เจ้าหนี้เท่าไหร่และถ้าไม่จ่ายต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด
ลูกหนี้จึงร้องขอเพิกถอนกระบวนการพิจารณาผิดระเบียบ ไปยัง ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ เพราะว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ ยังไม่วินิจฉัยในเรื่อง โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจเป็นหนังสือ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งลงมาว่า ข้ออ้างของลูกหนี้เป็นการโต้แย้งคำพิพากษา ต้องฎีกาไปศาลฎีกา
ลูกหนี้จึงฎีกาขึ้นไป โดยให้เหตุผลในคำร้องขออนุญาตฎีกาว่า กระบวนการพิจารณาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ผิดระเบียบ เพราะไม่กล่าวถึงประเด็นเรื่องที่จำเลยอ้างถึงในคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ สมควรเพิกถอนกระบวนการพิจารณานี้ ไม่ควรอ้างว่าให้ฎีกาไปศาลฎีกา ปัญหานี้ขอให้ศาลฎีกาตัดสินเป็นบรรทัดฐาน
ผลจะเป็นอย่างไรต่อไป จะมาแจ้งให้ทราบกันนะครับ