JJNY : 4in1 ปิยบุตรปลุกหนุ่มสาวแสดงพลัง/โฆษกพ.พ.ช. เผยจุดยืน/ธีระชัยเย้ยแก้เหลื่อมล้ำ/ดร.อนุสรณ์แนะ 9 ม.แก้เหลื่อมล้ำ

'ปิยบุตร' ปลุกคนหนุ่ม-สาวแสดงพลังเลือกตั้ง
https://prachatai.com/journal/2018/12/79992

'ปิยบุตร' ปลุกพลังคนหนุ่ม-สาวแสดงพลังไปเลือกตั้ง อย่าให้ซ้ำรอย BREXIT ด้าน 'ธนาธร' ประกาศพร้อมสู้ศึกเลือกตั้ง ยันส่งผู้สมัครครบ 350 เขต ชี้พรรค 'อนาคตใหม่' เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาอันสั้นเพราะประชาชนที่มีอุดมการณ์เดียวกันคาดหวังจะเห็นการเมืองรูปแบบใหม่มาร่วมมือกัน

9 ธ.ค. 2561 มติชนออนไลน์ รายงานว่านายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ กล่าวถึง ผลโพลระบุประชาชนร้อยละ 93.5 จะไปเลือกตั้ง ซึ่งกว่า 52 ล้านผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง แบ่งเป็น ประชาชนอายุ 18-25 ปี ที่จะได้เลือกตั้งเป็นครั้งแรก กว่า 7 ล้านเสียงว่า ตั้งใจว่าจะไม่ไปเลือกตั้งนั้นว่าสำคัญที่สุดสำหรับเยาวชนที่อายุ 18-25 ปี ที่จะได้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก ตนคิดว่าจะออกไปเลือกพรรคอะไรก็สุดแท้แต่เป็นอำนาจในการตัดสินใจของพวกเรา แต่ขอให้ออกไปใช้สิทธิ์ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าคนรุ่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ที่จะมีบทบาทในสังคมไทยต่อไปอีกอย่างยาวนาน แล้วถ้าวันนี้เขามีสิทธิ์เลือกตั้งแต่ปรากฎว่าไม่ยอมออกไปใช้สิทธิ์ถ้าออกไปน้อยวันข้างหน้าเกิดเราจะมาเรียกร้องโวยวายก็จะโดนด่ากลับมาว่าช่วยไม่ได้ไม่ไปเลือกตั้งเองเหมือนกรณี BREXIT ที่เกิดขึ้นมาแล้ว

“อยากให้ทุกคนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกให้มีความหมายมากที่สุด เพื่อกำหนดอนาคตของตัวเอง และกำหนดอนาคตของสังคมไทย มีคนดูถูกว่าการเลือกตั้งเป็นเพียง 4 วินาทีในคูหา แต่ 4 วิธีในคูหาครั้งนี้ จะเป็น 4 วินาทีที่มีความสำคัญที่สุดในการกำหนดอนาคตของประเทศว่า เราอยากจะอยู่ในสังคมแบบนี้ต่อไป หรือเราอยากจะร่วมกันออกแบบอนาคตใหม่ๆ ร่วมกัน ขอให้ไปใช้สิทธิ์กันให้มากที่สุดแล้วกัน” นายปิยบุตร กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีการตั้งข้อสังเกตว่าหากมีผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งจำนวนมากดังผลสำรวจจริง ก็จะส่งผลให้การเลือกตั้งครั้งที่จะถึงมีความหมายต่อคะแนนเลือก ส.ส.เป็นอย่างมาก เนื่องจากในจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งกว่า 52 ล้านคนเศษนั้น มีจำนวนหนึ่งคือ ประชาชนอายุระหว่าง 18-25 ปี กว่า 7 ล้านคน ที่ยังไม่เคยใช้สิทธิเลือกตั้ง ที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 หรือ 8 ปีที่แล้ว โดยคะแนนของประชาชนกลุ่มนี้คิด เมื่อคิดคะแนนเฉลี่ยส.ส.1คนต่อ 75,000 คะแนน ก็จะพบว่าวัยรุ่นจะส่งผลต่อเก้าอี้ ส.ส.ถึง 93 ที่นั่ง

'ธนาธร' ประกาศพร้อมสู้ศึกเลือกตั้ง ยันส่งผู้สมัครครบ 350 เขต

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2561 NEW18 รายงานว่าที่ศูนย์ประสานงานพรรคอนาคตใหม่ จปทุมธานี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ น.ส.จารุวรรณ ศรัณย์เกตุ กรรมการบริหารพรรค เดินทางมาพบกับคณะทำงาน จ.ปทุมธานี โดยมีสมาชิกพรรคอนาคตใหม่และผู้ลงแข่งขันไพรมารีโหวต เป็นผู้สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ทั้ง 6 เขตให้การต้อนรับ

นายธนาธร กล่าวกับคณะทำงานและสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ใน จ.ปทุมธานีว่า พรรคอนาคตใหม่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้เพราะประชาชนที่มีอุดมการณ์เดียวกันคาดหวังจะเห็นการเมืองรูปแบบใหม่มาร่วมมือกัน ซึ่งตรงกับเจตนารมณ์ของพรรคอนาคตใหม่ ที่ต้องการให้ทุกคนเป็นเจ้าของพรรค ขอยืนยันว่าพรรคอนาคตใหม่มีความพร้อมในการสู้ศึกเลือกตั้งครั้งนี้ โดยพรรคอนาคตใหม่จะส่งผู้สมัครครบทั้ง 350 เขต ทั่วประเทศ

จากนั้นเวลา 16:00 น. นายธนาธร และคณะเดินทางรณรงค์ประชาสัมพันธ์การรับสมัครสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ ที่บริเวณโดยรอบศูนย์การค้า ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต โดยได้รับความสนใจจากบรรดาพ่อค้าแม่ขาย และประชาชนที่ผ่านไปมา พร้อมกันนี้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ กับประชาชนในพื้นที่ด้วย ทั้งนี้ในแต่ละจุดที่ไปมีประชาชนสนใจและให้การตอบรับพรรคอนาคตใหม่รวมถึงเข้ามาขอถ่ายรูปด้วยเป็นจำนวนมาก

โดยจุดสุดท้ายของการเดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ คือ ตลาดสะพานแดง ซึ่งมีประชาชนมารอพบ นายธนาธร เพื่อทักทายเป็นกำลังใจให้ ประชาชนบริเวณนี้ส่วนใหญ่รู้จักพรรคอนาคตใหม่ และต้องการคนรุ่นใหม่เข้าไปบริหารประเทศ และอยากเห็นพรรคอนาคตใหม่ลดบทบาทของกองทัพ ตามเจตนารมณ์ของพรรคที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการเมือง และหวังว่า หลังการเลือกตั้งประชาชนจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

https://www.matichon.co.th/politics/news_1264868
http://www.newtv.co.th/news/25672




โฆษกพ.พ.ช. เผยจุดยืนเป็นพรรคปชช.ฐานราก เคลียร์ปมถูกถามเป็นพรรคเสื้อเเดง
https://www.matichon.co.th/politics/news_1265109

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม น.ส.เกศปรียา แก้วแสนเมือง หรือเดียร์ โฆษกพรรคเพื่อชาติ(พ.พ.ช.) ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวโดยกล่าวถึงจุดยืนของพรรคพ.พ.ช.โดยระบุใจความว่า มีคนถามว่าพรรคเพื่อชาติเป็นพรรคของคนเสื้อเเดงหรือเปล่า ขอตอบให้ทุกคนทราบว่า

“คนเสื้อแดงถือเป็นกลุ่มประชาชนฐานรากที่มีคุณภาพ ที่ยอมเสียสละตนเองเข้าร่วมการต่อสู้ภาคประชาชนเพื่อหวังจะได้ยกระดับการปกครองที่ยึดโยงกับประชาชนให้มากขึ้น ส่วนพรรคเพื่อชาติ ก่อกำเนิดขึ้นได้โดยเริ่มต้นมาจากการต่อสู้ของประชาชนที่โดนกดขี่จากการปกครองโดยกลุ่มบุคคล พอประชาชนนรวมตัวกันได้จึงเกิดเป็นพลังและเติบโตต่อมาจนเป็นพรรคการเมือง ซึ่งต้องถือว่าพรรคเพื่อชาติเป็นพรรคของประชาชนฐานรากที่ได้รับผลกระทบจากการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรมซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และเป็นผู้ที่โดนเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมจากการปกครอง เดียร์จึงถือว่าเดียร์ตัดสินใจเดินเส้นทางการเมืองในนามของประชาชนเต็มตัว”

ทั้งนี้ น.ส.เกศปรียา ได้โพสต์ข้อความดังกล่าวพร้อมภาพตนเองสวมเสื้อพรรคพ.พ.ช. ขณะเดียวกันมีผู้เข้ามาเเสดงความเห็นเเละให้กำลังใจจำนวนมาก




ธีระชัย เย้ยไร้ความหมาย รบ.มุ่งแก้เหลื่อมล้ำ ชี้ คนรวย0.1% คว้าสัมปทานต่างๆไปหมดแล้ว
https://www.matichon.co.th/politics/news_1265002

วันนี้ (9ธ.ค.)  นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความลงเฟสบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala  แสดงความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลกับประเด็นการแก้ความเหลื่อมล้ำโดยระบุว่า

“รัฐบาลพลเอกประยุทธ์-ลดหรือเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำ?”

เรื่องปัญหาความเหลื่อมล้ำ นับว่ากระตุ้นความสนใจได้กว้างขวาง เพียงแต่ผมแม้ไม่รู้ว่าจะเป็นไฟไหม้ฟางที่จางหายไปกับควันหรือไม่

ต้องเริ่มต้นก่อนว่า ประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ต้องบริหารจัดการ แต่ความเหลื่อมล้ำนั้น มีหลายด้าน และหลายมิติ

ด้านสังคม กระบวนการยุติธรรมที่วิ่งคดีได้ ที่บิดเบือนได้ และไม่สามารถใช้คุกขังคนรวยได้ ไม่ว่าเพราะเรื่องใต้โต๊ะ หรือเนื่องจากคนรวยหนีไปต่างประเทศ เป็นเรื่องใหญ่อันดับหนึ่งที่ต้องแก้ไขก่อน

ด้านเศรษฐกิจ สภาพัฒน์เน้นชี้แจงในมิติของรายได้ บอกว่าตัวเลขต่างๆ ของไทยดีขึ้น แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงมากกว่า คือความเหลื่อมล้ำในมิติการครอบครองความมั่งคั่ง

สำหรับประเทศที่คนรวยสุด 1% ครอบครองที่ดินนับแสนๆ ไร่ และครอบครองทรัพย์สินของประเทศไว้ในสัดส่วนที่สูง จะทำให้ความเหลื่อมล้ำ มีแต่เป็นงูกินหาง

เพราะผู้ที่ครอบครองปัจจัยการผลิตเอาไว้มาก ย่อมได้เปรียบ ทั้งในความมั่นคงของรายได้ที่เกิดจากปัจจัยดังกล่าว และเนื่องจากระบบแบงค์พาณิชย์ไทยยังเน้นการใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน ผู้ที่ครอบครองปัจจัยการผลิตเอาไว้มาก ก็จะได้เปรียบด้านแหล่งเงินทุนอีกด้วย

ถามว่า นโยบายแก้ไขควรเป็นอย่างไร?

ดร.สมชัย จิตสุชน ทีดีอาร์ไอ เคยทำเอกสารวิจัยเสนอสภาพัฒน์เมื่อสิบปีที่แล้ว (รูปข้างล่าง) สรุปมาตรการที่ควรมีสำหรับแต่ละชนชั้น

คนรวยสุด 1% ของประชากร :- ให้ลดอภิสิทธิ์ ลดการผูกขาด ลดคอร์รัปชัน ปฏิรูประบบภาษี

คนรวยมาก 24% ของประชากร :- ให้กระตุ้นแข่งขันกับคนรวยสุดโดยการสร้างความชำนาญให้แก่ผู้ประกอบการ ช่วยให้สามารถสร้างนวตกรรม และปฏิรูปภาษี

คนชั้นกลาง 35% ของประชากร :- ให้ปรับปรุงการศึกษาเฉพาะด้าน ช่วยพัฒนาความขำนาญเฉพาะด้านที่เพิ่มรายได้ และจัดให้มีรัฐสวัสดิการ

คนชั้นกลางระดับรองลงมา 35% ของประชากร :- ให้โอกาสการศึกษาระดับสูงมากขึ้น ช่วยพัฒนาความชำนาญเฉพาะด้านที่ไม่ยากเกินไป ให้ได้รับความเท่าเทียมในกระบวนการยุติธรรม ให้มีสิทธิมีเสียงในกระบวนการทางการเมือง และจัดให้มีรัฐสวัสดิการ

คนที่จนที่สุด 5% ของประชากร :- ให้โอกาสการศึกษาระดับสูงมากขึ้น ทำนโยบายแก้จนแบบเฉพาะเจาะจง ให้ได้รับความเท่าเทียมในด้านต่างๆ มากขึ้น และจัดให้มีรัฐสวัสดิการมากเป็นพิเศษกว่ากลุ่มอื่น

ทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดกว้างๆ ที่ผมเห็นด้วยและขอนำมาช่วยเผยแพร่ตรงนี้

ถามว่า รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จริงจังแค่ไหน?

ท่านนายกฯ บอกว่ารัฐบาลของท่านให้ความสำคัญต่อปัญหานี้ และถึงขั้นบรรจุหลักการแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้วยซ้ำ

ผมต้องวิจารณ์ว่า ลำพังความเหลื่อมล้ำทางสังคม แค่การปฏิรูปงานตำรวจ จนป่านนี้ยังไม่คืบหน้าเท่าไหร่ นอกจากนี้ ยังมีเสียงท้วงติงว่ามีการแทรกแซงในองค์กรอิสระอีกด้วย ไม่ว่า ป.ป.ช. หรือ สตง.

แต่ปัญหาใหญ่กว่า ก็คือการจัดโครงการที่อำนวยประโยชน์แก่อภิมหานายทุน ซึ่งเป็นบุคคลในกลุ่มรวยสุด 1% ให้ลงทุนแทนรัฐวิสาหกิจ

แต่ทีโออาร์มักจะเลือกผู้ชนะ อย่างมีการล๊อคสเปก ไม่ว่าด้วยวิธี bundle โครงการหลายๆ ส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นอภิมหาโครงการยักษ์ใหญ่ จนกลุ่มธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมเข้าแข่งขันไม่ได้ หรือด้วยวิธีประมูลโดยให้กลุ่มข้าราชการเป็นผู้พิจารณาให้คะแนนปัจจัยต่างๆ แทนที่จะให้เอกชนสู้กัน ในตัวเลขปัจจัยหลักเพียงปัจจัยเดียว ดังเช่นกรณีคลื่นโทรศัพท์ 4 จี เป็นต้น

รูปข้างล่าง เคยมีข่าวว่าพลเอกประยุทธ์จะมีการแบ่งเค้กรถไฟความเร็วสูงระหว่างอภิมหานายทุน

ถึงแม้พลเอกประยุทธ์ไม่ยืนยันหรือปฏิเสธ แต่ข่าวทำนองนี้ เป็นการตอกย้ำว่า ข้อวิจัยของเครดิตสวิส ถึงแม้รัฐบาลจะแก้ตัวพัลวันว่า เป็นการประเมินให้เป็นปัจจุบันโดยใช้ฐานข้อมูลเก่า ทำให้ผลวิจัยไม่น่าเชื่อถือ

แต่นโยบายที่เปิดช่องทำกำไรจากโครงสร้างพื้นฐาน และจากทรัพย์สินและทรัพยสิทธิของรัฐวิสาหกิจนั้น ย่อมมีผลทำให้การครอบครอง และการควบคุมปัจจัยการผลิตในประเทศ โดยคนรวยสุด นั้น ปัญหาจะยิ่งหนักมากขึ้น

ปัญหานี้ มิใช่ความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มรวยที่สุด 10% แรก กับ 10% สุดท้าย แต่เป็นปัญหาของกลุ่มรวยที่สุด 0.1% แรก กับประชาชนที่เหลือ

ดังนั้น ในเมื่อ 4-5 ปีที่พลเอกประยุทธ์บริหารงาน มีโครงการต่างๆ นาๆ ที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำในการครอบครองทรัพย์สินมีแต่แย่ลง (ดูรูปบรรยายสารพัดโครงการ) การที่ท่านนายกฯ เอาหัวข้อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำไปใส่ไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะมีความหมายอะไร?

ในเมื่อการประมูลโครงการต่างๆ ผ่านไปแล้ว และในเมื่อกลุ่มรวยสุด 0.1% ได้สัมปทานต่างๆ ไปแล้ว รัฐบาลในอนาคตจะค่อยมาแก้ปัญหาเอาเมื่อนั้นหรือ?


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่