ไทยรัฐ
1/8 สไลด์ © สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd.
สีฟ้าของชาวมายา.
เมื่อกล่าวถึงชาวมายา ภาพที่เรานึกถึงมักเป็นพีระมิดบ้าง รูปสลัก หรือปฏิทินมายาที่มีอักษรแปลกๆใช่ไหมครับ
วันนี้คอลัมน์ไทยรัฐซันเดย์สเปเชียลโดยทีมงานนิตยสารต่วย'ตูนขอเล่าเรื่องสีสันของแดนมายาให้ฟังท่านผู้อ่านจะได้เติมสีให้ภาพในดวงใจของท่านได้อย่างบรรเจิด
สีของมายาก็เหมือนกับแม่สีของไทย เบญจรงค์ (ดำ แดง เหลือง เขียวหรือคราม และขาว) ที่เรารับมาจากจีนอีกที ถามว่าทำไมเหมือนกัน ก็เพราะนี่เป็นแม่สีของมนุษย์บนโลกของเราครับ การใช้สีของมายาน่าสนใจเพราะมีการใส่ความหมายและที่มาแตกต่างไปจากบ้านเรา
ในโลกของชาวมายาโบราณ สีของมนุษย์ มีสีขาว เหลือง แดง และดำ
สีขาว เป็นสีทิศเหนือ สายฝน วิญญาณมนุษย์ สัจธรรม
สีเหลือง เป็นสีทิศใต้ สีของโลก ความคิดจิตใจของมนุษย์ เป็นสีแห่งปัญญาและวุฒิภาวะ
สีแดง เป็นสีแห่งทิศตะวันออก อารมณ์ของมนุษย์ สีแห่งชีวิต อำนาจ พลัง สงคราม
สีดำ เป็นสีตะวันตก สายน้ำ สภาพกาย มนุษย์ การเปลี่ยนสภาพ ความตาย
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ภาพวาดนักดนตรีในวิหารที่โบนัมปัก.
คุณฮวนน่า (Juana Batz Puac) ชาวมายาเชื้อสายคีเช่ (K’iche’ Maya) เล่าว่า “ตำนานกำเนิดมนุษย์สอนเราว่า เราสืบเชื้อสายมาจากมนุษย์ที่ถูกสร้างมาจากข้าวโพดสีขาวและสีเหลือง ดังนั้น เราถือว่าข้าวโพดนั้นศักดิ์สิทธิ์ เพราะมันเป็นสิ่งเชื่อมระหว่างเรากับบรรพบุรุษ มันเลี้ยงเรา ให้ชีวิตและวิญญาณของเราชาวมายา”
ในภาษามายันสายยูคาตัน มีคำเรียกสีดำ, แดง, ชมพู, ส้ม, สีสนิม (เหลืองแกมส้ม), ขาว และสีเขียว
สีน้ำตาลเป็นสีของโลก สีดิน นับเป็นสีกลาง
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. หน้ากากหยกเขียวปิดพระพักตร์มหาราชแห่งปาเลงเก้ ฆีนิช ฮานาบ ปากาลที่ 2 (K’inich Janaab Pakal of Palenque)
สีเขียวเป็นสีของต้นไม้ เป็นสีแห่งชีวิตและความหนุ่มสาว ชาวมายานิยมสีเขียวที่สุด หยกสีเขียวมีค่า โดยเฉพาะถ้าสีเขียวอมฟ้าแล้วยิ่งมีค่าควรเมือง
แต่สีที่ทำให้ชาวมายาขึ้นชื่อ คือสีฟ้ามายา (Maya blue) ได้จากคราม (Anil อนิล ต้นครามพันธุ์ของแดนมายาเป็นไม้ดอกชนิด indigofera suffuticosa ไม่เหมือนบ้านเราครับ) ผสมกับดินเหนียวชนิดพิเศษ (Palygorskite) จนได้ออกเป็นสีฟ้าอ่อนอมเขียว คล้ายสีเทอร์ควอยซ์
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. สีฟ้าของชาวมายา.
ชาวมายาใช้สีนี้แต่งเครื่องปั้นดินเผา รูปปั้น ภาพบนผนัง และผ้าที่นุ่งห่ม สีนี้ถือเป็นสีศักดิ์สิทธิ์ ที่จะใช้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนาสำหรับกษัตริย์, จิตรกรรมฝาผนัง ที่บอกเล่าเรื่องราวเทพหรือกษัตริย์, อาภรณ์นักบวช และป้ายสีบนตัวผู้จะถูกบูชายัญ
มีตัวอย่างเช่น ภาพเขียนสีฝุ่นฝาผนังที่ใช้สีฟ้ามายาวาดเป็นพื้นในวิหารที่โบนัมปัก บอกเรื่องราวขบวนนักดนตรีหนุ่มเขย่าลูกแซกที่ทำมาจากผลน้ำเต้าแห้ง ตามด้วยมือกลอง และท้ายสุดในภาพคือ นักดนตรีที่ใช้กระดองเต่า เป็นภาพวาดที่มีสีสันสดใส ทั้งสีฟ้ามายา สีแสด สีเหลืองสด สีเขียว สีนวลไปจนสีสนิม ทั้งที่วาดมานานเป็นพันปี (790 ปีก่อนคริสตกาล)
สีที่ชาวมายาใช้นั้นสดชัดอยู่นานเป็นพันปี ต่างกับสีสังเคราะห์ปัจจุบันที่อาจทนอยู่ได้เพียงสองร้อยปี
เรามาดูกันดีกว่าว่าชาวมายาสกัดสีมาจากไหนบ้าง
สีฟ้ามายา ได้มาจากครามผสมดินเหนียวพาลิกอร์สไคท์และยางไม้โคพัล (copal) มีนักวิจัยหลายท่านบอกว่าใส่ยางไม้จากต้น Bursera simaruba ด้วย ยางไม้ชนิดนี้ชาวมายาตากแห้งและใช้จุดเอาควันแทนธูปบูชาเทพ
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ยางไม้ที่ใช้ผสมสี.
นอกจาก พืช เช่น ต้นครามแล้ว สารจากพืชอีกชนิดที่ชาวมายาสกัดสีมาใช้ ได้แก่ เออแนตโต (annatto) สารสีแดงแกมส้มจากต้นแอทชิโอธี (achiote) หรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า ต้นลิปสติกซึ่งต้นนี้ก็คือ คำเงาะ หรือคำแสด ในบ้านเรานั่นเองครับ (Bixa Orellana) มายาใช้สีแดงนี้ ผสมอาหารบ้าง ย้อมสีเมล็ดช็อกโกแลต ผสมลงในเครื่องดื่มช็อกโกแลตบ้าง ทาตัวบ้าง ปลอดภัยใช้บริโภคได้ครับ สารเออแนตโตนี้ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน ใส่ในเนย มาการีน ชีส น้ำตาล ขนม โยเกิร์ต ถ้าท่านสงสัยว่ามีสารเออแนตโตในอาหารโปรดไหม ลองอ่านฉลากหาสาร E160b ดูนะครับ
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ผลของต้นแอทชิโอธี.
แร่ธาตุ ก็เป็นที่มาของสีชาวมายัน ได้แก่ แร่ไลโมไนท์ (limonite) เป็นแร่เหล็กเหลือง ชาวมายาใช้สกัดทำสีเหลือง สีเหลืองจากไลโมไนท์ยังคงใช้เป็นส่วนผสมสีในอุตสาหกรรมปัจจุบัน
แร่ซินนาบาร์ หรือชาด ที่ให้สีแดงสด แต่มีสารปรอทสูงมาก เพราะอีกชื่อหนึ่งของแร่นี้คือ เมอคิวรี ซัลไฟด์ ที่เป็นพิษ ชาวมายาใช้สีแดงทาศพและโลงที่บรรจุ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตหน้า และแร่เฮมาไทต์ ให้ผงสีแดงเช่นกัน ทั้งซินนาบาร์และเฮมาไทต์มักใช้ทาในสถานที่ฝังศพ เดาได้ว่า บรรดาพระและผู้เตรียมศพคงม้วยไปด้วยกันในเวลาอันใกล้หลังพิธีฝังศพ เพราะขนาดเวลาผ่านไปเป็นพันปี เมื่อนักโบราณคดีเข้าใกล้ สถานที่ยังต้องใส่หน้ากาก ใส่ถุงมือป้องกันพิษจากสารปรอทที่หลงเหลืออยู่เลยครับ
ตัวอย่างการใช้สีแดงก็เช่นห้องฝังพระศพราชินีที่นักโบราณคดีเรียกว่า ราชินีชาด (The red queen) สันนิษฐานว่า คือพระนางซัคบูอะเฮา (Tz’akb’u Ajaw) มเหสีขององค์ฮานาบ ปากาลที่ 2 แต่ยังรอผลตรวจดีเอ็นเอคอนเฟิร์มอยู่ครับ ฝังในศตวรรษที่เจ็ดครับ แต่สียังแดงสดอยู่เลย
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. สีม่วงจากหอยโข่งทะเล.
สัตว์ คือที่มาอีกแหล่งหนึ่งของสีชาวมายา เช่น สัตว์น้ำและแมลง
สีม่วงได้มาจากหอยโข่งทะเลพันธุ์ Plico-purpura pansa โดยจะทุบเปลือกหอยให้แตก จะต้ม หรือจะใช้เข็มจิ้มตัวหอยก็ได้ เพื่อรีดของเหลวข้นไร้สีที่ทำหน้าที่เป็นหมึก เวลานำสารนี้ไปหยดใส่ผ้าและตากแดดให้ออกซิเจนผ่านจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
สีจากแมลงโคชินีล (cochineal) ที่หน้า ตาคล้ายเพลี้ย อาศัยอยู่ตามต้นกระบองเพชร เป็นแหล่งที่มาสีผสมอาหารและย้อมผ้าที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง โดยเอาแมลงนี่มาตำใส่ครกบดเอาสีจากเปลือก จะกลายเป็นผงละเอียดสีแดง เอาไว้ย้อมผ้าก็ได้ ผสมอาหารก็ได้ จะตากแดด บดให้ละเอียดเก็บเป็นผงสีไว้ใช้ได้ สีที่ให้คือสีเหลือง แดง และม่วง (ผงแมลง+น้ำมะนาว=สีส้มอ่อน, ผงแมลง+เกลือ=สีม่วงแก่, ผงแมลง+น้ำส้มสายชู=ชมพูอ่อน)
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. คาร์มีน สารสีสกัดจากแมลงโคชินีล.
ตัวแมลงโคชินีลเป็นที่นิยมขนาดเมืองขึ้นที่มีตัวแมลงนี้มักใช้มันส่งเป็นบรรณาการ ในสมัยศตวรรษที่ 15 บรรณาการจากเมืองขึ้นสิบเอ็ดเมืองขององค์มอคเตซูม่า จักรพรรดิแอซแท็ก คือ ผืนผ้าฝ้าย 2,000 ผืน และถุงบรรจุซากแมลงโคชินีลแห้ง 40 ถุงครับ ต่อมาสินค้ามีค่าส่งออกอันดับสองจากเม็กซิโกส่งผ่านสเปน (แร่เงินอันดับหนึ่งครับ) สมัยศตวรรษที่ 17 กลายเป็นสินค้ายอดฮิตติดตลาดยุโรป ส่งผ่านจากสเปน จนกระทั่งยุโรปสร้างสีสังเคราะห์ขึ้นมาได้ ความนิยม เลยตกไป จนกระทั่งปัจจุบันมาพบว่าสีสังเคราะห์ที่ใช้ผสมอาหารเป็นสารก่อมะเร็ง แต่สารสีจากแมลงโคชินีลปลอดภัยครับ
สารสีสกัดจากแมลงโคชินีล มีชื่อว่า คาร์มีน (Carmine, Carminic acid (E120) หรือ Natural Red 4.)
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. แมลงโคชินีลบนต้นกระบองเพชร.
ร้านสตาร์บัคส์ (Starbucks) เคยใช้สีคาร์มีน (E120) ลงในแฟรปปูชิโน (Frappucino) สีชมพู ในปี 2012 ปรากฏว่า ลูกค้ามังสวิรัติโวยวายกันถล่มทลายจนสตาร์บัคส์ต้องยอมแพ้ ยกเลิกการใช้สีธรรมชาติจากแมลงโคชินีล
ปัจจุบันสารคาร์มีนยังใช้อยู่ในเครื่องสำอาง และอาหารรอบตัวเรา เช่น ซอสมะเขือเทศ, ไวน์, ซุปกระป๋อง, ลูกกวาด, น้ำผลไม้, โยเกิร์ต, ไอศกรีม, ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แช่แข็ง เช่น เนื้อปูเทียม ครั้งต่อไปที่ท่านหยิบอาหารที่บรรจุในกล่อง หรือขวดขึ้นมา ถ้าเจอรหัส E120 ในฉลากล่ะก็อย่าลืมนึกขอบคุณภูมิปัญญาชาวมายันด้วยนะครับ.
โดย :โมไนย์
ทีมงานนิตยสาร ต่วย'ตูน
สีสันของ 'ชาวมายา'
1/8 สไลด์ © สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd.
สีฟ้าของชาวมายา.
เมื่อกล่าวถึงชาวมายา ภาพที่เรานึกถึงมักเป็นพีระมิดบ้าง รูปสลัก หรือปฏิทินมายาที่มีอักษรแปลกๆใช่ไหมครับ
วันนี้คอลัมน์ไทยรัฐซันเดย์สเปเชียลโดยทีมงานนิตยสารต่วย'ตูนขอเล่าเรื่องสีสันของแดนมายาให้ฟังท่านผู้อ่านจะได้เติมสีให้ภาพในดวงใจของท่านได้อย่างบรรเจิด
สีของมายาก็เหมือนกับแม่สีของไทย เบญจรงค์ (ดำ แดง เหลือง เขียวหรือคราม และขาว) ที่เรารับมาจากจีนอีกที ถามว่าทำไมเหมือนกัน ก็เพราะนี่เป็นแม่สีของมนุษย์บนโลกของเราครับ การใช้สีของมายาน่าสนใจเพราะมีการใส่ความหมายและที่มาแตกต่างไปจากบ้านเรา
ในโลกของชาวมายาโบราณ สีของมนุษย์ มีสีขาว เหลือง แดง และดำ
สีขาว เป็นสีทิศเหนือ สายฝน วิญญาณมนุษย์ สัจธรรม
สีเหลือง เป็นสีทิศใต้ สีของโลก ความคิดจิตใจของมนุษย์ เป็นสีแห่งปัญญาและวุฒิภาวะ
สีแดง เป็นสีแห่งทิศตะวันออก อารมณ์ของมนุษย์ สีแห่งชีวิต อำนาจ พลัง สงคราม
สีดำ เป็นสีตะวันตก สายน้ำ สภาพกาย มนุษย์ การเปลี่ยนสภาพ ความตาย
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ภาพวาดนักดนตรีในวิหารที่โบนัมปัก.
คุณฮวนน่า (Juana Batz Puac) ชาวมายาเชื้อสายคีเช่ (K’iche’ Maya) เล่าว่า “ตำนานกำเนิดมนุษย์สอนเราว่า เราสืบเชื้อสายมาจากมนุษย์ที่ถูกสร้างมาจากข้าวโพดสีขาวและสีเหลือง ดังนั้น เราถือว่าข้าวโพดนั้นศักดิ์สิทธิ์ เพราะมันเป็นสิ่งเชื่อมระหว่างเรากับบรรพบุรุษ มันเลี้ยงเรา ให้ชีวิตและวิญญาณของเราชาวมายา”
ในภาษามายันสายยูคาตัน มีคำเรียกสีดำ, แดง, ชมพู, ส้ม, สีสนิม (เหลืองแกมส้ม), ขาว และสีเขียว
สีน้ำตาลเป็นสีของโลก สีดิน นับเป็นสีกลาง
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. หน้ากากหยกเขียวปิดพระพักตร์มหาราชแห่งปาเลงเก้ ฆีนิช ฮานาบ ปากาลที่ 2 (K’inich Janaab Pakal of Palenque)
สีเขียวเป็นสีของต้นไม้ เป็นสีแห่งชีวิตและความหนุ่มสาว ชาวมายานิยมสีเขียวที่สุด หยกสีเขียวมีค่า โดยเฉพาะถ้าสีเขียวอมฟ้าแล้วยิ่งมีค่าควรเมือง
แต่สีที่ทำให้ชาวมายาขึ้นชื่อ คือสีฟ้ามายา (Maya blue) ได้จากคราม (Anil อนิล ต้นครามพันธุ์ของแดนมายาเป็นไม้ดอกชนิด indigofera suffuticosa ไม่เหมือนบ้านเราครับ) ผสมกับดินเหนียวชนิดพิเศษ (Palygorskite) จนได้ออกเป็นสีฟ้าอ่อนอมเขียว คล้ายสีเทอร์ควอยซ์
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. สีฟ้าของชาวมายา.
ชาวมายาใช้สีนี้แต่งเครื่องปั้นดินเผา รูปปั้น ภาพบนผนัง และผ้าที่นุ่งห่ม สีนี้ถือเป็นสีศักดิ์สิทธิ์ ที่จะใช้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนาสำหรับกษัตริย์, จิตรกรรมฝาผนัง ที่บอกเล่าเรื่องราวเทพหรือกษัตริย์, อาภรณ์นักบวช และป้ายสีบนตัวผู้จะถูกบูชายัญ
มีตัวอย่างเช่น ภาพเขียนสีฝุ่นฝาผนังที่ใช้สีฟ้ามายาวาดเป็นพื้นในวิหารที่โบนัมปัก บอกเรื่องราวขบวนนักดนตรีหนุ่มเขย่าลูกแซกที่ทำมาจากผลน้ำเต้าแห้ง ตามด้วยมือกลอง และท้ายสุดในภาพคือ นักดนตรีที่ใช้กระดองเต่า เป็นภาพวาดที่มีสีสันสดใส ทั้งสีฟ้ามายา สีแสด สีเหลืองสด สีเขียว สีนวลไปจนสีสนิม ทั้งที่วาดมานานเป็นพันปี (790 ปีก่อนคริสตกาล)
สีที่ชาวมายาใช้นั้นสดชัดอยู่นานเป็นพันปี ต่างกับสีสังเคราะห์ปัจจุบันที่อาจทนอยู่ได้เพียงสองร้อยปี
เรามาดูกันดีกว่าว่าชาวมายาสกัดสีมาจากไหนบ้าง
สีฟ้ามายา ได้มาจากครามผสมดินเหนียวพาลิกอร์สไคท์และยางไม้โคพัล (copal) มีนักวิจัยหลายท่านบอกว่าใส่ยางไม้จากต้น Bursera simaruba ด้วย ยางไม้ชนิดนี้ชาวมายาตากแห้งและใช้จุดเอาควันแทนธูปบูชาเทพ
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ยางไม้ที่ใช้ผสมสี.
นอกจาก พืช เช่น ต้นครามแล้ว สารจากพืชอีกชนิดที่ชาวมายาสกัดสีมาใช้ ได้แก่ เออแนตโต (annatto) สารสีแดงแกมส้มจากต้นแอทชิโอธี (achiote) หรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า ต้นลิปสติกซึ่งต้นนี้ก็คือ คำเงาะ หรือคำแสด ในบ้านเรานั่นเองครับ (Bixa Orellana) มายาใช้สีแดงนี้ ผสมอาหารบ้าง ย้อมสีเมล็ดช็อกโกแลต ผสมลงในเครื่องดื่มช็อกโกแลตบ้าง ทาตัวบ้าง ปลอดภัยใช้บริโภคได้ครับ สารเออแนตโตนี้ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน ใส่ในเนย มาการีน ชีส น้ำตาล ขนม โยเกิร์ต ถ้าท่านสงสัยว่ามีสารเออแนตโตในอาหารโปรดไหม ลองอ่านฉลากหาสาร E160b ดูนะครับ
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ผลของต้นแอทชิโอธี.
แร่ธาตุ ก็เป็นที่มาของสีชาวมายัน ได้แก่ แร่ไลโมไนท์ (limonite) เป็นแร่เหล็กเหลือง ชาวมายาใช้สกัดทำสีเหลือง สีเหลืองจากไลโมไนท์ยังคงใช้เป็นส่วนผสมสีในอุตสาหกรรมปัจจุบัน
แร่ซินนาบาร์ หรือชาด ที่ให้สีแดงสด แต่มีสารปรอทสูงมาก เพราะอีกชื่อหนึ่งของแร่นี้คือ เมอคิวรี ซัลไฟด์ ที่เป็นพิษ ชาวมายาใช้สีแดงทาศพและโลงที่บรรจุ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตหน้า และแร่เฮมาไทต์ ให้ผงสีแดงเช่นกัน ทั้งซินนาบาร์และเฮมาไทต์มักใช้ทาในสถานที่ฝังศพ เดาได้ว่า บรรดาพระและผู้เตรียมศพคงม้วยไปด้วยกันในเวลาอันใกล้หลังพิธีฝังศพ เพราะขนาดเวลาผ่านไปเป็นพันปี เมื่อนักโบราณคดีเข้าใกล้ สถานที่ยังต้องใส่หน้ากาก ใส่ถุงมือป้องกันพิษจากสารปรอทที่หลงเหลืออยู่เลยครับ
ตัวอย่างการใช้สีแดงก็เช่นห้องฝังพระศพราชินีที่นักโบราณคดีเรียกว่า ราชินีชาด (The red queen) สันนิษฐานว่า คือพระนางซัคบูอะเฮา (Tz’akb’u Ajaw) มเหสีขององค์ฮานาบ ปากาลที่ 2 แต่ยังรอผลตรวจดีเอ็นเอคอนเฟิร์มอยู่ครับ ฝังในศตวรรษที่เจ็ดครับ แต่สียังแดงสดอยู่เลย
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. สีม่วงจากหอยโข่งทะเล.
สัตว์ คือที่มาอีกแหล่งหนึ่งของสีชาวมายา เช่น สัตว์น้ำและแมลง
สีม่วงได้มาจากหอยโข่งทะเลพันธุ์ Plico-purpura pansa โดยจะทุบเปลือกหอยให้แตก จะต้ม หรือจะใช้เข็มจิ้มตัวหอยก็ได้ เพื่อรีดของเหลวข้นไร้สีที่ทำหน้าที่เป็นหมึก เวลานำสารนี้ไปหยดใส่ผ้าและตากแดดให้ออกซิเจนผ่านจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
สีจากแมลงโคชินีล (cochineal) ที่หน้า ตาคล้ายเพลี้ย อาศัยอยู่ตามต้นกระบองเพชร เป็นแหล่งที่มาสีผสมอาหารและย้อมผ้าที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง โดยเอาแมลงนี่มาตำใส่ครกบดเอาสีจากเปลือก จะกลายเป็นผงละเอียดสีแดง เอาไว้ย้อมผ้าก็ได้ ผสมอาหารก็ได้ จะตากแดด บดให้ละเอียดเก็บเป็นผงสีไว้ใช้ได้ สีที่ให้คือสีเหลือง แดง และม่วง (ผงแมลง+น้ำมะนาว=สีส้มอ่อน, ผงแมลง+เกลือ=สีม่วงแก่, ผงแมลง+น้ำส้มสายชู=ชมพูอ่อน)
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. คาร์มีน สารสีสกัดจากแมลงโคชินีล.
ตัวแมลงโคชินีลเป็นที่นิยมขนาดเมืองขึ้นที่มีตัวแมลงนี้มักใช้มันส่งเป็นบรรณาการ ในสมัยศตวรรษที่ 15 บรรณาการจากเมืองขึ้นสิบเอ็ดเมืองขององค์มอคเตซูม่า จักรพรรดิแอซแท็ก คือ ผืนผ้าฝ้าย 2,000 ผืน และถุงบรรจุซากแมลงโคชินีลแห้ง 40 ถุงครับ ต่อมาสินค้ามีค่าส่งออกอันดับสองจากเม็กซิโกส่งผ่านสเปน (แร่เงินอันดับหนึ่งครับ) สมัยศตวรรษที่ 17 กลายเป็นสินค้ายอดฮิตติดตลาดยุโรป ส่งผ่านจากสเปน จนกระทั่งยุโรปสร้างสีสังเคราะห์ขึ้นมาได้ ความนิยม เลยตกไป จนกระทั่งปัจจุบันมาพบว่าสีสังเคราะห์ที่ใช้ผสมอาหารเป็นสารก่อมะเร็ง แต่สารสีจากแมลงโคชินีลปลอดภัยครับ
สารสีสกัดจากแมลงโคชินีล มีชื่อว่า คาร์มีน (Carmine, Carminic acid (E120) หรือ Natural Red 4.)
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. แมลงโคชินีลบนต้นกระบองเพชร.
ร้านสตาร์บัคส์ (Starbucks) เคยใช้สีคาร์มีน (E120) ลงในแฟรปปูชิโน (Frappucino) สีชมพู ในปี 2012 ปรากฏว่า ลูกค้ามังสวิรัติโวยวายกันถล่มทลายจนสตาร์บัคส์ต้องยอมแพ้ ยกเลิกการใช้สีธรรมชาติจากแมลงโคชินีล
ปัจจุบันสารคาร์มีนยังใช้อยู่ในเครื่องสำอาง และอาหารรอบตัวเรา เช่น ซอสมะเขือเทศ, ไวน์, ซุปกระป๋อง, ลูกกวาด, น้ำผลไม้, โยเกิร์ต, ไอศกรีม, ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แช่แข็ง เช่น เนื้อปูเทียม ครั้งต่อไปที่ท่านหยิบอาหารที่บรรจุในกล่อง หรือขวดขึ้นมา ถ้าเจอรหัส E120 ในฉลากล่ะก็อย่าลืมนึกขอบคุณภูมิปัญญาชาวมายันด้วยนะครับ.
โดย :โมไนย์
ทีมงานนิตยสาร ต่วย'ตูน