6/1/2562
โรโดพิสได้แต่เหม่อมองคนที่ได้ไปงานเลี้ยง.
1/7 สไลด์ © สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd.
เมื่อกล่าวถึงตำนานของเด็กสาวกำพร้าที่ต้องถูกกลั่นแกล้งและใช้งานเยี่ยงทาสจากแม่เลี้ยงใจร้าย ทว่าสุดท้ายก็ได้พบรักกับเจ้าชายผู้สูงศักดิ์แล้วล่ะก็ ทุกๆท่านคงนึกถึงเทพนิยาย “ซินเดอเรลล่า” ขึ้นมาเป็นแน่แท้
และบางท่านอาจจะเคยทราบว่าต้นแบบของตำนานที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นวรรณกรรมซินเดอเรลล่าที่คุ้นหูกันโดยมี “รองเท้า” เป็นสิ่งสำคัญในเรื่องนั้น สามารถย้อนกลับไปได้ไกลเป็นพันๆปีถึงยุคของชาวไอยคุปต์กันเลยทีเดียว แต่ในครั้งนี้คอลัมน์ไทยรัฐซันเดย์สเปเชียลโดยทีมงานนิตยสารต่วย’ตูนจะชวนท่านไปตามหาความจริงที่ซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้อีกชั้นหนึ่ง ว่าปฐมบทของตำนานซินเดอเรลล่าที่ว่ากันว่ามีความเก่าแก่ถึงยุคของชาวอียิปต์โบราณนั้นจะจริงแท้แค่ไหนกัน
เทพนิยายซินเดอเรลล่าที่เราคุ้นเคยกันดีที่สุด ซึ่งมีทั้งเรื่องของรถฟักทอง นางฟ้า และรองเท้าแก้วนั้น มาจากบทประพันธ์ของชาร์ลส์แปร์โรลต์ (Charles Perrault) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ.1697 แต่แท้ที่จริงแล้ว ก่อนหน้านั้น ตำนานที่พูดถึงหญิงสาวหน้าตาสะสวยที่ต้องถูกรังแกเช่นนี้ปรากฏมาตั้งแต่สมัยของชาวอียิปต์โบราณในช่วงการปกครองของฟาโรห์อมาซิส (Amasis) แห่งราชวงศ์ที่ 26 เมื่อราว 550 ปีก่อนคริสตกาลครับ
ตำนานที่กำลังจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ถูกตั้งชื่อว่า “ตำนานซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์” (The Egyptian Cinderella) และถูกนำเสนอในโลกออนไลน์หลายแหล่งว่า ผู้ที่จดบันทึกเรื่องราวนี้เอาไว้ก็คือ “สตราโบ” (Strabo) ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกที่มีชีวิตอยู่ในช่วง 63 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงปี ค.ศ.24
นางเอกของเรื่องมีชื่อว่า “โรโดพิส” (Rho-dopis) นางเป็นทาสที่ถูกจับมาจากดินแดนกรีก สุดท้ายนางถูกขายให้กับชายชราชาวอียิปต์ที่วันๆ เอาแต่นอนอยู่ใต้ต้นไม้ โดยปล่อยให้เหล่าสาวใช้ทำงานของตนเองกันไป แต่ด้วยว่าโรโดพิส
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. โรโดพิสได้แต่เหม่อมองคนที่ได้ไปงานเลี้ยง.
แตกต่างจากสาวใช้คนอื่นๆ เพราะนางมีดวงตาสีเขียว แถมยังมีผมหยิกเป็นลอนสีเหลืองทอง ในขณะที่สาวใช้คนอื่นๆมีดวงตาสีน้ำตาลและผมตรงดำ โรโดพิสจึงมักจะถูกรังแกและบังคับให้ทำงานอย่างหนักอยู่เสมอ แต่ด้วยว่านางมีเอกลักษณ์โดดเด่น อีกทั้งยังเต้นรำได้ดี เมื่อชายชราลืมตาตื่นขึ้นมาจากภวังค์และเห็นโรโดพิสกำลังร่ายรำ ก็รู้สึกประทับใจและคิดว่าเธอควรมีรองเท้าสวยๆใส่สักคู่หนึ่ง เขาจึงได้หารองเท้าหุ้มด้วยทองคำแถมมีพื้นทำจากหนังสัตว์อย่างดีมาให้เธอสวมใส่ นั่นยิ่งทำให้สาวใช้คนอื่นๆอิจฉาเธอมากยิ่งขึ้นไปอีก
หลังจากนั้นไม่นาน ฟาโรห์อมาซิสได้จัดงานเลี้ยงใหญ่โต โรโดพิสดีใจมากและต้องการที่จะไปร่วมงานนี้พร้อมกับรองเท้าแสนสวยของเธอ แต่สาวใช้คนอื่นๆได้ดักคอเธอด้วยการมอบภาระงานอันหนักอึ้งให้เธอทำ และถ้าทำไม่เสร็จก็ไม่อนุญาตให้เธอออกไปร่วมงานเลี้ยงในครั้งนี้ ดังนั้นโรโดพิสจึงก้มหน้า ก้มตาทำงานต่อไปอย่างแข็งขัน แต่สุดท้ายเธอก็เห็นว่าสาวใช้ที่มอบหมายงานให้เธอนั้นได้ลงเรือลำหนึ่งเดินทางออกจากท่ามุ่งหน้าตรงไปยังงานเลี้ยงเรียบร้อยแล้ว
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์ในหนังสือยุคปัจจุบัน.
โรโดพิสได้แต่ร้องเพลงด้วยความเศร้าโศก เสียงเพลงของนางได้ไปกวนใจฮิปโปโปเตมัสตัวหนึ่งทำให้มันกระโดดหนีลงน้ำไปจนน้ำกระเซ็นมาโดนรองเท้าแสนสวยของเธอเปียกโชก เธอจึงถอดรองเท้าผึ่งเอาไว้บนก้อนหิน แต่ทันใดนั้นเอง นกอินทรีตัวหนึ่งก็บินโฉบลงมาเอารองเท้าข้างหนึ่งของเธอไปเสียดื้อๆ โรโดพิสได้แต่มองตามไปโดยที่ไม่สามารถทำอะไรได้ เธอจึงเก็บรองเท้าที่เหลือเพียงข้างเดียวเอาไว้แล้วกลับไปทำงานอันแสนหนักหน่วงของเธอต่อไป
ระหว่างงานเลี้ยง ฟาโรห์อมาซิสได้แต่นั่งหมดอาลัยตายอยากด้วยว่าพระองค์ประสงค์จะมีคู่ครองแต่ยังหาสตรีที่เหมาะสมกับตนไม่ได้สักที ทันใดนั้นก็มีนกอินทรี
ตัวหนึ่งปล่อยรองเท้าลงมายังหน้าตักของพระองค์ องค์ฟาโรห์เชื่อว่านี่อาจจะเป็นลางดีที่เทพเจ้าฮอรัส (Horus) ได้ส่งมาถึงตน อมาซิสจึงออกตามหาสตรีที่สามารถสวมใส่รองเท้าข้างนี้ได้พอดี และใครที่สวมได้เป๊ะก็จะได้มาเป็นมเหสี ทว่าหลังจากที่อมาซิสให้สตรีที่มาร่วมในงานเลี้ยงทั้งหมดลองสวมดูก็ปรากฏว่าไม่มีใครสวมใส่ได้พอดีเลยสักคนเดียว
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์ มีอยู่ในหนังสือของมิลเลอร์.
หลังจากงานเลี้ยงจบลง พระองค์ออกพลิกแผ่นดินหาสตรีปริศนาเจ้าของรองเท้า และหลังจากล่องเรือมาจนถึงบ้านของชายชรา ก็พบเข้ากับโรโดพิสที่ไม่เพียงแค่สวมรองเท้าข้างนั้นได้พอดี แต่นางยังมีรองเท้าที่เหมือนกันอีกข้างหนึ่งด้วย! สุดท้ายแล้วโรโดพิสก็ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นมเหสีของฟาโรห์อมาซิส ถึงแม้ว่าเหล่าสาวใช้คนอื่นๆพยายามจะแย้งฟาโรห์ว่าเธอเป็นเพียงแค่ทาส แถมยังไม่ใช่ชาวอียิปต์อีกด้วย แต่ฟาโรห์ก็ได้ตอบกลับมาว่าโรโดพิสนี่แหละ เป็นชาวอียิปต์ที่แท้จริง เพราะดวงตาของเธอมีสีเขียวดุจแม่น้ำไนล์ แถมผมของเธอยังงดงามดั่งปาปิรัสด้วย ตำนานเรื่องนี้จึงจบลงแบบแฮปปี้เอนดิ้ง
ตำนานของสตราโบเรื่องนี้มันช่างคล้ายกับเทพนิยายซินเดอเรลล่าเหลือเกิน หมายความว่าต้นกำเนิดของเทพนิยายซินเดอเรล-ล่านั้นมาจากบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกอย่างสตราโบอย่างนั้นเองน่ะหรือ?
จริงๆแล้ว “ไม่ใช่” เลยครับ ตำนานที่เล่าไปข้างบนทั้งหมด เป็นตำนานที่แพร่หลายอยู่ในหนังสือและโลกออนไลน์ สตราโบไม่ได้แต่งให้ตำนานมีความลื่นไหลและฟังดูเคลิบเคลิ้มเช่นนี้หรอกครับ เนื้อหาที่สตราโบเขียนเอาไว้จริงๆนั้นสั้นมาก ถ้าจะอ้างอิงกลับไปถึงเรื่องเล่าของสตราโบจากต้นฉบับจริงๆแล้ว ต้องกลับไปอ่านเอกสาร “ภูมิศาสตร์” (Geo-graphy) เล่มที่ 17 บทที่ 33 ซึ่งเขียนเอาไว้เพียงแค่ว่า
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์.
“ในระหว่างที่โรโดพิสกำลังอาบน้ำอยู่นั้น นกอินทรีตัวหนึ่งได้ลงมาโฉบเอารองเท้าสานข้างหนึ่งของเธอไปจากมือของผู้รับใช้และมุ่งหน้าไปยังเมืองเมมฟิส เจ้านกอินทรีบินอยู่เหนือเศียรของกษัตริย์ในขณะที่พระองค์กำลังตัดสินคดีความ และได้ปล่อยรองเท้าสานข้างนั้นลงมายังหน้าตักของฟาโรห์ พระองค์ฉงนกับรูปลักษณ์ของรองเท้าสานเป็นอย่างมาก จึงส่งคนออกไปตามหาเจ้าของรองเท้าข้างนี้ และในที่สุดก็พบว่าเจ้าของคือโรโดพิส ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองนูเครติส (Naucratis) ฟาโรห์มีบัญชาให้นำสตรีผู้นี้มาหาพระองค์และสุดท้ายได้แต่งตั้งให้นางขึ้นเป็นมเหสี”
จบแล้วครับ งานเขียนของสตราโบที่กล่าวถึงเรื่องของโรโดพิสและตำนานเกี่ยวกับรองเท้ามีแค่นี้เอง จริงๆแล้วก่อนหน้านั้นสตราโบกล่าวเอาไว้ว่าโรโดพิสเป็นโสเภณีชั้นสูง (Courtesan) เธอยังเป็นเจ้าของพีระมิดองค์ที่สามแห่งกิซ่าด้วย และที่เธอได้ขึ้นมาเป็นสตรีคนสำคัญก็เพราะว่านกอินทรีช่วยคาบรองเท้าของเธอไปให้ฟาโรห์ จนสุดท้ายได้ขึ้นเป็นมเหสีของพระองค์ก็เท่านั้นเอง
ถ้าเช่นนั้นแล้วบรรดาองค์ประกอบเสริมของตำนานที่ฟังแล้วชวนให้เคลิบเคลิ้มมันมาจากไหน? และโรโดพิสตัวจริงในหน้าประวัติศาสตร์จะเป็นใครกันแน่?
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ภาพวาด แซฟโฟ น้องสาวของคนรักของโดริชา ซึ่งสตราโบเสนอว่าโดริชาและโรโดพิสคือคนเดียวกัน.
ถ้าอ้างอิงจากเอกสารของสตราโบ โรโดพิสคือสตรีคนเดียวกับโดริชา (Doricha) ซึ่งเป็นคนรักของพี่ชายของกวีหญิงนามว่าแซฟโฟ (Sappho) ส่วนเฮโรโดตัส (Herodotus) ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เสนอว่าโรโดพิสคือทาสชาวเธรส (Thrace) จากบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน เธอถูกขายเป็นทาสที่อียิปต์และทำงานเป็นโสเภณีชั้นสูงที่เมืองนูเครติส นักประวัติศาสตร์ในอดีตหลายท่านกล่าวถึงที่มาของสตรีผู้นี้ไม่ตรงกัน ดังนั้นนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันก็เลยยังไม่สามารถสรุปได้หรอกครับ ว่าแท้ที่จริงแล้วโรโดพิสคือใครกันแน่ แต่สิ่งที่น่าจะมั่นใจได้ก็คือ ถ้านางมีตัวตนจริง นางคงจะเป็นทาสที่ถูกขายมาเป็นโสเภณีชั้นสูงในอียิปต์อย่างแน่นอน
หลังจากนั้นมา ตำนานเรื่องเล่าเพียงแค่ไม่กี่บรรทัดของสตราโบก็ถูกขยายความออกไปเรื่อยๆ เอกสารชื่อ “นานาประวัติศาสตร์” (Various Histories) เล่มที่ 13 บทที่ 33 ของเคลาดิอุส เอลิอานุส (Claudius Aelianus) ซึ่งเขียนเกี่ยวกับ “โชคชะตาแห่งโรโดพิส, โสเภณีชั้นสูง” ได้เพิ่มชื่อของกษัตริย์ “พซัมเมติคุส” (Psammetichus) หรือที่คุ้นกันในชื่อภาษาอียิปต์โบราณว่าฟาโรห์ “พซัมเทค” (Psamtek) ที่ปกครองไอยคุปต์อยู่ในราชวงศ์ที่ 26 เข้าไปในเรื่องเล่าของสตราโบเสียดื้อๆโดยไม่ได้อธิบายสิ่งใดเพิ่มเติม
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. โรโดพิสกับกษัตริย์พซัมเมติคุส จิตรกรรมยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17.
สุดท้ายผู้ที่ “ดัดแปลง” ตำนานจนออกมาใกล้เคียงกับเรื่องซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์ที่สุดก็คือนักประพันธ์หญิงชาวอเมริกันนามว่า “โอลีฟ โบพร มิลเลอร์” (Olive Beaupre Miller) ที่นำเอางานเขียนของสตราโบมาผสมผสานกับงานเขียนของแปร์โรลต์เพื่อสร้างตำนานซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์ในแบบฉบับของเธอเองขึ้นมา และเธอก็เพิ่งตีพิมพ์งานเขียนนี้ออกมาในช่วงทศวรรษที่ 1920s เท่านั้นเองครับ!
มิลเลอร์เป็นสตรีที่หลงใหลในการเขียนบทประพันธ์สำหรับเด็ก ในช่วงทศวรรษที่ 1920s มิลเลอร์ก็ได้ตีพิมพ์นิทานเรื่อง “โรโดพิส ปฐมบทแห่งซินเดอเรลล่า” ออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก โดยได้ดัดแปลงเรื่องราวมาจากตำนานเรื่องโรโดพิสเพียงแค่ไม่กี่บรรทัดของสตราโบ เธอเพิ่มเรื่องราวต่างๆเข้าไปในช่วงหลังจากที่นกอินทรีได้ปล่อยรองเท้าลงบนตักฟาโรห์แล้ว ดังนั้นเนื้อหาที่กล่าวว่าฟาโรห์กำลังกลัดกลุ้มเพราะไม่มีคู่ครองก็ดี รวมทั้งรายละเอียดของการออกตามหาเจ้าของรองเท้าสานจนได้มาพบกับโรโดพิสซึ่งสวมรองเท้าได้พอดีแถมยังมีรองเท้าอีกข้างหนึ่งอยู่กับตัวด้วยก็ดี ล้วนถูกเสริมเติมแต่งขึ้นมาเองด้วยฝีมือของมิลเลอร์ และด้วยว่านิทานเรื่องนี้เป็นนิทานสำหรับเด็ก บทบาทเดิมของโรโดพิสที่เคยเป็น “โสเภณี” จึงไม่ควรถูกนำมาเสนอในนิทานเรื่องนี้ มิลเลอร์ก็เลย “เปลี่ยน” ให้เธอมารับบท “สาวใช้” แทนยังไงล่ะครับ
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ซินเดอเรลล่าในแบบที่เราคุ้นเคยกันดี.
ต้นธารของตำนานซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์ที่แพร่หลายในโลกอินเตอร์เน็ตนั้นเริ่มมาจากข้อความเพียงแค่ไม่กี่บรรทัดของสตราโบที่ถูกดัดแปลงเพิ่มเติมในยุคหลัง ตั้งแต่สมัยของเอลิอานุส หลังจากนั้นในช่วง 1920s มิลเลอร์ก็ได้นำเอาตำนานนี้มาผสมผสานกับต้นฉบับซินเดอเรลล่าของแปร์โรลต์ที่เขียนขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนสำเร็จออกมาเป็นนิทานสำหรับเด็กตามแบบฉบับของเธอ สุดท้ายก็ถูกนำไปเสริมเติมแต่งต่ออีกครั้งจนออกมาเป็นตำนานซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์อันน่าเคลิบเคลิ้มดังที่ได้เล่าให้ฟังไปในตอนต้นก็เท่านั้นเอง.
โดย :สืบ สิบสาม
ไทยรัฐ
ซินเดอเรลล่า แห่งไอยคุปต์
โรโดพิสได้แต่เหม่อมองคนที่ได้ไปงานเลี้ยง.
1/7 สไลด์ © สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd.
เมื่อกล่าวถึงตำนานของเด็กสาวกำพร้าที่ต้องถูกกลั่นแกล้งและใช้งานเยี่ยงทาสจากแม่เลี้ยงใจร้าย ทว่าสุดท้ายก็ได้พบรักกับเจ้าชายผู้สูงศักดิ์แล้วล่ะก็ ทุกๆท่านคงนึกถึงเทพนิยาย “ซินเดอเรลล่า” ขึ้นมาเป็นแน่แท้
และบางท่านอาจจะเคยทราบว่าต้นแบบของตำนานที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นวรรณกรรมซินเดอเรลล่าที่คุ้นหูกันโดยมี “รองเท้า” เป็นสิ่งสำคัญในเรื่องนั้น สามารถย้อนกลับไปได้ไกลเป็นพันๆปีถึงยุคของชาวไอยคุปต์กันเลยทีเดียว แต่ในครั้งนี้คอลัมน์ไทยรัฐซันเดย์สเปเชียลโดยทีมงานนิตยสารต่วย’ตูนจะชวนท่านไปตามหาความจริงที่ซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้อีกชั้นหนึ่ง ว่าปฐมบทของตำนานซินเดอเรลล่าที่ว่ากันว่ามีความเก่าแก่ถึงยุคของชาวอียิปต์โบราณนั้นจะจริงแท้แค่ไหนกัน
เทพนิยายซินเดอเรลล่าที่เราคุ้นเคยกันดีที่สุด ซึ่งมีทั้งเรื่องของรถฟักทอง นางฟ้า และรองเท้าแก้วนั้น มาจากบทประพันธ์ของชาร์ลส์แปร์โรลต์ (Charles Perrault) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ.1697 แต่แท้ที่จริงแล้ว ก่อนหน้านั้น ตำนานที่พูดถึงหญิงสาวหน้าตาสะสวยที่ต้องถูกรังแกเช่นนี้ปรากฏมาตั้งแต่สมัยของชาวอียิปต์โบราณในช่วงการปกครองของฟาโรห์อมาซิส (Amasis) แห่งราชวงศ์ที่ 26 เมื่อราว 550 ปีก่อนคริสตกาลครับ
ตำนานที่กำลังจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ถูกตั้งชื่อว่า “ตำนานซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์” (The Egyptian Cinderella) และถูกนำเสนอในโลกออนไลน์หลายแหล่งว่า ผู้ที่จดบันทึกเรื่องราวนี้เอาไว้ก็คือ “สตราโบ” (Strabo) ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกที่มีชีวิตอยู่ในช่วง 63 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงปี ค.ศ.24
นางเอกของเรื่องมีชื่อว่า “โรโดพิส” (Rho-dopis) นางเป็นทาสที่ถูกจับมาจากดินแดนกรีก สุดท้ายนางถูกขายให้กับชายชราชาวอียิปต์ที่วันๆ เอาแต่นอนอยู่ใต้ต้นไม้ โดยปล่อยให้เหล่าสาวใช้ทำงานของตนเองกันไป แต่ด้วยว่าโรโดพิส
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. โรโดพิสได้แต่เหม่อมองคนที่ได้ไปงานเลี้ยง.
แตกต่างจากสาวใช้คนอื่นๆ เพราะนางมีดวงตาสีเขียว แถมยังมีผมหยิกเป็นลอนสีเหลืองทอง ในขณะที่สาวใช้คนอื่นๆมีดวงตาสีน้ำตาลและผมตรงดำ โรโดพิสจึงมักจะถูกรังแกและบังคับให้ทำงานอย่างหนักอยู่เสมอ แต่ด้วยว่านางมีเอกลักษณ์โดดเด่น อีกทั้งยังเต้นรำได้ดี เมื่อชายชราลืมตาตื่นขึ้นมาจากภวังค์และเห็นโรโดพิสกำลังร่ายรำ ก็รู้สึกประทับใจและคิดว่าเธอควรมีรองเท้าสวยๆใส่สักคู่หนึ่ง เขาจึงได้หารองเท้าหุ้มด้วยทองคำแถมมีพื้นทำจากหนังสัตว์อย่างดีมาให้เธอสวมใส่ นั่นยิ่งทำให้สาวใช้คนอื่นๆอิจฉาเธอมากยิ่งขึ้นไปอีก
หลังจากนั้นไม่นาน ฟาโรห์อมาซิสได้จัดงานเลี้ยงใหญ่โต โรโดพิสดีใจมากและต้องการที่จะไปร่วมงานนี้พร้อมกับรองเท้าแสนสวยของเธอ แต่สาวใช้คนอื่นๆได้ดักคอเธอด้วยการมอบภาระงานอันหนักอึ้งให้เธอทำ และถ้าทำไม่เสร็จก็ไม่อนุญาตให้เธอออกไปร่วมงานเลี้ยงในครั้งนี้ ดังนั้นโรโดพิสจึงก้มหน้า ก้มตาทำงานต่อไปอย่างแข็งขัน แต่สุดท้ายเธอก็เห็นว่าสาวใช้ที่มอบหมายงานให้เธอนั้นได้ลงเรือลำหนึ่งเดินทางออกจากท่ามุ่งหน้าตรงไปยังงานเลี้ยงเรียบร้อยแล้ว
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์ในหนังสือยุคปัจจุบัน.
โรโดพิสได้แต่ร้องเพลงด้วยความเศร้าโศก เสียงเพลงของนางได้ไปกวนใจฮิปโปโปเตมัสตัวหนึ่งทำให้มันกระโดดหนีลงน้ำไปจนน้ำกระเซ็นมาโดนรองเท้าแสนสวยของเธอเปียกโชก เธอจึงถอดรองเท้าผึ่งเอาไว้บนก้อนหิน แต่ทันใดนั้นเอง นกอินทรีตัวหนึ่งก็บินโฉบลงมาเอารองเท้าข้างหนึ่งของเธอไปเสียดื้อๆ โรโดพิสได้แต่มองตามไปโดยที่ไม่สามารถทำอะไรได้ เธอจึงเก็บรองเท้าที่เหลือเพียงข้างเดียวเอาไว้แล้วกลับไปทำงานอันแสนหนักหน่วงของเธอต่อไป
ระหว่างงานเลี้ยง ฟาโรห์อมาซิสได้แต่นั่งหมดอาลัยตายอยากด้วยว่าพระองค์ประสงค์จะมีคู่ครองแต่ยังหาสตรีที่เหมาะสมกับตนไม่ได้สักที ทันใดนั้นก็มีนกอินทรี
ตัวหนึ่งปล่อยรองเท้าลงมายังหน้าตักของพระองค์ องค์ฟาโรห์เชื่อว่านี่อาจจะเป็นลางดีที่เทพเจ้าฮอรัส (Horus) ได้ส่งมาถึงตน อมาซิสจึงออกตามหาสตรีที่สามารถสวมใส่รองเท้าข้างนี้ได้พอดี และใครที่สวมได้เป๊ะก็จะได้มาเป็นมเหสี ทว่าหลังจากที่อมาซิสให้สตรีที่มาร่วมในงานเลี้ยงทั้งหมดลองสวมดูก็ปรากฏว่าไม่มีใครสวมใส่ได้พอดีเลยสักคนเดียว
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์ มีอยู่ในหนังสือของมิลเลอร์.
หลังจากงานเลี้ยงจบลง พระองค์ออกพลิกแผ่นดินหาสตรีปริศนาเจ้าของรองเท้า และหลังจากล่องเรือมาจนถึงบ้านของชายชรา ก็พบเข้ากับโรโดพิสที่ไม่เพียงแค่สวมรองเท้าข้างนั้นได้พอดี แต่นางยังมีรองเท้าที่เหมือนกันอีกข้างหนึ่งด้วย! สุดท้ายแล้วโรโดพิสก็ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นมเหสีของฟาโรห์อมาซิส ถึงแม้ว่าเหล่าสาวใช้คนอื่นๆพยายามจะแย้งฟาโรห์ว่าเธอเป็นเพียงแค่ทาส แถมยังไม่ใช่ชาวอียิปต์อีกด้วย แต่ฟาโรห์ก็ได้ตอบกลับมาว่าโรโดพิสนี่แหละ เป็นชาวอียิปต์ที่แท้จริง เพราะดวงตาของเธอมีสีเขียวดุจแม่น้ำไนล์ แถมผมของเธอยังงดงามดั่งปาปิรัสด้วย ตำนานเรื่องนี้จึงจบลงแบบแฮปปี้เอนดิ้ง
ตำนานของสตราโบเรื่องนี้มันช่างคล้ายกับเทพนิยายซินเดอเรลล่าเหลือเกิน หมายความว่าต้นกำเนิดของเทพนิยายซินเดอเรล-ล่านั้นมาจากบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกอย่างสตราโบอย่างนั้นเองน่ะหรือ?
จริงๆแล้ว “ไม่ใช่” เลยครับ ตำนานที่เล่าไปข้างบนทั้งหมด เป็นตำนานที่แพร่หลายอยู่ในหนังสือและโลกออนไลน์ สตราโบไม่ได้แต่งให้ตำนานมีความลื่นไหลและฟังดูเคลิบเคลิ้มเช่นนี้หรอกครับ เนื้อหาที่สตราโบเขียนเอาไว้จริงๆนั้นสั้นมาก ถ้าจะอ้างอิงกลับไปถึงเรื่องเล่าของสตราโบจากต้นฉบับจริงๆแล้ว ต้องกลับไปอ่านเอกสาร “ภูมิศาสตร์” (Geo-graphy) เล่มที่ 17 บทที่ 33 ซึ่งเขียนเอาไว้เพียงแค่ว่า
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์.
“ในระหว่างที่โรโดพิสกำลังอาบน้ำอยู่นั้น นกอินทรีตัวหนึ่งได้ลงมาโฉบเอารองเท้าสานข้างหนึ่งของเธอไปจากมือของผู้รับใช้และมุ่งหน้าไปยังเมืองเมมฟิส เจ้านกอินทรีบินอยู่เหนือเศียรของกษัตริย์ในขณะที่พระองค์กำลังตัดสินคดีความ และได้ปล่อยรองเท้าสานข้างนั้นลงมายังหน้าตักของฟาโรห์ พระองค์ฉงนกับรูปลักษณ์ของรองเท้าสานเป็นอย่างมาก จึงส่งคนออกไปตามหาเจ้าของรองเท้าข้างนี้ และในที่สุดก็พบว่าเจ้าของคือโรโดพิส ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองนูเครติส (Naucratis) ฟาโรห์มีบัญชาให้นำสตรีผู้นี้มาหาพระองค์และสุดท้ายได้แต่งตั้งให้นางขึ้นเป็นมเหสี”
จบแล้วครับ งานเขียนของสตราโบที่กล่าวถึงเรื่องของโรโดพิสและตำนานเกี่ยวกับรองเท้ามีแค่นี้เอง จริงๆแล้วก่อนหน้านั้นสตราโบกล่าวเอาไว้ว่าโรโดพิสเป็นโสเภณีชั้นสูง (Courtesan) เธอยังเป็นเจ้าของพีระมิดองค์ที่สามแห่งกิซ่าด้วย และที่เธอได้ขึ้นมาเป็นสตรีคนสำคัญก็เพราะว่านกอินทรีช่วยคาบรองเท้าของเธอไปให้ฟาโรห์ จนสุดท้ายได้ขึ้นเป็นมเหสีของพระองค์ก็เท่านั้นเอง
ถ้าเช่นนั้นแล้วบรรดาองค์ประกอบเสริมของตำนานที่ฟังแล้วชวนให้เคลิบเคลิ้มมันมาจากไหน? และโรโดพิสตัวจริงในหน้าประวัติศาสตร์จะเป็นใครกันแน่?
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ภาพวาด แซฟโฟ น้องสาวของคนรักของโดริชา ซึ่งสตราโบเสนอว่าโดริชาและโรโดพิสคือคนเดียวกัน.
ถ้าอ้างอิงจากเอกสารของสตราโบ โรโดพิสคือสตรีคนเดียวกับโดริชา (Doricha) ซึ่งเป็นคนรักของพี่ชายของกวีหญิงนามว่าแซฟโฟ (Sappho) ส่วนเฮโรโดตัส (Herodotus) ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เสนอว่าโรโดพิสคือทาสชาวเธรส (Thrace) จากบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน เธอถูกขายเป็นทาสที่อียิปต์และทำงานเป็นโสเภณีชั้นสูงที่เมืองนูเครติส นักประวัติศาสตร์ในอดีตหลายท่านกล่าวถึงที่มาของสตรีผู้นี้ไม่ตรงกัน ดังนั้นนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันก็เลยยังไม่สามารถสรุปได้หรอกครับ ว่าแท้ที่จริงแล้วโรโดพิสคือใครกันแน่ แต่สิ่งที่น่าจะมั่นใจได้ก็คือ ถ้านางมีตัวตนจริง นางคงจะเป็นทาสที่ถูกขายมาเป็นโสเภณีชั้นสูงในอียิปต์อย่างแน่นอน
หลังจากนั้นมา ตำนานเรื่องเล่าเพียงแค่ไม่กี่บรรทัดของสตราโบก็ถูกขยายความออกไปเรื่อยๆ เอกสารชื่อ “นานาประวัติศาสตร์” (Various Histories) เล่มที่ 13 บทที่ 33 ของเคลาดิอุส เอลิอานุส (Claudius Aelianus) ซึ่งเขียนเกี่ยวกับ “โชคชะตาแห่งโรโดพิส, โสเภณีชั้นสูง” ได้เพิ่มชื่อของกษัตริย์ “พซัมเมติคุส” (Psammetichus) หรือที่คุ้นกันในชื่อภาษาอียิปต์โบราณว่าฟาโรห์ “พซัมเทค” (Psamtek) ที่ปกครองไอยคุปต์อยู่ในราชวงศ์ที่ 26 เข้าไปในเรื่องเล่าของสตราโบเสียดื้อๆโดยไม่ได้อธิบายสิ่งใดเพิ่มเติม
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. โรโดพิสกับกษัตริย์พซัมเมติคุส จิตรกรรมยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17.
สุดท้ายผู้ที่ “ดัดแปลง” ตำนานจนออกมาใกล้เคียงกับเรื่องซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์ที่สุดก็คือนักประพันธ์หญิงชาวอเมริกันนามว่า “โอลีฟ โบพร มิลเลอร์” (Olive Beaupre Miller) ที่นำเอางานเขียนของสตราโบมาผสมผสานกับงานเขียนของแปร์โรลต์เพื่อสร้างตำนานซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์ในแบบฉบับของเธอเองขึ้นมา และเธอก็เพิ่งตีพิมพ์งานเขียนนี้ออกมาในช่วงทศวรรษที่ 1920s เท่านั้นเองครับ!
มิลเลอร์เป็นสตรีที่หลงใหลในการเขียนบทประพันธ์สำหรับเด็ก ในช่วงทศวรรษที่ 1920s มิลเลอร์ก็ได้ตีพิมพ์นิทานเรื่อง “โรโดพิส ปฐมบทแห่งซินเดอเรลล่า” ออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก โดยได้ดัดแปลงเรื่องราวมาจากตำนานเรื่องโรโดพิสเพียงแค่ไม่กี่บรรทัดของสตราโบ เธอเพิ่มเรื่องราวต่างๆเข้าไปในช่วงหลังจากที่นกอินทรีได้ปล่อยรองเท้าลงบนตักฟาโรห์แล้ว ดังนั้นเนื้อหาที่กล่าวว่าฟาโรห์กำลังกลัดกลุ้มเพราะไม่มีคู่ครองก็ดี รวมทั้งรายละเอียดของการออกตามหาเจ้าของรองเท้าสานจนได้มาพบกับโรโดพิสซึ่งสวมรองเท้าได้พอดีแถมยังมีรองเท้าอีกข้างหนึ่งอยู่กับตัวด้วยก็ดี ล้วนถูกเสริมเติมแต่งขึ้นมาเองด้วยฝีมือของมิลเลอร์ และด้วยว่านิทานเรื่องนี้เป็นนิทานสำหรับเด็ก บทบาทเดิมของโรโดพิสที่เคยเป็น “โสเภณี” จึงไม่ควรถูกนำมาเสนอในนิทานเรื่องนี้ มิลเลอร์ก็เลย “เปลี่ยน” ให้เธอมารับบท “สาวใช้” แทนยังไงล่ะครับ
© สนับสนุนโดย Trend VG3 Co., Ltd. ซินเดอเรลล่าในแบบที่เราคุ้นเคยกันดี.
ต้นธารของตำนานซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์ที่แพร่หลายในโลกอินเตอร์เน็ตนั้นเริ่มมาจากข้อความเพียงแค่ไม่กี่บรรทัดของสตราโบที่ถูกดัดแปลงเพิ่มเติมในยุคหลัง ตั้งแต่สมัยของเอลิอานุส หลังจากนั้นในช่วง 1920s มิลเลอร์ก็ได้นำเอาตำนานนี้มาผสมผสานกับต้นฉบับซินเดอเรลล่าของแปร์โรลต์ที่เขียนขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนสำเร็จออกมาเป็นนิทานสำหรับเด็กตามแบบฉบับของเธอ สุดท้ายก็ถูกนำไปเสริมเติมแต่งต่ออีกครั้งจนออกมาเป็นตำนานซินเดอเรลล่าแห่งไอยคุปต์อันน่าเคลิบเคลิ้มดังที่ได้เล่าให้ฟังไปในตอนต้นก็เท่านั้นเอง.
โดย :สืบ สิบสาม
ไทยรัฐ