ห่างจากการตั้งกระทู้มาสักระยะบวกกับช่วงนี้เป็นช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ทางวัดท่าซุงจะมีงานสำคัญประจำปีของวัดนั่นคือ " งานธุดงควัตร " ซึ่งปีนี้จะตรงกับวันที่ 4 -10 ธันวาคม 2561 และหนึ่งในหลักสูตรสำคัญของงานธุดงควัตรในแต่ละปีนั่นคือจะมีการฝึกกรรมฐานที่ชื่อว่า " มโนมยิทธิ " ทั้งแบบครึ่งกำลัง (มีการฝึกทุกวันที่วัดท่าซุงและสาขาต่างๆ) และเต็มกำลัง(ปีละครั้งในงานธุดงควัตร) และด้วยที่ตัวเองนั้นได้เคยมีโอกาสไปร่วมในงานนี้และได้ผ่านการฝึกกรรมฐานกองนี้มาจึงถือโอกาสนี้มาแชร์ประสบการณ์เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจครับ ท่านที่สนใจสามารถไปร่วมฝึกด้วยตนเองในงานธุดงควัตรที่กำลังจัดอยู่ในขณะนี้หรือหาเวลาที่ตัวเองเหมาะสมก็ได้ตามที่สะดวก เพียงแต่ถ้าต้องการฝึกเต็มกำลัง จะมีแค่ 1 ปีครั้งครับ
ก่อนอื่นก็จะขอกล่าวสักเล็กน้อยเกี่ยวกับมโนมยิทธิครับ มโนมยิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ทางใจ มโนมยิทธินี้มีปรากฏในพระไตรปิฎกและคัมภีร์วิสุทธิมรรคและเป็นหนึ่งในวิธีที่เข้าถึงอริยะสัจ 4 และดับทุกข์ได้ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในหมวดที่เรียกว่า ฉฬภิญโญ หรืออภิญญา 6 หลักในการฝึกของหมวดนี้คือ ฝึกอภิญญาแล้วเจริญวิปัสนาญาณตัดกิเลส โดยมโนมยิทธิที่ทางวัดท่าซุงฝึกให้นั้นจัดว่าเป็นอภิญญาเล็กครับใช้กำลังของสมาธิไม่มากเป็นวิธีประยุกต์มาจากแบบดั้งเดิมอีกทีนึงโดยพระราชพรหมยาน หรือ หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง เพื่อให้เข้ากับกำลังใจของผู้คนในปัจจุบันและทุกคนสามารถฝึกได้ครับ
มโนมยิทธิที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและคำภีร์วิสุทธิมรรค
พระสุตตันตปิฏก
เล่ม ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
มโนมยิทธิญาณ
[๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิด
แต่ใจ คือนิรมิตรกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
@๑. ญาณทัสสนะ เป็นชื่อของญาณชั้นสูง คือมรรคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจ-
@ เวกขณญาณ และวิปัสนาญาณ ฯ
@๒. ได้แก่ธาตุ ๔ คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ฯ
ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
คำภีร์วิสุทธิมรรค ปริเฉทที่ 12
อิทธิวิธนิเทศ แสดงถึงวิธีการแสดงฤทธิ์ต่างๆ 10 ประการ อันเป็นผลมาจากการเจริญสมถกรรมฐาน
ความสำเร็จผล คำว่า ฤทธิ์ นี้ เป็นชื่อของความถึงพร้อมแห่งอุบาย จริงอยู่ ความถึงพร้อมแห่งอุบาย ย่อมสำเร็จได้ เพราะประสบผลตามที่ต้องประสงค์ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จิตตะคฤหบดีนี้แล มีศีลมีธรรมอันงาม ถ้าหากเธอจักตั้งความปรารถนาว่า “ขอเราพึงได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคตกาลโน้นเทอญ” ดังนี้ ก็จักสำเร็จผลได้ เพราะผู้มีศีลเป็นผู้มีความตั้งใจปรารถนาหมดจด” อีกความหมายหนึ่งว่า ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะเป็นเหตุสำเร็จผลแห่งสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า คำว่า สำเร็จ ก็คือ เจริญ รุ่งเรือง ถึงความเป็นคุณชั้นสูง ฤทธิ์นั้นมี ๑๐ อย่าง สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า คำว่า ฤทธิ์ ได้แก่ฤทธิ์ ๑๐ อย่าง และกล่าวต่อไปอีกว่า ฤทธิ์ ๑๐ อย่าง เป็นไฉน ? ฤทธิ์ ๑๐ อย่างคือ –
๑. อธิฏฺฐานาอิทฺธิ ฤทธิ์อธิษฐาน
๒. วิกุพฺพานาอิทฺธิ ฤทธิ์ที่ทำเป็นได้หลายอย่าง
๓. มโนมยาอิทฺธิ ฤทธิ์ที่สร้างรูปมีใจครอง
๔. ฌานวิปฺผาราอิทฺธิ ฤทธิ์ที่มีญาณปกป้อง
๕. สมาธิวิปฺผาราอิทฺธิ ฤทธิ์ที่มีสมาธิปกป้อง
๖. อริยาอิทฺธิ ฤทธิ์ของพระอริยะ
มโนมยิทธิ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ครึ่งกำลังและเต็มกำลังโดยที่
ครึ่งกำลัง จะอาศัยกำลังของ อุปปาจาระสมาธิ + วิปัสนาญาณ + ละสังโยชน์ (ฝึกจริงจะมีครูฝึกคอยฝึกให้อย่างใกล้ชิด)
เต็มกำลัง จะอาศัญกำลังของ ฌาน 4 + วิปัสนาญาณ + ละสังโยชน์ (ฝึกจริงผู้ฝึกต้องปฏิบัติและช่วยเหลือตัวเองทั้งหมด )
หลักการและจุดประสงค์ของมโนมยิทธิจะขอกล่าวคร่าวๆครับคือ ให้ผู้ฝึกได้เห็นว่าภพภูมิที่กล่าวไว้ในพระพุทธศาสนามีจริง จะได้หมดข้อสงสัย (ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับกำลังใจและอารมณ์ของผู้ฝึกว่าสะอาดขนาดใหนเป็นสำคัญ) และเมื่อเห็นแล้วจะได้ใช้ปัญญาพิจารณาว่า “ การเกิดนั้นเป็นทุกข์ ตามที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้จริงไหม “ ถ้าจะให้เห็นภาพเหมือนกับเราไปดูหรือไปทัศนะศึกษาดูงานที่ใดที่หนึ่งเพราะการเห็นจริงๆนั้นผู้เห็นย่อมเข้าถึงได้ง่ายและเร็วกว่า ตัวอย่างเช่น การเห็นสภาพความเป็นอยู่ผู้คนในทัณฑสถาน ผู้คนที่วัดพระบาทน้ำพุ กับการไปเห็น วิหารแก้วร้อยเมตร วัดท่าซุง หรือ วัดร่องขุน จ.เชียงราย ถามว่าผู้เห็นมีอารมณ์ความรู้สึกต่างกันไหม ฉันใดฉันนั้นมโนมยิทธิก็เหมือนกันครับ เห็นแล้วให้ใช้ปัญญาพิจารณาลดการยึดมั่นถือมั่น การที่เราไปเห็นอะไรจริงๆนั้น ย่อมทำให้เรามองเห็นและเข้าใจได้ดีกว่าตัวอย่างเช่น ถ้าเราเห็นสวรรค์ได้ แน่นอนว่าโลกมนุษย์ที่เราอาศัยอยู่นี้ไม่มีความหมายกับเราอีกต่อไป ถ้าเราเห็นพรหมโลกได้ สวรรค์ก้ไม่มีความหมายกับเราอีกต่อไป และถ้าเราเห็นนิพพานได้ ทั้ง 31 ภมิก็ไม่มีความหมายกับเราอีกต่อไป
ทีนี้กลับมาที่การฝึกจริงๆ จะขอเล่าพอโดยสังเขปโดยเน้นที่เป็นสาระสำคัญนะครับเพราะรายละเอียดปลีกย่อยคนที่ไปฝึกจะได้สัมผัสเองครับ การฝึกจริงๆนั้นเหมือนกับที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎกโดยอาศัยมรรค 8 ที่ย่อลงมาเป็นมรรค 3 นั่นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ในที่นี้ก็จะกล่าวในส่วนของ มโนทยิทธิครึ่งกำลังนะครับ
เริ่มแรกเมื่อเราไปถึงวัดท่าซุง ก็ลงทะเบียนเป็นผู้ฝึกใหม่ ซึ่งในการฝึกครึ่งกำลังนั้นจะมี 3 ระดับนั่นคือ
1. ผู้เริ่มต้น
2. ขั้นท่องเที่ยว
3. ญาน 8
ผมเริ่มขั้นที่ 1 คือผู้เริ่มต้น ลงทะเบียนเสร็จแล้วก็รอเวลาฝึกจะใช้เวลาฝึกทั้งหมดประมาณ 2 ชม.เศษ โดยห้องที่ฝึกนั้นจะอยู่ภายในวิหารแก้วร้อยเมตร มีประมาณ 10 ห้อง ห้องนึงจุผู้ฝึกได้ 15 คนกำลังดี วันที่ผมไปนั้นมีห้องที่ผมฝึกก็มีประมาณ 10 กว่าคน พอได้เวลาทางวัดก็เริ่มพิธีสมาทานพระกรรมฐาน และพิธีอื่นๆที่เกี่ยวที่ข้องตามลำดับโดยการเปิดเทปของหลวงพ่อวัดท่าซุง พอเสร็จพิธีแล้วครูฝึกอธิบายที่มาที่ไป หลักการ และวิธีการของกรรมฐานกองนี้ให้ทุกคนเข้าใจ จากนั้นจึงให้แต่ละคนทำสมาธิเพื่อเอากำลังของอุปปาจาระสมาธิ โดยใช้คำภาวนาว่า นะ มะ พะ ธะ ประมาณ 15-20 นาที ช่วงระหว่างที่ทำสมาธินี้เป็นช่วงที่สำคัญเพราะโดนทดสอบกำลังใจหลายอย่างจากตัวเราเอง และเพื่อนร่วมฝึก เพราะอุปปาจาระสมาธินั้นคือช่วงที่จิตมีปิติ จิตมีปิติก็จะปรากฎอาการทางร่างกาย 5 อย่าง เพื่อนที่อยู่ในห้องที่ฝึกด้วยต่างก็มีอาการทางร่างกาย บางคนร้องให้ บางคนตัวสั่น บางคนโยกไปโยกมา ตรงนี้ถ้าเราทรงกำลังใจไม่ดีมีเป๋ครับเพราะ ใจจะรู้สึกรำคาญ และหงุดหงิด และจะรวมสมาธิไม่ได้ พอผ่านไปสักระยะในห้องก็สงบและเงียบจนครูฝึกบอกให้หยุดภาวนาและพูดให้เราฟังและคิดตามไปด้วย
สิ่งที่ครูฝึกพูดและให้เราคิดตามจริงๆเป็นการสอนให้เราจริญ วิปัสนาญาณ ครับกล่าวคือ สอนให้เราพิจารณาร่างกายของเราว่าประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้เราพิจารณาตั้งแต่เด็กจนกระทั่งปัจจุบัน และต่อไปในอนาคตว่าเราเป็นทุกข์ไหม การเกิดมาชาตินี้มันเป็นทุกข์ไหม การเกิดมามีร่างกายแบบนี้มันเป็นทุกข์ไหม ถ้าต้องตายตอนนี้เราเป็นห่วงอะไรไหม ถ้าต้องทิ้งร่างกายนี้ไปตอนนี้เรามีกังวลไหม นอกจากนี้ครูฝึก็ให้พิจารณาร่างกายไล่ไปตั้งแต่ชั้นนอก ชั้นใน อวัยวะ ตับไตใส้พุง ไล่ไปไล่มาจากนอกมาใน จากในมานอก (ตอนปฏิบัติจริงมีรายละเอียดกว่านี้ครับ) จนกระทั่งทุกคนไม่ห่วงร่างกาย และไม่กลัวที่จะตายตรงนี้ สำหรับผมเองนั้นช่วงนี้จะมีอารมณ์เบาสบายไม่ห่วงอะไรเลย จิตสว่างสดใส สีขาว
" จนครูฝึกถามว่าเห็นใครบ้างตอนนี้ ? " ทุกคนตอบเหมือนกันว่า.. " เห็น "
ในที่นี้ผมจะตอบในส่วนของผมนะ ผมเห็นเป็น พระภิกษุรูปหนึ่งที่ผมเคารพเครับ หลังจากถามแล้วครูฝึกก็ให้แต่ละคนบรรยายลักษณะที่ตัวเองเห็น และให้ทุกคน เนรมิตกาย ของตัวเองมากายหนึ่ง แล้วให้กายที่เนรมิตนั้นไปกราบในสิ่งที่ตัวเองเห็นผมเองก็เข้าไปกราบพระภิกษุรูปนั้น ต่อจากนั้นครูฝึกก็ให้ทุกคนขอพรบารมีจากท่าน และให้ท่านพาไปดูภพภูมิต่างๆที่เราอยากไปและสนใจ โดยช่วงที่กายที่เนรมิตขึ้นนั้นไปกับพระภิภษุ ตัวผมที่นั่งสมาธิอยู่ก็คอยคุมสมาธิ คุมอารมณ์ไม่ให้เคลื่อน ผมไปจนครบที่ตัวเองอยากไปที่ตัวเองสงสัยแม้กระทั่งพระนิพพานว่ามีจริงไหม จนจะครบเวลาครูฝึกจึงบอกให้ทุกคนกราบลาท่านที่เราเห็นและพาแต่ละคนไป และให้กายที่เนรมิตนั้นกลับเข้ามาที่ร่างที่เรานั่งสมาธิอยู่ ทรงสมาธิอยู่สักครู่แล้วให้คลายสมาธิออกลืมตา หลังจากลืมตาเพื่อนที่ไปฝึกด้วยกันต่างมองกันไปมองกันมายิ้มแย้มอิ่มเอิบ ผมน้ำตาไหลอาบแก้มเมื่อไหร่ไม่รู้ ทำพิธีหลังฝึกเล็กน้อย สนทนากับครูฝึกอีกเล็กน้อย โดยที่ครูฝึกบอกให้ไปฝึกต่อที่บ้านและให้จำวิธีและอารมณ์ที่ทรงไว้ในขณะที่ฝึกให้ได้ และทำให้คล่อง แน่นอนว่าครั้งแรกมีคำถามมากมายเกิดขึ้นกับคนฝึกทุกคนเพราะเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยประสบมาก่อน ผมจึงไปๆมาๆวัดท่าซุงรวมๆแล้วก็ประมาณ 2 ปี จนหมดข้อสงสัย
ส่วนมโนมยิทธิเต็มกำลังนั้นหลักการฝึกก็คล้ายกับครึ่งกำลังเพียงแต่ขณะการฝึกนั้นเราที่เป็นผู้ฝึกต้องทำเองด้วยตัวเองทุกอย่าง ผลที่ได้จะชัดและสว่างกว่าครึ่งกำลังมากครับ ถ้าใครสนใจจะปฏิบัติก็หาโอกาสไปวัดท่าซุงดูครับจะมีการฝึกทุกวัน
หวังว่าคงพอมีประโยชน์นะครับบางส่วนผมก็จะละไว้เพราะเป็นเรื่องที่ต้องไปประสบกับตนเองใครที่ไปฝึกก็จะเจอเหมือนกันครับ สังสัยอะไรสอบถามได้ยินดีครับ
ปล.เขียนจากประสบการณ์ส่วนตัวผิดพลาดประการใดขออภัยครับ
แบ่งปันประสบการณ์ฝึก " มโนมยิทธิ " สำหรับผู้สนใจกรรมฐานกองนี้ครับ
ก่อนอื่นก็จะขอกล่าวสักเล็กน้อยเกี่ยวกับมโนมยิทธิครับ มโนมยิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ทางใจ มโนมยิทธินี้มีปรากฏในพระไตรปิฎกและคัมภีร์วิสุทธิมรรคและเป็นหนึ่งในวิธีที่เข้าถึงอริยะสัจ 4 และดับทุกข์ได้ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในหมวดที่เรียกว่า ฉฬภิญโญ หรืออภิญญา 6 หลักในการฝึกของหมวดนี้คือ ฝึกอภิญญาแล้วเจริญวิปัสนาญาณตัดกิเลส โดยมโนมยิทธิที่ทางวัดท่าซุงฝึกให้นั้นจัดว่าเป็นอภิญญาเล็กครับใช้กำลังของสมาธิไม่มากเป็นวิธีประยุกต์มาจากแบบดั้งเดิมอีกทีนึงโดยพระราชพรหมยาน หรือ หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง เพื่อให้เข้ากับกำลังใจของผู้คนในปัจจุบันและทุกคนสามารถฝึกได้ครับ
มโนมยิทธิที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและคำภีร์วิสุทธิมรรค
พระสุตตันตปิฏก
เล่ม ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
มโนมยิทธิญาณ
[๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิด
แต่ใจ คือนิรมิตรกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
@๑. ญาณทัสสนะ เป็นชื่อของญาณชั้นสูง คือมรรคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจ-
@ เวกขณญาณ และวิปัสนาญาณ ฯ
@๒. ได้แก่ธาตุ ๔ คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ฯ
ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
คำภีร์วิสุทธิมรรค ปริเฉทที่ 12
อิทธิวิธนิเทศ แสดงถึงวิธีการแสดงฤทธิ์ต่างๆ 10 ประการ อันเป็นผลมาจากการเจริญสมถกรรมฐาน
ความสำเร็จผล คำว่า ฤทธิ์ นี้ เป็นชื่อของความถึงพร้อมแห่งอุบาย จริงอยู่ ความถึงพร้อมแห่งอุบาย ย่อมสำเร็จได้ เพราะประสบผลตามที่ต้องประสงค์ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จิตตะคฤหบดีนี้แล มีศีลมีธรรมอันงาม ถ้าหากเธอจักตั้งความปรารถนาว่า “ขอเราพึงได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคตกาลโน้นเทอญ” ดังนี้ ก็จักสำเร็จผลได้ เพราะผู้มีศีลเป็นผู้มีความตั้งใจปรารถนาหมดจด” อีกความหมายหนึ่งว่า ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะเป็นเหตุสำเร็จผลแห่งสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า คำว่า สำเร็จ ก็คือ เจริญ รุ่งเรือง ถึงความเป็นคุณชั้นสูง ฤทธิ์นั้นมี ๑๐ อย่าง สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า คำว่า ฤทธิ์ ได้แก่ฤทธิ์ ๑๐ อย่าง และกล่าวต่อไปอีกว่า ฤทธิ์ ๑๐ อย่าง เป็นไฉน ? ฤทธิ์ ๑๐ อย่างคือ –
๑. อธิฏฺฐานาอิทฺธิ ฤทธิ์อธิษฐาน
๒. วิกุพฺพานาอิทฺธิ ฤทธิ์ที่ทำเป็นได้หลายอย่าง
๓. มโนมยาอิทฺธิ ฤทธิ์ที่สร้างรูปมีใจครอง
๔. ฌานวิปฺผาราอิทฺธิ ฤทธิ์ที่มีญาณปกป้อง
๕. สมาธิวิปฺผาราอิทฺธิ ฤทธิ์ที่มีสมาธิปกป้อง
๖. อริยาอิทฺธิ ฤทธิ์ของพระอริยะ
มโนมยิทธิ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ครึ่งกำลังและเต็มกำลังโดยที่
ครึ่งกำลัง จะอาศัยกำลังของ อุปปาจาระสมาธิ + วิปัสนาญาณ + ละสังโยชน์ (ฝึกจริงจะมีครูฝึกคอยฝึกให้อย่างใกล้ชิด)
เต็มกำลัง จะอาศัญกำลังของ ฌาน 4 + วิปัสนาญาณ + ละสังโยชน์ (ฝึกจริงผู้ฝึกต้องปฏิบัติและช่วยเหลือตัวเองทั้งหมด )
หลักการและจุดประสงค์ของมโนมยิทธิจะขอกล่าวคร่าวๆครับคือ ให้ผู้ฝึกได้เห็นว่าภพภูมิที่กล่าวไว้ในพระพุทธศาสนามีจริง จะได้หมดข้อสงสัย (ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับกำลังใจและอารมณ์ของผู้ฝึกว่าสะอาดขนาดใหนเป็นสำคัญ) และเมื่อเห็นแล้วจะได้ใช้ปัญญาพิจารณาว่า “ การเกิดนั้นเป็นทุกข์ ตามที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้จริงไหม “ ถ้าจะให้เห็นภาพเหมือนกับเราไปดูหรือไปทัศนะศึกษาดูงานที่ใดที่หนึ่งเพราะการเห็นจริงๆนั้นผู้เห็นย่อมเข้าถึงได้ง่ายและเร็วกว่า ตัวอย่างเช่น การเห็นสภาพความเป็นอยู่ผู้คนในทัณฑสถาน ผู้คนที่วัดพระบาทน้ำพุ กับการไปเห็น วิหารแก้วร้อยเมตร วัดท่าซุง หรือ วัดร่องขุน จ.เชียงราย ถามว่าผู้เห็นมีอารมณ์ความรู้สึกต่างกันไหม ฉันใดฉันนั้นมโนมยิทธิก็เหมือนกันครับ เห็นแล้วให้ใช้ปัญญาพิจารณาลดการยึดมั่นถือมั่น การที่เราไปเห็นอะไรจริงๆนั้น ย่อมทำให้เรามองเห็นและเข้าใจได้ดีกว่าตัวอย่างเช่น ถ้าเราเห็นสวรรค์ได้ แน่นอนว่าโลกมนุษย์ที่เราอาศัยอยู่นี้ไม่มีความหมายกับเราอีกต่อไป ถ้าเราเห็นพรหมโลกได้ สวรรค์ก้ไม่มีความหมายกับเราอีกต่อไป และถ้าเราเห็นนิพพานได้ ทั้ง 31 ภมิก็ไม่มีความหมายกับเราอีกต่อไป
ทีนี้กลับมาที่การฝึกจริงๆ จะขอเล่าพอโดยสังเขปโดยเน้นที่เป็นสาระสำคัญนะครับเพราะรายละเอียดปลีกย่อยคนที่ไปฝึกจะได้สัมผัสเองครับ การฝึกจริงๆนั้นเหมือนกับที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎกโดยอาศัยมรรค 8 ที่ย่อลงมาเป็นมรรค 3 นั่นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ในที่นี้ก็จะกล่าวในส่วนของ มโนทยิทธิครึ่งกำลังนะครับ
เริ่มแรกเมื่อเราไปถึงวัดท่าซุง ก็ลงทะเบียนเป็นผู้ฝึกใหม่ ซึ่งในการฝึกครึ่งกำลังนั้นจะมี 3 ระดับนั่นคือ
1. ผู้เริ่มต้น
2. ขั้นท่องเที่ยว
3. ญาน 8
ผมเริ่มขั้นที่ 1 คือผู้เริ่มต้น ลงทะเบียนเสร็จแล้วก็รอเวลาฝึกจะใช้เวลาฝึกทั้งหมดประมาณ 2 ชม.เศษ โดยห้องที่ฝึกนั้นจะอยู่ภายในวิหารแก้วร้อยเมตร มีประมาณ 10 ห้อง ห้องนึงจุผู้ฝึกได้ 15 คนกำลังดี วันที่ผมไปนั้นมีห้องที่ผมฝึกก็มีประมาณ 10 กว่าคน พอได้เวลาทางวัดก็เริ่มพิธีสมาทานพระกรรมฐาน และพิธีอื่นๆที่เกี่ยวที่ข้องตามลำดับโดยการเปิดเทปของหลวงพ่อวัดท่าซุง พอเสร็จพิธีแล้วครูฝึกอธิบายที่มาที่ไป หลักการ และวิธีการของกรรมฐานกองนี้ให้ทุกคนเข้าใจ จากนั้นจึงให้แต่ละคนทำสมาธิเพื่อเอากำลังของอุปปาจาระสมาธิ โดยใช้คำภาวนาว่า นะ มะ พะ ธะ ประมาณ 15-20 นาที ช่วงระหว่างที่ทำสมาธินี้เป็นช่วงที่สำคัญเพราะโดนทดสอบกำลังใจหลายอย่างจากตัวเราเอง และเพื่อนร่วมฝึก เพราะอุปปาจาระสมาธินั้นคือช่วงที่จิตมีปิติ จิตมีปิติก็จะปรากฎอาการทางร่างกาย 5 อย่าง เพื่อนที่อยู่ในห้องที่ฝึกด้วยต่างก็มีอาการทางร่างกาย บางคนร้องให้ บางคนตัวสั่น บางคนโยกไปโยกมา ตรงนี้ถ้าเราทรงกำลังใจไม่ดีมีเป๋ครับเพราะ ใจจะรู้สึกรำคาญ และหงุดหงิด และจะรวมสมาธิไม่ได้ พอผ่านไปสักระยะในห้องก็สงบและเงียบจนครูฝึกบอกให้หยุดภาวนาและพูดให้เราฟังและคิดตามไปด้วย
สิ่งที่ครูฝึกพูดและให้เราคิดตามจริงๆเป็นการสอนให้เราจริญ วิปัสนาญาณ ครับกล่าวคือ สอนให้เราพิจารณาร่างกายของเราว่าประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้เราพิจารณาตั้งแต่เด็กจนกระทั่งปัจจุบัน และต่อไปในอนาคตว่าเราเป็นทุกข์ไหม การเกิดมาชาตินี้มันเป็นทุกข์ไหม การเกิดมามีร่างกายแบบนี้มันเป็นทุกข์ไหม ถ้าต้องตายตอนนี้เราเป็นห่วงอะไรไหม ถ้าต้องทิ้งร่างกายนี้ไปตอนนี้เรามีกังวลไหม นอกจากนี้ครูฝึก็ให้พิจารณาร่างกายไล่ไปตั้งแต่ชั้นนอก ชั้นใน อวัยวะ ตับไตใส้พุง ไล่ไปไล่มาจากนอกมาใน จากในมานอก (ตอนปฏิบัติจริงมีรายละเอียดกว่านี้ครับ) จนกระทั่งทุกคนไม่ห่วงร่างกาย และไม่กลัวที่จะตายตรงนี้ สำหรับผมเองนั้นช่วงนี้จะมีอารมณ์เบาสบายไม่ห่วงอะไรเลย จิตสว่างสดใส สีขาว
" จนครูฝึกถามว่าเห็นใครบ้างตอนนี้ ? " ทุกคนตอบเหมือนกันว่า.. " เห็น "
ในที่นี้ผมจะตอบในส่วนของผมนะ ผมเห็นเป็น พระภิกษุรูปหนึ่งที่ผมเคารพเครับ หลังจากถามแล้วครูฝึกก็ให้แต่ละคนบรรยายลักษณะที่ตัวเองเห็น และให้ทุกคน เนรมิตกาย ของตัวเองมากายหนึ่ง แล้วให้กายที่เนรมิตนั้นไปกราบในสิ่งที่ตัวเองเห็นผมเองก็เข้าไปกราบพระภิกษุรูปนั้น ต่อจากนั้นครูฝึกก็ให้ทุกคนขอพรบารมีจากท่าน และให้ท่านพาไปดูภพภูมิต่างๆที่เราอยากไปและสนใจ โดยช่วงที่กายที่เนรมิตขึ้นนั้นไปกับพระภิภษุ ตัวผมที่นั่งสมาธิอยู่ก็คอยคุมสมาธิ คุมอารมณ์ไม่ให้เคลื่อน ผมไปจนครบที่ตัวเองอยากไปที่ตัวเองสงสัยแม้กระทั่งพระนิพพานว่ามีจริงไหม จนจะครบเวลาครูฝึกจึงบอกให้ทุกคนกราบลาท่านที่เราเห็นและพาแต่ละคนไป และให้กายที่เนรมิตนั้นกลับเข้ามาที่ร่างที่เรานั่งสมาธิอยู่ ทรงสมาธิอยู่สักครู่แล้วให้คลายสมาธิออกลืมตา หลังจากลืมตาเพื่อนที่ไปฝึกด้วยกันต่างมองกันไปมองกันมายิ้มแย้มอิ่มเอิบ ผมน้ำตาไหลอาบแก้มเมื่อไหร่ไม่รู้ ทำพิธีหลังฝึกเล็กน้อย สนทนากับครูฝึกอีกเล็กน้อย โดยที่ครูฝึกบอกให้ไปฝึกต่อที่บ้านและให้จำวิธีและอารมณ์ที่ทรงไว้ในขณะที่ฝึกให้ได้ และทำให้คล่อง แน่นอนว่าครั้งแรกมีคำถามมากมายเกิดขึ้นกับคนฝึกทุกคนเพราะเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยประสบมาก่อน ผมจึงไปๆมาๆวัดท่าซุงรวมๆแล้วก็ประมาณ 2 ปี จนหมดข้อสงสัย
ส่วนมโนมยิทธิเต็มกำลังนั้นหลักการฝึกก็คล้ายกับครึ่งกำลังเพียงแต่ขณะการฝึกนั้นเราที่เป็นผู้ฝึกต้องทำเองด้วยตัวเองทุกอย่าง ผลที่ได้จะชัดและสว่างกว่าครึ่งกำลังมากครับ ถ้าใครสนใจจะปฏิบัติก็หาโอกาสไปวัดท่าซุงดูครับจะมีการฝึกทุกวัน
หวังว่าคงพอมีประโยชน์นะครับบางส่วนผมก็จะละไว้เพราะเป็นเรื่องที่ต้องไปประสบกับตนเองใครที่ไปฝึกก็จะเจอเหมือนกันครับ สังสัยอะไรสอบถามได้ยินดีครับ
ปล.เขียนจากประสบการณ์ส่วนตัวผิดพลาดประการใดขออภัยครับ