อย่าเพิ่งงงนะครับ อ่านอันนี้ก่อน
--------------------------------
"อีกอันที่น่าสนใจคือมีการสำรวจเมื่อ 6-7 ปีก่อน ถามว่าคุณคิดว่าเป็นคนจนหรือไม่ ไม่ได้วัดจากการให้ตอบรายได้ เป็นทัศนคติ ซึ่งคำตอบคือ 70% คิดว่าจน ความน่าสนใจอยู่ที่คำถามต่อไป ถามว่าทำไมคนถึงจน คนที่คิดว่าตัวเองไม่จนจะบอกว่าสาเหตุของความจนคือขี้เกียจ ส่วนคนที่คิดว่าตัวเองจนจะตอบว่าสาเหตุมาจากการขาดโอกาส ฉะนั้นมันแปลว่ามันฝังรากลงไปถึงทัศนคติของคนที่ว่าตัวเองไม่จนกับจน เวลามองไปที่ความจน มันไม่เหมือนกัน"
ผศ. ดร.ธานี ชัยวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่มา :
https://thaipublica.org/2018/10/thai-financial-behavior-thanee-chaiwat/
--------------------------------
เชื่อว่าคงไม่ใช่แค่ในไทยแต่น่าจะเป็นทั่วโลกที่ถ้าไปถามคำถามข้างต้นนี้ก็คงได้คำตอบไม่ต่างกัน คือฝ่ายที่เห็นว่าตัวเองจน หาเช้ากินค่ำ ส่วนใหญ่จะบอกว่าเพราะขาดโอกาส ( ชนชั้น สีผิว เชื้อชาติ ฯลฯ ก็ว่าไป ) ส่วนฝ่ายที่เห็นว่าตัวเองไม่จน ส่วนใหญ่จะมองว่าเพราะไม่ขี้เกียจ ( เสื่อผืนหมอนใบ เคยอดมื้อกินมื้อแต่ไม่ย่อท้อ ฯลฯ ก็ว่าไป )
ทีนี้เผอิญว่าทั้งในไทยและประเทศอื่นๆ คนรายได้น้อยหรือปานกลางค่อนไปทางน้อยมีมากกว่าคนรายได้มากหรือปานกลางค่อนไปทางมาก ดังนั้นเมื่อมีนักวิชาการไปทำวิจัย จึงไม่แปลกหากผลที่ได้คือ "ความเหลื่อมล้ำมีผลกระทบต่อทางเดินชีวิต" เพราะคนระดับค่อนไปล่างเป็นคนส่วนใหญ่ เสียงก็เลยดัง
แล้วรัฐบาลชาติต่างๆ ( รวมถึง UN ) ก็ไปเอาผลวิจัยพวกนี้มาทำเป็นนโยบาย บางประเทศผลักดันสำเร็จ บางประเทศก็สู้เชิงความคิดกันอยู่ แต่ไม่ว่าประเทศไหนๆ มันย่อมต้องมีคนคัดค้าน ด้วยอ้างว่าที่ไปทำวิจัยกันมามันคือการสอบถามความคิดเห็นและความรู้สึก แต่มันไม่ใช่ข้อเท็จจริง
ยังมีข้อมูลอีกด้านที่เห็นกันได้ว่าคนอีกจำนวนไม่น้อยเกิดมาต่ำ บางคนเรียกว่าเกิดในนรกด้วยซ้ำ แต่มุมานะพยายามปีนหนีนรกจนขึ้นไปอยู่ที่สูงบนสวรรค์ได้ ทำไมไม่ถอดบทเรียนจากคนฝั่งนี้แล้วเอาไปสอนคนอื่นๆ ให้คิดได้บ้าง แทนที่จะต้องลงทุนทั้งทางตรงทางอ้อม ซึ่งต้นทุนก็มาจากคนที่ดิ้นรนฝั่งนี้เอง รู้ไหมมันเสียความรู้สึกที่ทรัพยากรสร้างด้วยมือคนฝั่งสู้ชีวิตถูกเอาไปช่วยคนที่คิดไม่เป็นให้ไม่ต้องเหนื่อยมาก
สรุปแล้วงานวิจัยเรื่องความเหลื่อมล้ำนี่แค่คิดเป็นหัวข้อก็ผิดแล้วหรือเปล่าครับ? เพราะมันไม่ใช่ความจริงเพียงหนึ่งเดียว แต่เป็นความเห็น 2 ชุด และชุดหนึ่งดันมีน้ำหนักกว่าอีกชุดเพียงเพราะชุดนั้นมีคนเชื่อเป็นจำนวนมากกว่าก็เท่านั้น
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )
"ความเหลื่อมล้ำส่งผลกระทบต่อทางเดินชีวิตหรือไม่?"เป็นหัวข้อที่ไม่ควรศึกษาตั้งแต่แรกแล้วหรือเปล่า?
--------------------------------
"อีกอันที่น่าสนใจคือมีการสำรวจเมื่อ 6-7 ปีก่อน ถามว่าคุณคิดว่าเป็นคนจนหรือไม่ ไม่ได้วัดจากการให้ตอบรายได้ เป็นทัศนคติ ซึ่งคำตอบคือ 70% คิดว่าจน ความน่าสนใจอยู่ที่คำถามต่อไป ถามว่าทำไมคนถึงจน คนที่คิดว่าตัวเองไม่จนจะบอกว่าสาเหตุของความจนคือขี้เกียจ ส่วนคนที่คิดว่าตัวเองจนจะตอบว่าสาเหตุมาจากการขาดโอกาส ฉะนั้นมันแปลว่ามันฝังรากลงไปถึงทัศนคติของคนที่ว่าตัวเองไม่จนกับจน เวลามองไปที่ความจน มันไม่เหมือนกัน"
ผศ. ดร.ธานี ชัยวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่มา : https://thaipublica.org/2018/10/thai-financial-behavior-thanee-chaiwat/
--------------------------------
เชื่อว่าคงไม่ใช่แค่ในไทยแต่น่าจะเป็นทั่วโลกที่ถ้าไปถามคำถามข้างต้นนี้ก็คงได้คำตอบไม่ต่างกัน คือฝ่ายที่เห็นว่าตัวเองจน หาเช้ากินค่ำ ส่วนใหญ่จะบอกว่าเพราะขาดโอกาส ( ชนชั้น สีผิว เชื้อชาติ ฯลฯ ก็ว่าไป ) ส่วนฝ่ายที่เห็นว่าตัวเองไม่จน ส่วนใหญ่จะมองว่าเพราะไม่ขี้เกียจ ( เสื่อผืนหมอนใบ เคยอดมื้อกินมื้อแต่ไม่ย่อท้อ ฯลฯ ก็ว่าไป )
ทีนี้เผอิญว่าทั้งในไทยและประเทศอื่นๆ คนรายได้น้อยหรือปานกลางค่อนไปทางน้อยมีมากกว่าคนรายได้มากหรือปานกลางค่อนไปทางมาก ดังนั้นเมื่อมีนักวิชาการไปทำวิจัย จึงไม่แปลกหากผลที่ได้คือ "ความเหลื่อมล้ำมีผลกระทบต่อทางเดินชีวิต" เพราะคนระดับค่อนไปล่างเป็นคนส่วนใหญ่ เสียงก็เลยดัง
แล้วรัฐบาลชาติต่างๆ ( รวมถึง UN ) ก็ไปเอาผลวิจัยพวกนี้มาทำเป็นนโยบาย บางประเทศผลักดันสำเร็จ บางประเทศก็สู้เชิงความคิดกันอยู่ แต่ไม่ว่าประเทศไหนๆ มันย่อมต้องมีคนคัดค้าน ด้วยอ้างว่าที่ไปทำวิจัยกันมามันคือการสอบถามความคิดเห็นและความรู้สึก แต่มันไม่ใช่ข้อเท็จจริง
ยังมีข้อมูลอีกด้านที่เห็นกันได้ว่าคนอีกจำนวนไม่น้อยเกิดมาต่ำ บางคนเรียกว่าเกิดในนรกด้วยซ้ำ แต่มุมานะพยายามปีนหนีนรกจนขึ้นไปอยู่ที่สูงบนสวรรค์ได้ ทำไมไม่ถอดบทเรียนจากคนฝั่งนี้แล้วเอาไปสอนคนอื่นๆ ให้คิดได้บ้าง แทนที่จะต้องลงทุนทั้งทางตรงทางอ้อม ซึ่งต้นทุนก็มาจากคนที่ดิ้นรนฝั่งนี้เอง รู้ไหมมันเสียความรู้สึกที่ทรัพยากรสร้างด้วยมือคนฝั่งสู้ชีวิตถูกเอาไปช่วยคนที่คิดไม่เป็นให้ไม่ต้องเหนื่อยมาก
สรุปแล้วงานวิจัยเรื่องความเหลื่อมล้ำนี่แค่คิดเป็นหัวข้อก็ผิดแล้วหรือเปล่าครับ? เพราะมันไม่ใช่ความจริงเพียงหนึ่งเดียว แต่เป็นความเห็น 2 ชุด และชุดหนึ่งดันมีน้ำหนักกว่าอีกชุดเพียงเพราะชุดนั้นมีคนเชื่อเป็นจำนวนมากกว่าก็เท่านั้น
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )