Tactician=ผู้ชำนาญยุทธวิธี
Strategist=นักวางแผน ยุทธศาสตร์, นักวางกลุยุทธ์
กรณีราเยวัช
พวกคุณว่าเป้าหมายของราเยวัชคืออะไร
strategy เป้าหมายหลัก ของราเยวัช คือการเข้ารอบลึกๆ ของเอเชี่ยนคัพให้ได้ เป้าหมายรองคือแชมป์ AFF
โดยเลือก tactic รับให้แน่นแล้วโต้กลับ
โดยเลือกที่จะใช้ AFF ครั้งนี้ เป็นการลองทีมโดยเป้าหมายคือนักเตะต้องบาดเจ็บน้อยที่สุด เพื่อดูว่าจุดอ่อน มีตรงไหนบ้าง และเพื่อซ้อมเกมส์รับ
สำหรับ misson ของการไปเยือนมาเลเซีย หากเป็นผม คือ เป้าหมายคือต้องไม่แพ้ หากแพ้ก็ต้องยิงให้ได้ away goal 1 ลูก
เพื่อความได้เปรียบมาเล่นในบ้าน เพราะเราสามารถควบคุมหลายสิ่งหลายอย่างได้โดยเฉพาะสนามให้เราไม่เสียเปรียบ
เพราะการเล่นนอกบ้าน ผู้ชม 85000 คน การสื่อสารเกมส์รับลำบากมาก เพราะไม่สามารถสื่อกันได้ด้วยเสียง
แถมด้วยสนามลื่น อาจมาจากความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม หากสนามลื่น ฟอร์มนักเตะไทย จะห่วยทุกครั้งที่สนามลื่นดูได้ 3 นัดล่าสุด
ไทย-จีน 0-2 ไทย-ฟิลิปปินส์ 1-1 ไทย-มาเลเซีย 0-0
และการที่ผู้เล่นมาเลเซียบุกมากผลคือยุบ ท้ายเกมส์
พักแค่ 3 วัน ผมเชื่อว่าท้ายสุดแล้ว มาเลเซีย จะยุบ ลงตั้งแต่ครึ่งหลัง ของการลงเล่นกับไทย ในสนามรัชมังคลา จากอาการล้าสะสม
แต่กระนั้นแล้ว โค้ชมาเลเซีย คู่ต่อสู้ คนนี้ ก็ประมาทไม่ได้ เพราะ เขาวางแผนมาดี และเชื่อว่าจะใช้หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง
คือจะใช้รับแน่นแล้วโต้เช่นกัน สังเกตดูได้จากการใช้ลูกโต้กลับ ช่วงที่เราไปกดดันลูกเตะมุม จนทำให้เราเกือบเสียประตู
คือ เขาคิดมากก่อนและซ้อมกันมานะครับถ้าสังเกตดูดีๆ จับตายเตะขาสรรวัช นี้ก็เป็นแผนที่เขาวางมา จับตย AK9 นี้ก็วางแผนมา
หากจะวัดกึ๋น ราเยวัช ก็ต้องดู ที่รัชมังคลา 5 ธันวาคม นี้หละครับ ว่า กึ๋นมีแค่ไหน
แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ผมมองว่าเรายังอยู่ใน กลยุทธ์ที่เราวางไว้
ผมยังมองว่า ราเยวัช เป็น Strategist ที่เก่ง คือวางแผนเพื่อเป้าหมาย ระยะยาว เป็นหลัก ทำแต่น้อยโดยได้ผลมาก เน้นผล มากกว่าเอามันส์
อย่าลืม strategy เราคือ 1.เข้ารอบลึกๆเอเชียนคัพ 2.แชมป์ AFF หากเล่นเอามันส์ จะมีประโยชน์อะไรหากนักเตะบอบช้ำ บาดเจ็บจนเสียแผน
ถึงแม้น ราเยวัช อาจเป็น Tactician ที่ ไม่ ช่ำชองมากนัก แต่เชื่อว่า
โอกาสที่เราจะชนะในสมรภูมินี้ AFF และ เข้ารอบลึกๆ เอเชี่ยน คัพ ยังมีโอกาสสูงอยู่ หลังได้ เจ มุ้ย อุ้มเข้ามาเสริมทัพ
ลองอ่านดูบทความข้าล่างดู กรณี ฮิตเลอร์ แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2
***************************************************************************************************
สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้นระหว่างปี 1939-1945 มันเป็นเรื่องราวของคนสองคนที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
Adolf Hitler กับ Winston Churchill
บทบาทของคนทั้งสองในฐานะเป็นผู้นำในการรบมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง ซึ่งสามารถนำมาเป็นกรณีศึกษา
Churchill คือ Strategist ในขณะที่ Hitler เป็น Tactician แต่สำคัญผิดคิดว่าตนเองคือ Strategist
Strategy คือความสามารถในการมองภาพใหญ่ ส่วน Tactic คือการเห็นแค่ภาพเล็ก ๆ เป็นชิ้น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพใหญ่
Tactician คือพวกเก่งเฉพาะทาง
ส่วน Strategist เป็นพวกรอบรู้หลากหลายมิติ
Strategist กำหนดคำว่า What แล้วให้ Tactician ไปหาคำว่า How
วิธีทำงานของพวก Strategist คือ “Tight target with loose control”
และนี่คือสไตล์ในการทำงานของ Winston Churchill เขากำหนดแค่เป้าหมาย แล้วให้พวกแม่ทัพนาย กองซึ่งเป็น Tactician สาละวนกับการวางแผนรบ หาวิธีการที่ดีที่สุด
ในสงครามโลกครั้งที่สอง Churchill มี Strategy ง่าย ๆ เพียงประการเดียวคือต้องดึงสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลก เพราะในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง (1939-1941) สหรัฐอเมริกาประกาศตัวเป็นกลาง
เมื่อเขากำหนดเป้าหมายแล้ว เขาให้ทีมงานมีอิสระในการหาวิธีการ เขาไม่ไปกำหนดวิธีการของลูกน้อง
สิ่งที่เขาทำคือสุดยอดของความเป็น Strategist เพียงแต่บอกความต้องการ ตัวอย่างเช่น “อังกฤษต้องชนะในสงคราม North Africa ไม่มีข้อต่อรอง”
หลังจากนั้นเขาจะให้นายพลระดับห้าดาวเป็นคนบัญชาการรบ โดยนายพลคนนั้นเป็นคนเลือกแผนรบ
ถ้านายพลคนแรกทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จ Churchill จะเปลี่ยนนายพลคนใหม่มาเป็นคนเลือก “วิธีการใหม่”
ด้วยความที่ Churchill ไม่เคยแทรกแซง “ยุทธการรบ” ทำให้เขามีเวลาอย่างเหลือเฟือในการมองภาพใหญ่ กำหนดตัว What ที่ถูกต้อง
ทำให้เขามีเวลาอย่างเหลือเฟือเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล Atlantic หลายครั้งเพื่อไปพบประธานาธิบดี Roosevelt เพื่อชักจูงรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตร
ทำให้เขามีเวลาเพียงพอที่จะเปลี่ยนทัศนคติของคนอเมริกันเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง
Churchill รู้ดีว่าถ้าเขาดึงอเมริกามาร่วมรบได้เมื่อไร โอกาสที่สัมพันธมิตรจะชนะสงครามโลกมีแน่นอน เพราะอเมริกาเป็นประเทศที่มีทรัพยากรในการรบมากที่สุดในโลก
ในขณะที่ Churchill เป็นคนที่มี Focused strategy
Hitler สร้างความผิดพลาดอย่างมหันต์ คิดว่าตัวเองเป็น Strategist ทั้ง ๆ ที่โดยเนื้อแท้แล้วเขาเป็นเพียง Tactician
Hitler มองภาพใหญ่ไม่เป็น เขาใส่ใจแต่รายละเอียดในการรบ เขาคือคนที่กำหนดตัว How ด้วยการแทรกแซง “แผนยุทธการในการรบ” ตลอดเวลา
แม่ทัพทุกคนของฝั่งเยอรมันนีต้องได้รับอนุมัติแผนการรบจาก Hitler จึงจะสามารถนำแผนรบนั้นออกไปปฏิบัติการได้ และบ่อยครั้งที่ Hitler เปลี่ยนแผนรบกลางคันในขณะที่แม่ทัพของเขากำลังนำแผนรบไปใช้
ความที่ Hitler บัญชาการรบอยู่ที่ Berlin เขาไม่มีทางรับรู้ถึงความสามารถในการขับเคลื่อนทัพที่แนวหน้า แต่ความที่ Hitler เป็นเผด็จการ คิดว่าตัวเองเก่ง จึงบัญชาการรบตามอำเภอใจ
สั่งซ้ายหัน ขวาหัน โดยไม่ฟังเสียงของนายพลของตนเองที่เป็น “ผู้เชี่ยวชาญในการรบตัวจริง”
ดังนั้นเยอรมันรบในสงครามโลกครั้งที่สองโดยไม่มี Strategic leader แต่มี Tactician ที่ห่วยมาก กำหนดยุทธการในการรบโดยไม่ฟังความเห็นจากผู้รู้ที่แนวหน้า
ข้อผิดพลาดครั้งใหญ่ของ Hitler คือเมื่อเขาไม่สามารถที่จะล้มอังกฤษที่ตาต่อตา ฟันต่อฟันสู้กับเยอรมันอย่างไม่เกรงในศักดิ์ศรี เขาก็เริ่มเบื่อแล้วเปลี่ยนเป้าหมายไปโจมตี Russia ในครั้งแรกเขาบอกพวกนายพลของเขาให้ระดมสรรพกำลังไปโจมตีทางเหนือของ Russia ในขณะที่แม่ทัพนายกองกำลังระดมกำลัง
Hitler เปลี่ยนแผนรบ ด้วยคำสั่งให้ไปโจมตีภาคใต้
เมื่อกองทัพที่มีพลรบกว่าสองล้านคนเปลี่ยนทิศลงใต้ Hitler เปลี่ยนใจอีกครั้ง การโจมตีภาคเหนือน่าจะเป็นยุทธการที่ดีกว่า
กองทัพเยอรมันนีเสียเวลากับการเรียกแผนผิดของ Hitler เป็นเวลาหลายอาทิตย์
แล้วหิมะก็เริ่มตก แล้วเราก็ทราบดีว่าหลังจากนั้นอะไรเกิดขึ้น
กองทัพของ Russia บดขยี้ทัพของเยอรมันนี
และสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองอย่างเต็มตัว โดยร่วมกับอังกฤษบุกหาด Normandy ในวัน D-Day นี่คือจุดเปลี่ยนของสงครามโลกครั้งที่สองที่ทำให้พันธมิตรชนะกลุ่มอักษะ
จะชนะสงครามในสมรภูมิรบ หรีอสงครามทางธุรกิจ
ต้องเริ่มต้นจากคำว่า What แล้วค่อยไปหาคำว่า How
ref. จาก FB
แกะดำทำธุรกิจ
https://businesstretegy.blogspot.com/2015/07/strategist-vs-tactician-what-how.html
Strategist VS Tactician โอกาสชนะสงครามในสมรภูมิรบ กรณีราเยวัช
Tactician=ผู้ชำนาญยุทธวิธี
Strategist=นักวางแผน ยุทธศาสตร์, นักวางกลุยุทธ์
กรณีราเยวัช
พวกคุณว่าเป้าหมายของราเยวัชคืออะไร
strategy เป้าหมายหลัก ของราเยวัช คือการเข้ารอบลึกๆ ของเอเชี่ยนคัพให้ได้ เป้าหมายรองคือแชมป์ AFF
โดยเลือก tactic รับให้แน่นแล้วโต้กลับ
โดยเลือกที่จะใช้ AFF ครั้งนี้ เป็นการลองทีมโดยเป้าหมายคือนักเตะต้องบาดเจ็บน้อยที่สุด เพื่อดูว่าจุดอ่อน มีตรงไหนบ้าง และเพื่อซ้อมเกมส์รับ
สำหรับ misson ของการไปเยือนมาเลเซีย หากเป็นผม คือ เป้าหมายคือต้องไม่แพ้ หากแพ้ก็ต้องยิงให้ได้ away goal 1 ลูก
เพื่อความได้เปรียบมาเล่นในบ้าน เพราะเราสามารถควบคุมหลายสิ่งหลายอย่างได้โดยเฉพาะสนามให้เราไม่เสียเปรียบ
เพราะการเล่นนอกบ้าน ผู้ชม 85000 คน การสื่อสารเกมส์รับลำบากมาก เพราะไม่สามารถสื่อกันได้ด้วยเสียง
แถมด้วยสนามลื่น อาจมาจากความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม หากสนามลื่น ฟอร์มนักเตะไทย จะห่วยทุกครั้งที่สนามลื่นดูได้ 3 นัดล่าสุด
ไทย-จีน 0-2 ไทย-ฟิลิปปินส์ 1-1 ไทย-มาเลเซีย 0-0
และการที่ผู้เล่นมาเลเซียบุกมากผลคือยุบ ท้ายเกมส์
พักแค่ 3 วัน ผมเชื่อว่าท้ายสุดแล้ว มาเลเซีย จะยุบ ลงตั้งแต่ครึ่งหลัง ของการลงเล่นกับไทย ในสนามรัชมังคลา จากอาการล้าสะสม
แต่กระนั้นแล้ว โค้ชมาเลเซีย คู่ต่อสู้ คนนี้ ก็ประมาทไม่ได้ เพราะ เขาวางแผนมาดี และเชื่อว่าจะใช้หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง
คือจะใช้รับแน่นแล้วโต้เช่นกัน สังเกตดูได้จากการใช้ลูกโต้กลับ ช่วงที่เราไปกดดันลูกเตะมุม จนทำให้เราเกือบเสียประตู
คือ เขาคิดมากก่อนและซ้อมกันมานะครับถ้าสังเกตดูดีๆ จับตายเตะขาสรรวัช นี้ก็เป็นแผนที่เขาวางมา จับตย AK9 นี้ก็วางแผนมา
หากจะวัดกึ๋น ราเยวัช ก็ต้องดู ที่รัชมังคลา 5 ธันวาคม นี้หละครับ ว่า กึ๋นมีแค่ไหน
แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ผมมองว่าเรายังอยู่ใน กลยุทธ์ที่เราวางไว้
ผมยังมองว่า ราเยวัช เป็น Strategist ที่เก่ง คือวางแผนเพื่อเป้าหมาย ระยะยาว เป็นหลัก ทำแต่น้อยโดยได้ผลมาก เน้นผล มากกว่าเอามันส์
อย่าลืม strategy เราคือ 1.เข้ารอบลึกๆเอเชียนคัพ 2.แชมป์ AFF หากเล่นเอามันส์ จะมีประโยชน์อะไรหากนักเตะบอบช้ำ บาดเจ็บจนเสียแผน
ถึงแม้น ราเยวัช อาจเป็น Tactician ที่ ไม่ ช่ำชองมากนัก แต่เชื่อว่า
โอกาสที่เราจะชนะในสมรภูมินี้ AFF และ เข้ารอบลึกๆ เอเชี่ยน คัพ ยังมีโอกาสสูงอยู่ หลังได้ เจ มุ้ย อุ้มเข้ามาเสริมทัพ
ลองอ่านดูบทความข้าล่างดู กรณี ฮิตเลอร์ แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2
***************************************************************************************************
สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้นระหว่างปี 1939-1945 มันเป็นเรื่องราวของคนสองคนที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
Adolf Hitler กับ Winston Churchill
บทบาทของคนทั้งสองในฐานะเป็นผู้นำในการรบมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง ซึ่งสามารถนำมาเป็นกรณีศึกษา
Churchill คือ Strategist ในขณะที่ Hitler เป็น Tactician แต่สำคัญผิดคิดว่าตนเองคือ Strategist
Strategy คือความสามารถในการมองภาพใหญ่ ส่วน Tactic คือการเห็นแค่ภาพเล็ก ๆ เป็นชิ้น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพใหญ่
Tactician คือพวกเก่งเฉพาะทาง
ส่วน Strategist เป็นพวกรอบรู้หลากหลายมิติ
Strategist กำหนดคำว่า What แล้วให้ Tactician ไปหาคำว่า How
วิธีทำงานของพวก Strategist คือ “Tight target with loose control”
และนี่คือสไตล์ในการทำงานของ Winston Churchill เขากำหนดแค่เป้าหมาย แล้วให้พวกแม่ทัพนาย กองซึ่งเป็น Tactician สาละวนกับการวางแผนรบ หาวิธีการที่ดีที่สุด
ในสงครามโลกครั้งที่สอง Churchill มี Strategy ง่าย ๆ เพียงประการเดียวคือต้องดึงสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลก เพราะในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง (1939-1941) สหรัฐอเมริกาประกาศตัวเป็นกลาง
เมื่อเขากำหนดเป้าหมายแล้ว เขาให้ทีมงานมีอิสระในการหาวิธีการ เขาไม่ไปกำหนดวิธีการของลูกน้อง
สิ่งที่เขาทำคือสุดยอดของความเป็น Strategist เพียงแต่บอกความต้องการ ตัวอย่างเช่น “อังกฤษต้องชนะในสงคราม North Africa ไม่มีข้อต่อรอง”
หลังจากนั้นเขาจะให้นายพลระดับห้าดาวเป็นคนบัญชาการรบ โดยนายพลคนนั้นเป็นคนเลือกแผนรบ
ถ้านายพลคนแรกทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จ Churchill จะเปลี่ยนนายพลคนใหม่มาเป็นคนเลือก “วิธีการใหม่”
ด้วยความที่ Churchill ไม่เคยแทรกแซง “ยุทธการรบ” ทำให้เขามีเวลาอย่างเหลือเฟือในการมองภาพใหญ่ กำหนดตัว What ที่ถูกต้อง
ทำให้เขามีเวลาอย่างเหลือเฟือเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล Atlantic หลายครั้งเพื่อไปพบประธานาธิบดี Roosevelt เพื่อชักจูงรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตร
ทำให้เขามีเวลาเพียงพอที่จะเปลี่ยนทัศนคติของคนอเมริกันเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง
Churchill รู้ดีว่าถ้าเขาดึงอเมริกามาร่วมรบได้เมื่อไร โอกาสที่สัมพันธมิตรจะชนะสงครามโลกมีแน่นอน เพราะอเมริกาเป็นประเทศที่มีทรัพยากรในการรบมากที่สุดในโลก
ในขณะที่ Churchill เป็นคนที่มี Focused strategy
Hitler สร้างความผิดพลาดอย่างมหันต์ คิดว่าตัวเองเป็น Strategist ทั้ง ๆ ที่โดยเนื้อแท้แล้วเขาเป็นเพียง Tactician
Hitler มองภาพใหญ่ไม่เป็น เขาใส่ใจแต่รายละเอียดในการรบ เขาคือคนที่กำหนดตัว How ด้วยการแทรกแซง “แผนยุทธการในการรบ” ตลอดเวลา
แม่ทัพทุกคนของฝั่งเยอรมันนีต้องได้รับอนุมัติแผนการรบจาก Hitler จึงจะสามารถนำแผนรบนั้นออกไปปฏิบัติการได้ และบ่อยครั้งที่ Hitler เปลี่ยนแผนรบกลางคันในขณะที่แม่ทัพของเขากำลังนำแผนรบไปใช้
ความที่ Hitler บัญชาการรบอยู่ที่ Berlin เขาไม่มีทางรับรู้ถึงความสามารถในการขับเคลื่อนทัพที่แนวหน้า แต่ความที่ Hitler เป็นเผด็จการ คิดว่าตัวเองเก่ง จึงบัญชาการรบตามอำเภอใจ
สั่งซ้ายหัน ขวาหัน โดยไม่ฟังเสียงของนายพลของตนเองที่เป็น “ผู้เชี่ยวชาญในการรบตัวจริง”
ดังนั้นเยอรมันรบในสงครามโลกครั้งที่สองโดยไม่มี Strategic leader แต่มี Tactician ที่ห่วยมาก กำหนดยุทธการในการรบโดยไม่ฟังความเห็นจากผู้รู้ที่แนวหน้า
ข้อผิดพลาดครั้งใหญ่ของ Hitler คือเมื่อเขาไม่สามารถที่จะล้มอังกฤษที่ตาต่อตา ฟันต่อฟันสู้กับเยอรมันอย่างไม่เกรงในศักดิ์ศรี เขาก็เริ่มเบื่อแล้วเปลี่ยนเป้าหมายไปโจมตี Russia ในครั้งแรกเขาบอกพวกนายพลของเขาให้ระดมสรรพกำลังไปโจมตีทางเหนือของ Russia ในขณะที่แม่ทัพนายกองกำลังระดมกำลัง
Hitler เปลี่ยนแผนรบ ด้วยคำสั่งให้ไปโจมตีภาคใต้
เมื่อกองทัพที่มีพลรบกว่าสองล้านคนเปลี่ยนทิศลงใต้ Hitler เปลี่ยนใจอีกครั้ง การโจมตีภาคเหนือน่าจะเป็นยุทธการที่ดีกว่า
กองทัพเยอรมันนีเสียเวลากับการเรียกแผนผิดของ Hitler เป็นเวลาหลายอาทิตย์
แล้วหิมะก็เริ่มตก แล้วเราก็ทราบดีว่าหลังจากนั้นอะไรเกิดขึ้น
กองทัพของ Russia บดขยี้ทัพของเยอรมันนี
และสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองอย่างเต็มตัว โดยร่วมกับอังกฤษบุกหาด Normandy ในวัน D-Day นี่คือจุดเปลี่ยนของสงครามโลกครั้งที่สองที่ทำให้พันธมิตรชนะกลุ่มอักษะ
จะชนะสงครามในสมรภูมิรบ หรีอสงครามทางธุรกิจ
ต้องเริ่มต้นจากคำว่า What แล้วค่อยไปหาคำว่า How
ref. จาก FB
แกะดำทำธุรกิจ
https://businesstretegy.blogspot.com/2015/07/strategist-vs-tactician-what-how.html