[CR] รีวิวทริปเมืองชัยปุระ อินเดีย

สวัสดีคะ นี่เป็นรีวิวแรกที่อยากจะมาแชร์เพราะเป็นการท่องเที่ยวครั้งแรกกับเพื่อนสาวที่รู้จักกันตั้งแต่ตอนเด็กน้อยนมยังไม่ขึ้น ทริปนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก เพื่อนสาวมีความอยากเป็นมหารานี แต่ก็กลัวที่จะไปอินเดีย ตามที่ได้ยินกิตติศัพท์มามากมาย ส่วนตัวเราเองชอบสถาปัตยกรรมต่างๆ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ จึงตัดสินใจกันว่า ไปเถอะ ไม่ลองก็ไม่รู้  เพื่อได้สามีเป็นมหาราชาด้วย 5555 โดยเมืองที่เลือกไปคือ ชัยปุระ (Jaipur) หรือ นครสีชมพู เป็นเมืองหลักของรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย และยังเป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศอินเดีย หลังจากได้ศึกษาข้อมูลมาจากหลายแหล่งแล้วเราก็เริ่มแพลนทริปเลย
1.ซื้อตั๋วเครื่องบิน AirAsia ช่วงโปรโมชั่นตั๋วประมาณ 6-7 พันบาท + เพิ่มน้ำหนักกระเป๋า 1,600 บาท (มีคนฝากซื้อของ Himalaya เยอะเลยต้องมาซื้อเพิ่มที่หลัง) ช่วงเดินทาง 14-18 พ.ย.61
2.จองโรงแรมผ่าน Booking.com พักทั้งหมด 4 คืน คืนแรกพักโรงแรม Umaid Bhawan ส่วนอีกสามคืนที่เหลือพักโรงแรม Umaid Mahal สองโรงแรมนี้เป็นสาขากันและอยู่ไม่ไกลกัน แต่โรงแรม Umaid Bhawan ใหญ่กว่าและน่ารักกว่า ราคาห้องประมาณ 2 พันกว่าบาทต่อคืน
3.จองรถเช่าพร้อมคนขับตลอดทริป (4 วัน ) ค่ารถประมาณ 4,000 บาท โดยใช้บริการของบริษัท Ranthambore Tour Cab (Mr.Singh/สิงห์) รถสะอาด แอร์เย็น คนขับดูแลดี ติดต่อผ่านไลน์ ตอบไว เราส่งโปรแกรมไปให้ดูเค้าก็จะคิดราคามาให้ ติดต่อได้ที่
Email : ranthamboretourcab@gmail.com
Line : ranthambore
WhatsApp : +918426887669
Website : http://www.ranthamboretourcab.com
Facebook : https://www.facebook.com/RanthamboretourCab
4.ทำ Online VISA เข้าอินเดีย https://evisatoindia.org.in ไม่ต้องใช้เอกสารอะไรเลย ง่ายมากแต่ค่าวีซ่าแอบแพงสองพันบาทได้ ขอวันนี้พรุ่งนี้ได้เลย

หลังจากเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้วก็ไปกันเลยคะ



ป้อมอาเมร์ (Amer Fort) หรือ ป้อมแอมเบอร์ (Amber Fort)






















Panna Meena Ka Kund Stepwells บ่อน้ำโบราณแบบขั้นบันไดใจกลางเมือง ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับ Amber Fort นั่งรถราวๆ 5 นาที บ่อน้ำโบราณแห่งนี้เป็นหลักฐานที่แสดงถึงภูมิปัญญาของคนอินเดียโบราณ ในการทำบันไดแคบๆ เป็นแนวทะแยงซ้าย-ขวา จากปากบ่อลงไปด้านล่างของบ่อ






Sri Jagat Siromani ji Temple








Patrika Gate ประตูเมืองลำดับที่ 9 ของ Jaipur ตั้งอยู่บริเวณวงเวียน Jawahar ใกล้กับสนามบินนานาชาติ Jaipur ด้วยความที่เป็นประตูเมืองลำดับที่ 9 ซึ่งเป็นเลขศักดิ์สิทธิ์ การสร้างประตู้นี้จึงมีการระดมความคิดในการสร้างให้ตรงตามประเพณีโบราณของ Jaipur ทำให้ Patrika Gate มีโดม 9 โดม มีซุ้มประตู 7 ซุ้ม แต่ละซุ้มมีภาพวาดสีสันสวยงาม เล่าประวัติศาสตร์ของแคว้นราชสถาน




คุณสิงห์ คนขับรถของเรา



City Palace of Jaipur  พระราชวังแห่งนี้ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1797 สมัย Maharaja Sawai Jai Singh II (มหาราชา ไสวจัย ซิงห์ ที่ 2) จากนั้นก็ได้รับการดูแลรุ่นสู่รุ่นโดยมหาราชาองค์อื่นๆ ของ Jaipur นี่คือพระราชวังที่ออกแบบอย่างวิจิตรสวยงาม ด้วยสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างราชปุตกับโมกุล
























ฮาวา มาฮาล (Hawa Mahal, แปลว่า: "พระราชวังแห่งสายลม") สร้างในปีค.ศ. 1799 โดยมหาราชาสะหวาย ประธาป สิงห์ (Maharaja Sawai Pratap Singh) ออกแบบโดยลาล ชันด์ อุสถัด (Lal Chand Ustad) โดยถอดแบบมาจากรูปทรงของมงกุฏพระนารายณ์ โดยมีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ บริเวณด้านหน้าอาคารมีหน้าบันสูงห้าชั้นและมีลักษณะคล้ายรังผึ้ง ซึ่งประกอบด้วยหน้าต่างขนาดเล็กตกแต่งด้วยลวดลายฉลุเป็นช่องลมจำนวน 953 บาน โดยลายฉลุนั้นมีเพื่อนางในวังสามารถมองทะลุออกมาเห็นชีวิตภายนอกบนท้องถนนได้โดยไม่มีใครสังเกตเห็นจากด้านนอก เนื่องจากนางในเหล่านั้นต้องมีความเคร่งครัดในการคลุม "ปูร์ดาห์" (หรือ ผ้าคลุมหน้า) พระราชวังแห่งนี้สร้างโดยหินทรายสีชมพู และสีแดง ตั้งอยู่ใจกลางเมืองของชัยปุระ โดยเป็นส่วนหนึ่งของซิตี้พาเลส (City Palace) ซึ่งอยู่ในบริเวณติดกันกับเซนานา (Zenana) หรือฮาเร็ม โดยนิยมไปเยี่ยมชมในตอนเช้าพร้อมแสงอาทิตย์ตกกระทบบริเวณหน้าต่างเพื่อชมความงามของช่องลม



เดี๋ยวว่างแล้วกลับมารีวิวเพิ่มคะ


Albert hall museum พิพิธภัณฑ์กลางของเมืองชัยปุระ สร้างตามสถาปัตยกรรมของอังกฤษ ดูแปลกแยกจากรูปแบบอาคารบ้านเรือนของเมืองชัยปุระ ด้านในจัดแสดงวิถีชีวิตของชนกลุ่มน้อยในราชสถาน รวมถึงห้องสมุดและภาพวาดแบบย่อส่วนในสมัยของโมกุลให้ชมด้วย มีค่าเข้าชมแต่ไม่ได้เข้าไปเพราะอ่านรีวิวอื่นมาแล้วไม่ใช่แนว เลยขอถ่ายรูปแค่ด้านหน้ามีนกเยอะมากและมีอาหารนกขาย



Hanuman Ji Temple















Nahargarh Fort














ชื่อสินค้า:   ชัยปุระ Jaipur India
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่