เผยเหตุผลเบื้องหลัง ที่ต้องมีกระปุกถั่วตั้งอยู่บนโต๊ะทำงานในห้องปฏิบัติการนาซา ทุกครั้งที่มีภารกิจสำคัญ ทำให้สามารถพิชิตภารกิจได้สำเร็จจริงหรือ ?
ภาพจาก NASA Jet Propulsion Laboratory
สร้างความปลื้มปีติดีใจไปทั่วโลก ภายหลังจากองค์การนาซา ประสบความสำเร็จไปอีกขั้น สามารถพิชิตภารกิจนำยานอวกาศธรณีวิทยา อินไซต์ (InSight) ลงจอดบนลานจอดบนดาวอังคารได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14.54 น. (ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ) พร้อมทั้งส่งภาพถ่ายภาพแรกกลับมายังโลก ถือเป็นก้าวสำคัญอันจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในอนาคต
การดำเนินภารกิจครั้งนี้ถูกถ่ายทอดสดไปทั่วโลก โดยเผยให้เห็นเหตุการณ์ขณะผู้ควบคุมภารกิจในห้องปฏิบัติการ NASA Jet Propulsion Laboratory ขององค์การนาซา ต่างพากันนั่งลุ้นอย่างใจจดใจจ่อด้วยความตื่นเต้นระทึก ก่อนจะถึงวินาทีสำคัญ ที่ทุกคนพร้อมใจกันส่งเสียงเฮลั่น เมื่อภารกิจสำเร็จ ทั้งนี้ จะสังเกตเห็นว่าที่บริเวณข้าง ๆ โต๊ะจะมี กระปุกถั่วซึ่งมองเผิน ๆ อาจจะคิดว่าเป็นของกินเล่น แต่แท้จริงแล้วมีความหมายและความสำคัญซ่อนอยู่
ภาพจาก NASA Jet Propulsion Laboratory
ตามรายงานของเว็บไซต์นาซา เผยว่า ถั่วดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็น ถั่วนำโชค ปรากฏครั้งแรกมื่อปี 1964 (พ.ศ. 2507) ระหว่างภารกิจส่งยานอวกาศ Ranger 7 ไปสำรวจดวงจันทร์ โดยก่อนหน้านั้นทางปฏิบัติการ NASA Jet Propulsion Laboratory ประสบความล้มเหลวไปแล้วถึง 6 ครั้ง จึงมีความกดดันเป็นอย่างมาก และแล้วในที่สุด ยานอวกาศ Ranger 7 ก็ประสบความสำเร็จ สามารถลงจอดบนดวงจันทร์และถ่ายรูปพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลกได้สำเร็จ
ดิก วิลสัน วิศวกรผู้ออกแบบวิถีโคจรของยาน และหนึ่งในทีมผู้ควบคุมภารกิจ เผยว่า "ผมแค่นำมัน (กระปุกถั่วลิสง) ไปตั้งไว้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อคิดว่าอาจจะช่วยลดความเครียดได้ แต่ที่เหลือมันคือประวัติศาสตร์" หลังจากนั้นภารกิจ Ranger 8 และ Ranger 9 ก็ประสบความสำเร็จ ส่งภาพถ่ายพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลกได้ หลังจากนั้นมา ถั่วนำโชคก็กลายเป็นอีกหนึ่งของสำคัญ ในทุก ๆ ครั้งของห้องปฏิบัติการ NASA Jet Propulsion Laboratory
ภาพจาก Bill Ingalls / NASA
แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นความเชื่อส่วนบุคคล แต่ที่ผ่านมาได้มีเหตุการณ์มาสนับสนุนทฤษฎีถั่วนำโชคนี้ โดยมีบางครั้ง ที่ไม่ได้นำกระปุกถั่วลิสงเข้าไปในห้องปฏิบัติการ ผลที่ตามมาก็คือ ยานอวกาศหายไปภายหลังจากที่ถูกปล่อยตัว และบางครั้งในวันที่ไม่มีกระปุกถั่ว ก็มีเหตุความผิดพลาด การปล่อยยานอวกาศต้องเลื่อนออกไปนานกว่า 40 วัน นอกจากนี้ ในภารกิจการปล่อยยานอวกาศ Cassini ครั้งแรก มีผู้ลืมนำกระปุกถั่วเข้าห้องปฏิบัติการ ครั้งนั้นภารกิจล้มเหลว จนกระทั่งครั้งที่สองที่มีกระปุกถั่วพร้อม ภารกิจจึงสำเร็จ
เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เกิดเป็นความเชื่อว่า เป็นเพราะถั่วนำโชค ปัจจุบันจึงมักจะเห็นมีกระปุกถั่วลิสงตั้งอยู่ภายในห้องปฏิบัติการ NASA Jet Propulsion Laboratory ทุก ๆ ครั้ง ที่มีภารกิจสำคัญ มีทั้งความเครียดกดดันและความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ดี แน่นอนว่าภาพลักษณ์ขององค์กรที่เน้นความเป็นวิทยาศาสตร์ระดับโลกเช่นนี้ ความเชื่อเรื่องโชคลาง ย่อมทำให้รู้สึกย้อนแย้ง ทั้งนี้ทั้งนั้น ดิก วิลสัน กล่าวว่า มันไม่ใช่เรื่องลึกลับเหนือธรรมชาติ ในทางองค์กรที่เชื่อมั่นด้านตรรกะและเหตุผลเช่นนี้ หรือบางทีอาจจะเป็นแค่สิ่งที่ช่วยให้ทีมนักวิทยาศาตร์และวิศวกรเชื่อมั่นในภารกิจและผ่อนคลายความกดดัน อันทำให้ภารกิจสำเร็จในที่สุด
KAPOOK
เหตุผลเบื้องหลัง ทำไมต้องมีกระปุกถั่วตั้งบนโต๊ะทำงาน ในห้องปฏิบัติการนาซา
ภาพจาก NASA Jet Propulsion Laboratory
สร้างความปลื้มปีติดีใจไปทั่วโลก ภายหลังจากองค์การนาซา ประสบความสำเร็จไปอีกขั้น สามารถพิชิตภารกิจนำยานอวกาศธรณีวิทยา อินไซต์ (InSight) ลงจอดบนลานจอดบนดาวอังคารได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14.54 น. (ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ) พร้อมทั้งส่งภาพถ่ายภาพแรกกลับมายังโลก ถือเป็นก้าวสำคัญอันจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในอนาคต
การดำเนินภารกิจครั้งนี้ถูกถ่ายทอดสดไปทั่วโลก โดยเผยให้เห็นเหตุการณ์ขณะผู้ควบคุมภารกิจในห้องปฏิบัติการ NASA Jet Propulsion Laboratory ขององค์การนาซา ต่างพากันนั่งลุ้นอย่างใจจดใจจ่อด้วยความตื่นเต้นระทึก ก่อนจะถึงวินาทีสำคัญ ที่ทุกคนพร้อมใจกันส่งเสียงเฮลั่น เมื่อภารกิจสำเร็จ ทั้งนี้ จะสังเกตเห็นว่าที่บริเวณข้าง ๆ โต๊ะจะมี กระปุกถั่วซึ่งมองเผิน ๆ อาจจะคิดว่าเป็นของกินเล่น แต่แท้จริงแล้วมีความหมายและความสำคัญซ่อนอยู่
ภาพจาก NASA Jet Propulsion Laboratory
ตามรายงานของเว็บไซต์นาซา เผยว่า ถั่วดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็น ถั่วนำโชค ปรากฏครั้งแรกมื่อปี 1964 (พ.ศ. 2507) ระหว่างภารกิจส่งยานอวกาศ Ranger 7 ไปสำรวจดวงจันทร์ โดยก่อนหน้านั้นทางปฏิบัติการ NASA Jet Propulsion Laboratory ประสบความล้มเหลวไปแล้วถึง 6 ครั้ง จึงมีความกดดันเป็นอย่างมาก และแล้วในที่สุด ยานอวกาศ Ranger 7 ก็ประสบความสำเร็จ สามารถลงจอดบนดวงจันทร์และถ่ายรูปพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลกได้สำเร็จ
ดิก วิลสัน วิศวกรผู้ออกแบบวิถีโคจรของยาน และหนึ่งในทีมผู้ควบคุมภารกิจ เผยว่า "ผมแค่นำมัน (กระปุกถั่วลิสง) ไปตั้งไว้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อคิดว่าอาจจะช่วยลดความเครียดได้ แต่ที่เหลือมันคือประวัติศาสตร์" หลังจากนั้นภารกิจ Ranger 8 และ Ranger 9 ก็ประสบความสำเร็จ ส่งภาพถ่ายพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลกได้ หลังจากนั้นมา ถั่วนำโชคก็กลายเป็นอีกหนึ่งของสำคัญ ในทุก ๆ ครั้งของห้องปฏิบัติการ NASA Jet Propulsion Laboratory
ภาพจาก Bill Ingalls / NASA
แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นความเชื่อส่วนบุคคล แต่ที่ผ่านมาได้มีเหตุการณ์มาสนับสนุนทฤษฎีถั่วนำโชคนี้ โดยมีบางครั้ง ที่ไม่ได้นำกระปุกถั่วลิสงเข้าไปในห้องปฏิบัติการ ผลที่ตามมาก็คือ ยานอวกาศหายไปภายหลังจากที่ถูกปล่อยตัว และบางครั้งในวันที่ไม่มีกระปุกถั่ว ก็มีเหตุความผิดพลาด การปล่อยยานอวกาศต้องเลื่อนออกไปนานกว่า 40 วัน นอกจากนี้ ในภารกิจการปล่อยยานอวกาศ Cassini ครั้งแรก มีผู้ลืมนำกระปุกถั่วเข้าห้องปฏิบัติการ ครั้งนั้นภารกิจล้มเหลว จนกระทั่งครั้งที่สองที่มีกระปุกถั่วพร้อม ภารกิจจึงสำเร็จ
เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เกิดเป็นความเชื่อว่า เป็นเพราะถั่วนำโชค ปัจจุบันจึงมักจะเห็นมีกระปุกถั่วลิสงตั้งอยู่ภายในห้องปฏิบัติการ NASA Jet Propulsion Laboratory ทุก ๆ ครั้ง ที่มีภารกิจสำคัญ มีทั้งความเครียดกดดันและความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ดี แน่นอนว่าภาพลักษณ์ขององค์กรที่เน้นความเป็นวิทยาศาสตร์ระดับโลกเช่นนี้ ความเชื่อเรื่องโชคลาง ย่อมทำให้รู้สึกย้อนแย้ง ทั้งนี้ทั้งนั้น ดิก วิลสัน กล่าวว่า มันไม่ใช่เรื่องลึกลับเหนือธรรมชาติ ในทางองค์กรที่เชื่อมั่นด้านตรรกะและเหตุผลเช่นนี้ หรือบางทีอาจจะเป็นแค่สิ่งที่ช่วยให้ทีมนักวิทยาศาตร์และวิศวกรเชื่อมั่นในภารกิจและผ่อนคลายความกดดัน อันทำให้ภารกิจสำเร็จในที่สุด
KAPOOK