วันแรกของการเดินทาง 10 ตุลาคม 2561
นักศึกษาจากรายวิชา CGM100 การคิดเชิงสร้างสรรค์และวิจารณ์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เกมมัลติมีเดีย วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงาน เรียนรู้โลกกว้างภายนอกเป็นหมู่คณะด้วยตนเองนอกห้องเรียน ณ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กลุ่ม NoName และเพื่อนๆ ต่างก็ตื่นเต้นที่จะได้เดินทางไปด้วยกัน และได้ไปตามสถานที่ต่างๆ ที่มีการกำหนดไว้ในกำหนดการ ศึกษาและเรียนรู้จากสถานที่สำคัญๆ ได้แก่ 1.โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศึกษาโครงการตามแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชายแลนโดยหลักการ ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ 2.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี
(ขอบคุณรูปภาพจาก อาจารย์ วารุณี บุญคุ้ม)
วันที่สองของการเดินทาง 11 ตุลาคม 2561
ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงาน ไปตามสถานที่ต่างๆ ที่มีการกำหนดไว้ในกำหนดการ ศึกษาและเรียนรู้จากสถานที่สำคัญๆ ได้แก่ 1.พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
(ขอบคุณรูปภาพจาก อาจารย์ วารุณี บุญคุ้ม)
กิจกรรมศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสถานที่
วันที่ 10 ตุลาคม 2561 ณโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง "มูลนิธิชัยพัฒนา" โดย ทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนในลักษณะของการดำเนินงานพัฒนาต่างๆ ในกรณีที่ต้องถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณที่ระบบราชการไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จนเป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้อง หรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำโดยเร็ว การที่มูลนิธิชัยพัฒนาเข้ามาดำเนินการเช่นนี้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วฉับพลัน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใดๆ ทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นการช่วยให้กระบวนการพัฒนา เกิดความสมบูรณ์ขึ้น
(ขอบคุณรูปภาพจาก อาจารย์ วารุณี บุญคุ้ม)
ช่วงบ่ายของวันแรก ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี
ความเป็นมา
พระนครคีรีหรือ เขาวัง เดิมเป็นพระราชวังในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ที่ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขา 3 ยอดติดต่อกัน ยอดสูงที่สุดสูง 95 เมตร เดิมเรียกว่า “เขาสมน” (เขาสะหมน) ไหล่เขาทางด้านทิศตะวันออก มีวัดอยู่วัดหนึ่งชื่อ “วัดสมณ” สมณ พ.ศ. 2404 พระองค์ได้
พระราชทานนามว่าเขามหาสวรรค์ ต่อมาเปลี่ยนเป็น เขามไหสวรรย์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างพระราชวังบนเขามไหสวรรย์ ใน พ.ศ. 2402 โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นแม่กองในการก่อสร้าง และ พระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ( ท้วม บุนนาค ) เป็นนายงานก่อสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระราชทานนามว่า “ พระนครคีรี ” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดอากาศและภูมิทัศน์ที่มีความสวยงามของเมืองเพชรบุรีมาก พระองค์ได้เสด็จมาประทับที่พระนครคีรีหลายครั้งตลอดรัชกาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าให้ปรับปรุงพระนครคีรีเพื่อใช้สำหรับเป็นที่
รองพระราชอาคันตุกะจากเยอรมันนี
ภายหลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มิได้มีพระมหากษัตริย์เสด็จมาประทับที่พระนครคีรีอีก จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันมีพระราชดำริ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ กรมศิลปากรจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระนครคีรีเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ดำเนินการบูรณะอาคารหมู่พระที่นั่งต่างๆ และได้ประกาศจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2522 เป็นพิพิธภัณฑ์ประเภทอนุสรณ์สถาน โดยได้นำเครื่องราชูปโภคทั้งหมดที่ได้รับมอบกลับคืนมาจากสำนักพระราชวัง และกระทรวงมหาดไทย นำมาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ อนุรักษ์และนำออกจัดแสดงภายในพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ และพระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์
(ขอบคุณรูปภาพจาก อาจารย์ วารุณี บุญคุ้ม)
วันที่ 11 ตุลาคม 2561 ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดเป็นที่ประทับที่มีความเรียบง่ายที่สุดซึ่งสร้างตามพระราชประสงค์ของพระองค์เองเพื่อไม่ให้เป็นการเปลืองพระราชทรัพย์จนเกินไปโดยพระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์แห่งนี้ถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2467 เป็นเวลา 3 เดือน และครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นก็ไม่ได้เสด็จมาประทับอีกเลยเนื่องจาก 5 เดือนต่อมาพระองค์ก็เสด็จสวรรคต ณ พระบรมมหาราชวัง
(ขอบคุณรูปภาพจาก อาจารย์ วารุณี บุญคุ้ม)
โดยจากที่ได้กล่าวมานั้นสถานที่เหล่านี้ยังมีส่วนที่น่าสนใจอีกมากมาย และควรค่าแก่การเที่ยวชมอย่างแท้จริง
ทัศนศึกษา ณ เพชรบุรี
นักศึกษาจากรายวิชา CGM100 การคิดเชิงสร้างสรรค์และวิจารณ์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เกมมัลติมีเดีย วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงาน เรียนรู้โลกกว้างภายนอกเป็นหมู่คณะด้วยตนเองนอกห้องเรียน ณ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กลุ่ม NoName และเพื่อนๆ ต่างก็ตื่นเต้นที่จะได้เดินทางไปด้วยกัน และได้ไปตามสถานที่ต่างๆ ที่มีการกำหนดไว้ในกำหนดการ ศึกษาและเรียนรู้จากสถานที่สำคัญๆ ได้แก่ 1.โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศึกษาโครงการตามแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชายแลนโดยหลักการ ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ 2.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี
(ขอบคุณรูปภาพจาก อาจารย์ วารุณี บุญคุ้ม)
วันที่สองของการเดินทาง 11 ตุลาคม 2561
ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงาน ไปตามสถานที่ต่างๆ ที่มีการกำหนดไว้ในกำหนดการ ศึกษาและเรียนรู้จากสถานที่สำคัญๆ ได้แก่ 1.พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
(ขอบคุณรูปภาพจาก อาจารย์ วารุณี บุญคุ้ม)
กิจกรรมศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสถานที่
วันที่ 10 ตุลาคม 2561 ณโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง "มูลนิธิชัยพัฒนา" โดย ทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนในลักษณะของการดำเนินงานพัฒนาต่างๆ ในกรณีที่ต้องถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณที่ระบบราชการไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จนเป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้อง หรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำโดยเร็ว การที่มูลนิธิชัยพัฒนาเข้ามาดำเนินการเช่นนี้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วฉับพลัน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใดๆ ทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นการช่วยให้กระบวนการพัฒนา เกิดความสมบูรณ์ขึ้น
(ขอบคุณรูปภาพจาก อาจารย์ วารุณี บุญคุ้ม)
ช่วงบ่ายของวันแรก ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี
ความเป็นมา
พระนครคีรีหรือ เขาวัง เดิมเป็นพระราชวังในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ที่ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขา 3 ยอดติดต่อกัน ยอดสูงที่สุดสูง 95 เมตร เดิมเรียกว่า “เขาสมน” (เขาสะหมน) ไหล่เขาทางด้านทิศตะวันออก มีวัดอยู่วัดหนึ่งชื่อ “วัดสมณ” สมณ พ.ศ. 2404 พระองค์ได้
พระราชทานนามว่าเขามหาสวรรค์ ต่อมาเปลี่ยนเป็น เขามไหสวรรย์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างพระราชวังบนเขามไหสวรรย์ ใน พ.ศ. 2402 โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นแม่กองในการก่อสร้าง และ พระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ( ท้วม บุนนาค ) เป็นนายงานก่อสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระราชทานนามว่า “ พระนครคีรี ” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดอากาศและภูมิทัศน์ที่มีความสวยงามของเมืองเพชรบุรีมาก พระองค์ได้เสด็จมาประทับที่พระนครคีรีหลายครั้งตลอดรัชกาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าให้ปรับปรุงพระนครคีรีเพื่อใช้สำหรับเป็นที่
รองพระราชอาคันตุกะจากเยอรมันนี
ภายหลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มิได้มีพระมหากษัตริย์เสด็จมาประทับที่พระนครคีรีอีก จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันมีพระราชดำริ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ กรมศิลปากรจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระนครคีรีเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ดำเนินการบูรณะอาคารหมู่พระที่นั่งต่างๆ และได้ประกาศจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2522 เป็นพิพิธภัณฑ์ประเภทอนุสรณ์สถาน โดยได้นำเครื่องราชูปโภคทั้งหมดที่ได้รับมอบกลับคืนมาจากสำนักพระราชวัง และกระทรวงมหาดไทย นำมาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ อนุรักษ์และนำออกจัดแสดงภายในพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ และพระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์
(ขอบคุณรูปภาพจาก อาจารย์ วารุณี บุญคุ้ม)
วันที่ 11 ตุลาคม 2561 ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดเป็นที่ประทับที่มีความเรียบง่ายที่สุดซึ่งสร้างตามพระราชประสงค์ของพระองค์เองเพื่อไม่ให้เป็นการเปลืองพระราชทรัพย์จนเกินไปโดยพระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์แห่งนี้ถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2467 เป็นเวลา 3 เดือน และครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นก็ไม่ได้เสด็จมาประทับอีกเลยเนื่องจาก 5 เดือนต่อมาพระองค์ก็เสด็จสวรรคต ณ พระบรมมหาราชวัง
(ขอบคุณรูปภาพจาก อาจารย์ วารุณี บุญคุ้ม)
โดยจากที่ได้กล่าวมานั้นสถานที่เหล่านี้ยังมีส่วนที่น่าสนใจอีกมากมาย และควรค่าแก่การเที่ยวชมอย่างแท้จริง