สวัสดีครับ วันนี้พวกเรา กลุ่ม Sickduck จากมหาวิทยาลัยรังสิต จะมารีวิวสถานที่เที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจังหวัดนี้เป็นที่ที่มีสถานที่เที่ยวและนักท่องเที่ยวมากมาย โดยสถานที่ที่เราได้ไปในวันแรกนั้นก็คือ
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย
ก่อนอื่นเรามาดูประวัติของสถานที่นี้กันเลยครับ
โดยสถานที่แห่งนี้เกิดขึ้นได้โดยพระราชดำริที่กล่าวว่า
"ปัญหาสำคัญ คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ศึกษามาแล้วเหมือนกัน ทำไม่ยากนัก ในทางเทคโนโลยีทำได้ ในเมืองไทยเองก็ทำได้ หาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาแล้วในเมืองไทยเองก็ทำได้หรือจะจ้าง บริษัทต่างประเทศมาก็ทำได้ นี่แหละปัญหาเดียวกัน เดี๋ยวนี้กำลังคิดจะทำ แต่ติดอยู่ที่ที่จะทำ"
ส่วนวัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือ
1.เพื่อศึกษาวิจัยเทคโนโลยีการกำจัดขยะและการบำบัดน้ำเสียชุมชนและนำผลไปพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียพร้อมทั้งสร้างรูปแบบ
การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมักจากการกำจัดขยะและน้ำเสียที่บำบัดแล้วรวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการฯ
2.เพื่อศึกษาวิจัยทางด้านสังคม อันได้แก่ รูปแบบของสังคมการประชาสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมศึกษาของโครงการฯ และนำผลไปประยุกต์ใช้สร้างแบบ
จำลองทางสังคม การประชาสัมพันธ์ และสิ่งแวดล้อมศึกษา ในแยกขยะก่อนทิ้งและการบำบัดน้ำเสียขั้นต้น ก่อนระบายลงสู่ท่อระบายน้ำ
3.เพื่อสร้างคู่มือและสื่อเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ในการเผยแพร่เทคโนโลยีที่ได้จากการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์การกำจัดขยะและการบำบัดน้ำเสียชุมชน
และการจัดอบรม ประชุม สัมมนา ให้ความรู้แก่ประชาชนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ต่อจากนี้เรามารับชมภายในโครงการกันเลยครับ
เริ่มแรกในตอนที่เราถึง เราได้รับการอบรมถึงประวัติความเป็นมา รวมถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
และต่อมาเราได้นั่งรถเพื่อไปรับชมรอบๆโครงการ
นี่คือการบำบัดน้ำเสียโดยใช้พืช
ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์เลยทีเดียว ถือว่า เราได้รับความรู้ใหม่เป็นอย่างมาก
นี่คือสถานีกำจัดขยะในถังคอนกรีตให้กลายเป็นปุ๋ย
ซึ่งการกระทำทั้งหมดนั้นเกิดจากพืชล้วนๆ
นี่คือสถานีปลูกผักเบี้ยทะเล
และได้ไปเดินชมป่าชายเลน
และไปต่อกันที่ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี (เขาวัง)"
น่าเสียดายที่เราไม่สามารถถ่ายรูปภายในด้วย ทุกๆคนก็อย่าถ่ายรูป หรือแอบถ่ายภายในนะครับ
ประวัติความเป็นมาของพระนครคีรี
พระนครคีรีหรือ เขาวัง เดิมเป็นพระราชวังในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ที่ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขา 3 ยอดติดต่อกัน ยอดสูงที่สุดสูง 95 เมตร เดิมเรียกว่า “เขาสมน” (เขาสะหมน) ไหล่เขาทางด้านทิศตะวันออก มีวัดอยู่วัดหนึ่งชื่อ “วัดสมณ” สมณ พ.ศ. 2404 พระองค์ได้พระราชทานนามว่าเขามหาสวรรค์ ต่อมาเปลี่ยนเป็น เขามไหสวรรย์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างพระราชวังบนเขามไหสวรรย์ ใน พ.ศ. 2402 โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นแม่กองในการก่อสร้าง และ พระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ( ท้วม บุนนาค ) เป็นนายงานก่อสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระราชทานนามว่า “ พระนครคีรี ” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดอากาศและภูมิทัศน์ที่มีความสวยงามของเมืองเพชรบุรีมาก พระองค์ได้เสด็จมาประทับที่พระนครคีรีหลายครั้งตลอดรัชกาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าให้ปรับปรุงพระนครคีรีเพื่อใช้สำหรับเป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะจากเยอรมันนี
ภายหลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มิได้มีพระมหากษัตริย์เสด็จมาประทับที่พระนครคีรีอีก จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันมีพระราชดำริ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ กรมศิลปากรจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระนครคีรีเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ดำเนินการบูรณะอาคารหมู่พระที่นั่งต่างๆ และได้ประกาศจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2522 เป็นพิพิธภัณฑ์ประเภทอนุสรณ์สถาน โดยได้นำเครื่องราชูปโภคทั้งหมดที่ได้รับมอบกลับคืนมาจากสำนักพระราชวัง และกระทรวงมหาดไทย นำมาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ อนุรักษ์และนำออกจัดแสดงภายในพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ และพระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์
ในช่วงค่ำพวกเราได้ไปกินหมูกระทะกันที่ร้าน "เจ๊ใหญ่ หมูย่างเกาหลี"
หลังจากกินหมูย่างเกาหลีกันจนอิ่มท้องแล้วเราได้เข้าพักที่ค่ายพระราม 6
ซึ่งทางค่ายต้อนรับเราเป็นอย่างดี แถมที่พักนั้นติดทะเลด้วยและแน่นอนเราสามารถลงไปเล่นน้ำได้ตามสะดวก
เช้าวันใหม่พวกเราได้ไปท่องเที่ยวที่สุดท้ายนั่นก็คือ
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ประวัติของ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดเป็นที่ประทับที่มีความเรียบง่ายที่สุดซึ่งสร้างตามพระราชประสงค์ของพระองค์เองเพื่อไม่ให้เป็นการเปลืองพระราชทรัพย์จนเกินไปโดยพระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์แห่งนี้ถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2467 เป็นเวลา 3 เดือน และครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นก็ไม่ได้เสด็จมาประทับอีกเลยเนื่องจาก 5 เดือนต่อมาพระองค์ก็เสด็จสวรรคต ณ พระบรมมหาราชวัง
ปัจจุบัน พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ยังคงซึ่งไว้เขตพระราชฐาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นค่ายพระรามหก กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน(ตชด) เพื่อใช้ในการฝึกรบสนับสนุนทางอากาศ และในปี 2536 ตชด ได้จัดตั้ง มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
สถาปัตยกรรมของพระราชนิเวศน์เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์คือ(ไทยผสมยุโรป) สร้างด้วยไม้สักทองลักษณะเป็นอาคาร2ชั้นเปิดโล่งใต้ถุนสูงบริเวณใต้ถุนทำเป็นคอนกรีต หลังคาเป็นหลังคาทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องว่าวแบบสี่เหลี่ยมซึ่งสามารถกันแดดและกันฝน ได้ดีกว่าแบบธรรมดาเพดานยกพื้นสูงมีบานเกร็ดระบายความร้อน โดยมีเสารองรับพระที่นั่งทั้งหมด1080ต้นวางในแนวเดียวกันเสาทุกต้นมีการหล่อขอบฐาน และยกขอบขึ้นไปรางน้ำเรียกว่าบัวขอบเพื่อกันมดและสัตว์อื่นๆซึ่งในสมัยนั้นมีมดและสัตว์อื่นๆชุกชุม
สุดท้ายก่อนกลับเราได้แวะร้านขายของฝาก คือ "ร้านนันทวัน" นั่นเอง
โดยร้านนันทวันนั้นก็มีของฝากมากมายโดยส่วนใหญ่จะเป็นขนมและยังมีร้านอาหารให้เราแวะรับประทานอีกด้วย
ภาพภายในร้านนันทวัน
สรุปโดยรวม ที่พัก 3.5/5
ร้านเจ๊ใหญ่ หมู่ย่างเกาหลี 4.5/5
พระนครคีรี 4.5/5
โครงการแหลมผักเบี้ย 4.5/5
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน 5/5
ร้านนันทวัน 4/5
โดยข้อสรุปนี้เป็นเพียงแค่ความคิดเห็นส่วนตัวจากกลุ่ม Sickduck เพียงเท่านั้น ทางเราจึงอยากขอเชิญชวน เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ลุง ป้า น้า อา ทุกคนไปลองเที่ยวตามสถานที่ต่างๆกันนะครับ
✈รีวิว "โครงการศึกษาดูงาน สาขาวิชา CGM มหาวิทยาลัยรังสิต"
ก่อนอื่นเรามาดูประวัติของสถานที่นี้กันเลยครับ
โดยสถานที่แห่งนี้เกิดขึ้นได้โดยพระราชดำริที่กล่าวว่า
"ปัญหาสำคัญ คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ศึกษามาแล้วเหมือนกัน ทำไม่ยากนัก ในทางเทคโนโลยีทำได้ ในเมืองไทยเองก็ทำได้ หาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาแล้วในเมืองไทยเองก็ทำได้หรือจะจ้าง บริษัทต่างประเทศมาก็ทำได้ นี่แหละปัญหาเดียวกัน เดี๋ยวนี้กำลังคิดจะทำ แต่ติดอยู่ที่ที่จะทำ"
ส่วนวัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือ
1.เพื่อศึกษาวิจัยเทคโนโลยีการกำจัดขยะและการบำบัดน้ำเสียชุมชนและนำผลไปพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียพร้อมทั้งสร้างรูปแบบ
การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมักจากการกำจัดขยะและน้ำเสียที่บำบัดแล้วรวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการฯ
2.เพื่อศึกษาวิจัยทางด้านสังคม อันได้แก่ รูปแบบของสังคมการประชาสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมศึกษาของโครงการฯ และนำผลไปประยุกต์ใช้สร้างแบบ
จำลองทางสังคม การประชาสัมพันธ์ และสิ่งแวดล้อมศึกษา ในแยกขยะก่อนทิ้งและการบำบัดน้ำเสียขั้นต้น ก่อนระบายลงสู่ท่อระบายน้ำ
3.เพื่อสร้างคู่มือและสื่อเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ในการเผยแพร่เทคโนโลยีที่ได้จากการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์การกำจัดขยะและการบำบัดน้ำเสียชุมชน
และการจัดอบรม ประชุม สัมมนา ให้ความรู้แก่ประชาชนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ต่อจากนี้เรามารับชมภายในโครงการกันเลยครับ
เริ่มแรกในตอนที่เราถึง เราได้รับการอบรมถึงประวัติความเป็นมา รวมถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
และต่อมาเราได้นั่งรถเพื่อไปรับชมรอบๆโครงการ
นี่คือการบำบัดน้ำเสียโดยใช้พืช
ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์เลยทีเดียว ถือว่า เราได้รับความรู้ใหม่เป็นอย่างมาก
นี่คือสถานีกำจัดขยะในถังคอนกรีตให้กลายเป็นปุ๋ย
ซึ่งการกระทำทั้งหมดนั้นเกิดจากพืชล้วนๆ
นี่คือสถานีปลูกผักเบี้ยทะเล
และได้ไปเดินชมป่าชายเลน
และไปต่อกันที่ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี (เขาวัง)"
น่าเสียดายที่เราไม่สามารถถ่ายรูปภายในด้วย ทุกๆคนก็อย่าถ่ายรูป หรือแอบถ่ายภายในนะครับ
ประวัติความเป็นมาของพระนครคีรี
พระนครคีรีหรือ เขาวัง เดิมเป็นพระราชวังในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ที่ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขา 3 ยอดติดต่อกัน ยอดสูงที่สุดสูง 95 เมตร เดิมเรียกว่า “เขาสมน” (เขาสะหมน) ไหล่เขาทางด้านทิศตะวันออก มีวัดอยู่วัดหนึ่งชื่อ “วัดสมณ” สมณ พ.ศ. 2404 พระองค์ได้พระราชทานนามว่าเขามหาสวรรค์ ต่อมาเปลี่ยนเป็น เขามไหสวรรย์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างพระราชวังบนเขามไหสวรรย์ ใน พ.ศ. 2402 โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นแม่กองในการก่อสร้าง และ พระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ( ท้วม บุนนาค ) เป็นนายงานก่อสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระราชทานนามว่า “ พระนครคีรี ” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดอากาศและภูมิทัศน์ที่มีความสวยงามของเมืองเพชรบุรีมาก พระองค์ได้เสด็จมาประทับที่พระนครคีรีหลายครั้งตลอดรัชกาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าให้ปรับปรุงพระนครคีรีเพื่อใช้สำหรับเป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะจากเยอรมันนี
ภายหลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มิได้มีพระมหากษัตริย์เสด็จมาประทับที่พระนครคีรีอีก จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันมีพระราชดำริ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ กรมศิลปากรจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระนครคีรีเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ดำเนินการบูรณะอาคารหมู่พระที่นั่งต่างๆ และได้ประกาศจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2522 เป็นพิพิธภัณฑ์ประเภทอนุสรณ์สถาน โดยได้นำเครื่องราชูปโภคทั้งหมดที่ได้รับมอบกลับคืนมาจากสำนักพระราชวัง และกระทรวงมหาดไทย นำมาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ อนุรักษ์และนำออกจัดแสดงภายในพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ และพระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์
ในช่วงค่ำพวกเราได้ไปกินหมูกระทะกันที่ร้าน "เจ๊ใหญ่ หมูย่างเกาหลี"
หลังจากกินหมูย่างเกาหลีกันจนอิ่มท้องแล้วเราได้เข้าพักที่ค่ายพระราม 6
ซึ่งทางค่ายต้อนรับเราเป็นอย่างดี แถมที่พักนั้นติดทะเลด้วยและแน่นอนเราสามารถลงไปเล่นน้ำได้ตามสะดวก
เช้าวันใหม่พวกเราได้ไปท่องเที่ยวที่สุดท้ายนั่นก็คือ
ประวัติของ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดเป็นที่ประทับที่มีความเรียบง่ายที่สุดซึ่งสร้างตามพระราชประสงค์ของพระองค์เองเพื่อไม่ให้เป็นการเปลืองพระราชทรัพย์จนเกินไปโดยพระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์แห่งนี้ถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2467 เป็นเวลา 3 เดือน และครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นก็ไม่ได้เสด็จมาประทับอีกเลยเนื่องจาก 5 เดือนต่อมาพระองค์ก็เสด็จสวรรคต ณ พระบรมมหาราชวัง
ปัจจุบัน พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ยังคงซึ่งไว้เขตพระราชฐาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นค่ายพระรามหก กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน(ตชด) เพื่อใช้ในการฝึกรบสนับสนุนทางอากาศ และในปี 2536 ตชด ได้จัดตั้ง มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
สถาปัตยกรรมของพระราชนิเวศน์เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์คือ(ไทยผสมยุโรป) สร้างด้วยไม้สักทองลักษณะเป็นอาคาร2ชั้นเปิดโล่งใต้ถุนสูงบริเวณใต้ถุนทำเป็นคอนกรีต หลังคาเป็นหลังคาทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องว่าวแบบสี่เหลี่ยมซึ่งสามารถกันแดดและกันฝน ได้ดีกว่าแบบธรรมดาเพดานยกพื้นสูงมีบานเกร็ดระบายความร้อน โดยมีเสารองรับพระที่นั่งทั้งหมด1080ต้นวางในแนวเดียวกันเสาทุกต้นมีการหล่อขอบฐาน และยกขอบขึ้นไปรางน้ำเรียกว่าบัวขอบเพื่อกันมดและสัตว์อื่นๆซึ่งในสมัยนั้นมีมดและสัตว์อื่นๆชุกชุม
สุดท้ายก่อนกลับเราได้แวะร้านขายของฝาก คือ "ร้านนันทวัน" นั่นเอง
โดยร้านนันทวันนั้นก็มีของฝากมากมายโดยส่วนใหญ่จะเป็นขนมและยังมีร้านอาหารให้เราแวะรับประทานอีกด้วย
ภาพภายในร้านนันทวัน
สรุปโดยรวม ที่พัก 3.5/5
ร้านเจ๊ใหญ่ หมู่ย่างเกาหลี 4.5/5
พระนครคีรี 4.5/5
โครงการแหลมผักเบี้ย 4.5/5
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน 5/5
ร้านนันทวัน 4/5
โดยข้อสรุปนี้เป็นเพียงแค่ความคิดเห็นส่วนตัวจากกลุ่ม Sickduck เพียงเท่านั้น ทางเราจึงอยากขอเชิญชวน เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ลุง ป้า น้า อา ทุกคนไปลองเที่ยวตามสถานที่ต่างๆกันนะครับ