ราชทินนามจากชื่อเมือง
เมืองจัน (เมืองจันทน์) มาจากชื่อเมืองนครเวียงจันทน์
เมืองแสน มาจากชื่อเมืองแสน ในกลุ่มเมืองหัวพันห้าทั้งหก แขวงหัวพัน
เมืองซ้าย มาจากชื่อเมืองซ้าย หรือเมืองด่านซ้าย จังหวัดเลย
เมืองขวา มาจากชื่อเมืองขวา
เมืองฮาม มาจากชื่อเมืองรามราช หรือเมืองลามมะลาด
เมืองปาก มาจากชื่อเมืองปากห้วยหลวง ริมปากน้ำห้วยหลวง จังหวัดหนองคาย
เมืองปาว มาจากชื่อเมืองภูวานปาว เมืองแฝดกับเมืองภูวานเถ้า เรียกรวมกันว่า ภูวานเถ้าภูวานปาว
เมืองคุก มาจากชื่อเมืองเวียงคุก หรือเมืองห้วยคุก ริมปากน้ำห้วยคุก จังหวัดหนองคาย
เมืองแพน มาจากชื่อเมืองแพน
เมืองซอง มาจากชื่อเมืองซอง
เมืองสูง มาจากชื่อเมืองซุง เมืองแฝดกับเมืองโสก รวมเรียกว่าเมืองโสกเมืองซุง แขวงอัตตะปือ
เวียงแก (เมืองแก) มาจากชื่อเมืองเวียงแก
เวียงคำ มาจากชื่อเมืองเวียงคุคำ หรือเวียงคุกคำ เดิมเรียกว่าเมืองไผ่หนาม เมืองฝาแฝดของเมืองนครเวียงจันทน์ จังหวัดหนองคาย
เชียงสา (พลเชียงสา) มาจากชื่อเมืองเวียงเชียงสา เรียกรวมกันกับเมืองเวียงคำว่า เมืองพระน้ำรุ่งเชียงสา
น้ำฮุ่ง (นามฮุงศรี) มาจากชื่อเมืองพระน้ำรุ่ง เรียกรวมกันกับเมืองเชียงสาว่า เมืองพระน้ำรุ่งเชียงสา
พระชุม (พะชุม) มาจากชื่อเมืองประชุมพนาลัย หรือเมืองประชุม
หัวหน้าชุมชน
นายกอง ทำหน้าที่ผู้ปกครองเมืองพิเศษ หรือปกครองหมู่บ้านขนาดใหญ่พิเศษ ตลอดจนปกครองชุมชนพิเศษต่าง ๆ มีอำนาจคล้ายเจ้าเมือง อำนาจนั้นมาจากการแต่งตั้งของเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์ เพียงแต่ไม่มีคณะอาญาสี่คอยช่วยเหลือราชการ
ปลัดกอง ทำหน้าที่เป็นรองนายกอง มีอำนาจคอยช่วยราชกาลกองต่างๆ แก่นายกองในยามหาตัวนายกองไม่ได้ และมีกองขึ้นของตนเอง
พ่อเมือง ทำหน้าที่เสมอหนึ่งเจ้าเมืองปกครองเมืองขนาดเล็กมาก แต่ไม่เรียกว่าเจ้าเมือง เนื่องจากมิได้มีเชื้อสายเป็นเจ้าหรือเป็นท้าวมาก่อน ถูกแต่งตั้งจากสามัญชน ถือศักดินา ๖๐๐ ไร่ สูงกว่ากำนันบรรดาศักดิ์ปกครองตำบลซึ่งถือศักดินา ๔๐๐ ไร่
ท้าวฝ่าย (ท้าวฝ้าย) ทำหน้าที่กำกับดูแลไพร่พลของหลาย ๆ แขวง (ตำบล) รวมกัน ซึ่งอาจคล้ายนายอำเภอในปัจจุบัน
ตาแสง (นายแขวง) ทำหน้าที่ดูแลไพร่พลในหมู่บ้านต่าง ๆ รวมกัน เทียบได้กับกำนันในปัจจุบัน
กวนเมือง (กวานเมือง) ทำหน้าที่เจ้าเมืองที่ปกครองเมืองขนาดเล็ก หรือปกครองในเขตเวียงต่าง ๆ ซึ่งขึ้นกับเมืองใหญ่อีกทอดหนึ่ง
กวนบ้าน (กวานบ้าน) ทำหน้าที่นายบ้านดูแลไพร่พลในหมู่บ้าน เทียบได้กับผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน
จ่าบ้าน เทียบได้กับ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หรือสารวัตรกำนัน
แก่บ้าน (แก่เมือง) คือผู้ใหญ่ของหมู่บ้านหรือตำบลที่มีอำนาจว่ากล่าวพิจารณาความผิดตัดสินโทษในยามหาตัวผู้ปกครองไม่ได้ บางครั้งผู้คนอาจฟังแก่บ้านแก่เมืองมากกว่าผู้ปกครอง
เจ้าโคตร (เจ้าเหง้า) คือผู้ใหญ่ของวงศ์ตระกูลหรือสายตระกูลที่มีอาวุโสสูงสุด มีอำนาจพิจารณาตัดสินโทษในยามหาตัวผู้ปกครองไม่ได้ บางครั้งผู้คนอาจฟังเจ้าโคตรมากกว่าผู้ปกครอง
หลักการปกครอง
ตามธรรมเนียอีสานล้านช้างโบราณ ผู้เป็นนักปกครอง เจ้านายราชวงศ์ หรือเจ้าบ้านผ่านเมืองและคณะอาญาสี่พร้อมทั้งกรมการเมือง จะต้องปฏิบัติตามครรลองครองธรรม ๑๔ ประการ เพื่อความเป็นปกติสุขของอาณาประชาราษฎร ในทำนองเดียวกับหลักทศพิธราชธรรม ๑๐ หรือหลักจักรวรรดิวัตร ๑๒ ของไทยสยาม ครรลองล้านช้างนี้เรียกว่า คองสิบสี่ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่คู่กันกับหลัก ฮีตสิบสอง รวมเรียกว่า ฮีตสิบสองคองสิบสี่ คำว่า คอง แปลว่า แนวทาง หรือ ครรลอง ซึ่งหมายถึง ธรรมเนียมประเพณี หรือแนวทาง และ สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติสิบสี่ข้อ ดังนั้นคองสิบสี่จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับ นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง พระสงฆ์ และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติสิบสี่ข้อ อาจสรุปได้หลายความเห็นว่าเป็นหลักปฏิบัติกล่าวถึงครอบครัวในสังคม ตลอดจนผู้ปกครองบ้านเมือง เป็นหลักปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง และหลักปฏิบัติของประชาชนต่อพระมหากษัตริย์ เป็นหลักปฏิบัติที่พระราชายึดถือปฏิบัติ เน้นให้ประชาชนปฏิบัติตามจารีตประเพณี และคนในครอบครัวที่ปฏิบัติต่อกัน และเป็นหลักปฏิบัติในการปกครองบ้านเมืองให้อยู่เป็นสุขตามจารีตประเพณี หลักแต่ละข้อนี้มีคำว่า ฮีต นำหน้าด้วย (อาจทำให้เกิดความสับสนกับฮีตสิบสอง) แต่ละคองจะมีสิบสี่ฮีต สี่ฮีตแรกจะเป็นฮีตที่เกี่ยวกับเจ้านายราชวงศ์ในระบบอาญาสี่ และเจ้านายกรมการท้าวเพีย คือ
ฮีตเจ้าคองขุน
ฮีตท้าวคองเพีย
ฮีตไพร่คองนาย
ฮีตบ้านคองเมือง
ฮีตสิบสอง
ข้อหนึ่ง เป็นท้าวพระยา จัดตั้งแต่งซื่อซามนามกร เสนาอามาตย์ ราชมุนตรี พิจารณาสืบหาผู้ซื่อผู้คด ผู้ฮ้ายผู้ดี ผู้ช่างแถลงแปงลิ้น มักสับส่อถ้อยคำอันหนักอันเบา อันน้อยอันใหญ่ ให้ไว้ในใจนั้นก่อ สมที่จะฟังจิ่งฟัง บ่สมที่จะฟังอย่าฟัง สมตั้งใจซื่อ ให้เพียงใดจิ่งตั้งใจเพียงนั้น ให้แต่งตั้งผู้ซื่อสัตย์สุจริตให้หมั่นเที่ยง ผู้ฮู้จักราชการบ้านเมืองแต่ก่อนมา บ่มข่มเห็งไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ให้หายใจเข้าออกได้จิ่งตั้งให้เป็นเสนาอามาตย์
ข้อสอง เป็นท้าวพระยา ให้เสนามุนตรีเป็นสามัคคีพร้อมเพียงกัน ให้หมั่นประชุมกันอย่าให้ขาด อันใดอันหนึ่งจักให้อาณัติข้าเสิกเกรงขาม และให้เขาอยู่ในเงื้อมมือเจ้าตนด้วยยุทธกรรมปัญญา ให้บ้านเมืองก้านกุ่งฮุ่งเฮืองเป็นที่กว้างขวาง ให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอยู่เย็นเป็นสุข อย่ากดขี่ข่มเห็ง เทอญ
ข้อสาม เป็นท้าวพระยา เถิงวันขึ้นสังขารปีใหม่ ถ่ายสังวาสมาสเกณฑ์ ให้เชิญพระแก้ว พระบาง พระพุทธฮูป สรงน้ำอบ น้ำหอม ไว้ในสระพัง สักการะด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ฟังธรรมจำศีล คบงัน ๗ วัน ทุก ๆ วัดให้เป็นการซื่นซมยินดีแก่พระศาสนา ตบพระเจดีย์ทราย บูชาเทวดาทั้งหลายทางน้ำทางบก บ้านเมืองจิ่งวุฒิซุ่มเย็น น้ำฟ้าสายฝนเข้าไฮ่เข้านาบริบูรณ์
ข้อสี่ เป็นทางพระยา วันสังขารขึ้น ให้นิมนต์พระภิกขุแห่น้ำฝ่ายใต้เมือฝ่ายเหนือ วันสังขารพักให้ฝ่ายเหนือมาวัดฝ่ายใต้ เพื่อบูชาเทวดาหลวงไปยามหัวเมืองท้ายเมือง ของทุก ๆ ฤดูปี บ้านเมืองจิ่งวุฒิจำเริญ ให้ราษฎรอาบน้ำอบน้ำหอม หดสรงพระภิกษุสงฆ์บ้านเมืองจิ่งอยู่เย็นเป็นสุข ให้ราษฎรแต่งหม้ออุบังเพื่อกั้งบังโพยภัยอันตรายแก่ราษฎรทั่วไป เทอญ
ข้อห้า เป็นท้าวพระยา วันสังขารปีใหม่ ให้เสนาอามาตย์ราชมุนตรี พญาเพีย ท้าวขุน หัวบ้านหัวเมือง ตำหรวดอาสา มหาดเล็กสีพายใต้แจก มีเทียนคู่ขึ้นทูนเกล้าทูนกระหม่อมถวายราชบาส เพียกะซักมุงคุลถวายพานหมากหมั้นหมากยืน ปุโรหิตถวายพรให้มีอายุ วัณโณ สุขัง พะลัง แก่องค์พระเจ้ามหาชีวิต แล้วเอาน้ำมหาพุทธาภิเศกอันพระรัสสิไปสถาปนาไว้ถ้ำนกแอ่นถ้ำนางอั่น อันชื่อว่าน้ำเที่ยงนั้น แห่มาสรงพระพุทธฮูปวัดหลวงในเมืองทุกวัด ในถ้ำติ่งทวารทวารา ที่ปากน้ำอูประตูเมืองฝ่ายเหนือ แล้วจิ่งนิมนต์พระภิกษุสงฆ์นำบาลีพระพุทธฮูปในพระราชวังตามธรรมเนียม จิ่งเป็นอันโครพย่ำแยงแด่พระสงฆ์เจ้า ถืกต้องตามพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้หั้นแล
ข้อหก เป็นท้าวพระยา ในวันสังขาร เป็นวันเสี้ยงฤดูเก่าปีใหม่จักมาเถิง ให้เจ้านาย เสนา ข้าราชการ มุนตรีผู้มีนามยศ และเพียหัวหลิ่งหัวพัน หัวบ้านหัวเมือง สิบเอ็ดฮ้อยน้อยใหญ่ ซึ่งเป็นข้าน้อยขันฑสีมาตำบล เข้ามาถือน้ำพิพัฒน์สัตยานุศัตย์ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า พระสังฆเจ้า ให้เป็นการซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน ป้องกันก่อให้ขบถคึดฮ้ายต่อแผ่นดิน
ข้อเจ็ด ท้าวพระยา คันเถิงฤดูเดือนเจ็ด ให้เลี้ยงเทพยดาอาฮักษ์ มเหศักดิ์ หลักเมือง ตาเมือง เสื้อเมือง ทรงเมือง ตามคองสิบสี่ แล้วให้เชิญเทพดาอาฮัก มเหศักดิ์ ให้เข้ามาซำฮะบ้านเมือง ป้องกันอันตราย ตามบูฮานราชประเพณีสั่งไว้ว่า เมืองชั่วบ่มีธรรมเป็นเครื่องคุ้มครอง ได้เอาไสยศาสตร์คือผีเมืองคุ้มครอง จิ่งมีฤทธิ์อันนี้สืบต่อมา เพื่อบ่ให้เกิดอันตรายโพยภัยด้วยผีสางคางแดง
ข้อแปด เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนแปด ให้สูตรซำฮะบ้านเมือง สืบซะตาเมือง บูชาเทวดาอาฮักษ์ทั้งแปดทิศ บูชาพระรัสสีทั้งแปด สองพี่น้อง พระยานาค ๑๕ ตระกูล สูตรเถิงสามวันเจ็ดวัน แล้วให้ราษฎรฮอบเมืองยิงปืน หว่านหินแห่และทรายเพื่อให้หายพยาธิโรคาโพยภัยอันตราย ให้อยู่เย็นเป็นสุขแก่บ้านเมืองทุกประการ
ข้อเก้า เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนเก้า จำเริญ (ดับ) ให้ป่าวเตินราษฎรบ้านเมืองท่าน ห่อเข้าประดับดินไปหาปู่ย่าตายาย ลูกเต้าหลานเหลนอันเถิงแก่อนิจกรรมไปสู่ปรโลกทั่วทุกแห่งแล้ว ให้เจ้านายเสนาข้าราชการทั่วบ้านเมืองสิบฮ้อยน้อยใหญ่ ลงมือถือน้ำพระพิพัฒนิสัตยานุศัตย์อีกเทื่อหนึ่ง แล้วซ่วงเฮือฉลองอุสุภนาคราชปากดงและปากคาน กับพระยานาคสิบห้าตระกูลอันฮักษาบ้านเมือง จิ่งจะอยู่เย็นเป็นสุขเข้าก้าไฮ่นาบริบูรณ์
ข้อสิบ เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนสิบเพ็งให้ป่าวราษฎรให้ทานสลากภัตร หยาดน้ำอุทิศไปหาเทพดาอาฮักษ์เมืองอันฮักษาพระพุทธศาสนา กับทั้งพ่อแม่เผ่าพงษ์วงศาแห่งตนเทอญ
ข้อสิบเอ็ด เป็นท้าวพระยา เถิงฤดูเดือนสิบเอ็ดเพ็ง ให้ฉลองพุทธาภิเศกพระธาตุจอมศรีทุก ๆ ปีอย่าขาด ด้วยเป็นศรีบ้านศรีเมือง แล้วให้ไปไหว้พระภิกษุสังฆะเจ้ามาขอดสิม (ผูกพัทธสีมา) ในสนามแล้ว ให้สังฆเจ้าปวารณาในที่นั้น คันแล้วกิจสงฆ์ให้สูตรถอนสิมนั้นเสียบ้านเมืองจิ่งวุฒิจำเริญ เสนาอามาตย์จิ่งจักเป็นสามัคคีพร้อมเพียงกันจัดราชการบ้านเมือง จิ่งบ่ขัดข้องแก่กันและกัน คันเถิงแฮมค่ำหนึ่งให้ป่าวเตินราษฎรไหลเฮือไฟ บูชาพระยานาคสิบห้าตระกูล บ้านเมืองจิ่งจักอยู่สุขเกษมเติมครองแล
ข้อสิบสอง เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนสิบสองขึ้นหนึ่งค่ำ ให้เตินหัวบ้านหัวเมือง สิบฮ้อยน้อยใหญ่ในขอบขันฑะสีมา เข้ามาโฮมพระนครหลวงพระบาง เป็นต้นว่า ข้าลาวชาวดงดอย เพื่อแห่พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตไปลงพ่วง (ด่วง) ส่วงเฮือ และนมัสการพระธาตุศรีธรรมาโสกราช คือเดือนสิบสองขึ้นสามค่ำถือน้ำ ขึ้นสี่ค่ำสิบสามค่ำซ่วงเฮือ ฉลองอุสุภนาคราช วัดหลวงให้เพียวัด มีเฮือวันละลำ อัครมหาเสนาบดีตั้งแต่เมืองแสนเมืองจันทน์ลงไปเถิงศรีสะคุต เมืองแกนาใต้นาเหนือให้ตั้งเป็นผามทุกตำแหน่ง เป็นเทศกาลบุญส่วงเฮือฉลองพระยานาค ๑๕ ตระกูลและพระเสื้อเมือง ทรงเมือง อาฮักษ์เมือง และมีเครื่องกิยาบูชา เป็นต้นว่าโภชนะอาหาร ดอกไม้ ธูป เทียน สวายไปหาเทพยดา ทั้งทางน้ำและทางบก จิ่งจักอวยพรแก่บ้านเมืองอยู่เย็นเป็สุข และเดือนสิบสองเพ็ง เสนาอามาตย์และเจ้าราชคณะสงฆ์ราษฎร พร้อมกันแห่พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตและเจ้าย่ำขม่อมทั้งห้าพระองค์ไปนมัสการพระธาตุศรีธรรมาโศกราช พร้อมทั้งเครื่องบูชามีต้นเทียนและดอกไม้ บั้งไฟดอก ไฟหาง กะทุน ว่าย กองปิด กองยาว ฮูปหุ่นละคอน ลิงโขนและเครื่องเล่นมหรสพต่าง ๆ ไปเล่น อยู่ที่เดิ่นหน้าพระลานพระธาตุถ้วนสามวันสามคืนแล้วจิ่งเสด็จคืนมาเทอญ เพื่อให้เป็นที่ชื่นชมยินดีซึ่งกันและกัน ข้าลาวชาวดอยทั้งหลายก็จักได้เห็นกันและกัน และจักได้เว้าลมกัน เป็นมิตรสหายแก่กันและกัน จิ่งจักเป็นเกียรติยศฤชาปรากฏแก่หัวบ้านเมืองน้อยใหญ่ อันอยู่ใกล้เคียงนั้นซะแล
ข้อสิบสาม เป็นท้าวพระยา ให้แต่งแปงทาวทุกอย่าง เป็นต้นว่าถวายผ้ากะฐินและบวช พระหดเจ้า ตั้งมะไลไขมหาชาติ ฮักษาศีลห้าศีลแปดเป็นนิจกาลทุกวันอุโบสถ และมีหัวใจอันเต็มไปด้วยพรหมวิหารทั้ง ๔ ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เสนาอามาตย์ราษฎรข้าน้อยใหญ่ในขอบเขตขัณฑะสีมา อย่ามีใจอันกระด้างกระเดื่องเคืองไปด้วยพาล เป็นต้นว่า ไปหลิ้นป่าล่าเนื้อ จุ่งเลี้ยงนักปราชญ์ผู้อาจให้แก้วยังกิจการเอาไว้ และให้มีเสนาอามาตย์ผู้ฉลาดกล้าหาญกับทั้งสมณะชีพราหมณ์ ผู้ดีมีศีลบริสุทธิ์และความฮู้สั่งสอนทายก อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายเทอญ และให้ประกอบด้วยทศพิธราชธรรมสิบประการ บ้านเมืองจิ่งจะวุฒิจำเริญ แล
ข้อสิบสี่ เป็นท้าวพระยาให้มีสมบัติ อันประเสริฐ ๑๔ ประการ คือ หูเมือง ตาเมือง แก่น เมือง ประตูเมือง ฮากเมือง เหง้าเมือง ขื่อเมือง ฝาเมือง แปเมือง เขตเมือง สติเมือง ใจเมือง ค่าเมือง และเมฆเมือง
อาญาสี่ในเรื่องซิ่นลายหงส์ (4)
เมืองจัน (เมืองจันทน์) มาจากชื่อเมืองนครเวียงจันทน์
เมืองแสน มาจากชื่อเมืองแสน ในกลุ่มเมืองหัวพันห้าทั้งหก แขวงหัวพัน
เมืองซ้าย มาจากชื่อเมืองซ้าย หรือเมืองด่านซ้าย จังหวัดเลย
เมืองขวา มาจากชื่อเมืองขวา
เมืองฮาม มาจากชื่อเมืองรามราช หรือเมืองลามมะลาด
เมืองปาก มาจากชื่อเมืองปากห้วยหลวง ริมปากน้ำห้วยหลวง จังหวัดหนองคาย
เมืองปาว มาจากชื่อเมืองภูวานปาว เมืองแฝดกับเมืองภูวานเถ้า เรียกรวมกันว่า ภูวานเถ้าภูวานปาว
เมืองคุก มาจากชื่อเมืองเวียงคุก หรือเมืองห้วยคุก ริมปากน้ำห้วยคุก จังหวัดหนองคาย
เมืองแพน มาจากชื่อเมืองแพน
เมืองซอง มาจากชื่อเมืองซอง
เมืองสูง มาจากชื่อเมืองซุง เมืองแฝดกับเมืองโสก รวมเรียกว่าเมืองโสกเมืองซุง แขวงอัตตะปือ
เวียงแก (เมืองแก) มาจากชื่อเมืองเวียงแก
เวียงคำ มาจากชื่อเมืองเวียงคุคำ หรือเวียงคุกคำ เดิมเรียกว่าเมืองไผ่หนาม เมืองฝาแฝดของเมืองนครเวียงจันทน์ จังหวัดหนองคาย
เชียงสา (พลเชียงสา) มาจากชื่อเมืองเวียงเชียงสา เรียกรวมกันกับเมืองเวียงคำว่า เมืองพระน้ำรุ่งเชียงสา
น้ำฮุ่ง (นามฮุงศรี) มาจากชื่อเมืองพระน้ำรุ่ง เรียกรวมกันกับเมืองเชียงสาว่า เมืองพระน้ำรุ่งเชียงสา
พระชุม (พะชุม) มาจากชื่อเมืองประชุมพนาลัย หรือเมืองประชุม
หัวหน้าชุมชน
นายกอง ทำหน้าที่ผู้ปกครองเมืองพิเศษ หรือปกครองหมู่บ้านขนาดใหญ่พิเศษ ตลอดจนปกครองชุมชนพิเศษต่าง ๆ มีอำนาจคล้ายเจ้าเมือง อำนาจนั้นมาจากการแต่งตั้งของเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์ เพียงแต่ไม่มีคณะอาญาสี่คอยช่วยเหลือราชการ
ปลัดกอง ทำหน้าที่เป็นรองนายกอง มีอำนาจคอยช่วยราชกาลกองต่างๆ แก่นายกองในยามหาตัวนายกองไม่ได้ และมีกองขึ้นของตนเอง
พ่อเมือง ทำหน้าที่เสมอหนึ่งเจ้าเมืองปกครองเมืองขนาดเล็กมาก แต่ไม่เรียกว่าเจ้าเมือง เนื่องจากมิได้มีเชื้อสายเป็นเจ้าหรือเป็นท้าวมาก่อน ถูกแต่งตั้งจากสามัญชน ถือศักดินา ๖๐๐ ไร่ สูงกว่ากำนันบรรดาศักดิ์ปกครองตำบลซึ่งถือศักดินา ๔๐๐ ไร่
ท้าวฝ่าย (ท้าวฝ้าย) ทำหน้าที่กำกับดูแลไพร่พลของหลาย ๆ แขวง (ตำบล) รวมกัน ซึ่งอาจคล้ายนายอำเภอในปัจจุบัน
ตาแสง (นายแขวง) ทำหน้าที่ดูแลไพร่พลในหมู่บ้านต่าง ๆ รวมกัน เทียบได้กับกำนันในปัจจุบัน
กวนเมือง (กวานเมือง) ทำหน้าที่เจ้าเมืองที่ปกครองเมืองขนาดเล็ก หรือปกครองในเขตเวียงต่าง ๆ ซึ่งขึ้นกับเมืองใหญ่อีกทอดหนึ่ง
กวนบ้าน (กวานบ้าน) ทำหน้าที่นายบ้านดูแลไพร่พลในหมู่บ้าน เทียบได้กับผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน
จ่าบ้าน เทียบได้กับ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หรือสารวัตรกำนัน
แก่บ้าน (แก่เมือง) คือผู้ใหญ่ของหมู่บ้านหรือตำบลที่มีอำนาจว่ากล่าวพิจารณาความผิดตัดสินโทษในยามหาตัวผู้ปกครองไม่ได้ บางครั้งผู้คนอาจฟังแก่บ้านแก่เมืองมากกว่าผู้ปกครอง
เจ้าโคตร (เจ้าเหง้า) คือผู้ใหญ่ของวงศ์ตระกูลหรือสายตระกูลที่มีอาวุโสสูงสุด มีอำนาจพิจารณาตัดสินโทษในยามหาตัวผู้ปกครองไม่ได้ บางครั้งผู้คนอาจฟังเจ้าโคตรมากกว่าผู้ปกครอง
หลักการปกครอง
ตามธรรมเนียอีสานล้านช้างโบราณ ผู้เป็นนักปกครอง เจ้านายราชวงศ์ หรือเจ้าบ้านผ่านเมืองและคณะอาญาสี่พร้อมทั้งกรมการเมือง จะต้องปฏิบัติตามครรลองครองธรรม ๑๔ ประการ เพื่อความเป็นปกติสุขของอาณาประชาราษฎร ในทำนองเดียวกับหลักทศพิธราชธรรม ๑๐ หรือหลักจักรวรรดิวัตร ๑๒ ของไทยสยาม ครรลองล้านช้างนี้เรียกว่า คองสิบสี่ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่คู่กันกับหลัก ฮีตสิบสอง รวมเรียกว่า ฮีตสิบสองคองสิบสี่ คำว่า คอง แปลว่า แนวทาง หรือ ครรลอง ซึ่งหมายถึง ธรรมเนียมประเพณี หรือแนวทาง และ สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติสิบสี่ข้อ ดังนั้นคองสิบสี่จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับ นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง พระสงฆ์ และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติสิบสี่ข้อ อาจสรุปได้หลายความเห็นว่าเป็นหลักปฏิบัติกล่าวถึงครอบครัวในสังคม ตลอดจนผู้ปกครองบ้านเมือง เป็นหลักปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง และหลักปฏิบัติของประชาชนต่อพระมหากษัตริย์ เป็นหลักปฏิบัติที่พระราชายึดถือปฏิบัติ เน้นให้ประชาชนปฏิบัติตามจารีตประเพณี และคนในครอบครัวที่ปฏิบัติต่อกัน และเป็นหลักปฏิบัติในการปกครองบ้านเมืองให้อยู่เป็นสุขตามจารีตประเพณี หลักแต่ละข้อนี้มีคำว่า ฮีต นำหน้าด้วย (อาจทำให้เกิดความสับสนกับฮีตสิบสอง) แต่ละคองจะมีสิบสี่ฮีต สี่ฮีตแรกจะเป็นฮีตที่เกี่ยวกับเจ้านายราชวงศ์ในระบบอาญาสี่ และเจ้านายกรมการท้าวเพีย คือ
ฮีตเจ้าคองขุน
ฮีตท้าวคองเพีย
ฮีตไพร่คองนาย
ฮีตบ้านคองเมือง
ฮีตสิบสอง
ข้อหนึ่ง เป็นท้าวพระยา จัดตั้งแต่งซื่อซามนามกร เสนาอามาตย์ ราชมุนตรี พิจารณาสืบหาผู้ซื่อผู้คด ผู้ฮ้ายผู้ดี ผู้ช่างแถลงแปงลิ้น มักสับส่อถ้อยคำอันหนักอันเบา อันน้อยอันใหญ่ ให้ไว้ในใจนั้นก่อ สมที่จะฟังจิ่งฟัง บ่สมที่จะฟังอย่าฟัง สมตั้งใจซื่อ ให้เพียงใดจิ่งตั้งใจเพียงนั้น ให้แต่งตั้งผู้ซื่อสัตย์สุจริตให้หมั่นเที่ยง ผู้ฮู้จักราชการบ้านเมืองแต่ก่อนมา บ่มข่มเห็งไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ให้หายใจเข้าออกได้จิ่งตั้งให้เป็นเสนาอามาตย์
ข้อสอง เป็นท้าวพระยา ให้เสนามุนตรีเป็นสามัคคีพร้อมเพียงกัน ให้หมั่นประชุมกันอย่าให้ขาด อันใดอันหนึ่งจักให้อาณัติข้าเสิกเกรงขาม และให้เขาอยู่ในเงื้อมมือเจ้าตนด้วยยุทธกรรมปัญญา ให้บ้านเมืองก้านกุ่งฮุ่งเฮืองเป็นที่กว้างขวาง ให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอยู่เย็นเป็นสุข อย่ากดขี่ข่มเห็ง เทอญ
ข้อสาม เป็นท้าวพระยา เถิงวันขึ้นสังขารปีใหม่ ถ่ายสังวาสมาสเกณฑ์ ให้เชิญพระแก้ว พระบาง พระพุทธฮูป สรงน้ำอบ น้ำหอม ไว้ในสระพัง สักการะด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ฟังธรรมจำศีล คบงัน ๗ วัน ทุก ๆ วัดให้เป็นการซื่นซมยินดีแก่พระศาสนา ตบพระเจดีย์ทราย บูชาเทวดาทั้งหลายทางน้ำทางบก บ้านเมืองจิ่งวุฒิซุ่มเย็น น้ำฟ้าสายฝนเข้าไฮ่เข้านาบริบูรณ์
ข้อสี่ เป็นทางพระยา วันสังขารขึ้น ให้นิมนต์พระภิกขุแห่น้ำฝ่ายใต้เมือฝ่ายเหนือ วันสังขารพักให้ฝ่ายเหนือมาวัดฝ่ายใต้ เพื่อบูชาเทวดาหลวงไปยามหัวเมืองท้ายเมือง ของทุก ๆ ฤดูปี บ้านเมืองจิ่งวุฒิจำเริญ ให้ราษฎรอาบน้ำอบน้ำหอม หดสรงพระภิกษุสงฆ์บ้านเมืองจิ่งอยู่เย็นเป็นสุข ให้ราษฎรแต่งหม้ออุบังเพื่อกั้งบังโพยภัยอันตรายแก่ราษฎรทั่วไป เทอญ
ข้อห้า เป็นท้าวพระยา วันสังขารปีใหม่ ให้เสนาอามาตย์ราชมุนตรี พญาเพีย ท้าวขุน หัวบ้านหัวเมือง ตำหรวดอาสา มหาดเล็กสีพายใต้แจก มีเทียนคู่ขึ้นทูนเกล้าทูนกระหม่อมถวายราชบาส เพียกะซักมุงคุลถวายพานหมากหมั้นหมากยืน ปุโรหิตถวายพรให้มีอายุ วัณโณ สุขัง พะลัง แก่องค์พระเจ้ามหาชีวิต แล้วเอาน้ำมหาพุทธาภิเศกอันพระรัสสิไปสถาปนาไว้ถ้ำนกแอ่นถ้ำนางอั่น อันชื่อว่าน้ำเที่ยงนั้น แห่มาสรงพระพุทธฮูปวัดหลวงในเมืองทุกวัด ในถ้ำติ่งทวารทวารา ที่ปากน้ำอูประตูเมืองฝ่ายเหนือ แล้วจิ่งนิมนต์พระภิกษุสงฆ์นำบาลีพระพุทธฮูปในพระราชวังตามธรรมเนียม จิ่งเป็นอันโครพย่ำแยงแด่พระสงฆ์เจ้า ถืกต้องตามพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้หั้นแล
ข้อหก เป็นท้าวพระยา ในวันสังขาร เป็นวันเสี้ยงฤดูเก่าปีใหม่จักมาเถิง ให้เจ้านาย เสนา ข้าราชการ มุนตรีผู้มีนามยศ และเพียหัวหลิ่งหัวพัน หัวบ้านหัวเมือง สิบเอ็ดฮ้อยน้อยใหญ่ ซึ่งเป็นข้าน้อยขันฑสีมาตำบล เข้ามาถือน้ำพิพัฒน์สัตยานุศัตย์ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า พระสังฆเจ้า ให้เป็นการซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน ป้องกันก่อให้ขบถคึดฮ้ายต่อแผ่นดิน
ข้อเจ็ด ท้าวพระยา คันเถิงฤดูเดือนเจ็ด ให้เลี้ยงเทพยดาอาฮักษ์ มเหศักดิ์ หลักเมือง ตาเมือง เสื้อเมือง ทรงเมือง ตามคองสิบสี่ แล้วให้เชิญเทพดาอาฮัก มเหศักดิ์ ให้เข้ามาซำฮะบ้านเมือง ป้องกันอันตราย ตามบูฮานราชประเพณีสั่งไว้ว่า เมืองชั่วบ่มีธรรมเป็นเครื่องคุ้มครอง ได้เอาไสยศาสตร์คือผีเมืองคุ้มครอง จิ่งมีฤทธิ์อันนี้สืบต่อมา เพื่อบ่ให้เกิดอันตรายโพยภัยด้วยผีสางคางแดง
ข้อแปด เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนแปด ให้สูตรซำฮะบ้านเมือง สืบซะตาเมือง บูชาเทวดาอาฮักษ์ทั้งแปดทิศ บูชาพระรัสสีทั้งแปด สองพี่น้อง พระยานาค ๑๕ ตระกูล สูตรเถิงสามวันเจ็ดวัน แล้วให้ราษฎรฮอบเมืองยิงปืน หว่านหินแห่และทรายเพื่อให้หายพยาธิโรคาโพยภัยอันตราย ให้อยู่เย็นเป็นสุขแก่บ้านเมืองทุกประการ
ข้อเก้า เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนเก้า จำเริญ (ดับ) ให้ป่าวเตินราษฎรบ้านเมืองท่าน ห่อเข้าประดับดินไปหาปู่ย่าตายาย ลูกเต้าหลานเหลนอันเถิงแก่อนิจกรรมไปสู่ปรโลกทั่วทุกแห่งแล้ว ให้เจ้านายเสนาข้าราชการทั่วบ้านเมืองสิบฮ้อยน้อยใหญ่ ลงมือถือน้ำพระพิพัฒนิสัตยานุศัตย์อีกเทื่อหนึ่ง แล้วซ่วงเฮือฉลองอุสุภนาคราชปากดงและปากคาน กับพระยานาคสิบห้าตระกูลอันฮักษาบ้านเมือง จิ่งจะอยู่เย็นเป็นสุขเข้าก้าไฮ่นาบริบูรณ์
ข้อสิบ เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนสิบเพ็งให้ป่าวราษฎรให้ทานสลากภัตร หยาดน้ำอุทิศไปหาเทพดาอาฮักษ์เมืองอันฮักษาพระพุทธศาสนา กับทั้งพ่อแม่เผ่าพงษ์วงศาแห่งตนเทอญ
ข้อสิบเอ็ด เป็นท้าวพระยา เถิงฤดูเดือนสิบเอ็ดเพ็ง ให้ฉลองพุทธาภิเศกพระธาตุจอมศรีทุก ๆ ปีอย่าขาด ด้วยเป็นศรีบ้านศรีเมือง แล้วให้ไปไหว้พระภิกษุสังฆะเจ้ามาขอดสิม (ผูกพัทธสีมา) ในสนามแล้ว ให้สังฆเจ้าปวารณาในที่นั้น คันแล้วกิจสงฆ์ให้สูตรถอนสิมนั้นเสียบ้านเมืองจิ่งวุฒิจำเริญ เสนาอามาตย์จิ่งจักเป็นสามัคคีพร้อมเพียงกันจัดราชการบ้านเมือง จิ่งบ่ขัดข้องแก่กันและกัน คันเถิงแฮมค่ำหนึ่งให้ป่าวเตินราษฎรไหลเฮือไฟ บูชาพระยานาคสิบห้าตระกูล บ้านเมืองจิ่งจักอยู่สุขเกษมเติมครองแล
ข้อสิบสอง เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนสิบสองขึ้นหนึ่งค่ำ ให้เตินหัวบ้านหัวเมือง สิบฮ้อยน้อยใหญ่ในขอบขันฑะสีมา เข้ามาโฮมพระนครหลวงพระบาง เป็นต้นว่า ข้าลาวชาวดงดอย เพื่อแห่พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตไปลงพ่วง (ด่วง) ส่วงเฮือ และนมัสการพระธาตุศรีธรรมาโสกราช คือเดือนสิบสองขึ้นสามค่ำถือน้ำ ขึ้นสี่ค่ำสิบสามค่ำซ่วงเฮือ ฉลองอุสุภนาคราช วัดหลวงให้เพียวัด มีเฮือวันละลำ อัครมหาเสนาบดีตั้งแต่เมืองแสนเมืองจันทน์ลงไปเถิงศรีสะคุต เมืองแกนาใต้นาเหนือให้ตั้งเป็นผามทุกตำแหน่ง เป็นเทศกาลบุญส่วงเฮือฉลองพระยานาค ๑๕ ตระกูลและพระเสื้อเมือง ทรงเมือง อาฮักษ์เมือง และมีเครื่องกิยาบูชา เป็นต้นว่าโภชนะอาหาร ดอกไม้ ธูป เทียน สวายไปหาเทพยดา ทั้งทางน้ำและทางบก จิ่งจักอวยพรแก่บ้านเมืองอยู่เย็นเป็สุข และเดือนสิบสองเพ็ง เสนาอามาตย์และเจ้าราชคณะสงฆ์ราษฎร พร้อมกันแห่พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตและเจ้าย่ำขม่อมทั้งห้าพระองค์ไปนมัสการพระธาตุศรีธรรมาโศกราช พร้อมทั้งเครื่องบูชามีต้นเทียนและดอกไม้ บั้งไฟดอก ไฟหาง กะทุน ว่าย กองปิด กองยาว ฮูปหุ่นละคอน ลิงโขนและเครื่องเล่นมหรสพต่าง ๆ ไปเล่น อยู่ที่เดิ่นหน้าพระลานพระธาตุถ้วนสามวันสามคืนแล้วจิ่งเสด็จคืนมาเทอญ เพื่อให้เป็นที่ชื่นชมยินดีซึ่งกันและกัน ข้าลาวชาวดอยทั้งหลายก็จักได้เห็นกันและกัน และจักได้เว้าลมกัน เป็นมิตรสหายแก่กันและกัน จิ่งจักเป็นเกียรติยศฤชาปรากฏแก่หัวบ้านเมืองน้อยใหญ่ อันอยู่ใกล้เคียงนั้นซะแล
ข้อสิบสาม เป็นท้าวพระยา ให้แต่งแปงทาวทุกอย่าง เป็นต้นว่าถวายผ้ากะฐินและบวช พระหดเจ้า ตั้งมะไลไขมหาชาติ ฮักษาศีลห้าศีลแปดเป็นนิจกาลทุกวันอุโบสถ และมีหัวใจอันเต็มไปด้วยพรหมวิหารทั้ง ๔ ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เสนาอามาตย์ราษฎรข้าน้อยใหญ่ในขอบเขตขัณฑะสีมา อย่ามีใจอันกระด้างกระเดื่องเคืองไปด้วยพาล เป็นต้นว่า ไปหลิ้นป่าล่าเนื้อ จุ่งเลี้ยงนักปราชญ์ผู้อาจให้แก้วยังกิจการเอาไว้ และให้มีเสนาอามาตย์ผู้ฉลาดกล้าหาญกับทั้งสมณะชีพราหมณ์ ผู้ดีมีศีลบริสุทธิ์และความฮู้สั่งสอนทายก อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายเทอญ และให้ประกอบด้วยทศพิธราชธรรมสิบประการ บ้านเมืองจิ่งจะวุฒิจำเริญ แล
ข้อสิบสี่ เป็นท้าวพระยาให้มีสมบัติ อันประเสริฐ ๑๔ ประการ คือ หูเมือง ตาเมือง แก่น เมือง ประตูเมือง ฮากเมือง เหง้าเมือง ขื่อเมือง ฝาเมือง แปเมือง เขตเมือง สติเมือง ใจเมือง ค่าเมือง และเมฆเมือง