ตำนานเชียงตุงยุคที่3ศึกพญามังราย...จากคำบอกเล่าเมื่อ870ปีก่อนพญามังรายเที่ยวประพาสป่าไล่ตามกวางทองมาจนเห็นทุ่งกว้างที่สวยงามจึงตรัสอยากปกครองดินแดนแห่งนี้.แต่เจ้าว้าซึ่งเป็นใหญ่อยู่ก่อนไม่ยินยอม(เจ้าว้าซาวะล้อเป็นชาวลัวะ)จึงเกิดการรบพุ่งจัดขบวนทัพขี่ช้างชิงเมืองกันขึ้น.ฝ่ายเจ้าว้าเสียท่าถอยร่นกลับไปยังบ้านเมืองของตน.พญามังรายเห็นว่าได้ทีจึงเร่งติดตามไปตีต่อ.แต่พอครั้นถึงเมืองว้า.ช้างทรงของพญามังรายเกิดอุบัติภัยเสียชีวิตอย่างกระทันหัน.ยังความเสียขวัญแก่ทหารเป็นอันมาก .....พญามังรายตรึกตรองด้วยพระปรีชา.พิจรณาตามพิชัยยุทธ์จึงใช้กุศโลบายเข้าแก้ไข.โดยเข้าเจราจากับเจ้าว้าความว่า.ที่เรามานี้มีเจตนาดีใช่หวังจะประทุษร้ายแก่ผู้ใดไม่.เรามานี้เพื่อเจริญซึ่งไมตรีระหว่างท่านและเราสองเมือง.ในการยืนยันคำมั่นของเรานั้น.เราขอฆ่าช้างสำคัญเพื่อเป็นสักขีพยาน.อีกทั้งเราจะขอลูกสาวของท่านเพื่อแต่งงานกับหลานของเรา.เพื่อสัมพันธ์ระหว่างเราจะได้ยั่งยืนสืบไปนิรันดร......ฝ่ายเจ้าว้าก็ยินยอมยกลูกสาวชื่อนางแย้ว้าให้แก่หลานพญามังรายชื่อเจ้ายี่แรมค่ำปากผ้าแต่โดยดี.เมื่อพิธีแต่งงานเชื่อมสัมพันธ์ผ่านไป.ทั้งคู่ได้อยู่กินกันที่เมืองว้าครบ100วัน.จนเจ้ายี่เป็นที่รักใคร่ของชาวเมือง.เจ้าว้าได้เรียกลูกเขยมาถามว่า.เจ้าอยากปกครองที่ใดถ้าอยากได้บ้านได้เมืองเราจะยกให้เจ้าจงบอกมา.ฝ่ายเจ้ายี่หลานพญามังรายจึงชี้ไปว่าอยากได้ดินแดนระหว่างแม่น้ำของ(แม่น้ำโขง)และแม่น้ำคง(แม่น้ำสาละวิน).แต่ดินแดนแถบนี้กว้างขวางยิ่งนักเจ้ายี่แรมปากผ้าจึงเขียนหนังสือเชิญพี่น้องคือหลานของพญามังรายชื่อเจ้าอ้าย เจ้าสาม เจ้าใส่มาช่วยกันสร้างบ้านแปงเมือง
......ในการนี้เจ้าสี่พี่น้องได้เลือกชัยภูมิแถบดอยเหมยเมื่อสร้างบ้านแปงเมืองเสร็จแล้ว.อยู่กันได้ไม่นานมีหมอดูตาทิพย์เข้ามาพบแล้วทำนายว่าคนที่อยู่ในบ้านเมืองตรงนี้จะมีผิวพพรรณดีแต่จะไร้ซึ่งวาสนา บารมี ปัญญาและสมบัติพัสถาน.....เจ้าสี่พี่น้องเชื่อในวิชาทำนายจึงพร้อมใจกันย้ายเมืองมาตั้งที่ดอยเปต(ดอยเปรต).ครั้นอยู่มาได้ถึงปีที่39หมอตาทิพย์ก็ได้มาทำนายว่าคนที่นี่จะเกิดมารูปไม่งาม.สมบูรณ์เพียงปัญญาวาสนาบารมีและทรัพย์สิน.แต่หน้าตากลับอัปลักษณ์เหมือนผีเพราะว่าที่ตรงนี้เดิมทีเป็นสถานที่ฝังศพคนตายไม่ว่าศพจากเชียงรายเชียงแสนและใกล้เคียงก็จะเอาศพมาฝังไว้.มันเป็นตำแหน่งสุสานผี ......ท่านเจ้าเมืองสี่พี่น้องจึงประชุมกันตกลงว่าเป็นยังไงก็เป็นกัน.สู้อุตสาหะย้ายเมืองไปอีก.เมื่อได้สถานที่แล้วก็ตั้งชื่อเมืองใหม่ว่าเวียงเชียงต่างกาดฟ้าเชียงแสนอยู่กันมาได้เพียง3ปี.หมอตาทิพย์ก็มาทำนายอีกว่าคนที่อยู่ตรงนี้จะบริบูรณ์ทุกอย่างมีหน้าตางามพร้อม.เจริญด้วยวาสนาบารมีทั้งปัญญาก็ฉลาดฉับไวส่วนทรัพย์สินก็มั่งมีพรั่งพร้อม แต่จะขาดซึ่งความซื่อสัตย์และเมตตา.บ้านเมืองจะมีแต่ความไม่ความสงบเต็มไปด้วยพวกลักจี้ชิงปล้น.......เหล่าเจ้าจึงจำต้องอดทน.เพียรพยายามย้ายเมืองอีกครั้ง.จนมาตั้งที่เป็นเมืองในตำแหน่งปัจจุบันและให้นามเวียงใหม่นี้ว่าเมืองหลวงสามจอมเจ็ดเชียงเก้าหนองสิบสองประตู.กระทั่งเมืองนี้ได้ตั้งอยู่จนเจริญเติบโตขึ้นแล้วได้ชื่อใหม่ว่าเชียงตุงอันเป็นเมืองที่สวยงามผู้คนจิตใจดีมีความเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่.สมบูรณ์ด้วยปัญญาทรัพย์สินจวบถึงปัจจุบันครับ
...ตำนานการสร้างเมืองของชาวเชียงตุงนี้แตกต่างจากตำนานฝ่ายไทยบ้างในรายละเอียด.แต่สรุปความตรงกันคือเมื่อมาถึงยุคที่3นี้เชื้อสายของพญามังรายคือผู้ปกครองเชียงตุงสืบต่อมาจนสิ้นสุดระบอบเจ้าฟ้าครับ
เรียบเรียงโดย:เชียงตุงเชียงรุ่ง
https://www.facebook.com/chiangtung.kengtung.shanstate/
https://sites.google.com/site/chiangtungkengtung/
ตำนานเชียงตุงยุคที่3ศึกพญามังราย
ตำนานเชียงตุงยุคที่3ศึกพญามังราย...จากคำบอกเล่าเมื่อ870ปีก่อนพญามังรายเที่ยวประพาสป่าไล่ตามกวางทองมาจนเห็นทุ่งกว้างที่สวยงามจึงตรัสอยากปกครองดินแดนแห่งนี้.แต่เจ้าว้าซึ่งเป็นใหญ่อยู่ก่อนไม่ยินยอม(เจ้าว้าซาวะล้อเป็นชาวลัวะ)จึงเกิดการรบพุ่งจัดขบวนทัพขี่ช้างชิงเมืองกันขึ้น.ฝ่ายเจ้าว้าเสียท่าถอยร่นกลับไปยังบ้านเมืองของตน.พญามังรายเห็นว่าได้ทีจึงเร่งติดตามไปตีต่อ.แต่พอครั้นถึงเมืองว้า.ช้างทรงของพญามังรายเกิดอุบัติภัยเสียชีวิตอย่างกระทันหัน.ยังความเสียขวัญแก่ทหารเป็นอันมาก .....พญามังรายตรึกตรองด้วยพระปรีชา.พิจรณาตามพิชัยยุทธ์จึงใช้กุศโลบายเข้าแก้ไข.โดยเข้าเจราจากับเจ้าว้าความว่า.ที่เรามานี้มีเจตนาดีใช่หวังจะประทุษร้ายแก่ผู้ใดไม่.เรามานี้เพื่อเจริญซึ่งไมตรีระหว่างท่านและเราสองเมือง.ในการยืนยันคำมั่นของเรานั้น.เราขอฆ่าช้างสำคัญเพื่อเป็นสักขีพยาน.อีกทั้งเราจะขอลูกสาวของท่านเพื่อแต่งงานกับหลานของเรา.เพื่อสัมพันธ์ระหว่างเราจะได้ยั่งยืนสืบไปนิรันดร......ฝ่ายเจ้าว้าก็ยินยอมยกลูกสาวชื่อนางแย้ว้าให้แก่หลานพญามังรายชื่อเจ้ายี่แรมค่ำปากผ้าแต่โดยดี.เมื่อพิธีแต่งงานเชื่อมสัมพันธ์ผ่านไป.ทั้งคู่ได้อยู่กินกันที่เมืองว้าครบ100วัน.จนเจ้ายี่เป็นที่รักใคร่ของชาวเมือง.เจ้าว้าได้เรียกลูกเขยมาถามว่า.เจ้าอยากปกครองที่ใดถ้าอยากได้บ้านได้เมืองเราจะยกให้เจ้าจงบอกมา.ฝ่ายเจ้ายี่หลานพญามังรายจึงชี้ไปว่าอยากได้ดินแดนระหว่างแม่น้ำของ(แม่น้ำโขง)และแม่น้ำคง(แม่น้ำสาละวิน).แต่ดินแดนแถบนี้กว้างขวางยิ่งนักเจ้ายี่แรมปากผ้าจึงเขียนหนังสือเชิญพี่น้องคือหลานของพญามังรายชื่อเจ้าอ้าย เจ้าสาม เจ้าใส่มาช่วยกันสร้างบ้านแปงเมือง
......ในการนี้เจ้าสี่พี่น้องได้เลือกชัยภูมิแถบดอยเหมยเมื่อสร้างบ้านแปงเมืองเสร็จแล้ว.อยู่กันได้ไม่นานมีหมอดูตาทิพย์เข้ามาพบแล้วทำนายว่าคนที่อยู่ในบ้านเมืองตรงนี้จะมีผิวพพรรณดีแต่จะไร้ซึ่งวาสนา บารมี ปัญญาและสมบัติพัสถาน.....เจ้าสี่พี่น้องเชื่อในวิชาทำนายจึงพร้อมใจกันย้ายเมืองมาตั้งที่ดอยเปต(ดอยเปรต).ครั้นอยู่มาได้ถึงปีที่39หมอตาทิพย์ก็ได้มาทำนายว่าคนที่นี่จะเกิดมารูปไม่งาม.สมบูรณ์เพียงปัญญาวาสนาบารมีและทรัพย์สิน.แต่หน้าตากลับอัปลักษณ์เหมือนผีเพราะว่าที่ตรงนี้เดิมทีเป็นสถานที่ฝังศพคนตายไม่ว่าศพจากเชียงรายเชียงแสนและใกล้เคียงก็จะเอาศพมาฝังไว้.มันเป็นตำแหน่งสุสานผี ......ท่านเจ้าเมืองสี่พี่น้องจึงประชุมกันตกลงว่าเป็นยังไงก็เป็นกัน.สู้อุตสาหะย้ายเมืองไปอีก.เมื่อได้สถานที่แล้วก็ตั้งชื่อเมืองใหม่ว่าเวียงเชียงต่างกาดฟ้าเชียงแสนอยู่กันมาได้เพียง3ปี.หมอตาทิพย์ก็มาทำนายอีกว่าคนที่อยู่ตรงนี้จะบริบูรณ์ทุกอย่างมีหน้าตางามพร้อม.เจริญด้วยวาสนาบารมีทั้งปัญญาก็ฉลาดฉับไวส่วนทรัพย์สินก็มั่งมีพรั่งพร้อม แต่จะขาดซึ่งความซื่อสัตย์และเมตตา.บ้านเมืองจะมีแต่ความไม่ความสงบเต็มไปด้วยพวกลักจี้ชิงปล้น.......เหล่าเจ้าจึงจำต้องอดทน.เพียรพยายามย้ายเมืองอีกครั้ง.จนมาตั้งที่เป็นเมืองในตำแหน่งปัจจุบันและให้นามเวียงใหม่นี้ว่าเมืองหลวงสามจอมเจ็ดเชียงเก้าหนองสิบสองประตู.กระทั่งเมืองนี้ได้ตั้งอยู่จนเจริญเติบโตขึ้นแล้วได้ชื่อใหม่ว่าเชียงตุงอันเป็นเมืองที่สวยงามผู้คนจิตใจดีมีความเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่.สมบูรณ์ด้วยปัญญาทรัพย์สินจวบถึงปัจจุบันครับ
...ตำนานการสร้างเมืองของชาวเชียงตุงนี้แตกต่างจากตำนานฝ่ายไทยบ้างในรายละเอียด.แต่สรุปความตรงกันคือเมื่อมาถึงยุคที่3นี้เชื้อสายของพญามังรายคือผู้ปกครองเชียงตุงสืบต่อมาจนสิ้นสุดระบอบเจ้าฟ้าครับ
เรียบเรียงโดย:เชียงตุงเชียงรุ่ง
https://www.facebook.com/chiangtung.kengtung.shanstate/
https://sites.google.com/site/chiangtungkengtung/