เสวนากับเพื่อนเรื่องการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กไทย

วันก่อนได้เสวนากับเพื่อนเรื่องการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กไทย ซึ่งหลายๆคนติติงว่าระบบการศึกษาในประเทศไทยสอนเด็กไม่ถูกทางบ้าง สอนเน้นแค่ไวยากรณ์บ้าง ไม่สอนเน้นไปที่การสนทนาในชีวิตประจำวันบ้าง จนเด็กไทยติดๆขัดๆในเรื่องภาษา ดังที่เห็น

เมื่อได้องค์ความรู้มาส่วนหนึ่ง จึงขอบันทึกเก็บไว้ ดังนี้

1. การเรียนรู้ไม่มีคำว่าสาย ดังนั้น เริ่มเรียนรู้ตอนนี้ ยังไงก็ทัน เพียงแต่จะทันแบบไหน

2. การเรียนรู้ก็เหมือนการเดินทาง มีสององค์ประกอบหลักคือ ระยะในการเดินทาง และความมากน้อยในการเคลื่อนที่
เทียบกันแล้ว
- ระยะในการเดินทาง เสมือนว่าเป็น ปริมาณการเรียนรู้ของเรา คือ เราต้องเรียนจากพื้นๆเลย(ม.1) ไปจนถึงปลายทาง(สมมติว่าแค่ ม.6 นะ) ทาง
- ความมากน้อยในการเคลื่อนที่ คือการกระทำที่เราพยายามที่จะไปให้ถึงจุดหมายนั้น ทำมาก-ทำน้อย คืบหน้าไปได้มาก - น้อย เสมือนว่าเป็น ความขยันมุ่งมั่น คือเราเรียนต่อวันมากน้อยเท่าไร(กี่ ชม.) เราเรียนแล้วเราเข้าใจเร็วแค่ไหน จำได้เร็วแค่ไหน
ลองคิดเล่นๆ ว่า หากเราอยู่ที่กทม.และอยากไปเที่ยวระยอง ระยะทางแค่ 200 กม. เราจะไปแบบไหน? ไปวันละกี่กม.ดี? ไปด้วยวิธีใด? ........ ทั้งนี้ หากเดินทางด้วยใจมุ่งมั่น ด้วยความพากเพียร และรู้จักใช้ปัญญา การเดินทางไปถึงจุดหมายก็จะทำได้และเร็วช้าต่างกันไปตามแต่วิธี จริงไหม?

3. ในความเห็นส่วนตัว ภาษาต่างๆ ก็มีองค์ประกอบของมันเป็นดังนี้
3.1 แนวความคิดของคนในชาติ ในกลุ่ม ในเผ่าพันธุ์นั้น จะสะท้อนออกมาในโครงสร้างของภาษา ที่เราเรียกกันว่าไวยากรณ์

ขอยกตัวอย่าง
เช่น ครูมักเล่าว่าคนอังกฤษมีการใช้ tense (ที่แปลว่ากาล) ในตัวภาษา ก็เนื่องจากเขามองว่าเวลานี้เป็นเรื่องสำคัญมากๆ ดังนั้น การติดต่องานกับฝรั่งจึงต้องตรงต่อเวลาเสมอ

3.2 คำศัพท์ คือคำที่ใช้เรียก ใช้อธิบาย ของ คนในชาติ ในกลุ่ม ในเผ่าพันธุ์นั้น

4. เด็กไทยเรียนทั้งไวยากรณ์และคำศัพท์ แต่ทำไมยังเอาไปใช้งานไม่ได้?
ก็ต้องขอตอบตามความเห็นส่วนตัวว่า จริงๆแล้ว วิธีการสอนในโรงเรียนไม่ได้ผิดอะไร (หลายคนโจมตีว่าสอนแต่ไวยากรณ์ ไม่ได้สอนให้ไปใช้งานจริง จึงใช้ไม่ได้ในชีวิต)
แท้ที่จริงแล้วเด็กไทยติดขัดเรื่องภาษาทั้งสองประการ คือ ไม่เข้าใจแนวความคิดของคนในชาติ ในกลุ่ม ในเผ่าพันธุ์นั้น ก็คือไม่เข้าใจใน ไวยากรณ์ และแถมไม่มีคำศัพท์ที่เก็บไว้ในความทรงจำในสมอง

5. แล้วทำอย่างไร เมื่อเรียนภาษาแล้ว จึงจะนำไปใช้งานได้?
ก็ต้องขอตอบตามความเห็นส่วนตัวว่า ภาษาต่างๆ ก็มีองค์ประกอบของมัน เราก็ต้องเรียนรู้ในทุกๆองค์ประกอบจนมีปริมาณที่เก็บไว้ในความทรงจำในสมองมากเพียงพอ
ไวยากรณ์ และ คำศัพท์ หากเรียนกันเฉยๆ แบบปัจจุบันนี้ ก็ไม่สามารถเพิ่มปริมาณที่เก็บไว้ในความทรงจำในสมองได้เท่าไรนัก
ลองไปสังเกตบุคคลที่เก่งในด้านภาษาสิ เขาเพิ่มทั้งสองอย่างได้อย่างไร
= "ฝึกฝนบ่อยๆ"
= "ทำความเข้าใจกับมัน"
= "นำไปประยุกต์ใช้"
---> ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ คือ "ทักษะ"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่