มติ สนช. ปลดล็อกกัญชา-กระท่อม ใช้กับคนป่วย
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561
สนช. ฉลุย มติเอกฉันท์รับหลักการ กม.ยาเสพติดให้โทษ ปลดล็อกกัญชา-กระท่อม ให้ใช้ทางการแพทย์ได้
เมื่อวันที่ 23 พ.ย. เวลา 10.30 น.ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติชาติ(สนช.) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่..) พ.ศ… วาระแรก ตามที่สมาชิก สนช. 44 คน นำโดยนายสมชาย แสวงการ เข้าชื่อเสนอ เพื่อแก้ไข พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ปลดล็อกให้ กัญชาสามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้
โดยนายสมชาย ได้แถลงสาระสำคัญและประโยชน์ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กำหนดให้
สามารถขออนุญาต ผลิต นำเข้าหรือส่งออก ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ซึ่งประกอบด้วยกัญชา และ กระท่อม เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ สามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคเฉพาะตัวได้ เช่นเดียวกับยาเสพติดให้โทษประเภท 2 แบบฝิ่น เท่านั้น
ไม่ได้รวมถึงการใช้เสพเพื่อสันทนาการ
และให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เป็นผู้กำหนดเขตพื้นที่ทดลองเพาะปลูกกัญชา และเสพกัญชา เพื่อการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ในปริมาณที่กำหนดโดยไม่ถือว่ามีความผิดกฎหมาย ซึ่งการกำหนดพื้นที่ดังกล่าวจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกามีมาตรการตรวจสอบควบคุม
นายสมชาย กล่าวต่อว่า
สำหรับผู้ที่จะสามารถอนุญาตครอบครองกัญชาได้นั้น ประกอบด้วย กระทรวง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย องค์กรเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์สาขาต่างๆ ทั้ง ทันตกรรม สัตวแพทย์ แพทย์แผนไทย เป็นต้น โดยผู้ขออนุญาตจะต้องไม่เคยต้องโทษตามกฎหมายยาเสพติดมาก่อน และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้พิจารณาอนุญาตตามความเห็นของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
อย่างไรก็ตามยืนยันว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านการรับฟังความเห็นจากประชาชน ตามมาตรา 77 วรรค 2 ทั้งจากเว็บไซต์ ที่มีผู้เห็นด้วยกับร่างกฎหมายนี้ถึงร้อยละ 99.03 และเปิดเวทีรับฟังความเห็น รวมถึงได้ส่งให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาแล้ว โดยไม่ได้มีการเสนอร่างกฎหมายมาประกบ แต่มีข้อสังเกต ความเห็นจากกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการกฤษฎีกา และ ป.ป.ส.
ด้านสมาชิกสนช. อาทิ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ต่างอภิปรายสนับสนุน เพราะเมื่อพิจารณาแล้ว พบว่าโทษของกัญชา มีน้อยกว่า เหล้าและบุหรี่ ที่ไม่ได้กำหนดเป็นยาเสพติด ขณะที่ บางส่วนที่ไม่เห็นด้วย เป็นเพราะไม่ทราบถึงสาระสำคัญของร่างกฎหมายที่แท้จริง แต่ก็ฝากข้อสังเกตว่า ให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ในปริมาณที่เหมาะสม ระบุถึงปริมาณให้ชัดเจน
ในที่สุดแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการวาระ 1 ร่างพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ด้วยคะแนนเอกฉันท์ 145 เสียง พร้อมตั้งกรรมาธิการ 29 คน กำหนดแปรญัตติ 7 วัน โดยพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน60
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1863351
มติ สนช. ปลดล็อกกัญชา-กระท่อม ใช้กับคนป่วย
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561
สนช. ฉลุย มติเอกฉันท์รับหลักการ กม.ยาเสพติดให้โทษ ปลดล็อกกัญชา-กระท่อม ให้ใช้ทางการแพทย์ได้
เมื่อวันที่ 23 พ.ย. เวลา 10.30 น.ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติชาติ(สนช.) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่..) พ.ศ… วาระแรก ตามที่สมาชิก สนช. 44 คน นำโดยนายสมชาย แสวงการ เข้าชื่อเสนอ เพื่อแก้ไข พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ปลดล็อกให้ กัญชาสามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้
โดยนายสมชาย ได้แถลงสาระสำคัญและประโยชน์ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กำหนดให้สามารถขออนุญาต ผลิต นำเข้าหรือส่งออก ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ซึ่งประกอบด้วยกัญชา และ กระท่อม เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ สามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคเฉพาะตัวได้ เช่นเดียวกับยาเสพติดให้โทษประเภท 2 แบบฝิ่น เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงการใช้เสพเพื่อสันทนาการ
และให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เป็นผู้กำหนดเขตพื้นที่ทดลองเพาะปลูกกัญชา และเสพกัญชา เพื่อการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ในปริมาณที่กำหนดโดยไม่ถือว่ามีความผิดกฎหมาย ซึ่งการกำหนดพื้นที่ดังกล่าวจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกามีมาตรการตรวจสอบควบคุม
นายสมชาย กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ที่จะสามารถอนุญาตครอบครองกัญชาได้นั้น ประกอบด้วย กระทรวง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย องค์กรเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์สาขาต่างๆ ทั้ง ทันตกรรม สัตวแพทย์ แพทย์แผนไทย เป็นต้น โดยผู้ขออนุญาตจะต้องไม่เคยต้องโทษตามกฎหมายยาเสพติดมาก่อน และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้พิจารณาอนุญาตตามความเห็นของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
อย่างไรก็ตามยืนยันว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านการรับฟังความเห็นจากประชาชน ตามมาตรา 77 วรรค 2 ทั้งจากเว็บไซต์ ที่มีผู้เห็นด้วยกับร่างกฎหมายนี้ถึงร้อยละ 99.03 และเปิดเวทีรับฟังความเห็น รวมถึงได้ส่งให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาแล้ว โดยไม่ได้มีการเสนอร่างกฎหมายมาประกบ แต่มีข้อสังเกต ความเห็นจากกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการกฤษฎีกา และ ป.ป.ส.
ด้านสมาชิกสนช. อาทิ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ต่างอภิปรายสนับสนุน เพราะเมื่อพิจารณาแล้ว พบว่าโทษของกัญชา มีน้อยกว่า เหล้าและบุหรี่ ที่ไม่ได้กำหนดเป็นยาเสพติด ขณะที่ บางส่วนที่ไม่เห็นด้วย เป็นเพราะไม่ทราบถึงสาระสำคัญของร่างกฎหมายที่แท้จริง แต่ก็ฝากข้อสังเกตว่า ให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ในปริมาณที่เหมาะสม ระบุถึงปริมาณให้ชัดเจน
ในที่สุดแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการวาระ 1 ร่างพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ด้วยคะแนนเอกฉันท์ 145 เสียง พร้อมตั้งกรรมาธิการ 29 คน กำหนดแปรญัตติ 7 วัน โดยพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน60
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1863351