DUSIT THANI HOTEL กับการเป็นที่พักสาวงามจักรวาล ก่อนจะปิดให้บริการ 5ม.ค62 เพื่อดำเนินการรื้อถอนทั้งหมด เพื่อสร้างใหม่

https://th.m.wikipedia.org/wiki/ดุสิต_เซ็นทรัล_ปาร์ค

ดุสิต เซ็นทรัล ปาร์ค เป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบประสมขนาดใหญ่
บนที่ดินขนาด 23 ไร่ 2 งาน 2.72 ตารางวา
บริเวณหัวมุม ถ.พระราม 4 ตัดถ.สีลม
ตรงข้ามกับสวนลุมพินี ในพื้นที่แขวงสีลม
เขตบางรัก ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของ รร.ดุสิตธานี กรุงเทพฯ และ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

สำนักงานสีลม บริหารงานโดย บริษัท วิมานสุริยา จำกัด ภายใต้การร่วมทุนของ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน)

และ กลุ่มเซ็นทรัล โดย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)

ตั้งเป้าขึ้นเป็นแลนด์มาร์คหนึ่งของเส้นขอบฟ้า
กทม. ด้วยความสูงสุดของอาคารที่ 78 ชั้น
ภายใต้สถาปัตยกรรมแบบไทยโบราณ
ร่วมกับสถาปัตยกรรมแบบไทยร่วมสมัย
รองรับกลุ่มลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ


อยู่ในระหว่างการรื้อถอนโครงสร้างเดิม/เตรียมการก่อสร้าง
เปิดบริการ
พ.ศ. 2564 (ศูนย์การค้า)
พ.ศ. 2567 (ทั้งโครงการ)

การใช้งาน
ศูนย์การค้า โรงแรม ที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน
พื้นที่อาคารรวม (GFA)
403,000 ตารางเมตร
จำนวนชั้น
40 ชั้น (อาคาร 1)
78 ชั้น (อาคาร 2)
46 ชั้น (อาคาร 3)
ที่ดินและการบริหาร
เนื้อที่ที่ดิน
23 ไร่ 2 งาน 2.72 ตารางวา
กรรมสิทธิ์ที่ดิน
เช่า 30 ปีโดยมีระยะเวลาปลอดหนี้ 7 ปี และได้รับสิทธิ์เช่าต่อเนื่องอีก 30 ปี รวมทั้งสิ้น 67 ปี (สิ้นสุด พ.ศ. 2627)
จาก สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ผ่าน บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน)
เจ้าของอาคาร
บริษัท วิมานสุริยา จำกัด
บริหารอาคารโดย
บริษัท สวนลุม พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด


พื้นที่ของโครงการดุสิต เซ็นทรัล ปาร์ค แต่เดิมแล้วเป็นบ้านศาลาแดง ของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) โดยท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาคณะกรรมการโรงแรม ปริ๊นเซส ได้ดำเนินการขอเช่าพื้นที่จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินผืนดังกล่าว เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงแรมระดับห้าดาวที่หรูหราแห่งแรกในกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. 2511 ภายใต้ชื่อ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โดยตัวอาคารมีความสูง 23 ชั้น นับเป็นอาคารสูงหลังแรกในประเทศไทย และใช้สถาปัตยกรรมแบบไทยเดิมร่วมสมัยที่ออกแบบโดย โยโซะ ชิบาตะ สถาปนิกชาวญี่ปุ่น ในส่วนของชื่อโรงแรมได้ตั้งตามชื่อเมืองจำลองของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อันแปลว่า "เมืองสวรรค์" ซึ่งแต่เดิมพระองค์เคยมีพระราชประสงค์ที่ต้องการจะสร้างเมืองแห่งประชาธิปไตยและให้ชื่อว่าดุสิตธานีนั่นเอง ซึ่งการตั้งชื่อโรงแรมยังเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไปในตัว เนื่องมาจากพื้นที่ตั้งของโรงแรมตั้งอยู่ตรงข้ามสวนลุมพินี และมีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2560 โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ได้เปิดดำเนินการให้กับชาวไทยและชาวต่างประเทศมาได้กว่า 47 ปี จนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 เครือดุสิตธานีได้ประกาศต่อสัญญาเช่าที่ดินกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นระยะเวลา 30 ปี พร้อมกับระยะเวลาปลอดหนี้อีก 7 ปี และได้รับสิทธิ์ในการเช่าต่อเนื่องอีก 30 ปี รวมทั้งสิ้น 67 ปี เครือดุสิตธานีจึงประกาศแผนพัฒนาและยกระดับโรงแรม  ดุสิตธานี กรุงเทพ ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโรงแรมที่เป็นที่นิยมระดับโลก ด้วยการจับมือกับบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ร่วมพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบผสมขนาดใหญ่ (Mixed-use) ซึ่งประกอบไปด้วย โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่ อาคารที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน พื้นที่ค้าปลีก ขึ้นมาทดแทน[1]เพื่อตอบรับต่อการพัฒนาเมืองและย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพมหานคร โดยโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ปัจจุบันจะปิดให้บริการในวันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 14.00 น. เพื่อดำเนินการรื้อถอนอาคารทั้งหมด สำหรับเตรียมก่อสร้างโครงการใหม่ต่อไป[2]

โครงการใหม่ใช้งบลงทุนกว่า 36,700 ล้านบาท นับเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดของกลุ่มดุสิตธานีที่ต้องการจะพัฒนาและยกระดับพื้นที่ธุรกิจอันสำคัญใจกลางกรุงเทพมหานครให้กลายเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและสามารถแข่งขันได้ โดยโครงการมีกำหนดเปิดใช้อาคารอย่างไม่เป็นทางการเฉพาะฐานรากและฐานอาคารภายใน พ.ศ. 2564 และมีกำหนดเปิดใช้ทั้งโครงการภายใน พ.ศ. 2567


ส่วนประกอบของโครงการและการจัดสรรพื้นที่    

ดุสิต เซ็นทรัล ปาร์ค มีพื้นที่ประกอบทั้งหมดสี่ส่วน ประกอบด้วย

ส่วนฐานอาคาร เป็นโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีพื้นที่หลักเป็นห้างสรรพสินค้าและร้านค้าเฉพาะทางในกลุ่มเซ็นทรัล โดยทำเป็นศูนย์การค้าลึกไปจนถึงสถานีสีลมของ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีศาลาแดง
อาคารสำนักงาน
อาคารที่พักอาศัย
โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่

============

ก็ดีนะสร้างใหม่ ตึกเก่าละ ตั้งห้าสิบปี

ว่าไหม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่