ช่วงนี้หลายคนคงอินกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเรามากๆ
(หรือผมอินอยู่คนเดียวก็ไม่แน่ใจ 55555)
พออินก็เริ่มสอดส่องโครงการต่างๆทั้ง กทม. และ ตจว. ว่ามีการพัฒนาอะไรบ้าง
จนไปเจอคลิปเดินเที่ยวถนนสีลม ที่ฟุตบาทปรับปรุงสวยมาก เรียบเสมอกัน
มีการออกแบบที่สะอาดตา มีพื้นนำทางคนตาบอด ต้นไม้ปลูกได้สบายตามาก
สายไฟฟ้าก็เอาลงดินหมด แต่ความสวยงามก็ยังมีความเอ๊ะที่ทำให้เราอดคิดไม่ได้
ว่ามันตอบโจทย์คนใช้งาน คนเดินทางเท้าจริงๆหรือไม่
(วีดีโอตั้งแต่ 19 สิงหา 2023 ไม่รู้ว่าตอนนี้มีการปรับปรุงบางอย่างรึเปล่า)
ความกว้างของทางเดิน
จากภาพช่วงทางเดินที่ไม่ใช่หน้าโครงการใหญ่ๆของเอกชน จะเห็นได้ว่าช่วงที่มีต้นไม้
เดินเรียงหน้ากระดาน 2-3 คน เดินสวนกันไปมา ก็คือแน่นแล้ว ซึ่งความกว้างของทางเดิน
จะสลับกว้างแคบไปเรื่อยๆตลอดเส้นทาง
มีบางช่วงมีถังขยะ ถุงขยะวางแน่นทางเดินช่วงที่ไม่มีต้นไม้ ซึ่งเราคิดว่าควรจะต้องมีจุดที่อยู่ในมุมที่ไม่กีดขวาง
เช่น ซ่อนเข้าไปในช่อง ตรอกซอยฝั่งตึกพาณิชย์
ร้านแผงลอยที่กินพื้นที่จนแทบจะต้องเดินเรียงแถวเรียง1
อยากให้ กทม. ผลักดันเหมือนสิงค์โปร์ที่มีศูนย์อาหารส่วนกลาง (Hawker Center)
แต่ย่านๆนึงต้องมีอย่างน้อย 1 ที่ให้พ่อค้าแม่ค้าเข้าไปขายของในนั้น
เป็นการจัดระเบียบ ทั้งพ่อค้าแม่ค้า ทั้งลูกค้าที่ไม่กีดขวางตอนซื้อของ
รัฐได้ค่าเช่า ซึ่งต้องไม่แพงมากเพื่อจูงใจให้คนอยากเข้ามาขายของ
พ่อค้าแม่ค้ามีที่ทำกิน ประชาชนมีจุดให้นั่งกินอย่างถูกสุขลักษณะ
เป็นการส่งเสริม Soft Power วัฒนธรรม Street Food ด้วย
วินๆทั้งประชาชน และนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน
จุดที่กว้างและสะดวกต่อการเดินเท้าก็คงเป็นช่วงหน้าโครงการเอกชนใหญ่ๆ
กว้างขวาง อากาศถ่ายเท คนเดินสะดวก ไม่ต้องเดินเบียดกัน
ถ้าฟุตบาทบ้านเรากว้างได้ซัก 3ใน4 ของแนวขอบทางเดินไปยังแนวพุ่มไม้ของเอกชนรูปนี้ได้ก็คงดี
สีลมคนเดินเยอะแทบจะเป็นแมนฮัตตันอยู่แล้ว แต่ทางเดินส่วนใหญ่ก็แทบจะกว้างไม่ถึงครึ่งนึงของแมนฮัตตัน
ทางแก้ของบ้านเราที่เจอในหลายๆที่คือ ก็สร้าง Sky Walk ไปเลยสิ ซึ่งก็เป็นโครงการที่ซ้ำซ้อนมาก
ควรส่งเสริมการเดินเท้าในแนวระนาบมากกว่า ช่วยส่งเสริมภูมิทัศน์ความสวยงามของทางเดินได้ด้วย
ถ้ากว้างพอก็ยังสามารถปลูกต้นไม้ช่วยลดมลพิษได้
ผมว่าถ้าใช้ Sky Walk ควรสร้างเพื่อจุดประสงค์เชื่อมการเดินเท้าไปยังสถานีรถไฟฟ้าต่างระบบต่างสาย
หรือเพื่อใช้ในการข้ามถนน หรือเชื่อมเข้าพื้นที่เข้าอาคารที่สำคัญๆจะดีกว่า
และสิ่งที่น่าเศร้าที่สุดก็คือการกีดขวางทางเดิน ของบันไดทางขึ้นสถานีรถไฟฟ้า
ผมมองว่าการสร้างรถไฟฟ้า Metro ต่างๆ จุดประสงค์คือการทำให้คนหันมาใช้
ขนส่งสาธารณะมากขึ้นรึเปล่า ซึ่งตอนนี้รถไฟฟ้าในกรุงเทพมีหลายสายมาก
ไหนจะสายสีชมพูที่กำลังจะเปิดให้บริการอีก ถ้าเราสร้างรถไฟฟ้าครอบคลุมแล้ว
เราสามารถขยายพื้นที่ฟุตบาท ลดพื้นที่ถนน พื้นที่เกาะกลางถนนได้หรือไม่
(ซึ่งแน่นอนว่าถ้าทำตอนนี้รถติดมากกว่าเดิมแน่ๆ 5555)
เพื่อให้คนมีพื้นที่ในการเดินบนทางเท้าไปใช้ขนส่งสาธารณะได้ง่ายขึ้น
หรือสามารถทำทางขึ้นสถานีแบบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สีน้ำเงิน
สีม่วงที่ขยับเข้าไปในพื้นที่เอกชน หรือพื้นที่นอกฟุตบาทได้หรือไม่
สรุป
- ยังมีถนนหนทาง มีฟุตบาทอีกหลายที่ ที่โดนปล่อยปละละเลย
ไม่มีการปรับปรุงดูแลให้เหมาะสมเหมือนอย่างถนนสีลมที่ยกตัวอย่างไป
สุดท้ายปัญหาเหล่านี้ก็วนกลับมาที่ต้นเหตุที่ยากที่จะแก้ไข
- การวางผังเมือง ถ้าผังเมืองบ้านเราดีตั้งแต่ต้น
ถนนทุกถนนเชื่อมหากัน ซอยตันน้อย นายทุนเจ้าของที่ไม่หั่นพื้นที่ขายซอยยิบย่อย
คนก็อาจจะมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เพราะการเดินทางจากพื้นที่อาศัย
เข้ามายังระบบขนส่งสาธารณะ เข้ามายังถนน มันสะดวกและใกล้ขึ้นมาก
คนก็จะใช้รถส่วนตัวน้อยลง ซึ่งผมคิดว่ากรุงเทพรถก็จะติดเหมือนเดิม
ถ้าคนไม่หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งมันก็สะท้อนได้ว่า ระบบบ้านเรามันไม่ได้ดี
ขนาดที่ว่าคนจะยอมแลกความสะดวกสบายของตัวเอง โดยการไม่ใช้รถส่วนตัว
- ทางเดินแคบก็มีผลมาจากผังเมือง ทำให้ไม่สามารถขยายพื้นที่ทางเดินให้กว้างขึ้นได้
ตึกแถวก็แทบจะชิดถนนอยู่แล้ว
**** ไม่ได้ต้องการดิสเครดิตใคร แต่เป็นการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนกันว่าบ้านเมืองเรา
สามารถพัฒนาไปในทิศทางไหนได้บ้าง แต่ก็เข้าใจทางหน่วยงานรัฐต่างๆว่าปัญหาเหล่านี้
มันอยู่กับเรามานานมาก ยิ่งนานยิ่งแก้ยาก ยิ่งตัวเมืองที่ขยายตัวออกไป ถ้าไม่จัดการดีๆ วางแผนดีๆ
ก่อนที่จะสร้างอะไร ก็จะต้องกลับมาแก้ไขเสียเงินซ้ำซ้อนไม่จบไม่สิ้น ถ้าจะแก้ปัญหาหลายๆอย่าง
ในเมืองให้หมดไป ก็ต้องใช้เวลา มันไม่จบภายในปีสองปีนี้หรอก จากอาการแล้วน่าจะหลายปี
หรือรัฐควรกระจายอำนาจจากส่วนกลาง ให้จังหวัดต่างๆได้ใช้อำนาจในการจัดการบ้านเมืองได้มากขึ้น
จะได้ขยายความเจริญความแออัดไปเมืองอื่นบ้าง แบ่งสันปันส่วนงบประมาณเงินภาษีไปยังจังหวัดอื่นมากขึ้น
รอลุ้นกับโครงการรถไฟความเร็วสูงในอนาคตต่อไป
เป็นกำลังใจให้ทุกภาคส่วนครับ
ทางเดินใน กทม. ที่ไม่เอื้อกับคนเดิน
(หรือผมอินอยู่คนเดียวก็ไม่แน่ใจ 55555)
พออินก็เริ่มสอดส่องโครงการต่างๆทั้ง กทม. และ ตจว. ว่ามีการพัฒนาอะไรบ้าง
จนไปเจอคลิปเดินเที่ยวถนนสีลม ที่ฟุตบาทปรับปรุงสวยมาก เรียบเสมอกัน
มีการออกแบบที่สะอาดตา มีพื้นนำทางคนตาบอด ต้นไม้ปลูกได้สบายตามาก
สายไฟฟ้าก็เอาลงดินหมด แต่ความสวยงามก็ยังมีความเอ๊ะที่ทำให้เราอดคิดไม่ได้
ว่ามันตอบโจทย์คนใช้งาน คนเดินทางเท้าจริงๆหรือไม่
(วีดีโอตั้งแต่ 19 สิงหา 2023 ไม่รู้ว่าตอนนี้มีการปรับปรุงบางอย่างรึเปล่า)
ความกว้างของทางเดิน
จากภาพช่วงทางเดินที่ไม่ใช่หน้าโครงการใหญ่ๆของเอกชน จะเห็นได้ว่าช่วงที่มีต้นไม้
เดินเรียงหน้ากระดาน 2-3 คน เดินสวนกันไปมา ก็คือแน่นแล้ว ซึ่งความกว้างของทางเดิน
จะสลับกว้างแคบไปเรื่อยๆตลอดเส้นทาง
มีบางช่วงมีถังขยะ ถุงขยะวางแน่นทางเดินช่วงที่ไม่มีต้นไม้ ซึ่งเราคิดว่าควรจะต้องมีจุดที่อยู่ในมุมที่ไม่กีดขวาง
เช่น ซ่อนเข้าไปในช่อง ตรอกซอยฝั่งตึกพาณิชย์
ร้านแผงลอยที่กินพื้นที่จนแทบจะต้องเดินเรียงแถวเรียง1
อยากให้ กทม. ผลักดันเหมือนสิงค์โปร์ที่มีศูนย์อาหารส่วนกลาง (Hawker Center)
แต่ย่านๆนึงต้องมีอย่างน้อย 1 ที่ให้พ่อค้าแม่ค้าเข้าไปขายของในนั้น
เป็นการจัดระเบียบ ทั้งพ่อค้าแม่ค้า ทั้งลูกค้าที่ไม่กีดขวางตอนซื้อของ
รัฐได้ค่าเช่า ซึ่งต้องไม่แพงมากเพื่อจูงใจให้คนอยากเข้ามาขายของ
พ่อค้าแม่ค้ามีที่ทำกิน ประชาชนมีจุดให้นั่งกินอย่างถูกสุขลักษณะ
เป็นการส่งเสริม Soft Power วัฒนธรรม Street Food ด้วย
วินๆทั้งประชาชน และนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน
จุดที่กว้างและสะดวกต่อการเดินเท้าก็คงเป็นช่วงหน้าโครงการเอกชนใหญ่ๆ
กว้างขวาง อากาศถ่ายเท คนเดินสะดวก ไม่ต้องเดินเบียดกัน
ถ้าฟุตบาทบ้านเรากว้างได้ซัก 3ใน4 ของแนวขอบทางเดินไปยังแนวพุ่มไม้ของเอกชนรูปนี้ได้ก็คงดี
สีลมคนเดินเยอะแทบจะเป็นแมนฮัตตันอยู่แล้ว แต่ทางเดินส่วนใหญ่ก็แทบจะกว้างไม่ถึงครึ่งนึงของแมนฮัตตัน
ทางแก้ของบ้านเราที่เจอในหลายๆที่คือ ก็สร้าง Sky Walk ไปเลยสิ ซึ่งก็เป็นโครงการที่ซ้ำซ้อนมาก
ควรส่งเสริมการเดินเท้าในแนวระนาบมากกว่า ช่วยส่งเสริมภูมิทัศน์ความสวยงามของทางเดินได้ด้วย
ถ้ากว้างพอก็ยังสามารถปลูกต้นไม้ช่วยลดมลพิษได้
ผมว่าถ้าใช้ Sky Walk ควรสร้างเพื่อจุดประสงค์เชื่อมการเดินเท้าไปยังสถานีรถไฟฟ้าต่างระบบต่างสาย
หรือเพื่อใช้ในการข้ามถนน หรือเชื่อมเข้าพื้นที่เข้าอาคารที่สำคัญๆจะดีกว่า
และสิ่งที่น่าเศร้าที่สุดก็คือการกีดขวางทางเดิน ของบันไดทางขึ้นสถานีรถไฟฟ้า
ผมมองว่าการสร้างรถไฟฟ้า Metro ต่างๆ จุดประสงค์คือการทำให้คนหันมาใช้
ขนส่งสาธารณะมากขึ้นรึเปล่า ซึ่งตอนนี้รถไฟฟ้าในกรุงเทพมีหลายสายมาก
ไหนจะสายสีชมพูที่กำลังจะเปิดให้บริการอีก ถ้าเราสร้างรถไฟฟ้าครอบคลุมแล้ว
เราสามารถขยายพื้นที่ฟุตบาท ลดพื้นที่ถนน พื้นที่เกาะกลางถนนได้หรือไม่
(ซึ่งแน่นอนว่าถ้าทำตอนนี้รถติดมากกว่าเดิมแน่ๆ 5555)
เพื่อให้คนมีพื้นที่ในการเดินบนทางเท้าไปใช้ขนส่งสาธารณะได้ง่ายขึ้น
หรือสามารถทำทางขึ้นสถานีแบบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สีน้ำเงิน
สีม่วงที่ขยับเข้าไปในพื้นที่เอกชน หรือพื้นที่นอกฟุตบาทได้หรือไม่
สรุป
- ยังมีถนนหนทาง มีฟุตบาทอีกหลายที่ ที่โดนปล่อยปละละเลย
ไม่มีการปรับปรุงดูแลให้เหมาะสมเหมือนอย่างถนนสีลมที่ยกตัวอย่างไป
สุดท้ายปัญหาเหล่านี้ก็วนกลับมาที่ต้นเหตุที่ยากที่จะแก้ไข
- การวางผังเมือง ถ้าผังเมืองบ้านเราดีตั้งแต่ต้น
ถนนทุกถนนเชื่อมหากัน ซอยตันน้อย นายทุนเจ้าของที่ไม่หั่นพื้นที่ขายซอยยิบย่อย
คนก็อาจจะมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เพราะการเดินทางจากพื้นที่อาศัย
เข้ามายังระบบขนส่งสาธารณะ เข้ามายังถนน มันสะดวกและใกล้ขึ้นมาก
คนก็จะใช้รถส่วนตัวน้อยลง ซึ่งผมคิดว่ากรุงเทพรถก็จะติดเหมือนเดิม
ถ้าคนไม่หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งมันก็สะท้อนได้ว่า ระบบบ้านเรามันไม่ได้ดี
ขนาดที่ว่าคนจะยอมแลกความสะดวกสบายของตัวเอง โดยการไม่ใช้รถส่วนตัว
- ทางเดินแคบก็มีผลมาจากผังเมือง ทำให้ไม่สามารถขยายพื้นที่ทางเดินให้กว้างขึ้นได้
ตึกแถวก็แทบจะชิดถนนอยู่แล้ว
**** ไม่ได้ต้องการดิสเครดิตใคร แต่เป็นการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนกันว่าบ้านเมืองเรา
สามารถพัฒนาไปในทิศทางไหนได้บ้าง แต่ก็เข้าใจทางหน่วยงานรัฐต่างๆว่าปัญหาเหล่านี้
มันอยู่กับเรามานานมาก ยิ่งนานยิ่งแก้ยาก ยิ่งตัวเมืองที่ขยายตัวออกไป ถ้าไม่จัดการดีๆ วางแผนดีๆ
ก่อนที่จะสร้างอะไร ก็จะต้องกลับมาแก้ไขเสียเงินซ้ำซ้อนไม่จบไม่สิ้น ถ้าจะแก้ปัญหาหลายๆอย่าง
ในเมืองให้หมดไป ก็ต้องใช้เวลา มันไม่จบภายในปีสองปีนี้หรอก จากอาการแล้วน่าจะหลายปี
หรือรัฐควรกระจายอำนาจจากส่วนกลาง ให้จังหวัดต่างๆได้ใช้อำนาจในการจัดการบ้านเมืองได้มากขึ้น
จะได้ขยายความเจริญความแออัดไปเมืองอื่นบ้าง แบ่งสันปันส่วนงบประมาณเงินภาษีไปยังจังหวัดอื่นมากขึ้น
รอลุ้นกับโครงการรถไฟความเร็วสูงในอนาคตต่อไป
เป็นกำลังใจให้ทุกภาคส่วนครับ