เครดิตบทความ.......Survival of the Fittest
วันนี้ก่อนกลับบ้านไปนั่งกินข้าวรอฝนหยุดตกในร้านอาหารแห่งหนึ่ง ได้ยินน้องๆโต๊ะข้างๆคุยกันเรื่องหุ้นแบบเซ็งๆกันอยู่ 3-4 คน ติดดอยสูงบ้าง ถัวจนเงินหมดบ้าง ยอมขายตัดขาดทุนหนักๆบ้าง ต่างคนต่างเต็มไปด้วยอารมณ์หดหู่กันคนละแบบ
แต่ที่เหมือนกันอย่างนึงคือ ทุกคนบอกว่าหุ้นที่ถือเป็นหุ้นพื้นฐานดี เดี๋ยวราคาก็กลับมาให้ขายกำไร ทั้งๆที่บางตัวผมฟังชื่อแล้วก็นึกขำอยู่ในใจ มันพื้นฐานดีในมุมไหนกันนะ
ในฐานะที่ผมเคยผ่านวิกฤติปี 2008 มา (ไม่ทันปีวิกฤติปี 1997 เพราะยังเรียนหนังสืออยู่) ขอแชร์ประสบการณ์ที่เคยผ่านช่วงหนีตายตอนวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เล็กน้อยให้น้องๆหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าตลาดหุ้นมาไม่นาน (ส่วนที่เซียนแล้วก็ขอให้ข้ามไปเลย บทความนี้ไม่มีความสำคัญอะไรกับท่าน)
นี่เป็นข้อสรุปของประสบการณ์ในตลาดหุ้นกว่า 10 ปีของผม
ในตลาดหุ้นปกติ นักลงทุนจะมองหาหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีกำไรเติบโตต่อเนื่องและราคาไม่แพงเพื่อลงทุน
ในตลาดหุ้นกระทิง นักลงทุนจะมองหาหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน มีกำไรเติบโตต่อเนื่อง แต่อาจมองหุ้นเรื่องราคาถูกหรือแพงไป เพราะในตลาดกระทิงหุ้นทุกตัวมันก็แพงหมดเมื่อเทียบกับตัวมันเองในอดีต นักลงทุนมักจะเปรียบเทียบมูลค่าหุ้นกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมบ้าง หรือเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยตลาดในขณะนั้นบ้าง เพื่อหาเหตุผลมาสนับสนุนการซื้อหุ้นของตนเอง
ไม่ว่าหุ้นที่ตัวเองซื้อจะมี P/E 20 เท่า หรือ P/E 25 เท่า นักลงทุนก็ยังบอกว่าถูก เพราะดูสิค่าเฉลี่ย P/E ของหุ้นในอุตสาหกรรมอยู่สูงถึง 35 เท่า หุ้น P/E 20 เท่า เทียบกับกำไรเติบโต 20-30% ต่อปีนับว่าถูกมาก (โดยไม่สนว่ามันจะโต 20-30% ต่อปีตลอดไปหรือไม่) คนที่ลังเลว่า P/E สูง หรือราคาหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดในอดีตมากๆ ก็จะกลายเป็นไดโนเสาร์ ตกขบวนไปโดยปริยาย
แล้วในตลาดหมีล่ะ คุณคิดว่านักลงทุนจะทำอย่างไร
นักลงทุนก็คงจะหาหุ้นที่มีพื้นฐานดี กำไรสม่ำเสมอ มีหนี้สินน้อย และเข้าซื้อในราคาที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยตัวเองในอดีต หรือค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมเพื่อรอให้ราคาหุ้นกลับเข้าสู่มูลค่าที่แท้จริงละมั้ง
เปล่าเลย ความจริงมันโหดร้ายกว่านั้นมาก
ในตลาดหมีโดยสมบูรณ์ นักลงทุนจะมองข้ามปัจจัยพื้นฐานทั้งหมด ไม่ว่าเป็นกำไรสุทธิ กระแสเงินสด ความแข็งแกร่งทางการเงิน หรือ Valuation นักลงทุนจะเทขายหุ้นไปตามอารมณ์ของเขาจนกว่าเขาจะพอใจ ไม่ว่าหุ้นพื้นฐานดี จะมีราคาถูกแค่ไหน P/E 10 เท่า 8 เท่า หรือ 6 เท่า เขาก็จะขายจนกว่าเขาจะรู้สึกว่ามันปลอดภัย และเมื่อทุกคนรู้สึกว่าปลอดภัยตลาดก็จะหยุดตก
ในปี 2008 ผมเคยเห็นหุ้นพื้นฐานดีซื้อขายกันด้วย P/E 2-5 เท่าอยู่เยอะแยะ นักลงทุนที่เน้นปัจจัยพื้นฐานเข้าซื้อหุ้นที่ P/E 6-8 เท่า ก็อาจขาดทุนได้ถึง 30-50% โดยที่เขาไม่เข้าใจว่าราคามันลงไปได้อย่างไรต่ำขนาดนั้น จนกระทั่งผลประกอบการไตรมาสต่อๆมาจึงเฉลยว่าหุ้นที่เขาถืออยู่ P/E พุ่งจาก 6-8 เท่าไปเป็น 12-16 เท่า เพราะกำไรของบริษัทที่ถือหุ้นอยู่มันหายไปครึ่งหนึ่ง
อย่างไรก็ดีหุ้นพื้นฐานดีก็คือหุ้นพื้นฐานดี สุดท้ายแล้วหุ้นเหล่านั้นก็สามารถกลับมายืนซื้อขายด้วยราคาที่สูงกว่าเดิมเกือบทั้งหมด บางตัวในกลุ่มนั้นกลับมาซื้อขายด้วย P/E 40-50 เท่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมาเสียด้วยซ้ำ
บทเรียนที่ผ่านมาของผมมันบอกอะไรเรา
บทสรุปของคำแนะนำของผมก็คือ
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าจริงๆ คุณต้องทำการบ้านให้หนัก ดูให้ออกว่าตัวไหนเป็นหุ้นพื้นฐานดี ตัวไหนเป็นหุ้นเก็งกำไร ตัวไหนเป็นหุ้นตามกระแส แล้วเลือกซื้อจะเฉพาะหุ้นพื้นฐานดีจริงๆเท่านั้น ที่สำคัญคุณต้องทำการบ้านด้วยตัวเองอย่างละเอียดว่าอนาคตของกำไรแต่ละบริษัทจะเป็นอย่างไร ธุรกิจของบริษัทนั้นๆอยู่ในช่วงใดของวัฎจักรธุรกิจ (Bussiness cycle) กำไรบริษัทไม่ใช่สิ่งที่จะเพิ่มขึ้นได้ทุกปี ปีละ 30-40% ตลอดไป ทุกธุรกิจมีรุ่งเรืองมีล่มสลายไม่มีใครมีหนีพ้น สุดท้ายคุณต้องเข้าใจว่านักลงทุนในตลาดอาจคิดไม่เหมือนคุณ และเทขายทุบหุ้นดีๆของคุณให้ตกไป 50-60% จากจุดที่คุณซื้อได้ แม้ว่าคุณจะคิดว่ามันเป็นขายแบบไร้เหตุผลก็ตาม เพราะในตลาดหมีไม่ค่อยมีใครมาดูปัจจัยพื้นฐานแข่งกับคุณหรอก
บางคนอาจแย้งผมว่า VI เทพๆ อย่าง Warren Buffet หรือ ปรมจารย์ VI ท่านอื่นถือหุ้นได้ยาวนาน 5-10 ปี แบบไม่ขายได้ คุณต้องไม่ลืมว่าปรมจารย์เหล่านั้นเข้าซื้อหุ้นที่ตีนดอย ไม่ได้มาไล่ซื้อที่ยอดดอย พวกเขารู้ว่าในวัฎจักรของหุ้นราคาไหนเรียกถูก ราคาไหนเรียกแพง พวกเขารอที่จะซื้อหุ้นได้เป็นปีๆถ้าราคาหุ้นไม่อยู่ในระดับที่น่าสนใจ จุดสำคัญมันอยู่ที่ราคาที่เข้าซื้อ ไม่ได้อยู่ที่ว่าถือทนแค่ไหน ถ้าคุณซื้อที่แพงแล้วโอกาสกำไรของนักลงทุนแบบ VI จะลดลงไปมากเลยทีเดียว
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนแบบตามกระแส คุณต้องดูให้ออกว่าตลาดกำลังอยู่สภาวะไหน ปกติ กระทิง หรือหมี เลือกลงทุนเฉพาะหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี ที่อยู่ในกระแสในสภาวะตลาดปกติหรือกระทิงเท่านั้น ให้ความสำคัญกับ Valuation น้อยกว่าการอ่านอารมณ์ตลาด ที่สำคัญที่สุด ห้ามซื้อหุ้นในสภาวะตลาดหมีโดยเด็ดขาด ไม่ว่าราคาหุ้นจะตกลงไปต่ำหรือถูกขนาดไหนก็ตาม อย่าลืมว่านักลงทุนแบบตามกระแสซื้อหุ้นเพราะหวังจะขายให้คนนักลงทุนอื่นที่อยากซื้อต่อในราคาที่สูงกว่า ไม่ได้ซื้อหุ้นเพราะราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง อย่ากลัวที่จะไล่หุ้นในภาวะตลาดกระทิง และหากจำเป็นที่จะต้องขายตัดขาดทุนในภาวะตลาดที่มั่นใจว่ามันเป็นหมี จงอย่าลังเลที่จะทำ ยิ่งตัดใจช้า ก็ยิ่งขาดทุนมาก อย่าเป็นประเภทที่ว่าตอนซื้อก็ซื้อตามกระแส พอหุ้นตกกลายสภาพเป็น VI ถือยาวซะงั้น เพราะที่ผมเห็นส่วนใหญ่จะไม่รอด
ผมบอกคุณไม่ได้หรอกว่าตลาดปัจจุบันมันเป็นหมีหรือกระทิง มันเป็นงานของนักวิเคราะห์กลยุทธ์ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ท่านใช้บริการอยู่ต่างหากที่จะแนะนำท่านว่าควรซื้อหรือขายตอนนี้ เพราะอะไร คุณจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้พวกเขาแล้ว ก็จงใช้พวกเขาให้คุ้ม ผมไม่ได้อะไรจากพวกคุณ จึงให้ได้แค่การแบ่งปันประสบการณ์เท่านั้น ที่สำคัญผมไม่เคยคิดว่าตัวเองเก่งกาจหรือเหนือชั้นกว่าใครๆ ก็แค่นักลงทุนธรรมดาๆที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปเรื่อยๆเท่านั้น
ขอให้ทุกท่านโชคดี
สภาวะตลาดหมี
วันนี้ก่อนกลับบ้านไปนั่งกินข้าวรอฝนหยุดตกในร้านอาหารแห่งหนึ่ง ได้ยินน้องๆโต๊ะข้างๆคุยกันเรื่องหุ้นแบบเซ็งๆกันอยู่ 3-4 คน ติดดอยสูงบ้าง ถัวจนเงินหมดบ้าง ยอมขายตัดขาดทุนหนักๆบ้าง ต่างคนต่างเต็มไปด้วยอารมณ์หดหู่กันคนละแบบ
แต่ที่เหมือนกันอย่างนึงคือ ทุกคนบอกว่าหุ้นที่ถือเป็นหุ้นพื้นฐานดี เดี๋ยวราคาก็กลับมาให้ขายกำไร ทั้งๆที่บางตัวผมฟังชื่อแล้วก็นึกขำอยู่ในใจ มันพื้นฐานดีในมุมไหนกันนะ
ในฐานะที่ผมเคยผ่านวิกฤติปี 2008 มา (ไม่ทันปีวิกฤติปี 1997 เพราะยังเรียนหนังสืออยู่) ขอแชร์ประสบการณ์ที่เคยผ่านช่วงหนีตายตอนวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เล็กน้อยให้น้องๆหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าตลาดหุ้นมาไม่นาน (ส่วนที่เซียนแล้วก็ขอให้ข้ามไปเลย บทความนี้ไม่มีความสำคัญอะไรกับท่าน)
นี่เป็นข้อสรุปของประสบการณ์ในตลาดหุ้นกว่า 10 ปีของผม
ในตลาดหุ้นปกติ นักลงทุนจะมองหาหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีกำไรเติบโตต่อเนื่องและราคาไม่แพงเพื่อลงทุน
ในตลาดหุ้นกระทิง นักลงทุนจะมองหาหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน มีกำไรเติบโตต่อเนื่อง แต่อาจมองหุ้นเรื่องราคาถูกหรือแพงไป เพราะในตลาดกระทิงหุ้นทุกตัวมันก็แพงหมดเมื่อเทียบกับตัวมันเองในอดีต นักลงทุนมักจะเปรียบเทียบมูลค่าหุ้นกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมบ้าง หรือเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยตลาดในขณะนั้นบ้าง เพื่อหาเหตุผลมาสนับสนุนการซื้อหุ้นของตนเอง
ไม่ว่าหุ้นที่ตัวเองซื้อจะมี P/E 20 เท่า หรือ P/E 25 เท่า นักลงทุนก็ยังบอกว่าถูก เพราะดูสิค่าเฉลี่ย P/E ของหุ้นในอุตสาหกรรมอยู่สูงถึง 35 เท่า หุ้น P/E 20 เท่า เทียบกับกำไรเติบโต 20-30% ต่อปีนับว่าถูกมาก (โดยไม่สนว่ามันจะโต 20-30% ต่อปีตลอดไปหรือไม่) คนที่ลังเลว่า P/E สูง หรือราคาหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดในอดีตมากๆ ก็จะกลายเป็นไดโนเสาร์ ตกขบวนไปโดยปริยาย
แล้วในตลาดหมีล่ะ คุณคิดว่านักลงทุนจะทำอย่างไร
นักลงทุนก็คงจะหาหุ้นที่มีพื้นฐานดี กำไรสม่ำเสมอ มีหนี้สินน้อย และเข้าซื้อในราคาที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยตัวเองในอดีต หรือค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมเพื่อรอให้ราคาหุ้นกลับเข้าสู่มูลค่าที่แท้จริงละมั้ง
เปล่าเลย ความจริงมันโหดร้ายกว่านั้นมาก
ในตลาดหมีโดยสมบูรณ์ นักลงทุนจะมองข้ามปัจจัยพื้นฐานทั้งหมด ไม่ว่าเป็นกำไรสุทธิ กระแสเงินสด ความแข็งแกร่งทางการเงิน หรือ Valuation นักลงทุนจะเทขายหุ้นไปตามอารมณ์ของเขาจนกว่าเขาจะพอใจ ไม่ว่าหุ้นพื้นฐานดี จะมีราคาถูกแค่ไหน P/E 10 เท่า 8 เท่า หรือ 6 เท่า เขาก็จะขายจนกว่าเขาจะรู้สึกว่ามันปลอดภัย และเมื่อทุกคนรู้สึกว่าปลอดภัยตลาดก็จะหยุดตก
ในปี 2008 ผมเคยเห็นหุ้นพื้นฐานดีซื้อขายกันด้วย P/E 2-5 เท่าอยู่เยอะแยะ นักลงทุนที่เน้นปัจจัยพื้นฐานเข้าซื้อหุ้นที่ P/E 6-8 เท่า ก็อาจขาดทุนได้ถึง 30-50% โดยที่เขาไม่เข้าใจว่าราคามันลงไปได้อย่างไรต่ำขนาดนั้น จนกระทั่งผลประกอบการไตรมาสต่อๆมาจึงเฉลยว่าหุ้นที่เขาถืออยู่ P/E พุ่งจาก 6-8 เท่าไปเป็น 12-16 เท่า เพราะกำไรของบริษัทที่ถือหุ้นอยู่มันหายไปครึ่งหนึ่ง
อย่างไรก็ดีหุ้นพื้นฐานดีก็คือหุ้นพื้นฐานดี สุดท้ายแล้วหุ้นเหล่านั้นก็สามารถกลับมายืนซื้อขายด้วยราคาที่สูงกว่าเดิมเกือบทั้งหมด บางตัวในกลุ่มนั้นกลับมาซื้อขายด้วย P/E 40-50 เท่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมาเสียด้วยซ้ำ
บทเรียนที่ผ่านมาของผมมันบอกอะไรเรา
บทสรุปของคำแนะนำของผมก็คือ
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าจริงๆ คุณต้องทำการบ้านให้หนัก ดูให้ออกว่าตัวไหนเป็นหุ้นพื้นฐานดี ตัวไหนเป็นหุ้นเก็งกำไร ตัวไหนเป็นหุ้นตามกระแส แล้วเลือกซื้อจะเฉพาะหุ้นพื้นฐานดีจริงๆเท่านั้น ที่สำคัญคุณต้องทำการบ้านด้วยตัวเองอย่างละเอียดว่าอนาคตของกำไรแต่ละบริษัทจะเป็นอย่างไร ธุรกิจของบริษัทนั้นๆอยู่ในช่วงใดของวัฎจักรธุรกิจ (Bussiness cycle) กำไรบริษัทไม่ใช่สิ่งที่จะเพิ่มขึ้นได้ทุกปี ปีละ 30-40% ตลอดไป ทุกธุรกิจมีรุ่งเรืองมีล่มสลายไม่มีใครมีหนีพ้น สุดท้ายคุณต้องเข้าใจว่านักลงทุนในตลาดอาจคิดไม่เหมือนคุณ และเทขายทุบหุ้นดีๆของคุณให้ตกไป 50-60% จากจุดที่คุณซื้อได้ แม้ว่าคุณจะคิดว่ามันเป็นขายแบบไร้เหตุผลก็ตาม เพราะในตลาดหมีไม่ค่อยมีใครมาดูปัจจัยพื้นฐานแข่งกับคุณหรอก
บางคนอาจแย้งผมว่า VI เทพๆ อย่าง Warren Buffet หรือ ปรมจารย์ VI ท่านอื่นถือหุ้นได้ยาวนาน 5-10 ปี แบบไม่ขายได้ คุณต้องไม่ลืมว่าปรมจารย์เหล่านั้นเข้าซื้อหุ้นที่ตีนดอย ไม่ได้มาไล่ซื้อที่ยอดดอย พวกเขารู้ว่าในวัฎจักรของหุ้นราคาไหนเรียกถูก ราคาไหนเรียกแพง พวกเขารอที่จะซื้อหุ้นได้เป็นปีๆถ้าราคาหุ้นไม่อยู่ในระดับที่น่าสนใจ จุดสำคัญมันอยู่ที่ราคาที่เข้าซื้อ ไม่ได้อยู่ที่ว่าถือทนแค่ไหน ถ้าคุณซื้อที่แพงแล้วโอกาสกำไรของนักลงทุนแบบ VI จะลดลงไปมากเลยทีเดียว
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนแบบตามกระแส คุณต้องดูให้ออกว่าตลาดกำลังอยู่สภาวะไหน ปกติ กระทิง หรือหมี เลือกลงทุนเฉพาะหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี ที่อยู่ในกระแสในสภาวะตลาดปกติหรือกระทิงเท่านั้น ให้ความสำคัญกับ Valuation น้อยกว่าการอ่านอารมณ์ตลาด ที่สำคัญที่สุด ห้ามซื้อหุ้นในสภาวะตลาดหมีโดยเด็ดขาด ไม่ว่าราคาหุ้นจะตกลงไปต่ำหรือถูกขนาดไหนก็ตาม อย่าลืมว่านักลงทุนแบบตามกระแสซื้อหุ้นเพราะหวังจะขายให้คนนักลงทุนอื่นที่อยากซื้อต่อในราคาที่สูงกว่า ไม่ได้ซื้อหุ้นเพราะราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง อย่ากลัวที่จะไล่หุ้นในภาวะตลาดกระทิง และหากจำเป็นที่จะต้องขายตัดขาดทุนในภาวะตลาดที่มั่นใจว่ามันเป็นหมี จงอย่าลังเลที่จะทำ ยิ่งตัดใจช้า ก็ยิ่งขาดทุนมาก อย่าเป็นประเภทที่ว่าตอนซื้อก็ซื้อตามกระแส พอหุ้นตกกลายสภาพเป็น VI ถือยาวซะงั้น เพราะที่ผมเห็นส่วนใหญ่จะไม่รอด
ผมบอกคุณไม่ได้หรอกว่าตลาดปัจจุบันมันเป็นหมีหรือกระทิง มันเป็นงานของนักวิเคราะห์กลยุทธ์ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ท่านใช้บริการอยู่ต่างหากที่จะแนะนำท่านว่าควรซื้อหรือขายตอนนี้ เพราะอะไร คุณจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้พวกเขาแล้ว ก็จงใช้พวกเขาให้คุ้ม ผมไม่ได้อะไรจากพวกคุณ จึงให้ได้แค่การแบ่งปันประสบการณ์เท่านั้น ที่สำคัญผมไม่เคยคิดว่าตัวเองเก่งกาจหรือเหนือชั้นกว่าใครๆ ก็แค่นักลงทุนธรรมดาๆที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปเรื่อยๆเท่านั้น
ขอให้ทุกท่านโชคดี