บางคนโฟกัสผิดประเด็น ไปจับเอาที่ตัวนักเคลื่อนไหว คือต้องยอมรับว่ามันมีติ่งหลายฝ่ายและหลายคน บางคน FC อัจฉริยะ บางคนก็ของจอมขวัญ บางคนของตั้ม บางคนก็ไม่ใช่ FC ใครแต่หมั่นไส้คนทำตัวเด่น เหล่านี้แหละจะมาเป็นตัวทำให้คนเราโฟกัสผิดจุด ซึ่งไอ้เรื่องความขัดแย้งของคน ผมขอก้าวข้ามไปเพราะยึดทฤษฎีว่า ทุกคนมีดีมีชั่วในตัวเอง เหมือนสามก๊ก เหมือน Game of Thrones หาใครขาวล้วนดำล้วนไม่มี
แล้วกระทู้นี้ผมก็จะไม่พูดไปถึงมุมของคุณธรรม น้ำใจอะไรต่างๆ เพราะคนเราใครจะชอบคิดว่าตัวเองไร้น้ำใจไร้เมตตา ผมจะพูดถึงความผิดของ รพ.พระราม 2 กรณีคุณช่อลัดดาล้วนๆ
ความผิดฐานฆ่าคนตาย ตกเป็นของคำตัน สามี ไม่เกี่ยวกับ รพ. นะอันนี้ที่บางคนมาโฟกัสผิดว่า ทำไมไม่เอาผิดคนกระทำ ? คำตอบคือเขาจับกุมตัวเพื่อดำเนินคดีแล้ว ฉะนั้นเราไม่พูดถึงประเด็นนี้
ข้อต่อมา วงการแพทย์ปกป้องคนในวิชาชีพด้วยกัน ว่าอย่าโยนความผิดให้หมอถ้ามีคนตาย และมักอยากจะให้คนเข้าใจว่า หมอไม่ใช่เทวดา รพ.ไม่ใช่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เข้ามาแล้วรอดตาย ? ซึ่งเป็นความคิดไร้สาระ เพราะเป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้ว ว่าหมอมีหน้าที่แค่รักษา ส่วนจะหายไม่หาย หรือจะตายหรือไม่ มันอยู่เหนือความสามารถของหมอ
แต่ประเด็นที่มันเป็นปัญหาที่เขาเอาเรื่องกันอยู่คือ รพ.ละเลยและบกพร่องต่อการปฏิบัติหน้าที่ หมายความว่า ถ้ารพ.พระราม 2 รักษาฉุกเฉินจนคุณช่อชลาพ้นอันตราย หรือพยามตรวจสอบรักษาแล้ว แต่ช่วยไม่ได้จนเสียชีวิต แบบนี้ก็ไม่มีความผิดอะไร
เรื่องการโดนน้ำกรดเข้าไปถึงระบบหายใจและระบบย่อยอาหาร มันมีโอกาสตายสูงมาก ขณะเดียวกันก็มีโอกาสรอดเล็กน้อย และรักษาได้ถ้ารักษาทัน ฉะนั้นจะอ้างว่าโดนน้ำกรดยังไงก็ตายอยู่แล้ว อันนี้ไร้สาระ
เมื่อทางรพ.ได้ละเลยบกพร่องในการตรวจสอบรักษา แล้วยังไม่แสดงความรับผิดชอบ ต่างจากรพ.อื่นๆ ที่มักจะแถลงขอโทษและแสดงความริบผิดชดใช้สินไหมต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต แต่รพ.พระราม 2 ใช้การแถลงณ์เท็จบิดเบือนข้อเท็จจริง โยนผิดว่าเด็กหญิง ลูกสาวผู้ตายนั้นโกหก เพื่อปัดความรับผิดชอบและโยนให้ทางรพ.บางมด เพราะไปเสียชีวิตที่นั่น
จากที่พูดคุยกับเพื่อนๆที่เป็นหมอและที่ปรึกษากฎหมาย ขอมาสรุปว่า
สิ่งที่สามารถเอาผิด รพ.พระราม 2 ได้คือ
1. ไม่มีหมออยู่ประจำรพ. มีแต่พยาบาลและผู้ช่วย ซึ่งตรงนี้ตำรวจสามารถสอบสวนแยก กับพนักงานทุกคนในรพ. เพื่อจับเท็จเค้นความจริง ตรวจภาพวงจรปิดว่ามีหมอหรือไม่
2. ให้พยาบาลตรวจวินิจฉัยเอง จึงแยกไม่ออกว่าแผลมาจากน้ำร้อนหรือน้ำกรด เพียงฟังจากผู้ป่วยที่เข้าใจผิดว่าโดนน้ำร้อน เพราะโดนตอนหลับและอาการมันแสบร้อน
3. ไม่ยอมกักตัวผู้ป่วยไว้รักษาหรือทำการตรวจอย่างต่อเนื่อง เพราะฉุกเฉินสีเขียวสามารถเปลี่ยนเป็นวิกฤตสีแดงได้เสมอ เช่นกรณีแพ้อาหาร เริ่มต้นจะมีอาการแพ้เล็กน้อย แต่พอมากเข้า หลอดลมจะเริ่มบวมตีบหายใจไม่ออกและเสียชีวิตได้ ตรงนี้คือเปลี่ยนจากเขียวเป็นภาวะสีแดง ฉะนั้นผู้ป่วยเข้ามารักษาฉุกเฉินต้องรักษาเบื้องต้นและรอจนกว่าหมอจะมาตรวจ เพื่อสั่งย้ายไป รพ.อื่นที่มีสิทธิ์ใช้บัตร
4. ในการย้ายไปรพ.อื่นต้องใช้รถพยาบาล ไม่ใช่ให้ผู้ป่วยไปเอง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เดินไม่ได้และมีเพียงเด็กที่คอยดูแล
5. ผู้บริหารออกมาแถลงณ์เท็จ พูดเองโดยที่ยังได้รับข้อมูลจากพยาบาลและพนักงานที่เกี่ยวข้องไม่ครบถ้วน คือลักษณะเป็นการสั่งให้คนอื่นเก็บเงียบไม่ต้องออกสื่อ และแถลงณ์เองเพื่อจะหาช่องแก้ให้รอดจากความผิดได้
ต้องดูเงื่อนไขให้ดีว่า จะรวบรวมหลักฐานเพื่อจัดการกับรพ.อย่างไร
- หลักฐานเพื่อเล่นงานตามเงื่อนไขให้ทางรพ.รับผิดชอบสินไหมต่อครอบครัวผู้ตาย
- หลักฐานเพื่อเล่นงานตามเงื่อนไขให้รพ.ถูกสั่งปิด และมีการลงโทษผู้เกี่ยวข้อง
จะเอาอันไหนเลือกเอา หรือเอาทั้งสอง ซึ่งอันนี้ต้องดูว่า อะไรคือกฎและเงื่อนไข ก็รวบรวมหลักฐานตามนั้น
น้ำกรดคุณช่อลัดดา กับข้อเอาผิดโรงพยาบาลพระราม 2
แล้วกระทู้นี้ผมก็จะไม่พูดไปถึงมุมของคุณธรรม น้ำใจอะไรต่างๆ เพราะคนเราใครจะชอบคิดว่าตัวเองไร้น้ำใจไร้เมตตา ผมจะพูดถึงความผิดของ รพ.พระราม 2 กรณีคุณช่อลัดดาล้วนๆ
ความผิดฐานฆ่าคนตาย ตกเป็นของคำตัน สามี ไม่เกี่ยวกับ รพ. นะอันนี้ที่บางคนมาโฟกัสผิดว่า ทำไมไม่เอาผิดคนกระทำ ? คำตอบคือเขาจับกุมตัวเพื่อดำเนินคดีแล้ว ฉะนั้นเราไม่พูดถึงประเด็นนี้
ข้อต่อมา วงการแพทย์ปกป้องคนในวิชาชีพด้วยกัน ว่าอย่าโยนความผิดให้หมอถ้ามีคนตาย และมักอยากจะให้คนเข้าใจว่า หมอไม่ใช่เทวดา รพ.ไม่ใช่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เข้ามาแล้วรอดตาย ? ซึ่งเป็นความคิดไร้สาระ เพราะเป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้ว ว่าหมอมีหน้าที่แค่รักษา ส่วนจะหายไม่หาย หรือจะตายหรือไม่ มันอยู่เหนือความสามารถของหมอ
แต่ประเด็นที่มันเป็นปัญหาที่เขาเอาเรื่องกันอยู่คือ รพ.ละเลยและบกพร่องต่อการปฏิบัติหน้าที่ หมายความว่า ถ้ารพ.พระราม 2 รักษาฉุกเฉินจนคุณช่อชลาพ้นอันตราย หรือพยามตรวจสอบรักษาแล้ว แต่ช่วยไม่ได้จนเสียชีวิต แบบนี้ก็ไม่มีความผิดอะไร
เรื่องการโดนน้ำกรดเข้าไปถึงระบบหายใจและระบบย่อยอาหาร มันมีโอกาสตายสูงมาก ขณะเดียวกันก็มีโอกาสรอดเล็กน้อย และรักษาได้ถ้ารักษาทัน ฉะนั้นจะอ้างว่าโดนน้ำกรดยังไงก็ตายอยู่แล้ว อันนี้ไร้สาระ
เมื่อทางรพ.ได้ละเลยบกพร่องในการตรวจสอบรักษา แล้วยังไม่แสดงความรับผิดชอบ ต่างจากรพ.อื่นๆ ที่มักจะแถลงขอโทษและแสดงความริบผิดชดใช้สินไหมต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต แต่รพ.พระราม 2 ใช้การแถลงณ์เท็จบิดเบือนข้อเท็จจริง โยนผิดว่าเด็กหญิง ลูกสาวผู้ตายนั้นโกหก เพื่อปัดความรับผิดชอบและโยนให้ทางรพ.บางมด เพราะไปเสียชีวิตที่นั่น
จากที่พูดคุยกับเพื่อนๆที่เป็นหมอและที่ปรึกษากฎหมาย ขอมาสรุปว่า
สิ่งที่สามารถเอาผิด รพ.พระราม 2 ได้คือ
1. ไม่มีหมออยู่ประจำรพ. มีแต่พยาบาลและผู้ช่วย ซึ่งตรงนี้ตำรวจสามารถสอบสวนแยก กับพนักงานทุกคนในรพ. เพื่อจับเท็จเค้นความจริง ตรวจภาพวงจรปิดว่ามีหมอหรือไม่
2. ให้พยาบาลตรวจวินิจฉัยเอง จึงแยกไม่ออกว่าแผลมาจากน้ำร้อนหรือน้ำกรด เพียงฟังจากผู้ป่วยที่เข้าใจผิดว่าโดนน้ำร้อน เพราะโดนตอนหลับและอาการมันแสบร้อน
3. ไม่ยอมกักตัวผู้ป่วยไว้รักษาหรือทำการตรวจอย่างต่อเนื่อง เพราะฉุกเฉินสีเขียวสามารถเปลี่ยนเป็นวิกฤตสีแดงได้เสมอ เช่นกรณีแพ้อาหาร เริ่มต้นจะมีอาการแพ้เล็กน้อย แต่พอมากเข้า หลอดลมจะเริ่มบวมตีบหายใจไม่ออกและเสียชีวิตได้ ตรงนี้คือเปลี่ยนจากเขียวเป็นภาวะสีแดง ฉะนั้นผู้ป่วยเข้ามารักษาฉุกเฉินต้องรักษาเบื้องต้นและรอจนกว่าหมอจะมาตรวจ เพื่อสั่งย้ายไป รพ.อื่นที่มีสิทธิ์ใช้บัตร
4. ในการย้ายไปรพ.อื่นต้องใช้รถพยาบาล ไม่ใช่ให้ผู้ป่วยไปเอง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เดินไม่ได้และมีเพียงเด็กที่คอยดูแล
5. ผู้บริหารออกมาแถลงณ์เท็จ พูดเองโดยที่ยังได้รับข้อมูลจากพยาบาลและพนักงานที่เกี่ยวข้องไม่ครบถ้วน คือลักษณะเป็นการสั่งให้คนอื่นเก็บเงียบไม่ต้องออกสื่อ และแถลงณ์เองเพื่อจะหาช่องแก้ให้รอดจากความผิดได้
ต้องดูเงื่อนไขให้ดีว่า จะรวบรวมหลักฐานเพื่อจัดการกับรพ.อย่างไร
- หลักฐานเพื่อเล่นงานตามเงื่อนไขให้ทางรพ.รับผิดชอบสินไหมต่อครอบครัวผู้ตาย
- หลักฐานเพื่อเล่นงานตามเงื่อนไขให้รพ.ถูกสั่งปิด และมีการลงโทษผู้เกี่ยวข้อง
จะเอาอันไหนเลือกเอา หรือเอาทั้งสอง ซึ่งอันนี้ต้องดูว่า อะไรคือกฎและเงื่อนไข ก็รวบรวมหลักฐานตามนั้น