กลับมารีวิวกระทู้ท่องเที่ยวไทยตระเวนเดี่ยวเที่ยวเมืองอุตรดิตถ์ เมืองพะเยาต่อเมืองน่านกันต่อ โดยในตอนนี้จะเป็นตอนที่ 2 ที่ผมจะเล่าประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวในวันที่ 4 ของทริปนี้ซึ่งเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอปัวและอำเภอท่าวังผาของจังหวัดน่าน ผู้ชมหลายท่านคงเคยชมภาพสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอปัวมาจากหลาย ๆ กระทู้ในห้องบลูเพลนเน็ตกันแล้ว เพราะเมืองปัวเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ท้องทุ่งนากับฉากหลังภูเขาที่สวยงาม รวมทั้งบรรยากาศของวัดวาอารามทางเหนือที่มีงานศิลปกรรมงดงามแปลกตาไปจากภาคอื่น จึงเป็นแรงดึงดูดสำคัญให้นักท่องเที่ยวต่างพยายามเดินทางแวะเวียนเข้าไปเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในอำเภอปัวกันเป็นมาก ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่เห็นภาพสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอปัวจากเว็บพันทิปนี้แล้วก็เก็บเป็นลิสสำคัญที่ต้องเดินทางมาดูด้วยสายตาตนเองให้ได้ เรียกว่าต้องมนต์เสน่ห์ของเมืองปัวไปอีกคนนั่นเอง ยังไง ๆ ผู้ชมที่อ่านกระทูนี้ก็ลองหาโอกาสไปต้องมนต์เสน่ห์เมืองปัวเหมือนกับผมดูสักครั้ง แล้วจะได้รู้ว่าเมืองปัวน่าเที่ยวจริงหรือไม่ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับกำหนดการตระเวนเที่ยวของผมในทริปนี้ จำนวน 8 วันก่อนนะครับ
วันแรก : เดินทางจากกรุงเทพุฯ - อุตรดิตถ์ และเที่ยวย่านเมืองลับแล
วันที่ 2 : เที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
วันที่ 3 : เที่ยวเก็บตกในเมืองอุตรดิตถ์ และนั่งรถต่อไปยังเมืองน่าน
วันที่ 4 : เที่ยวย่านอำเภอปัว และอำเภอท่าวังผา
วันที่ 5 : เที่ยวชมทะเลหมอกภูลังกา และเที่ยวย่านอำเภอเชียงคำ
วันที่ 6 : เที่ยวย่านเมืองพะเยา และอำเภอดอกคำใต้
วันที่ 7 : เที่ยวย่านอำเภอเชียงม่วน และเที่ยวยามค่ำคืนในเมืองน่าน
วันที่ 8 : เที่ยวเก็บตกในเมืองน่าน และเดินทางกลับกรุงเทพฯ
วันที่ 4 : เที่ยวย่านอำเภอปัว และอำเภอท่าวังผา
เช้านี้ผมเดินลงมาจากห้องพัก เพื่อมาเสพวิวธรรมชาติหน้าโรงแรมที่พัก ซึ่งจะมองเห็นเรือกสวนไร่นาของชาวบ้านสลับกับบ้านเรือนผู้คนโดยมีฉากหลังเป็นภูเขาของดอยภูคา เรียกว่าที่พักตั้งอยู่บนเนินเขาในจุดที่สูง มองลงมาจึงเห็นวิวดีแจ่มมาก
ที่แรกที่ผมแวะไปเยือนในอำเภอปัวก็คือ
พระธาตุเบ็งสกัด ซึ่งเป็นพระเจดีย์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองวรนคร หรือเมืองปัว อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้กับที่พักมากเพียงแค่ 200 เมตรก็ถึงแล้ว
มาเยี่ยมชมวัดนี้แต่เช้า ยังไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยยวชมภายในวัดกันเลย ทำให้ผมเดินสำรวจและถ่ายรูปวัดได้อย่างสบาย ไม่ต้องกลัวว่าจะถ่ายรูปติดใครในเฟรม ตามประวัติกล่าวว่า เดิมจุดที่สร้างพระธาตุเบ็งสกัดซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดแห่งนี้เคยเป็นบ่อน้ำมาก่อน เมื่อใช้ไม้แหย่ลงไปที่บ่อน้ำจะเกิดสิ่งอัศจรรย์ขึ้นคือ ไม้นั้นจะขาดเป็นท่อน ๆ เหมือนมีอะไรมาตัดให้ขาด พญาภูคาผู้ครองเมืองวรนครจึงได้ก่อสร้างพระธาตุองค์นี้ขึ้นโดยสร้างครอบบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ พร้อมกับสร้างวิหารทรงตะคุ่มหรือเรียกว่า
“ทรงเจี้ยแต้” ไว้ด้วย
ด้วยเหตุนี้พระธาตุอง์นี้จึงได้ว่า
“เบ็งสกัด” ซึ่งแปลว่า
ปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นที่จากบ่อดิน ปาฏิหาริย์ขององค์พระธาตุนี้ยังปรากฏมีในตำนานเล่าขนานกันต่อมาว่า เมื่อครั้งที่มีการจัดงานเฉลิมฉลององค์พระธาตุ ได้บังเกิดมีแสงสว่างออกมาจากองค์พระธาตุ มีรัศมีเหมือนพระจันทร์ทรงกลดและวนเวียนไปมารอบ ๆ พระธาตุ ทำให้สว่างไสวไปทั่วบริเวณงาน
องค์พระธาตุได้รับการบูรณะจากเจ้าผุ้ครองเมืองวรนครและเมืองน่านสืบต่ออีกหลายพระองค์ จนถึงปัจจุบัน รูปแบบขององค์พระธาตุที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นรูปแบบศิลปะล้านนา ส่วนวิหารของพระธาตุเป็นวิหารแบบไทลื้อ ซึ่งวิหารลักษณะดังกล่าวนี้ได้มีการสร้างเป็นอย่างในเมืองปัว เมืองน่าน ตลอดถึงเมืองพะเยาอีกด้วย
พระพุทธรูปที่เป็นประธานของวัดประดิษฐานอยู่ในวิหารข้างพระธาตุเบ็งสกัด เป็นพุทธศิลป์แบบพื้นเมืองของชาวน่าน
วิวที่มองจากวัดพระธาตุเบ็งสกัด จะเห็นท้องทุ่งนาของชาวบ้านในเขตตำบลวรนคร และภูเขาไกล ๆ ที่เป็นฉากหลังของเมืองปัวก็คือ ดอยภูคา
ริมถนนใกล้บันไดทางขึ้นวัดพระธาตุเบ็งสกัดมีจุดเช็คอินให้นักท่องเที่ยวแวะมาถ่ายรูป ถ้าไม่มาถ่ายจุดนี้ถือว่ามาไม่ถึงเมืองปัว นั่นคือกำแพงเมืองวรนคร ซึ่งเป็นกำแพงก่ออิฐที่ทำขึ้นมาใหม่เลียนแบบกำแพงเมืองโบราณ ผมเองก็ไม่พลาดที่จะจอดรถถ่ายรูปที่จุดเช็คอินนี้เหมือนกัน
ต่อมาผมขี่รถไปยัง
วัดปรางค์ วัดที่มีชื่อเสียงจากต้นไม้กระดิกได้ที่ชื่อ
ต้นดิกเดียม วัดนี้อยู่ไม่ห่างจากวัดพระธาตุเบ็งสกัดมากนัก
มาวัดวันนี้ยังเงียบเหงามีนักท่องเที่ยวมาชมต้นดิกเดียมกันน้อยมาก ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเป็นวันธรรมดาหรือเพราะต้นดิกเดียมต้นเก่าได้ล้มลงไปแล้ว คนจึงแห่มาชมต้นไม้นี้น้อยลง ต้นดิกเดียมที่เห็นในวัดตอนนี้รู้สึกจะเป็นต้นใหม่ ไม่ใช่ต้นเก่า เพราะมีความสูงไม่มากนัก ตั้งอยู่หน้าด้านวิหาร
ถ้าจอดรถเข้ามาในวัดก็ให้เดินเลยวิหารไปข้างหน้าจะเจอต้นดิกเดียม ผมลองเอามือไปลูบและเกาลำต้นดิกเดียมตามที่เคยได้ยินมาว่าต้นไม้มันจะสั่นไหว เหมือนมันจั๊กจี้ แต่พอลองทำหลายครั้งหลายหนก็ไม่เห็นต้นมันจะสั่นไหวแต่อย่างใด ก็เลยนึกว่าสงสัยต้นใหม่มันจะไม่สั่นเหมือนต้นเก่าละมั้ง เห็นนักท่องเที่ยวอีกคณะที่มาก็ลองทำเหมือนผม ผลก็คือต้นไม้นั้นมันก็ยังไม่สั่นเหมือนเช่นเดิม
ภายในวิหารของวัดปรางค์มีพระพุทธรูปและภาพจิตรกรรมฝาผนังให้ชมกัน แต่รู้สึกจะเป็นงานที่สร้างขึ้นมาใหม่
เป้าหมายต่อไปที่ผมขี่รถไปชมก็คือ
วัดร้องแง เป็นวัดในศิลปะไทลื้อที่งดงามอีกแห่งหนึ่งของอำเภอปัว ตัววิหารของวัดยังคงได้รับการรักษาไว้ให้คงสภาพเดิมเป็นอย่างมาก
ในวันที่ผมไปชมวิหารของวัดนี้ก็ยังคงเห็นชาวบ้านต่างช่วยกันทาสีตกแต่งวิหารน้อยของวัดให้มีสีสันและลวดลายที่สดสวย แปลว่าชาวบ้านที่นี่ถือว่าวิหารของวัดนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชุมชนเขา พวกเขาจึงอนุรักษ์และหวงแหน พยายามรักษาสมบัติทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ให้ยังคงสมบูรณ์และสะท้อนคุณค่าในตัวของมันเองสืบต่อไป
บานประตูของวิหารน้อยหลังทาสีและบูรณะเสร็จแล้ว ดูใหม่สีสันสดและสวยงามมาก
ใกล้ ๆ กับวิหารของวัด ด้านหน้าวัดยังมีอนุสาวรีย์เจ้าหลวงเทพพญาเลนที่ยกทัพมาต้านทานศัตรูที่มารุกรานเมืองวรนคร
ด้านข้างของอนุสาวรีย์เจ้าหลวงเทพพญาเลนเราจะเห็นท้องทุ่งนาของชาวบ้านซึ่งตอนนี้ต้นข้าวมีสีเหลืองแก่ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้แล้ว โดยมีฉากหลังเป็นดอยภูคาอยู่ไม่ไกล
วัดนี้โดดเด่นด้วยวิหารของวัดที่สร้างเป็นวิหารแบบไทลื้อที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของงานศิลปกรรมได้เหมือนเดิม
ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปและภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทลื้อที่ยังคงความเป็นของเก่าอยู่ค่อนข้างสมบูรณ์
ภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านหลังพระประธานภายในวิหารวาดเรื่องราวเกี่ยวกับนรกขุมต่าง ๆ ตามความเชื่อไตรภูมิของชาวไทลื้อ
ผมมาชมวิหารหลังนี้หลังวันออกพรรษาไม่นานจึงยังคงเห็นตุงและดอกไม้พันที่ชาวบ้านนำมาถวายวัด ห้อยแขวนอยู่ระหว่างเสาต่าง ๆ ภายในวิหารมากมาย
วัดร้องแงจึงเป็นอีกหนึ่งจุดหมายที่ผมคิดว่า นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวอำเภอปัวไม่ควรพลาด ยิ่งถ้าคุณเป็นคนชอบดูงานศิลปกรรมด้วยแล้วยิ่งไม่ควรพลาดชม
ตระเวนเดี่ยวเที่ยวเมืองอุตรดิตถ์ เมืองพะเยาต่อเมืองน่าน ตอนที่ 2
กลับมารีวิวกระทู้ท่องเที่ยวไทยตระเวนเดี่ยวเที่ยวเมืองอุตรดิตถ์ เมืองพะเยาต่อเมืองน่านกันต่อ โดยในตอนนี้จะเป็นตอนที่ 2 ที่ผมจะเล่าประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวในวันที่ 4 ของทริปนี้ซึ่งเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอปัวและอำเภอท่าวังผาของจังหวัดน่าน ผู้ชมหลายท่านคงเคยชมภาพสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอปัวมาจากหลาย ๆ กระทู้ในห้องบลูเพลนเน็ตกันแล้ว เพราะเมืองปัวเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ท้องทุ่งนากับฉากหลังภูเขาที่สวยงาม รวมทั้งบรรยากาศของวัดวาอารามทางเหนือที่มีงานศิลปกรรมงดงามแปลกตาไปจากภาคอื่น จึงเป็นแรงดึงดูดสำคัญให้นักท่องเที่ยวต่างพยายามเดินทางแวะเวียนเข้าไปเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในอำเภอปัวกันเป็นมาก ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่เห็นภาพสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอปัวจากเว็บพันทิปนี้แล้วก็เก็บเป็นลิสสำคัญที่ต้องเดินทางมาดูด้วยสายตาตนเองให้ได้ เรียกว่าต้องมนต์เสน่ห์ของเมืองปัวไปอีกคนนั่นเอง ยังไง ๆ ผู้ชมที่อ่านกระทูนี้ก็ลองหาโอกาสไปต้องมนต์เสน่ห์เมืองปัวเหมือนกับผมดูสักครั้ง แล้วจะได้รู้ว่าเมืองปัวน่าเที่ยวจริงหรือไม่ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับกำหนดการตระเวนเที่ยวของผมในทริปนี้ จำนวน 8 วันก่อนนะครับ
วันแรก : เดินทางจากกรุงเทพุฯ - อุตรดิตถ์ และเที่ยวย่านเมืองลับแล
วันที่ 2 : เที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
วันที่ 3 : เที่ยวเก็บตกในเมืองอุตรดิตถ์ และนั่งรถต่อไปยังเมืองน่าน
วันที่ 4 : เที่ยวย่านอำเภอปัว และอำเภอท่าวังผา
วันที่ 5 : เที่ยวชมทะเลหมอกภูลังกา และเที่ยวย่านอำเภอเชียงคำ
วันที่ 6 : เที่ยวย่านเมืองพะเยา และอำเภอดอกคำใต้
วันที่ 7 : เที่ยวย่านอำเภอเชียงม่วน และเที่ยวยามค่ำคืนในเมืองน่าน
วันที่ 8 : เที่ยวเก็บตกในเมืองน่าน และเดินทางกลับกรุงเทพฯ
วันที่ 4 : เที่ยวย่านอำเภอปัว และอำเภอท่าวังผา
เช้านี้ผมเดินลงมาจากห้องพัก เพื่อมาเสพวิวธรรมชาติหน้าโรงแรมที่พัก ซึ่งจะมองเห็นเรือกสวนไร่นาของชาวบ้านสลับกับบ้านเรือนผู้คนโดยมีฉากหลังเป็นภูเขาของดอยภูคา เรียกว่าที่พักตั้งอยู่บนเนินเขาในจุดที่สูง มองลงมาจึงเห็นวิวดีแจ่มมาก
ที่แรกที่ผมแวะไปเยือนในอำเภอปัวก็คือ พระธาตุเบ็งสกัด ซึ่งเป็นพระเจดีย์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองวรนคร หรือเมืองปัว อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้กับที่พักมากเพียงแค่ 200 เมตรก็ถึงแล้ว
มาเยี่ยมชมวัดนี้แต่เช้า ยังไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยยวชมภายในวัดกันเลย ทำให้ผมเดินสำรวจและถ่ายรูปวัดได้อย่างสบาย ไม่ต้องกลัวว่าจะถ่ายรูปติดใครในเฟรม ตามประวัติกล่าวว่า เดิมจุดที่สร้างพระธาตุเบ็งสกัดซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดแห่งนี้เคยเป็นบ่อน้ำมาก่อน เมื่อใช้ไม้แหย่ลงไปที่บ่อน้ำจะเกิดสิ่งอัศจรรย์ขึ้นคือ ไม้นั้นจะขาดเป็นท่อน ๆ เหมือนมีอะไรมาตัดให้ขาด พญาภูคาผู้ครองเมืองวรนครจึงได้ก่อสร้างพระธาตุองค์นี้ขึ้นโดยสร้างครอบบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ พร้อมกับสร้างวิหารทรงตะคุ่มหรือเรียกว่า “ทรงเจี้ยแต้” ไว้ด้วย
ด้วยเหตุนี้พระธาตุอง์นี้จึงได้ว่า “เบ็งสกัด” ซึ่งแปลว่า ปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นที่จากบ่อดิน ปาฏิหาริย์ขององค์พระธาตุนี้ยังปรากฏมีในตำนานเล่าขนานกันต่อมาว่า เมื่อครั้งที่มีการจัดงานเฉลิมฉลององค์พระธาตุ ได้บังเกิดมีแสงสว่างออกมาจากองค์พระธาตุ มีรัศมีเหมือนพระจันทร์ทรงกลดและวนเวียนไปมารอบ ๆ พระธาตุ ทำให้สว่างไสวไปทั่วบริเวณงาน
องค์พระธาตุได้รับการบูรณะจากเจ้าผุ้ครองเมืองวรนครและเมืองน่านสืบต่ออีกหลายพระองค์ จนถึงปัจจุบัน รูปแบบขององค์พระธาตุที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นรูปแบบศิลปะล้านนา ส่วนวิหารของพระธาตุเป็นวิหารแบบไทลื้อ ซึ่งวิหารลักษณะดังกล่าวนี้ได้มีการสร้างเป็นอย่างในเมืองปัว เมืองน่าน ตลอดถึงเมืองพะเยาอีกด้วย
พระพุทธรูปที่เป็นประธานของวัดประดิษฐานอยู่ในวิหารข้างพระธาตุเบ็งสกัด เป็นพุทธศิลป์แบบพื้นเมืองของชาวน่าน
วิวที่มองจากวัดพระธาตุเบ็งสกัด จะเห็นท้องทุ่งนาของชาวบ้านในเขตตำบลวรนคร และภูเขาไกล ๆ ที่เป็นฉากหลังของเมืองปัวก็คือ ดอยภูคา
ริมถนนใกล้บันไดทางขึ้นวัดพระธาตุเบ็งสกัดมีจุดเช็คอินให้นักท่องเที่ยวแวะมาถ่ายรูป ถ้าไม่มาถ่ายจุดนี้ถือว่ามาไม่ถึงเมืองปัว นั่นคือกำแพงเมืองวรนคร ซึ่งเป็นกำแพงก่ออิฐที่ทำขึ้นมาใหม่เลียนแบบกำแพงเมืองโบราณ ผมเองก็ไม่พลาดที่จะจอดรถถ่ายรูปที่จุดเช็คอินนี้เหมือนกัน
ต่อมาผมขี่รถไปยัง วัดปรางค์ วัดที่มีชื่อเสียงจากต้นไม้กระดิกได้ที่ชื่อ ต้นดิกเดียม วัดนี้อยู่ไม่ห่างจากวัดพระธาตุเบ็งสกัดมากนัก
มาวัดวันนี้ยังเงียบเหงามีนักท่องเที่ยวมาชมต้นดิกเดียมกันน้อยมาก ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเป็นวันธรรมดาหรือเพราะต้นดิกเดียมต้นเก่าได้ล้มลงไปแล้ว คนจึงแห่มาชมต้นไม้นี้น้อยลง ต้นดิกเดียมที่เห็นในวัดตอนนี้รู้สึกจะเป็นต้นใหม่ ไม่ใช่ต้นเก่า เพราะมีความสูงไม่มากนัก ตั้งอยู่หน้าด้านวิหาร
ถ้าจอดรถเข้ามาในวัดก็ให้เดินเลยวิหารไปข้างหน้าจะเจอต้นดิกเดียม ผมลองเอามือไปลูบและเกาลำต้นดิกเดียมตามที่เคยได้ยินมาว่าต้นไม้มันจะสั่นไหว เหมือนมันจั๊กจี้ แต่พอลองทำหลายครั้งหลายหนก็ไม่เห็นต้นมันจะสั่นไหวแต่อย่างใด ก็เลยนึกว่าสงสัยต้นใหม่มันจะไม่สั่นเหมือนต้นเก่าละมั้ง เห็นนักท่องเที่ยวอีกคณะที่มาก็ลองทำเหมือนผม ผลก็คือต้นไม้นั้นมันก็ยังไม่สั่นเหมือนเช่นเดิมภายในวิหารของวัดปรางค์มีพระพุทธรูปและภาพจิตรกรรมฝาผนังให้ชมกัน แต่รู้สึกจะเป็นงานที่สร้างขึ้นมาใหม่
เป้าหมายต่อไปที่ผมขี่รถไปชมก็คือ วัดร้องแง เป็นวัดในศิลปะไทลื้อที่งดงามอีกแห่งหนึ่งของอำเภอปัว ตัววิหารของวัดยังคงได้รับการรักษาไว้ให้คงสภาพเดิมเป็นอย่างมาก
ในวันที่ผมไปชมวิหารของวัดนี้ก็ยังคงเห็นชาวบ้านต่างช่วยกันทาสีตกแต่งวิหารน้อยของวัดให้มีสีสันและลวดลายที่สดสวย แปลว่าชาวบ้านที่นี่ถือว่าวิหารของวัดนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชุมชนเขา พวกเขาจึงอนุรักษ์และหวงแหน พยายามรักษาสมบัติทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ให้ยังคงสมบูรณ์และสะท้อนคุณค่าในตัวของมันเองสืบต่อไป
บานประตูของวิหารน้อยหลังทาสีและบูรณะเสร็จแล้ว ดูใหม่สีสันสดและสวยงามมาก
ใกล้ ๆ กับวิหารของวัด ด้านหน้าวัดยังมีอนุสาวรีย์เจ้าหลวงเทพพญาเลนที่ยกทัพมาต้านทานศัตรูที่มารุกรานเมืองวรนคร
ด้านข้างของอนุสาวรีย์เจ้าหลวงเทพพญาเลนเราจะเห็นท้องทุ่งนาของชาวบ้านซึ่งตอนนี้ต้นข้าวมีสีเหลืองแก่ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้แล้ว โดยมีฉากหลังเป็นดอยภูคาอยู่ไม่ไกล
วัดนี้โดดเด่นด้วยวิหารของวัดที่สร้างเป็นวิหารแบบไทลื้อที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของงานศิลปกรรมได้เหมือนเดิม
ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปและภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทลื้อที่ยังคงความเป็นของเก่าอยู่ค่อนข้างสมบูรณ์
ภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านหลังพระประธานภายในวิหารวาดเรื่องราวเกี่ยวกับนรกขุมต่าง ๆ ตามความเชื่อไตรภูมิของชาวไทลื้อ
ผมมาชมวิหารหลังนี้หลังวันออกพรรษาไม่นานจึงยังคงเห็นตุงและดอกไม้พันที่ชาวบ้านนำมาถวายวัด ห้อยแขวนอยู่ระหว่างเสาต่าง ๆ ภายในวิหารมากมาย
วัดร้องแงจึงเป็นอีกหนึ่งจุดหมายที่ผมคิดว่า นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวอำเภอปัวไม่ควรพลาด ยิ่งถ้าคุณเป็นคนชอบดูงานศิลปกรรมด้วยแล้วยิ่งไม่ควรพลาดชม