ผู้ป่วยโรคหัวใจควรพิจารณา การฟื้นฟูหัวใจ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
5 พ.ย. 2561 10:01 น.
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกาได้รายงานลงวารสารการแพทย์ด้านหทัยวิทยา (Cardiology) เมื่อเร็วๆนี้เกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจวาย ซึ่งรักษาด้วยการใส่ขดลวดค้ำยันหรือการผ่าตัดหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจที่เรียกว่าผ่าตัดบายพาสหัวใจ อาจต้องพิจารณาถึงการเข้าแผนงานที่ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจให้ดีขึ้น
นักวิจัยเผยว่า แผนงานดังกล่าวมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีเป้าหมายในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจพร้อมกับหยุดหรือยับยั้งการกลับมาลุกลามของโรคหัวใจ โดยมุ่งเน้นให้คำปรึกษาตั้งแต่เรื่องโภชนาการ การออกกำลังกายที่เป็นรากฐานสำคัญของแผนงานนี้ การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ติดบุหรี่ให้เลิกสูบได้ ช่วยจัดการกับความเครียด ช่วยเหลือด้านจิตวิทยา และให้ความรู้เรื่องของโรคหัวใจรวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ความดันโลหิต โรคเบาหวาน และคอเลสเทอรอล
นักวิจัยเผยว่า บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะไม่ยอมออกกำลังกายและเกิดความเครียด บางคนก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นหรือจัดการดูแลสุขภาพหัวใจของตนเองอย่างไร ซึ่งแผนงานนี้ไม่เพียงช่วยให้หัวใจฟื้นตัว แต่ยังสามารถลดความวิตกกังวล ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางหัวใจ รวมถึงปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ นอกจากนี้ นักวิจัยกำลังมองถึงการนำเทคโนโลยีสร้างโปรแกรมเกี่ยวกับหัวใจโดยใช้อุปกรณ์สวมใส่อย่างนาฬิกาที่แสดงอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ มาใช้กับแผนงานซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความคล่องตัวมากขึ้น.
หัวใจวาย โรคหัวใจ ผ่าตัดบายพาสหัวใจ ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจ การศึกษา
คุณอาจสนใจข่าวนี้
Source:
https://www.thairath.co.th/content/1411663,
ผู้ป่วยโรคหัวใจควรพิจารณา การฟื้นฟูหัวใจ
ผู้ป่วยโรคหัวใจควรพิจารณา การฟื้นฟูหัวใจ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
5 พ.ย. 2561 10:01 น.
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกาได้รายงานลงวารสารการแพทย์ด้านหทัยวิทยา (Cardiology) เมื่อเร็วๆนี้เกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจวาย ซึ่งรักษาด้วยการใส่ขดลวดค้ำยันหรือการผ่าตัดหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจที่เรียกว่าผ่าตัดบายพาสหัวใจ อาจต้องพิจารณาถึงการเข้าแผนงานที่ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจให้ดีขึ้น
นักวิจัยเผยว่า แผนงานดังกล่าวมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีเป้าหมายในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจพร้อมกับหยุดหรือยับยั้งการกลับมาลุกลามของโรคหัวใจ โดยมุ่งเน้นให้คำปรึกษาตั้งแต่เรื่องโภชนาการ การออกกำลังกายที่เป็นรากฐานสำคัญของแผนงานนี้ การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ติดบุหรี่ให้เลิกสูบได้ ช่วยจัดการกับความเครียด ช่วยเหลือด้านจิตวิทยา และให้ความรู้เรื่องของโรคหัวใจรวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ความดันโลหิต โรคเบาหวาน และคอเลสเทอรอล
นักวิจัยเผยว่า บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะไม่ยอมออกกำลังกายและเกิดความเครียด บางคนก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นหรือจัดการดูแลสุขภาพหัวใจของตนเองอย่างไร ซึ่งแผนงานนี้ไม่เพียงช่วยให้หัวใจฟื้นตัว แต่ยังสามารถลดความวิตกกังวล ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางหัวใจ รวมถึงปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ นอกจากนี้ นักวิจัยกำลังมองถึงการนำเทคโนโลยีสร้างโปรแกรมเกี่ยวกับหัวใจโดยใช้อุปกรณ์สวมใส่อย่างนาฬิกาที่แสดงอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ มาใช้กับแผนงานซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความคล่องตัวมากขึ้น.
หัวใจวาย โรคหัวใจ ผ่าตัดบายพาสหัวใจ ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจ การศึกษา
คุณอาจสนใจข่าวนี้
Source: https://www.thairath.co.th/content/1411663,