เปิดชิงก่อสร้างตอน2 รถไฟไทย-จีน “สีคิ้ว-กุดจิก”3.35 พันล. 18 ธ.ค.ยื่นซอง ก่อสร้างใน 18 เดือน
เผยแพร่: 4 พ.ย. 2561 11:20 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
รฟท.เปิดขายซองประมูล รถไฟไทย-จีนช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 กม. มูลค่า 3.35 พันล.แล้ว ตั้งแต่ 1 พ.ย.ยื่นซอง17 ธ.ค.61 และให้ยื่นซองประมูลในวันที่18 ธ.ค. ขีดระยะเวลาก่อสร้างไม่เกิน 18 เดือน
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้วว่า หลังจากได้นำร่างทีโออาร์ ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 2-1 งานโยธาสำหรับช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม.ราคากลาง 3,350,475,000 บาท ขึ้นเวปเพื่อรับฟังคำวิจารณ์แล้วตามขั้นตอน เมื่อวันที่1พ.ย.2561 รฟท. ได้ประกาศเปิดขายเอกสารประกวดราคาด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 1พ.ย.-17 ธ.ค.2561 และกำหนดให้ยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding)
โดยจะขายซองตั้งแต่วันที่ 1พ.ย.-วันที่ 17 ธ.ค.2561 และให้ยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 18 ธ.ค.2561 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น.
โดยกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติผู้เสนอราคา กรณีเป็นผู้ร่วมค้าทุกรายต้องมีอาชีพรับจ้างงานประกวดราคา โดยมีผลงานอย่างหนึ่งอย่างใด คือ ผลงานก่อสร้างทางรถไฟที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท (หมายถึง การก่อสร้างทางรถไฟและติดตั้งระบบรางรถไฟ หรือผลงานก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟ และติดตั้งระบบรถไฟฟ้า หรือผลงานปรับปรุงทางรถไฟ (Track Rehabilitation) หรือผลงานเสริมความมั่นคงโครงสร้างทาง (Track Strengthening) หรือผลงานปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ หรือผลงานในลักษณะเดียวกัน เป็นได้ทั้งรูปแบบเสมอระดับ (At Grade) หรือยกระดับ(Elevated) หรือใต้ดิน (Underground) ทั้งนี้ไม่รวมผลงานก่อสร้างโรงซ่อมบำรุงรถไฟ หรือรถไฟฟ้า และผลงานปรับปรุงโครงสร้างทางหลีก)
ผลงานก่อสร้างงานโยธาที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท (หมายถึงผลงานก่อสร้างถนน หรือผลงานก่อสร้างสะพาน หรือผลงานก่อสร้างทางลอด หรือผลงานก่อสร้างทางยกระดับ หรือผลงานก่อสร้างอุโมงค์)
สำหรับรูปแบบการก่อสร้าง ประกอบด้วย 1. ทางรถไฟระยะทาง 11 กม. แบ่งเป็นการก่อสร้างคันทางรถไฟระดับดิน ระยะทาง 7 กม. โครงสร้างทางรถไฟยกระดับ ระยะทาง 4 กม. 2. ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Station yard) 1 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ควบคุมการเดินรถ หอพัก ที่ล้างรถ เป็นต้น 3. งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายราง ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และงานอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับโครงการ
โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค 1. รายละเอียดการปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการจำเพาะ 10 คะแนน 2. การบริหารจัดการและแผนงานโครงการ 20 คะแนน 3. บุคลากร 20 คะแนน 4. เครื่องจักรและอุปกรณ์ 10 คะแนน 5. วิธีการก่อสร้าง 40 คะแนน โดยผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องได้คะแนนแต่ละหัวข้อไม่น้อยกว่า 60% และเมื่อรวมคะแนนทุกหัวข้อต้องได้ไม่น้อยกว่า 75% จึงจะผ่านการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค
โดยต้องดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 18 เดือน นับจากวันที่ได้รับแจ้งให้เริ่มทำงานจาก ร.ฟ.ท.
https://mgronline.com/business/detail/9610000110000
คืบหน้าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ทำได้ 40%
กรมทางหลวง เผยงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงแรก ล่าช้ากว่าแผน ทำได้ 40% คาดแล้วเสร็จ ก.พ.-มี.ค.62
นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมาที่จะเริ่มก่อนในช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.วงเงินการก่อสร้าง 425 ล้านบาท มีความคืบหน้า 40% ถือว่าล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด โดยตามแผนจะต้องแล้วเสร็จในเดือน ต.ค.61 เนื่องติดปัญหาเรื่องของวัสดุนำเข้าจีโอเทคไทล์ และการสับสนเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณจากการรถไฟฯ จึงเป็นสาเหตุให้เกิดความล่าช้า คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จประมาณเดือนก.พ.-มี.ค.62 แต่ยืนยันไม่ได้กระทบแผนโครงการทั้งหมดเนื่องจากยังต้องรองานวางราง ซึ่งสัญญา 3.2 ยังไม่เรียบร้อย
ส่วนโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) ช่วงพัทยา -มาบตาพุด ขณะนี้มีความคืบหน้าประมาณ 80% โดยมีสัญญาก่อสร้างงานโครงการทั้งหมด 13 ตอน เซ็นสัญญาทั้งหมดแล้ว ส่วนตอนที่ 14 เป็นสัญญางานก่อสร้างระบบบริหารจัดเก็บค่าผ่านและซ่อมบำรุง (O&M) เซ็นสัญญาแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าการก่อสร้างจะใช้ระยะเวลาไม่เกิน2ปี ตามแผนจะสามารถเริ่มทดสอบระบบในปี 62 และเปิดใช้งานเต็มรูปแบบในปี 63 สอดคล้องกับแผนงานพัฒนาเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ปี 60 -64 ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ
ในวันนี้ กรมทางหลวง ได้รับมอบเงินสนับสนุนจำนวน 95 ล้านบาท จากศูนย์การค้าเมกาบางนา โดยบริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด เพื่อก่อสร้างสะพานกลับรถแห่งใหม่ในเขตทางหลวงหมายเลข34 ถ.บางนา-ตราด ช่วงกิโลเมตรที่ 7 ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรบริเวณถ.บางนา-ตราด และยังช่วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงหลักในเส้นทางสายตะวันออก และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อีกด้วย
อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า ทล. จะดำเนินการจัดทำเอกสาร TOR เปิดประมูลคัดเลือกผู้รับเหมาภายใน 3เดือน ซึ่งเป็นลักษณะประมูลแบบ e-bidding และใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 12 เดือน หรือแล้วเสร็จในปี 63 ซึ่งเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จศูนย์การค้าเมกาบางนา จะมอบสะพานกลับให้กับกรมทางหลวง แต่ทางเมกาบางนา จะดูแล การบำรุงรักษาเอง โดยกรมฯจะดูแลแนะนำ
นายคริสเตียน โอลอฟสัน ผอ.ศูนย์การค้าและโครงการมิกซ์ยูส อิเกียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ขณะนี้มีลูกค้าของเมกาบางนาใช้เส้นทางด้านเหนือคือถนนวงแหวนรอบนอก และถนนบางนา-ตราด เป็นเส้นทางหลักถึง 40% หรือ มีรถประมาณ 1.3 ล้านคันต่อเดือน ที่ต้องไปใช้สะพานกลับรถ ที่กม.4.5 ห่างจากเมกาบางนา 4 กม. มีปัญกาจราจรติดขัด เมกาบางนา สนัสนุนการก่อสร้างยูเทิร์นใหม่ กม.7 ซึ่งห่างจากเมกาบางนา 1 กม. เพื่อช่วยให้ลูกค้าเดินทางเข้าออกสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้ามาใช้บริการมากขึ้น20%
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/8173
สร้างรถไฟความเร็วสูงก็เหมือนโรดแม็บเลือกตั้งของลุงตู่นะคะ
มีเลื่อน ไม่ตรงเวลา แต่อย่างไรก็มีเลือกตั้ง อย่างไรเสร็จในที่สุดค่ะ
คนไทยต้องได้นั่งรถไฟความเร็วสู้งสูง แน่ๆค่ะ .....
อยากรับประทานมาม่าแต่เช้าเลยค่ะ...55
🚂~มาลาริน~ปู๊นๆรถเต่าถอยไปรถไฟความเร็วสูงมาอีกแล้วค่ะ...เปิดชิงรถไฟไทย-จีน “สีคิ้ว-กุดจิก”3.35 พันล้าน เสร็จใน 18 เดือน
เปิดชิงก่อสร้างตอน2 รถไฟไทย-จีน “สีคิ้ว-กุดจิก”3.35 พันล. 18 ธ.ค.ยื่นซอง ก่อสร้างใน 18 เดือน
เผยแพร่: 4 พ.ย. 2561 11:20 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
รฟท.เปิดขายซองประมูล รถไฟไทย-จีนช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 กม. มูลค่า 3.35 พันล.แล้ว ตั้งแต่ 1 พ.ย.ยื่นซอง17 ธ.ค.61 และให้ยื่นซองประมูลในวันที่18 ธ.ค. ขีดระยะเวลาก่อสร้างไม่เกิน 18 เดือน
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้วว่า หลังจากได้นำร่างทีโออาร์ ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 2-1 งานโยธาสำหรับช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม.ราคากลาง 3,350,475,000 บาท ขึ้นเวปเพื่อรับฟังคำวิจารณ์แล้วตามขั้นตอน เมื่อวันที่1พ.ย.2561 รฟท. ได้ประกาศเปิดขายเอกสารประกวดราคาด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 1พ.ย.-17 ธ.ค.2561 และกำหนดให้ยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding)
โดยจะขายซองตั้งแต่วันที่ 1พ.ย.-วันที่ 17 ธ.ค.2561 และให้ยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 18 ธ.ค.2561 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น.
โดยกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติผู้เสนอราคา กรณีเป็นผู้ร่วมค้าทุกรายต้องมีอาชีพรับจ้างงานประกวดราคา โดยมีผลงานอย่างหนึ่งอย่างใด คือ ผลงานก่อสร้างทางรถไฟที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท (หมายถึง การก่อสร้างทางรถไฟและติดตั้งระบบรางรถไฟ หรือผลงานก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟ และติดตั้งระบบรถไฟฟ้า หรือผลงานปรับปรุงทางรถไฟ (Track Rehabilitation) หรือผลงานเสริมความมั่นคงโครงสร้างทาง (Track Strengthening) หรือผลงานปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ หรือผลงานในลักษณะเดียวกัน เป็นได้ทั้งรูปแบบเสมอระดับ (At Grade) หรือยกระดับ(Elevated) หรือใต้ดิน (Underground) ทั้งนี้ไม่รวมผลงานก่อสร้างโรงซ่อมบำรุงรถไฟ หรือรถไฟฟ้า และผลงานปรับปรุงโครงสร้างทางหลีก)
ผลงานก่อสร้างงานโยธาที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท (หมายถึงผลงานก่อสร้างถนน หรือผลงานก่อสร้างสะพาน หรือผลงานก่อสร้างทางลอด หรือผลงานก่อสร้างทางยกระดับ หรือผลงานก่อสร้างอุโมงค์)
สำหรับรูปแบบการก่อสร้าง ประกอบด้วย 1. ทางรถไฟระยะทาง 11 กม. แบ่งเป็นการก่อสร้างคันทางรถไฟระดับดิน ระยะทาง 7 กม. โครงสร้างทางรถไฟยกระดับ ระยะทาง 4 กม. 2. ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Station yard) 1 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ควบคุมการเดินรถ หอพัก ที่ล้างรถ เป็นต้น 3. งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายราง ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และงานอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับโครงการ
โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค 1. รายละเอียดการปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการจำเพาะ 10 คะแนน 2. การบริหารจัดการและแผนงานโครงการ 20 คะแนน 3. บุคลากร 20 คะแนน 4. เครื่องจักรและอุปกรณ์ 10 คะแนน 5. วิธีการก่อสร้าง 40 คะแนน โดยผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องได้คะแนนแต่ละหัวข้อไม่น้อยกว่า 60% และเมื่อรวมคะแนนทุกหัวข้อต้องได้ไม่น้อยกว่า 75% จึงจะผ่านการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค
โดยต้องดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 18 เดือน นับจากวันที่ได้รับแจ้งให้เริ่มทำงานจาก ร.ฟ.ท.
https://mgronline.com/business/detail/9610000110000
คืบหน้าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ทำได้ 40%
กรมทางหลวง เผยงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงแรก ล่าช้ากว่าแผน ทำได้ 40% คาดแล้วเสร็จ ก.พ.-มี.ค.62
นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมาที่จะเริ่มก่อนในช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.วงเงินการก่อสร้าง 425 ล้านบาท มีความคืบหน้า 40% ถือว่าล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด โดยตามแผนจะต้องแล้วเสร็จในเดือน ต.ค.61 เนื่องติดปัญหาเรื่องของวัสดุนำเข้าจีโอเทคไทล์ และการสับสนเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณจากการรถไฟฯ จึงเป็นสาเหตุให้เกิดความล่าช้า คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จประมาณเดือนก.พ.-มี.ค.62 แต่ยืนยันไม่ได้กระทบแผนโครงการทั้งหมดเนื่องจากยังต้องรองานวางราง ซึ่งสัญญา 3.2 ยังไม่เรียบร้อย
ส่วนโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) ช่วงพัทยา -มาบตาพุด ขณะนี้มีความคืบหน้าประมาณ 80% โดยมีสัญญาก่อสร้างงานโครงการทั้งหมด 13 ตอน เซ็นสัญญาทั้งหมดแล้ว ส่วนตอนที่ 14 เป็นสัญญางานก่อสร้างระบบบริหารจัดเก็บค่าผ่านและซ่อมบำรุง (O&M) เซ็นสัญญาแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าการก่อสร้างจะใช้ระยะเวลาไม่เกิน2ปี ตามแผนจะสามารถเริ่มทดสอบระบบในปี 62 และเปิดใช้งานเต็มรูปแบบในปี 63 สอดคล้องกับแผนงานพัฒนาเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ปี 60 -64 ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ
ในวันนี้ กรมทางหลวง ได้รับมอบเงินสนับสนุนจำนวน 95 ล้านบาท จากศูนย์การค้าเมกาบางนา โดยบริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด เพื่อก่อสร้างสะพานกลับรถแห่งใหม่ในเขตทางหลวงหมายเลข34 ถ.บางนา-ตราด ช่วงกิโลเมตรที่ 7 ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรบริเวณถ.บางนา-ตราด และยังช่วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงหลักในเส้นทางสายตะวันออก และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อีกด้วย
อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า ทล. จะดำเนินการจัดทำเอกสาร TOR เปิดประมูลคัดเลือกผู้รับเหมาภายใน 3เดือน ซึ่งเป็นลักษณะประมูลแบบ e-bidding และใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 12 เดือน หรือแล้วเสร็จในปี 63 ซึ่งเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จศูนย์การค้าเมกาบางนา จะมอบสะพานกลับให้กับกรมทางหลวง แต่ทางเมกาบางนา จะดูแล การบำรุงรักษาเอง โดยกรมฯจะดูแลแนะนำ
นายคริสเตียน โอลอฟสัน ผอ.ศูนย์การค้าและโครงการมิกซ์ยูส อิเกียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ขณะนี้มีลูกค้าของเมกาบางนาใช้เส้นทางด้านเหนือคือถนนวงแหวนรอบนอก และถนนบางนา-ตราด เป็นเส้นทางหลักถึง 40% หรือ มีรถประมาณ 1.3 ล้านคันต่อเดือน ที่ต้องไปใช้สะพานกลับรถ ที่กม.4.5 ห่างจากเมกาบางนา 4 กม. มีปัญกาจราจรติดขัด เมกาบางนา สนัสนุนการก่อสร้างยูเทิร์นใหม่ กม.7 ซึ่งห่างจากเมกาบางนา 1 กม. เพื่อช่วยให้ลูกค้าเดินทางเข้าออกสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้ามาใช้บริการมากขึ้น20%
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/8173
สร้างรถไฟความเร็วสูงก็เหมือนโรดแม็บเลือกตั้งของลุงตู่นะคะ
มีเลื่อน ไม่ตรงเวลา แต่อย่างไรก็มีเลือกตั้ง อย่างไรเสร็จในที่สุดค่ะ
คนไทยต้องได้นั่งรถไฟความเร็วสู้งสูง แน่ๆค่ะ .....
อยากรับประทานมาม่าแต่เช้าเลยค่ะ...55