กลับมารีวิวกระทู้ตระเวนเดี่ยวเที่ยวทั่วไทยกันอีกนะครับ คราวนี้จะเป็นการเล่าประสบการณ์การท่องเที่ยวในวันที่ 6 ของทริปนี้กันครับ โดยเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเมืองพะเยาและอำเภอดอกคำใต้ สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากนักในหมู่นักท่องเที่ยว และบางสถานที่ก็เพิ่งเปิดตัวมาได้ไม่นาน จังหวัดพะเยาจัดเป็นเมืองรองที่ใครหลาย ๆ คนมักมองผ่านคิดว่าไม่น่าจะมีแหล่งท่องเที่ยวอะไรสวยงามแปลกตา แต่แท้จริงแล้วทุกจังหวัดล้วนมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวยากที่จะหาสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดอื่นมาทดแทนได้ ด้วยความงามในเสน่ห์ของมันเอง ดังนั้นกระทู้ในตอนนี้จึงเป็นการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ของจังหวัดพะเยาให้ผู้ชมได้รู้จักกันนะครับ เผื่อมีโอกาสดีท่านจะได้แวะเวียนกันไปชมบ้างว่าสวยงามดังที่ผมโพสลงกระทู้นี้หรือไม่
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักการกำหนดการตระเวนเที่ยวของผมในทริปนี้ จำนวน 8 วันก่อนนะครับ
วันแรก : เดินทางจากกรุงเทพุฯ - อุตรดิตถ์ และเที่ยวย่านเมืองลับแล
วันที่ 2 : เที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
วันที่ 3 : เที่ยวเก็บตกในเมืองอุตรดิตถ์ และนั่งรถต่อไปยังเมืองน่าน
วันที่ 4 : เที่ยวย่านอำเภอปัว และอำเภอท่าวังผา
วันที่ 5 : เที่ยวชมทะเลหมอกภูลังกา และเที่ยวย่านอำเภอเชียงคำ
วันที่ 6 : เที่ยวย่านเมืองพะเยา และอำเภอดอกคำใต้
วันที่ 7 : เที่ยวย่านอำเภอเชียงม่วน และเที่ยวยามค่ำคืนในเมืองน่าน
วันที่ 8 : เที่ยวเก็บตกในเมืองน่าน และเดินทางกลับกรุงเทพฯ
วันที่ 6 : เที่ยวย่านเมืองพะเยา และอำเภอดอกคำใต้
วันนี้ออกจากโรงแรมที่พักสายหน่อยเพราะเห็นว่าสถานที่เที่ยวในวันนี้กระจุกตัวอยู่ใกล้กันในย่านตัวเมืองพะเยา ที่แรกที่ผมขี่รถไปชมก็คือ
วัดศรีอุโมงค์คำ ที่อยู่ไม่ไกลจากโรงแรมที่พักมากนัก เมื่อวานตอนมืดขี่รถจักรยานผ่านเห็นแวบ ๆ ในความมืดระหว่างทางไปเที่ยวถนนคนเดินเมืองพะเยา
จอดรถไว้ริมถนนเดินขึ้นบันไดวัดไปได้เลย วัดนี้มีเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนาสีทองโดดเด่นตั้งเป็นสง่าอยู่หน้าวิหาร
ระหว่างบันไดทางขึ้นเราจะเห็นวิหารน้อยประดิษฐานอยู่ข้างกำแพงของวัด ตรงราวบันไดทำเป็นรูปสัตว์ประหลาดกำลังกินหางพญานาคอยู่
บริเวณโดยรอบวิหารมีซุ้มปรเะดิษฐานใบเสมาทำเป็นซุ้มนาคพันตามแบบหน้าบันของวิหารของวัดในภาคเหนือ
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานที่สร้างตามศิลปะล้านนา พระพุทธรูปที่วัดนี้สียังทองอร่ามอยู่ แม้แต่ตัววิหารและอาคารประกอบต่าง ๆ ก็มีสีสดสวยงามอยู่เสมอ เท่าที่ผมสังเกตจากการเที่ยววัดต่าง ๆ ในทริปนี้ จะเห็นว่าชาวบ้านและช่างของวัดในภาคเหนือจะพยายามเอาใจใส่ดูแลซ่อมแซมทาสีตกแต่งให้ศาสนสถาน และศิลปวัตถุของวัดดูสวยงามใหม่อยู่เสมอ โดยเฉพาะวัดในอำเภอปัว จังหวัดน่านและอำเภอเมือง
จังหวัดพะเยา
เสร็จจากการเที่ยวชมวัดศรีอุโมงค์คำแล้ว ผมก็ขี่รถไปเที่ยวนอกเมืองพะเยา เพราะบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ริมกว๊านพะเยาอย่างวัดติโลกอารามที่ตอนแรกที่ไปชมต่อดันเข้าไปไม่ได้ เพราะมีทหารตำรวจนำแผงเหล็กกั้นทางไม่ให้รถราสัญจรผ่านถนนริมกว๊านพะเยาได้ เนื่องจากช่วงสายนายกรัฐมนตรีท่านจะมาพูดปราศรัยและเยี่ยมชมงานที่จังหวัดพะเยานี้ ผมเลยขี่รถไปชม
วัดป่าแดงบุญนาค เป็นที่ต่อไปแทน
วัดป่าแดงบุญนาคเป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเมืองทางตะวันออกของเมืองพะเยา เป็นโบราณสถานอันเก่าแก่ของเมืองพะเยา สันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอาณาจักรภูกามยาว น่าจะมีอายุราว 700 - 800 ปีได้ โดยโบราณสถานที่สำคัญของวัดป่าแดงบุญนาคก็คือ เจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา
แต่ตอนที่ผมไปชมเจดีย์เก่าของวัดนี้ ผมก็ไม่ทราบว่ามันตั้งอยู่ตรงไหนของวัด เห็นแต่เจดีย์สีทองที่ยังดูใหม่เอี่ยมอยู่ข้างวิหาร ไม่แน่ใจว่าใช่เจดีย์เก่าของวัดที่ผ่านการบูรณะปฏิสังขรณ์มาหรือไม่ เพราะรูปแบบของเจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงกลมบนฐานสูงที่มีฐานล่างทำเป็นสี่เหลี่ยมย่อเก็จ ต่อด้วยฐานที่ผังแปดเหลี่ยมย่อเก็จที่รองรับองค์ระฆังของเจดีย์ พิจารณาดูแล้วยังไง ๆ รูปแบบนี้ก็น่าจะเป็นศิลปะล้านนาสมัยหลัง ๆ แล้วนะครับ
ต่อจากวัดป่าแดงบุญนาคผมขี่รถต่อไปทางเดียวกับที่ไปอำเภอแม่ใจ เพื่อไปชม
จุดชมวิวผาหัวเรือของบ่อสิบสอง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ไปเพียง 7 กิโลเมตรเท่านั้น ถนนสายนี้เป็นถนนหลักที่ราดยางอย่างดี รถราสัญจรไปมาน้อยทำให้เราสามารถขับขี่ได้สบายฉิ๋วมากขึ้น
ขี่รถตามถนนขึ้นเนินลงเนินได้สักพักก็จะเจอกับป้ายสีเขียวทางขวาของถนนบอกทางแยกเข้าไปบ่อสิบสอง ระยะทางจากทางแยกของถนนหลักเข้าไปยังป้อมตรวจของบ่อสิบสองอยู่ที่ 3 - 4 กิโลเมตรได้เป็นถนนราดยางขับขี่รถสบายครับ
ขี่รถเข้ามาสุดทางจะเจอกับป้อมตรวจทางซ้ายมือ ซึ่งจุดนี้ถ้าเราเอารถบัสหรือรถยนต์มาจะต้องจอดตรงลานจอดรถตรงนี้ เพราะกฎของที่นี่เข้าห้ามนำรถยนต์หรือรถบัสส่วนตัวขับเข้าไปถึงบ่อสิบสองนะครับ หน้าตาป้อมตรวจก็จะเป็นดังภาพด้านล่างนี้ ในจุดนี้เราจะต้องเสียค่าเข้าชมคนละ 30 บาทนะครับ แต่ถ้าใครขี่รถมอเตอร์ไซค์มาเหมือนผมก็สามารถขี่รถเข้าไปถึงบ่อสิบสองไหด้เลยครับ เขาไม่เก็บเงินค่ารถเพิ่มอีก
จากป้อมตรวจตรงนี้จะมีถนนดินทรายสลับกรวดหินระยะทาง 2 กิโลเมตรผ่านป่าเต็งรังเข้าไปยังบ่อสิบสองและจุดชมวิวผาหัวเรือ หากใครนำรถยนต์หรือรถบัสมาก็จะต้องเดินเท้าเข้าไปนะครับ หรือจะจ้างรถปิกอัพของเจ้าหน้าที่ให้พาไปส่งที่บ่อสิบสองก็ได้ รู้สึกเขาจะเก็บค่าบริการ 50 บาทต่อคนนะครับ ถ้าต้องการใช้บริการก็ติดต่อเบอร์โทรศัพท์นี้ได้เลยเผื่อไปแล้วไปเจอเจ้าหน้าที่อยู่ประจำป้อมตรวจจะได้ติดต่อได้ครับ
ที่นี่เริ่มเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่เวลาตี 5 นะครับเผื่อใครอยากมาชมวิวพระอาทิตย์ขึ้น และปิดให้เข้าชมราว 5 โมงครึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการมาชมพระอาทิตย์ตกที่ผาหัวเรือของบ่อสิบสอง
ผมขี่รถมอเตอร์ไซค์มาเที่ยวชอบที่นี่จึงสบายสามารถขี่รถลัดเลาะตามทางเข้าไปถึงบ่อสิบสองได้เลย แต่ก็ต้องขี่รถช้า ๆ ครับเพราะสภาพถนนเป็นทรายและมีก้อนหินใหญ่น้อยขวางตามทางตลอด บางจุดยังไม่ร่องหรือหลุมเพราะน้ำหนักของรถที่ขับผ่านจนสึก
ขี่มาสุดทางจะมีลานจอดรถบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอยู่ 2 แห่ง ลานข้างบนเป็นลานจอดรถ 1 อยู่ด้านขวาของศูนย์บริกานักท่องเที่ยวมีห้องสุขาให้บริการพร้อมและมีจุดกางเต้นท์อยู่ตรงนั้น ส่วนลานจอดรถ 2 จะเป็นลานจอดรถด้านล่างที่เราจะมาถึงก่อนและอยู่ติดกับบ่อสิบสองและทางเดินเท้าขึ้นจุดชมวิวผาหัวเรือด้วยครับ ซึ่งจุดนี้รถปิกอัพที่พานักท่องเที่ยวมาส่งก็จะส่งที่ลานจอดรถตรงนี้
จากลานจอดรถ 2 เดินไปข้าง ๆ จะเห็นลานหินขนาดใหญ่ตรงนั้นก็คือ
บ่อสิบสอง ลักษณะของบ่อสิบสองเป็นหลุมหรือแอ่งลึกบนลานหินที่มีน้ำขังอยู่ในแอ่ง
เกิดจากการที่หินทรายถูกกรวดทรายและน้ำถูกัดเซาะบ่อย ๆ นานวันเข้าก็เกิดกลายเป็นแอ่งหรือหลุมลึกบนลานหิน ระยะเวลาการเกิดของแอ่งเหล่านี้ก็อยู่ราว ๆ แสนปีได้ ปรากฏการณ์เช่นนี้ทางภูมิศาสตร์เขาเรียกว่า
"กุมภลักษณ์" ซึ่งจะเกิดในโครงสร้างหินทรายเท่านั้น สถานที่ท่องเที่ยวดัง ๆ ที่เป็นกุมภลักษณ์ในบ้านเราก็อย่างเช่น สามพันโบกของจังหวัดอุบลราชธานีนั่นเอง ปรากฏการณ์นี้จะพบมากในภาคอีสานเพราะมีภูเขาหินทรายมากกว่าภาคอื่นของประเทศไทย
แอ่งหรือหลุมบนลานหินนี้มีจำนวนนับได้ 12 บ่อ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า
"บ่อสิบสอง" นั่นเอง
จากบ่อสิบสองจะมีทางเดินเท้าตามที่ปูด้วยกรวดหินขึ้นไประยะทาง 600 เมตรได้ เป็นทางขึ้นเขาสู่จุดชมวิวผาหัวเรือ
ตระเวนเดี่ยวเที่ยวเมืองอุตรดิตถ์ เมืองพะเยาต่อเมืองน่าน ตอนที่ 4
กลับมารีวิวกระทู้ตระเวนเดี่ยวเที่ยวทั่วไทยกันอีกนะครับ คราวนี้จะเป็นการเล่าประสบการณ์การท่องเที่ยวในวันที่ 6 ของทริปนี้กันครับ โดยเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเมืองพะเยาและอำเภอดอกคำใต้ สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากนักในหมู่นักท่องเที่ยว และบางสถานที่ก็เพิ่งเปิดตัวมาได้ไม่นาน จังหวัดพะเยาจัดเป็นเมืองรองที่ใครหลาย ๆ คนมักมองผ่านคิดว่าไม่น่าจะมีแหล่งท่องเที่ยวอะไรสวยงามแปลกตา แต่แท้จริงแล้วทุกจังหวัดล้วนมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวยากที่จะหาสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดอื่นมาทดแทนได้ ด้วยความงามในเสน่ห์ของมันเอง ดังนั้นกระทู้ในตอนนี้จึงเป็นการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ของจังหวัดพะเยาให้ผู้ชมได้รู้จักกันนะครับ เผื่อมีโอกาสดีท่านจะได้แวะเวียนกันไปชมบ้างว่าสวยงามดังที่ผมโพสลงกระทู้นี้หรือไม่
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักการกำหนดการตระเวนเที่ยวของผมในทริปนี้ จำนวน 8 วันก่อนนะครับ
วันแรก : เดินทางจากกรุงเทพุฯ - อุตรดิตถ์ และเที่ยวย่านเมืองลับแล
วันที่ 2 : เที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
วันที่ 3 : เที่ยวเก็บตกในเมืองอุตรดิตถ์ และนั่งรถต่อไปยังเมืองน่าน
วันที่ 4 : เที่ยวย่านอำเภอปัว และอำเภอท่าวังผา
วันที่ 5 : เที่ยวชมทะเลหมอกภูลังกา และเที่ยวย่านอำเภอเชียงคำ
วันที่ 6 : เที่ยวย่านเมืองพะเยา และอำเภอดอกคำใต้
วันที่ 7 : เที่ยวย่านอำเภอเชียงม่วน และเที่ยวยามค่ำคืนในเมืองน่าน
วันที่ 8 : เที่ยวเก็บตกในเมืองน่าน และเดินทางกลับกรุงเทพฯ
วันที่ 6 : เที่ยวย่านเมืองพะเยา และอำเภอดอกคำใต้
วันนี้ออกจากโรงแรมที่พักสายหน่อยเพราะเห็นว่าสถานที่เที่ยวในวันนี้กระจุกตัวอยู่ใกล้กันในย่านตัวเมืองพะเยา ที่แรกที่ผมขี่รถไปชมก็คือ วัดศรีอุโมงค์คำ ที่อยู่ไม่ไกลจากโรงแรมที่พักมากนัก เมื่อวานตอนมืดขี่รถจักรยานผ่านเห็นแวบ ๆ ในความมืดระหว่างทางไปเที่ยวถนนคนเดินเมืองพะเยา
จอดรถไว้ริมถนนเดินขึ้นบันไดวัดไปได้เลย วัดนี้มีเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนาสีทองโดดเด่นตั้งเป็นสง่าอยู่หน้าวิหาร
ระหว่างบันไดทางขึ้นเราจะเห็นวิหารน้อยประดิษฐานอยู่ข้างกำแพงของวัด ตรงราวบันไดทำเป็นรูปสัตว์ประหลาดกำลังกินหางพญานาคอยู่
บริเวณโดยรอบวิหารมีซุ้มปรเะดิษฐานใบเสมาทำเป็นซุ้มนาคพันตามแบบหน้าบันของวิหารของวัดในภาคเหนือ
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานที่สร้างตามศิลปะล้านนา พระพุทธรูปที่วัดนี้สียังทองอร่ามอยู่ แม้แต่ตัววิหารและอาคารประกอบต่าง ๆ ก็มีสีสดสวยงามอยู่เสมอ เท่าที่ผมสังเกตจากการเที่ยววัดต่าง ๆ ในทริปนี้ จะเห็นว่าชาวบ้านและช่างของวัดในภาคเหนือจะพยายามเอาใจใส่ดูแลซ่อมแซมทาสีตกแต่งให้ศาสนสถาน และศิลปวัตถุของวัดดูสวยงามใหม่อยู่เสมอ โดยเฉพาะวัดในอำเภอปัว จังหวัดน่านและอำเภอเมือง
จังหวัดพะเยา
เสร็จจากการเที่ยวชมวัดศรีอุโมงค์คำแล้ว ผมก็ขี่รถไปเที่ยวนอกเมืองพะเยา เพราะบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ริมกว๊านพะเยาอย่างวัดติโลกอารามที่ตอนแรกที่ไปชมต่อดันเข้าไปไม่ได้ เพราะมีทหารตำรวจนำแผงเหล็กกั้นทางไม่ให้รถราสัญจรผ่านถนนริมกว๊านพะเยาได้ เนื่องจากช่วงสายนายกรัฐมนตรีท่านจะมาพูดปราศรัยและเยี่ยมชมงานที่จังหวัดพะเยานี้ ผมเลยขี่รถไปชม วัดป่าแดงบุญนาค เป็นที่ต่อไปแทน
วัดป่าแดงบุญนาคเป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเมืองทางตะวันออกของเมืองพะเยา เป็นโบราณสถานอันเก่าแก่ของเมืองพะเยา สันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอาณาจักรภูกามยาว น่าจะมีอายุราว 700 - 800 ปีได้ โดยโบราณสถานที่สำคัญของวัดป่าแดงบุญนาคก็คือ เจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา
แต่ตอนที่ผมไปชมเจดีย์เก่าของวัดนี้ ผมก็ไม่ทราบว่ามันตั้งอยู่ตรงไหนของวัด เห็นแต่เจดีย์สีทองที่ยังดูใหม่เอี่ยมอยู่ข้างวิหาร ไม่แน่ใจว่าใช่เจดีย์เก่าของวัดที่ผ่านการบูรณะปฏิสังขรณ์มาหรือไม่ เพราะรูปแบบของเจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงกลมบนฐานสูงที่มีฐานล่างทำเป็นสี่เหลี่ยมย่อเก็จ ต่อด้วยฐานที่ผังแปดเหลี่ยมย่อเก็จที่รองรับองค์ระฆังของเจดีย์ พิจารณาดูแล้วยังไง ๆ รูปแบบนี้ก็น่าจะเป็นศิลปะล้านนาสมัยหลัง ๆ แล้วนะครับ
ต่อจากวัดป่าแดงบุญนาคผมขี่รถต่อไปทางเดียวกับที่ไปอำเภอแม่ใจ เพื่อไปชม จุดชมวิวผาหัวเรือของบ่อสิบสอง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ไปเพียง 7 กิโลเมตรเท่านั้น ถนนสายนี้เป็นถนนหลักที่ราดยางอย่างดี รถราสัญจรไปมาน้อยทำให้เราสามารถขับขี่ได้สบายฉิ๋วมากขึ้น
ขี่รถตามถนนขึ้นเนินลงเนินได้สักพักก็จะเจอกับป้ายสีเขียวทางขวาของถนนบอกทางแยกเข้าไปบ่อสิบสอง ระยะทางจากทางแยกของถนนหลักเข้าไปยังป้อมตรวจของบ่อสิบสองอยู่ที่ 3 - 4 กิโลเมตรได้เป็นถนนราดยางขับขี่รถสบายครับ
ขี่รถเข้ามาสุดทางจะเจอกับป้อมตรวจทางซ้ายมือ ซึ่งจุดนี้ถ้าเราเอารถบัสหรือรถยนต์มาจะต้องจอดตรงลานจอดรถตรงนี้ เพราะกฎของที่นี่เข้าห้ามนำรถยนต์หรือรถบัสส่วนตัวขับเข้าไปถึงบ่อสิบสองนะครับ หน้าตาป้อมตรวจก็จะเป็นดังภาพด้านล่างนี้ ในจุดนี้เราจะต้องเสียค่าเข้าชมคนละ 30 บาทนะครับ แต่ถ้าใครขี่รถมอเตอร์ไซค์มาเหมือนผมก็สามารถขี่รถเข้าไปถึงบ่อสิบสองไหด้เลยครับ เขาไม่เก็บเงินค่ารถเพิ่มอีก
จากป้อมตรวจตรงนี้จะมีถนนดินทรายสลับกรวดหินระยะทาง 2 กิโลเมตรผ่านป่าเต็งรังเข้าไปยังบ่อสิบสองและจุดชมวิวผาหัวเรือ หากใครนำรถยนต์หรือรถบัสมาก็จะต้องเดินเท้าเข้าไปนะครับ หรือจะจ้างรถปิกอัพของเจ้าหน้าที่ให้พาไปส่งที่บ่อสิบสองก็ได้ รู้สึกเขาจะเก็บค่าบริการ 50 บาทต่อคนนะครับ ถ้าต้องการใช้บริการก็ติดต่อเบอร์โทรศัพท์นี้ได้เลยเผื่อไปแล้วไปเจอเจ้าหน้าที่อยู่ประจำป้อมตรวจจะได้ติดต่อได้ครับ
ที่นี่เริ่มเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่เวลาตี 5 นะครับเผื่อใครอยากมาชมวิวพระอาทิตย์ขึ้น และปิดให้เข้าชมราว 5 โมงครึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการมาชมพระอาทิตย์ตกที่ผาหัวเรือของบ่อสิบสอง
ผมขี่รถมอเตอร์ไซค์มาเที่ยวชอบที่นี่จึงสบายสามารถขี่รถลัดเลาะตามทางเข้าไปถึงบ่อสิบสองได้เลย แต่ก็ต้องขี่รถช้า ๆ ครับเพราะสภาพถนนเป็นทรายและมีก้อนหินใหญ่น้อยขวางตามทางตลอด บางจุดยังไม่ร่องหรือหลุมเพราะน้ำหนักของรถที่ขับผ่านจนสึก
ขี่มาสุดทางจะมีลานจอดรถบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอยู่ 2 แห่ง ลานข้างบนเป็นลานจอดรถ 1 อยู่ด้านขวาของศูนย์บริกานักท่องเที่ยวมีห้องสุขาให้บริการพร้อมและมีจุดกางเต้นท์อยู่ตรงนั้น ส่วนลานจอดรถ 2 จะเป็นลานจอดรถด้านล่างที่เราจะมาถึงก่อนและอยู่ติดกับบ่อสิบสองและทางเดินเท้าขึ้นจุดชมวิวผาหัวเรือด้วยครับ ซึ่งจุดนี้รถปิกอัพที่พานักท่องเที่ยวมาส่งก็จะส่งที่ลานจอดรถตรงนี้
จากลานจอดรถ 2 เดินไปข้าง ๆ จะเห็นลานหินขนาดใหญ่ตรงนั้นก็คือ บ่อสิบสอง ลักษณะของบ่อสิบสองเป็นหลุมหรือแอ่งลึกบนลานหินที่มีน้ำขังอยู่ในแอ่ง
เกิดจากการที่หินทรายถูกกรวดทรายและน้ำถูกัดเซาะบ่อย ๆ นานวันเข้าก็เกิดกลายเป็นแอ่งหรือหลุมลึกบนลานหิน ระยะเวลาการเกิดของแอ่งเหล่านี้ก็อยู่ราว ๆ แสนปีได้ ปรากฏการณ์เช่นนี้ทางภูมิศาสตร์เขาเรียกว่า "กุมภลักษณ์" ซึ่งจะเกิดในโครงสร้างหินทรายเท่านั้น สถานที่ท่องเที่ยวดัง ๆ ที่เป็นกุมภลักษณ์ในบ้านเราก็อย่างเช่น สามพันโบกของจังหวัดอุบลราชธานีนั่นเอง ปรากฏการณ์นี้จะพบมากในภาคอีสานเพราะมีภูเขาหินทรายมากกว่าภาคอื่นของประเทศไทย
แอ่งหรือหลุมบนลานหินนี้มีจำนวนนับได้ 12 บ่อ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "บ่อสิบสอง" นั่นเอง
จากบ่อสิบสองจะมีทางเดินเท้าตามที่ปูด้วยกรวดหินขึ้นไประยะทาง 600 เมตรได้ เป็นทางขึ้นเขาสู่จุดชมวิวผาหัวเรือ