แค้นเหลือแค้น ...โคลงพลิกแผ่นดิน...

กระทู้สนทนา
_____________________________________
                

                    ש แค้นเหลือแค้น ש


๐ อาเพศ รักลวง         ร้าวรุ่มเหลือกล่าวครวญ
ช้ำง่วน-                         งมกับความขื่นขม
จิตรวน                          ใจวอกแวกหลุกหลิก
เหลือรอยร้างจ่ม            เร้นรอยอาฆาตจับ

๐ อ-ปรีย์                         ข้ามไม่พ้นจากตน
ไหม้หม่น                      เพลิงตัณหาพี่พัง
วอดวน-                        เวียนยังว่ายเนืองไฟ
รากราคร้อนคั่ง             คลุ้งครอบกรุงลับแล

๐ แม่คุณ ทูลหัว           ร้ายเล่ห์มาหยอกยวน
เจ้าป่วน                       ใจเพียงนิดซ่านแหลก
พี่โง่ ไม่ควร                 ริอาจยุ่มเยือนนาง
มีผัวแล้วแปลก            ข้องในความร่านเริง

๐ รายำ ตำบอน           อ้อนอ่อนลีลาเลว
เร้าเย่ว-                      ยั่วยอนกันก่อนเรียง
อาศัย ดอกเกว-          ลาทีรวบกินหมด
หมดเวรร้อยเลี่ยง       ต้องล้างโลมเลือดมัน

๐ พลันหยิบ               ล้วงกล่องปืนมาแนบ
ช้ำแสบ                      โกรธจนตาแทบถลน
บึ่งแวบ                       ผลุนลงรถเร็วรวน
ฆ่าเลยปี้ป่น                ช้างมาฉุดไป่แช

๐ แลรูป ชะเลืองเห็น  ล้อมเคลือบทองอันดี
จ้องที่                         มันท้นเทิ้มสุดกลั้น
แม่เรา นั่นซี                คุณของท่านยังตรึง
น้ำตารื้นสั่น                ร้องมาอย่างลูกชาย

๐ ตายหมด                ร้อนซ่องสุมมลาย
ล้างร่าย                     ปราณพลันดีตื่นตัว
ฤๅพิษ ฆาตหาย         หอบมาพร่างคนหยาบ
ฝนตกฟ้าทั่ว               แค้นล้างเหลือแค่ปลอบ

๐ ขอบคุณ                 ข้าฯที่สติคืนเดิม
ล้นเพิ่ม                      ความยินดีเกิดแจ้ง
แม่คุ้ม ช่วยเติม          เสริมความแกร่งอีกครา
สาวไหนสล้างแข่ง     คุ้งฟ้าเทียมแม่บ่มี ฯווะ


_____________________________________


โคลงพลิกแผ่นดิน คิดค้นโดย คุณหมอชลภูมิ: กวีสุดปราดเปรื่องผู้เปี่ยมล้นด้วยปัญญา หัวใจ ขอบคุณคุณหมอมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับที่คิดค้นสรรสร้างความงดงามมาให้พวกเราได้ชื่นชม ข้าน้อยซึ้งใจเป็นอย่างยิ่ง >>> https://ppantip.com/topic/36739347/ <<<

ขออนุญาตนำข้ออธิบายและรูปผังฉันทลักษณ์จากกระทู้นั้นมาแนบด้วยนะครับ



**หมายเหตุ - - - “คำสน” ที่เหมาะสมมี ๑๒ คำได้แก่..
พ่อ
แม่
พี่
เลย
เทอญ
นา
อา
เอย
รา
ฤา
ฮา
แล

คำโท คือ คำที่มีรูปโท
คำเอก คือ คำที่มีรูปเอก โดยอนุโลมให้ใช้คำตาย, คำลหุ, สระอำ แทนได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่