ห่างหายไปนานกับการตั้งกระทู้ เพราะมีงานทำมากมายเหลือเกิน พอดีเห็นละครสายโลหิต 2561 กำลังแพร่ภาพ ก็เลยคิดถึงละครยุคเก่า นั่นก็คือละครสายโลหิต 2529 ผมอยากเอามาเขียนถึงบ้าง เพราะไม่อยากให้ลืมเลือนกระทั่งเลือนหายไปกับกาลเวลา ผมใช้เวลาหาข้อมูลและเขียนอยู่ 2 วัน ก็รีบนำมาโพสกันเลย มาอ่านกันดูนะครับ
สายโลหิต (พ.ศ.2529)
แพร่ภาพเสาร์ – อาทิตย์ 21.00-21.45 (ตอนละ 45 นาที รวมโฆษณา) ทางช่อง 3
บทประพันธ์ : โสภาค สุวรรณ
กำกับการแสดง : สุพรรณ บูรณะพิมพ์, มีศักดิ์ นาครัตน์
แสดงนำ :
ฉัตรชัย เปล่งพานิช – ขุนไกร
อาภาพร กรทิพย์ – ดาวเรือง
นพพล โกมารชุน – หมื่นทิพ
จุรี โอศิริ – ย่านิ่ม
สมภพ เบญจาธิกุล – หลวงเทพ
รัชนู บุญชูดวง – ลำดวน
อำภา ภูษิต – แม่เยื้อน
อำนวย ศิริจันทร์ – พระยาสุวรรณราชา (พ่อดาวเรือง)
ศิริ ศิริจินดา – พระยาพิริยะแสนพลพ่าย (พ่อขุนไกร)
รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง – คุณหญิงศรีนวล (แม่ขุนไกร)
พงษ์ลดา พิมลพรรณ – นางปริก (แม่หมื่นทิพ)
สายโลหิต 2529 เล่าจากประสบการณ์จริง
ผมเองก็ไม่ใช่นักวิชาการและไม่ใช่นักวิจารณ์ละคร ก็เลยขอเล่าแบบชาวบ้านคุยกันก็แล้วกันนะ โดยเล่าจากประสบการณ์จริง จากความเห็นส่วนตัวที่ผ่านหูผ่านตาผมมาเมื่อ 30 กว่าปีก่อนนะครับ
ดูสายโลหิต 2529 ครั้งแรก
ผมยังจำเหตุการณ์เมื่อ 30 กว่าปีก่อนได้ดี ตอนนั้นบ้านของครอบครัวผมก็เป็นตึกแถวตามสไตล์คนไทยเชือสายนจีนล่ะ ตึกแถวนี้อยู่ใจกลางเมืองสุรินทร์เลย คืนนั้นผมกำลังนั่งอ่านหนังสือเรียนในห้อง อาอี๊ (น้าสาว) ซึ่งกำลังนั่งดูละครในห้องโถงกับคนงานผู้หญิงก็เรียกผมว่า "ตี๋ ๆ ออกมาดูละครซิ เป็นละครแนวไทย ๆ เห็นว่าตี๋ชอบละครแนวนี้"
อาอี๊รู้ว่าผมชอบดูะครจักร ๆ วงศ์ ๆ และละครประวัติศาสตร์ไทย ถึงผมจะมีเชื้อสายจีน แต่จิตใจของผมเป็นไทยเต็มร้อย หนังหรือละครใส่ชุดไทยละก็ของโปรดปรานนักล่ะ พอเห็นละครสายโลหิตอาอี๊ก็เลยเรียกผมออกมาดู
ผมยังจำฉากแรกที่ดูได้ก็คือฉากดาวเรืองวัยเด็กกำลังนั่งคุยกับคุณย่าบนเรือนไทยพร้อมมีบ่าวไพร่บริวารรายล้อมมากมาย ภาพในจอมีสีสรรสวยงาม ฉากอลังการ ตั้งแต่นั้นมาผมก็ติดตามดูเรื่อยมา จนถึงตอนอวสาน แต่ก็ไม่ได้ดูจากช่อง 3 โดยตรงนะ เพราะดูจากช่อง 4 ขอนแก่นน่ะ ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ไปอ่านตอนท้ายของกระทู้นะ จะมีบอกอยู่อ่ะครับ
ละครยิ่งใหญ่ฟอร์มยักษ์แห่งปีที่ทุ่มทุนสร้างมหาศาล
ฉาก
ละครสายโลหิต 2529 ถ่ายในสตูดิโอหนองแขมเกือบ 100 % ถึงจะถ่ายในสตูดิโอ แต่ก็ดูสมจริงยิ่งใหญ่ ฉากอลังการ เนรมิตรฉากกรุงศรีอยุธยาขึ้นกลางสตูดิโอหนองแขมได้น่าทึ่งมาก มีสะพานข้ามคลองและมีคลองน้ำในฉากด้วย สวยงามจริง ๆ โดยเฉพาะฉากกรุงแตกยังตราตรึง ต้องขอชมฝ่ายศิลปกรรมชองช่อง 3 ว่าสุดยอดจริง ๆ
ดาราดังแห่งยุคประชันกัน
ก็เป็นธรรมเนียมของหนังและละครทั่วไปที่ต้องนำดาราดังแห่งยุคมาประชันกันในละครฟอร์มยักษ์ สายโลหิต 2529 ก็เช่นกันผู้จัดได้นำฉัตรชัย เปล่งพาณิชพระเอกที่โด่งดังทางทีวีมากในสมัยนั้นมาพบกับนางเอกสาวอาภาพร กรทิพย์นางเอกผู้โด่งดังจากจอภาพยนตร์และกำลังหันมาเอาดีทางละครทีวี ,สมภพ เบญจาธิกุลราชาจอแก้วในสมัยนั้น (สมัยนั้นจะเรียกทีวีว่าจอแก้ว หนังใหญ่ว่าจอเงิน) ,รัชนู บุญชูดวงราชินีจอแก้วที่มีผลงานละครทีวีหลายสิบเรื่อง ,อำภา ภูษิตนางเอกหนังใหญ่ผู้มาเอาดีทางละครทีวีเช่นกัน ,นพพล โมารชุนราชาจอแก้วในสมัยนั้นเช่นกัน เป็นครั้งแรกที่พี่ตู่ยอมพลิกบทบาทจากพระเอกที่แสนดีมาเล่นเป็นตัวร้ายครั้งแรก
เรื่องฝีมือการแสดงหายห่วง เพราะมีแต่ดาราระดับราชาและราชินีจอแก้วมาประชันกัน ต้องยกย่องผู้จัดนะ ที่สามารถนำดาราคิวทองมารวมตัวกันได้ เพราะคิวดาราเหล่านี้แน่นเอี๊ยดเลยล่ะ ก็เนื่องจากว่าสมัยนั้นไม่มีการเซนสัญญากับช่อง ดังนั้นดาราเหล่านี้จึงรับละครได้อิสระ คิดดูเอาก็แล้วกันว่าต้องวิ่งรอกกันขนาดไหน
อีกคนที่อยากพูดถึงก็คือคุณขวัญฤดี กลมกลม คนนี้ล่ะเล่นละครตั้งแต่เด็ก ผมติดตามผลงานของคุณขวัญฤดีตั้งแต่เธอยังเล่นเป็นเด็กหญิงกระทั่งเล่นเป็นคุณแม่แล้ว ผมยังจำภาพเบื้องหลัง คุณขวัญฤดีถูกผู้กำดับดุว่า "บทก็ไม่ท่องมา ไหนเอาบทที่ถืออยู่มานี่ซิ" เห็นแล้วก็ขำดี
ผู้กำกับหญิงฝีมือชั้นครูแห่งวงการบันเทิง
ผู้กำกับละครเรื่องนี้ก็คือครูสุพรรณ บูรณพิพม์ ผู้กำกับหญิงที่คนในวงการนับถือท่านมาก ‘สายโลหิต 2529’ ฝีมือกำกับของท่านที่ผมเห็นแล้วต้องกราบ เพราะทุกอย่างคุณภาพคับจอ
ผมอยากขอบอกอีกว่า’สายโลหิต 2561’ เป็นผลงานของครูติ๋มเพ็ญลักษณ์ อุดมสิน ซึ่งก็เป็นผู้กำกับหญิงเช่นกัน ใครมาบอกว่าผู้หญิงทำงานใหญ่ไม่ได้ ผมขอเถียงคอเป็นเอ็น ผลงาน’สายโลหิต 2529 และ 2561’ น่าจะเป็นพยานสำคัญได้
รับรางวัลมากมาย
ละครสายโลหิต ช่อง 3 ปี 2529 ขึ้นหิ้งละครคุณภาพ กวาดรางวัลมาเยอะทีเดียว
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2529
ดารานำชายดีเด่น (ฉัตรชัย เปล่งพานิช) จากละคร สายโลหิต ช่อง 3 ปี 2529
ดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น (จุรี โอศิริ) จากละคร สายโลหิต ช่อง 3 ปี 2529
ผู้กำกับการแสดงดีเด่น (สุพรรณ บูรณะพิมพ์) จากละคร สายโลหิต ช่อง 3 ปี 2529
ผู้สร้างฉากละครดีเด่น (เพิ่มศักดิ์ อาบทิพย์, อภิชาติ นาคน้อย, สายัณห์ ตั้งวิชิตฤกษ์) จากละคร สายโลหิต ช่อง 3 ปี 2529
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2529
ผู้แสดงประกอบชายยอดเยี่ยม (นพพล โกมารชุน) จากละคร สายโลหิต ช่อง 3 ปี 2529
ละครกระแสแรงไหม
กระแสแรง มีคนกล่าวขานมากทีเดียว แต่ยังไม่พีคสุด ๆ
จริง ๆ แล้วผมว่าน่าเสียดายมาก ที่ละครฟอร์มยักษ์ ดาราประชันกันมากมาย ได้รับรางวัลมากมาย แต่กระแสกลับไม่พีคสุด ๆ เพราะอะไรลองมาอ่านดู
(1) ช่อง 3 ยังไม่มีเครือข่ายทั่วประเทศในปี 2529
ปี 2529 ช่อง 3 ไม่มีเครือข่ายแพร่ภาพได้ทั่วประเทศ จะรับชมได้ในเฉพาะในภาคกลาง ภาคตะวันออก และตะวันตก บางจังหวัดเท่านั้น
ส่วนภาคเหนือ ภาคอิสาน ภาคใต้ไม่มีโอกาสได้รับชมช่อง 3 เลย ช่อง 3 จึงต้องนำรายการของสถานีไปออกอากาศกับทีวีท้องถิ่นซึ่งก็คือช่อง 4 ขอนแก่น ช่อง 8 ลำปาง และช่อง 10 หาดใหญ่ และยังมีช่องของพิษณุโลกและช่องของภูเก็ตด้วย เพื่อให้ชาวต่างจังหวัดได้มีโอกาสรับชมรายการของช่อง 3 บ้าง
แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะนำไปแพร่ภาพทุกรายการ จะนำไปเฉพาะการ์ตูน ละครจีน และละครไทยบางเรื่องเท่านั้น โชคดีที่ละคร ‘สายโลหิต 2529’ ถูกนำไปแพร่ภาพด้วย ผมคนต่างจังหวัดก็เลยได้ชมจากทางช่อง 4 ขอนแก่น
ถึงคนต่างจังหวัดจะได้ดูผ่านทีวีท้องถิ่น แต่ก็ใช่ว่าการแพร่ภาพจะครอบคลุม เพราะบางท้องที่ก็รับสัญญาณทีวีท้องถิ่นไม่ได้
นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ละครดี ๆ กระแสไม่พีคเต็มที่
(2) การโปรโมทน้อย
ปี 2529 เป็นปีที่ช่อง 3 จะหมดสัญญาสัมปทานทำทีวีกับอ.ส.ม.ท. (บางท่านอาจจะไม่ทราบว่าธุรกิจการสื่อสารทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นวิทยุ ทีวี เครือข่ายมือถือ อินเตอร์เนทนั้นรัฐบาลเท่านั้นนะที่เป็นเจ้าของได้ เอกชนไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของ เอกชนมีสิทธิ์แค่เข้ามารับสัมปทานเท่านั้น โดยจะมีสัญญาสัมปทาน รัฐบาลจะให้กี่ปีก็ว่ากันไป เช่น เดียวกับโทรทัศน์ไทยที่มีเอกชนรับสัมปทานอยู่ 2 เจ้า ซึ่งก็คือช่อง 3กับข่อง 7
ซึ่งช่อง 3 ได้รับสัมปทานจากอ.ส.ม.ท. (องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย) ส่วนช่อง 7 ได้รับสัญญาสัมปทานจากกองทัพบก
ช่อง 3 จะหมดสัญญาในปี 2529 ก็ยังไม่ทราบว่าทางอ.ส.ม.ท. จะต่อสัมปทานหรือไม่ ทำให้ช่อง 3 ต้องรีบนำละครและรายการในสต๊อคออกมาออนแอร์ ปีนั้นเลยได้ดูละครหลังข่าวกันกันสัปดาห์ละ 4 เรื่องเลยทีเดียว
สายโลหิตคือหนึ่งในละครสต๊อคที่จะต้องรีบนำออกมาออนแอร์
ปี 2528-2529 เป็นเวลาที่ช่อง 3 กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนถ่ายหลายอย่าง เช่น ความไม่แน่นอนว่าจะได้รับสัมปทานต่อหรือไม่ เลยทำให้ช่อง 3 ทำงานได้ไม่เต็มที่หลาย ๆ อย่าง รวมไปถึงการโปรโมทละครด้วย ทำให้ ‘สายโลหิต 2529’ ได้รับการโปรโมทน้อย เลยทำให้หลายคนไม่รู้จักละครเรื่องนี้ ซึ่งผิดกับละคร ‘ทหารเสือพระเจ้าตาก’ เมื่อปี 2527 ที่กระแสแรงกว่ามาก
การแพร่ภาพออกอากาศก็มีส่วน เพราะสายโลหิต 2529 แพร่ภาพแค่วันเสาร์ – อาทิตย์ 21.00-21.45 (ตอนละ 45 นาที รวมโฆษณา) ซึ่งในสมัยนั้นถ้าช่อง 3 มีละครฟอร์มยักษ์ก็มักจะแพร่ภาพวันจันทร์ –ศุกร์หลังข่าวหรือไม่ก็แพร่ภาพ 7 วันหลังข่าวเลย เช่นละคร ‘ทหารเสือพระเจ้าตาก’ เมื่อปี 2527 ที่แพร่ภาพ 7 วันรวดในเวลา 21.00-21.30 หลังข่าว กระแสไม่แรงก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว
จริง ๆ แล้วถ้าสายโลหิต 2529 แพร่ภาพเร็วกว่าหรือหลังจากปี 2529 นี้ กระแสจะพีคสุด ๆ กว่านี้มากมาย
เพราะปีต่อมาพอช่อง 3 ได้ต่อสัญญาสัมปทานจาก อ.ส.ม.ท.ไปอีกถึง 30 ปี ช่อง 3 ก็นำละครดี ๆ มาออนแอร์มากมาย แถมยังโปรโมทเต็มที่จนขึ้นหิ้งมาจนถึงทุกวันนี้ เช่น เรื่องแต่ปางก่อน สงครามเก้าทัพ และยังมีหนังจีนดี ๆ มาออนแอร์จนดูกันไม่หวาดไม่ไหว เช่น ดาบมังกรหยก กำเนิดเจ้าแม่กวนอิม และยังเชิญดาราฮ่องกงจากดาบมังกรหยกมาโชว์ตัว เช่น เหลียงเฉาเหว่ย เยิ่นต๊ะหัว เจิ้งหวี้หลิง เติ้งชุ่ยเหวิน เส้าเหม่ยฉี ตอนดาราฮ่องกงมาไทยนั้นดังไปทั่วประเทศเลย และช่อง 3 ยังขยายเครือข่ายทั่วประเทศอีกด้วย
น่าเสียดายที่ ‘สายโลหิต 2529’ มาไม่ถูกจังหวะ ไม่อย่างนั้นคงจะพีคสุด ๆ เพราะละครเรื่องนี้คุณภาพสุด ๆ ลองไปดูย้อนหลังใน youtube ได้ แล้วจะรู้ว่าของเขาดีจริง ๆ
(อ่านต่อความเห็น 1 ครับ)
=============================================
ถ้าชอบกระทู้เล่าเรื่องเก่าแบบนี้ช่วยกด like หรือ + ด้วยนะครับ ถ้ารู้ว่าคนชอบจะได้นำความหลังมาเล่าต่อครับ
(เกร็ดละครเก่า) สายโลหิต 2529 ละครคุณภาพที่ผมไม่อยากให้ลืมเลือนไปกับกาลเวลา
สายโลหิต (พ.ศ.2529)
แพร่ภาพเสาร์ – อาทิตย์ 21.00-21.45 (ตอนละ 45 นาที รวมโฆษณา) ทางช่อง 3
บทประพันธ์ : โสภาค สุวรรณ
กำกับการแสดง : สุพรรณ บูรณะพิมพ์, มีศักดิ์ นาครัตน์
แสดงนำ :
ฉัตรชัย เปล่งพานิช – ขุนไกร
อาภาพร กรทิพย์ – ดาวเรือง
นพพล โกมารชุน – หมื่นทิพ
จุรี โอศิริ – ย่านิ่ม
สมภพ เบญจาธิกุล – หลวงเทพ
รัชนู บุญชูดวง – ลำดวน
อำภา ภูษิต – แม่เยื้อน
อำนวย ศิริจันทร์ – พระยาสุวรรณราชา (พ่อดาวเรือง)
ศิริ ศิริจินดา – พระยาพิริยะแสนพลพ่าย (พ่อขุนไกร)
รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง – คุณหญิงศรีนวล (แม่ขุนไกร)
พงษ์ลดา พิมลพรรณ – นางปริก (แม่หมื่นทิพ)
สายโลหิต 2529 เล่าจากประสบการณ์จริง
ผมเองก็ไม่ใช่นักวิชาการและไม่ใช่นักวิจารณ์ละคร ก็เลยขอเล่าแบบชาวบ้านคุยกันก็แล้วกันนะ โดยเล่าจากประสบการณ์จริง จากความเห็นส่วนตัวที่ผ่านหูผ่านตาผมมาเมื่อ 30 กว่าปีก่อนนะครับ
ดูสายโลหิต 2529 ครั้งแรก
ผมยังจำเหตุการณ์เมื่อ 30 กว่าปีก่อนได้ดี ตอนนั้นบ้านของครอบครัวผมก็เป็นตึกแถวตามสไตล์คนไทยเชือสายนจีนล่ะ ตึกแถวนี้อยู่ใจกลางเมืองสุรินทร์เลย คืนนั้นผมกำลังนั่งอ่านหนังสือเรียนในห้อง อาอี๊ (น้าสาว) ซึ่งกำลังนั่งดูละครในห้องโถงกับคนงานผู้หญิงก็เรียกผมว่า "ตี๋ ๆ ออกมาดูละครซิ เป็นละครแนวไทย ๆ เห็นว่าตี๋ชอบละครแนวนี้"
อาอี๊รู้ว่าผมชอบดูะครจักร ๆ วงศ์ ๆ และละครประวัติศาสตร์ไทย ถึงผมจะมีเชื้อสายจีน แต่จิตใจของผมเป็นไทยเต็มร้อย หนังหรือละครใส่ชุดไทยละก็ของโปรดปรานนักล่ะ พอเห็นละครสายโลหิตอาอี๊ก็เลยเรียกผมออกมาดู
ผมยังจำฉากแรกที่ดูได้ก็คือฉากดาวเรืองวัยเด็กกำลังนั่งคุยกับคุณย่าบนเรือนไทยพร้อมมีบ่าวไพร่บริวารรายล้อมมากมาย ภาพในจอมีสีสรรสวยงาม ฉากอลังการ ตั้งแต่นั้นมาผมก็ติดตามดูเรื่อยมา จนถึงตอนอวสาน แต่ก็ไม่ได้ดูจากช่อง 3 โดยตรงนะ เพราะดูจากช่อง 4 ขอนแก่นน่ะ ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ไปอ่านตอนท้ายของกระทู้นะ จะมีบอกอยู่อ่ะครับ
ละครยิ่งใหญ่ฟอร์มยักษ์แห่งปีที่ทุ่มทุนสร้างมหาศาล
ฉาก
ละครสายโลหิต 2529 ถ่ายในสตูดิโอหนองแขมเกือบ 100 % ถึงจะถ่ายในสตูดิโอ แต่ก็ดูสมจริงยิ่งใหญ่ ฉากอลังการ เนรมิตรฉากกรุงศรีอยุธยาขึ้นกลางสตูดิโอหนองแขมได้น่าทึ่งมาก มีสะพานข้ามคลองและมีคลองน้ำในฉากด้วย สวยงามจริง ๆ โดยเฉพาะฉากกรุงแตกยังตราตรึง ต้องขอชมฝ่ายศิลปกรรมชองช่อง 3 ว่าสุดยอดจริง ๆ
ดาราดังแห่งยุคประชันกัน
ก็เป็นธรรมเนียมของหนังและละครทั่วไปที่ต้องนำดาราดังแห่งยุคมาประชันกันในละครฟอร์มยักษ์ สายโลหิต 2529 ก็เช่นกันผู้จัดได้นำฉัตรชัย เปล่งพาณิชพระเอกที่โด่งดังทางทีวีมากในสมัยนั้นมาพบกับนางเอกสาวอาภาพร กรทิพย์นางเอกผู้โด่งดังจากจอภาพยนตร์และกำลังหันมาเอาดีทางละครทีวี ,สมภพ เบญจาธิกุลราชาจอแก้วในสมัยนั้น (สมัยนั้นจะเรียกทีวีว่าจอแก้ว หนังใหญ่ว่าจอเงิน) ,รัชนู บุญชูดวงราชินีจอแก้วที่มีผลงานละครทีวีหลายสิบเรื่อง ,อำภา ภูษิตนางเอกหนังใหญ่ผู้มาเอาดีทางละครทีวีเช่นกัน ,นพพล โมารชุนราชาจอแก้วในสมัยนั้นเช่นกัน เป็นครั้งแรกที่พี่ตู่ยอมพลิกบทบาทจากพระเอกที่แสนดีมาเล่นเป็นตัวร้ายครั้งแรก
เรื่องฝีมือการแสดงหายห่วง เพราะมีแต่ดาราระดับราชาและราชินีจอแก้วมาประชันกัน ต้องยกย่องผู้จัดนะ ที่สามารถนำดาราคิวทองมารวมตัวกันได้ เพราะคิวดาราเหล่านี้แน่นเอี๊ยดเลยล่ะ ก็เนื่องจากว่าสมัยนั้นไม่มีการเซนสัญญากับช่อง ดังนั้นดาราเหล่านี้จึงรับละครได้อิสระ คิดดูเอาก็แล้วกันว่าต้องวิ่งรอกกันขนาดไหน
อีกคนที่อยากพูดถึงก็คือคุณขวัญฤดี กลมกลม คนนี้ล่ะเล่นละครตั้งแต่เด็ก ผมติดตามผลงานของคุณขวัญฤดีตั้งแต่เธอยังเล่นเป็นเด็กหญิงกระทั่งเล่นเป็นคุณแม่แล้ว ผมยังจำภาพเบื้องหลัง คุณขวัญฤดีถูกผู้กำดับดุว่า "บทก็ไม่ท่องมา ไหนเอาบทที่ถืออยู่มานี่ซิ" เห็นแล้วก็ขำดี
ผู้กำกับหญิงฝีมือชั้นครูแห่งวงการบันเทิง
ผู้กำกับละครเรื่องนี้ก็คือครูสุพรรณ บูรณพิพม์ ผู้กำกับหญิงที่คนในวงการนับถือท่านมาก ‘สายโลหิต 2529’ ฝีมือกำกับของท่านที่ผมเห็นแล้วต้องกราบ เพราะทุกอย่างคุณภาพคับจอ
ผมอยากขอบอกอีกว่า’สายโลหิต 2561’ เป็นผลงานของครูติ๋มเพ็ญลักษณ์ อุดมสิน ซึ่งก็เป็นผู้กำกับหญิงเช่นกัน ใครมาบอกว่าผู้หญิงทำงานใหญ่ไม่ได้ ผมขอเถียงคอเป็นเอ็น ผลงาน’สายโลหิต 2529 และ 2561’ น่าจะเป็นพยานสำคัญได้
รับรางวัลมากมาย
ละครสายโลหิต ช่อง 3 ปี 2529 ขึ้นหิ้งละครคุณภาพ กวาดรางวัลมาเยอะทีเดียว
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2529
ดารานำชายดีเด่น (ฉัตรชัย เปล่งพานิช) จากละคร สายโลหิต ช่อง 3 ปี 2529
ดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น (จุรี โอศิริ) จากละคร สายโลหิต ช่อง 3 ปี 2529
ผู้กำกับการแสดงดีเด่น (สุพรรณ บูรณะพิมพ์) จากละคร สายโลหิต ช่อง 3 ปี 2529
ผู้สร้างฉากละครดีเด่น (เพิ่มศักดิ์ อาบทิพย์, อภิชาติ นาคน้อย, สายัณห์ ตั้งวิชิตฤกษ์) จากละคร สายโลหิต ช่อง 3 ปี 2529
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2529
ผู้แสดงประกอบชายยอดเยี่ยม (นพพล โกมารชุน) จากละคร สายโลหิต ช่อง 3 ปี 2529
ละครกระแสแรงไหม
กระแสแรง มีคนกล่าวขานมากทีเดียว แต่ยังไม่พีคสุด ๆ
จริง ๆ แล้วผมว่าน่าเสียดายมาก ที่ละครฟอร์มยักษ์ ดาราประชันกันมากมาย ได้รับรางวัลมากมาย แต่กระแสกลับไม่พีคสุด ๆ เพราะอะไรลองมาอ่านดู
(1) ช่อง 3 ยังไม่มีเครือข่ายทั่วประเทศในปี 2529
ปี 2529 ช่อง 3 ไม่มีเครือข่ายแพร่ภาพได้ทั่วประเทศ จะรับชมได้ในเฉพาะในภาคกลาง ภาคตะวันออก และตะวันตก บางจังหวัดเท่านั้น
ส่วนภาคเหนือ ภาคอิสาน ภาคใต้ไม่มีโอกาสได้รับชมช่อง 3 เลย ช่อง 3 จึงต้องนำรายการของสถานีไปออกอากาศกับทีวีท้องถิ่นซึ่งก็คือช่อง 4 ขอนแก่น ช่อง 8 ลำปาง และช่อง 10 หาดใหญ่ และยังมีช่องของพิษณุโลกและช่องของภูเก็ตด้วย เพื่อให้ชาวต่างจังหวัดได้มีโอกาสรับชมรายการของช่อง 3 บ้าง
แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะนำไปแพร่ภาพทุกรายการ จะนำไปเฉพาะการ์ตูน ละครจีน และละครไทยบางเรื่องเท่านั้น โชคดีที่ละคร ‘สายโลหิต 2529’ ถูกนำไปแพร่ภาพด้วย ผมคนต่างจังหวัดก็เลยได้ชมจากทางช่อง 4 ขอนแก่น
ถึงคนต่างจังหวัดจะได้ดูผ่านทีวีท้องถิ่น แต่ก็ใช่ว่าการแพร่ภาพจะครอบคลุม เพราะบางท้องที่ก็รับสัญญาณทีวีท้องถิ่นไม่ได้
นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ละครดี ๆ กระแสไม่พีคเต็มที่
(2) การโปรโมทน้อย
ปี 2529 เป็นปีที่ช่อง 3 จะหมดสัญญาสัมปทานทำทีวีกับอ.ส.ม.ท. (บางท่านอาจจะไม่ทราบว่าธุรกิจการสื่อสารทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นวิทยุ ทีวี เครือข่ายมือถือ อินเตอร์เนทนั้นรัฐบาลเท่านั้นนะที่เป็นเจ้าของได้ เอกชนไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของ เอกชนมีสิทธิ์แค่เข้ามารับสัมปทานเท่านั้น โดยจะมีสัญญาสัมปทาน รัฐบาลจะให้กี่ปีก็ว่ากันไป เช่น เดียวกับโทรทัศน์ไทยที่มีเอกชนรับสัมปทานอยู่ 2 เจ้า ซึ่งก็คือช่อง 3กับข่อง 7
ซึ่งช่อง 3 ได้รับสัมปทานจากอ.ส.ม.ท. (องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย) ส่วนช่อง 7 ได้รับสัญญาสัมปทานจากกองทัพบก
ช่อง 3 จะหมดสัญญาในปี 2529 ก็ยังไม่ทราบว่าทางอ.ส.ม.ท. จะต่อสัมปทานหรือไม่ ทำให้ช่อง 3 ต้องรีบนำละครและรายการในสต๊อคออกมาออนแอร์ ปีนั้นเลยได้ดูละครหลังข่าวกันกันสัปดาห์ละ 4 เรื่องเลยทีเดียว
สายโลหิตคือหนึ่งในละครสต๊อคที่จะต้องรีบนำออกมาออนแอร์
ปี 2528-2529 เป็นเวลาที่ช่อง 3 กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนถ่ายหลายอย่าง เช่น ความไม่แน่นอนว่าจะได้รับสัมปทานต่อหรือไม่ เลยทำให้ช่อง 3 ทำงานได้ไม่เต็มที่หลาย ๆ อย่าง รวมไปถึงการโปรโมทละครด้วย ทำให้ ‘สายโลหิต 2529’ ได้รับการโปรโมทน้อย เลยทำให้หลายคนไม่รู้จักละครเรื่องนี้ ซึ่งผิดกับละคร ‘ทหารเสือพระเจ้าตาก’ เมื่อปี 2527 ที่กระแสแรงกว่ามาก
การแพร่ภาพออกอากาศก็มีส่วน เพราะสายโลหิต 2529 แพร่ภาพแค่วันเสาร์ – อาทิตย์ 21.00-21.45 (ตอนละ 45 นาที รวมโฆษณา) ซึ่งในสมัยนั้นถ้าช่อง 3 มีละครฟอร์มยักษ์ก็มักจะแพร่ภาพวันจันทร์ –ศุกร์หลังข่าวหรือไม่ก็แพร่ภาพ 7 วันหลังข่าวเลย เช่นละคร ‘ทหารเสือพระเจ้าตาก’ เมื่อปี 2527 ที่แพร่ภาพ 7 วันรวดในเวลา 21.00-21.30 หลังข่าว กระแสไม่แรงก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว
จริง ๆ แล้วถ้าสายโลหิต 2529 แพร่ภาพเร็วกว่าหรือหลังจากปี 2529 นี้ กระแสจะพีคสุด ๆ กว่านี้มากมาย
เพราะปีต่อมาพอช่อง 3 ได้ต่อสัญญาสัมปทานจาก อ.ส.ม.ท.ไปอีกถึง 30 ปี ช่อง 3 ก็นำละครดี ๆ มาออนแอร์มากมาย แถมยังโปรโมทเต็มที่จนขึ้นหิ้งมาจนถึงทุกวันนี้ เช่น เรื่องแต่ปางก่อน สงครามเก้าทัพ และยังมีหนังจีนดี ๆ มาออนแอร์จนดูกันไม่หวาดไม่ไหว เช่น ดาบมังกรหยก กำเนิดเจ้าแม่กวนอิม และยังเชิญดาราฮ่องกงจากดาบมังกรหยกมาโชว์ตัว เช่น เหลียงเฉาเหว่ย เยิ่นต๊ะหัว เจิ้งหวี้หลิง เติ้งชุ่ยเหวิน เส้าเหม่ยฉี ตอนดาราฮ่องกงมาไทยนั้นดังไปทั่วประเทศเลย และช่อง 3 ยังขยายเครือข่ายทั่วประเทศอีกด้วย
น่าเสียดายที่ ‘สายโลหิต 2529’ มาไม่ถูกจังหวะ ไม่อย่างนั้นคงจะพีคสุด ๆ เพราะละครเรื่องนี้คุณภาพสุด ๆ ลองไปดูย้อนหลังใน youtube ได้ แล้วจะรู้ว่าของเขาดีจริง ๆ
(อ่านต่อความเห็น 1 ครับ)
=============================================
ถ้าชอบกระทู้เล่าเรื่องเก่าแบบนี้ช่วยกด like หรือ + ด้วยนะครับ ถ้ารู้ว่าคนชอบจะได้นำความหลังมาเล่าต่อครับ