ประสบการณ์เรียกร้องเงินชดเชยจากบริษัทกรณีโดนไล่ออก

เราอยากจะบอกเล่าเรื่องราวการเรียกร้องสิทธิเรื่องเงินชดเชยจากบริษัทกรณีโดนไล่ออก หรือโดนเลิกจ้าง เพราะบางท่านไม่ทราบหรือบางท่านไม่กล้าที่จะลุกขึ้นมาเรียกร้องจากบริษัท
        กรณีของเราเรียกว่าโดนไล่ออกแบบฟ้าผ่าด้วยเรื่องมาทำงานสาย ซึ่งหลายคนคงจะมองว่าสมควรแล้วและเราเองยอมรับผิดในข้อนี้ ทำให้ตอนที่เราได้รับแจ้งว่าโดนไล่ออกโดยมีผลทันที และบริษัทให้เงินเราแค่ 1 เดือนเราไม่กล้าโต้แย้งอะไร และเซ็นจดหมายไล่ออกแต่โดยดี ในตอนนั้นเราช็อคมาก เครียดมากไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป แต่เมื่อกลับมาถึงห้องพักและตั้งสติได้เลยลองค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดว่า “โดนไล่ออก” ก็มีแต่กระทู้คำถามว่าสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง หากระทู้ที่เล่าประสบการณ์ไม่เจอเลย แต่ก็ได้ข้อมูลสำคัญมาว่าเรามีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากบริษัท แต่ก็ยังมีข้อแม้ว่าหากเราทำผิดบริษัทก็ไม่จำเป็นต้องจ่าย (ข้อมูลนี้สามารถหาได้จากเว็บไซร์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนะคะ) ตายละทีนี้คงหมดหวังแล้วมั้งเพราะเรามีความผิดเรื่องมาทำงานสาย อ่านกระทู้นั่นโน่นนี่ก็ไม่มีคำตอบที่แน่นอนให้เราเลย สุดท้ายเลยตัดสินใจโทรไปสายด่วน1111 เพื่อถามว่ากรณีแบบนี้เราต้องปรึกษาใครหรือทำอย่างไร คุณพี่คอลเซ็นเตอร์จึงชี้ทางสว่างว่าให้ไปพบ “เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงาน” ณ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่ หรือเขตพื้นที่ที่เรามีภูมิลำเนาอยู่
        เราจึงเดินทางไปพบเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงาน เมื่อไปถึงแล้วเจ้าหน้าที่จะให้กรอกใบคำร้องและรอพบเจ้าหน้าที่ จากนั้นเค้าก็จะสอบสวนเรื่องราวว่าเป็นมายังไง ไหนมีหลักฐานอะไรบ้าง ซึ่งของเราเมื่อพิจารณาจากหลักฐานต่างๆแล้วเรามีสิทธิได้รับเงินชดเชยเลิกจ้าง 3 เดือน เงินชดเชยค่าไม่บอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน และเงินส่วนต่างตั้งแต่วันที่โดนเลิกจ้างถึงวันที่เงินเดือนออกอีก 22 วัน หลังจากได้ยินคำยืนยันจากเจ้าหน้าที่รู้สึกชีวิตมีความหวังขึ้นมาทันที หลังจากอธิบายให้เราฟังเสร็จ เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานโทรศัพท์ไปที่บริษัททันทีเพื่อแจ้งกับผู้เกี่ยวข้องว่า มีพนักงานมาร้องเรียนเรื่องนี้นะ หลักฐานชัดเจนว่าพนักงานคนนี้มีสิทธิได้รับเงินชดเชย ทางบริษัทก็แย้งมาว่าตอนเซ็นสัญญาทำงานมีระบุไว้แล้วว่าหากกรณีไล่ออกจะจ่ายแค่ 1 เดือนเท่านั้น คุณพี่เจ้าหน้าที่เลยแจ้งว่ามันขัดกับหลักกฎหมายประมวลแพ่ง 150 เนื่องจากสัญญาไม่เป็นธรรมขัดกับหลักศีลธรรม และให้บริษัทไปปรึกษากับผู้มีอำนาจดูและให้มีการไกล่เกลี่ยกันก่อนเพราะกรณีแบบนี้ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย และจะส่งจดหมายแจ้งไปยังบริษัทเพื่อเรียกตัวมาสอบสวนอีกฝั่ง หละกจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็พิมพ์ข้อเรียกร้องของเราและปริ้นออกมาให้เราเซ็น ก่อนกลับเจ้าหน้าที่แจ้งว่าหากอยากสอบถามความคืบหน้าให้โทรมาแจ้งชื่อและวันที่ร้องเรียน เสร็จสิ้นกระบวนการที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
        ประมาณ 2 วันบริษัทโทรมาแจ้งกับเราว่าจะยอมจ่ายเงินชดเชยให้ตามที่เราเรียกร้องแค่ 4 เดือน แต่ส่วนต่าง 22 วันไม่สามารถให้ได้ เราก็ตกลงเพราะหวังไว้แค่ 4 เดือนอยู่แล้ว บริษัทขอให้เราไปถอนแจ้งที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เราจึงแจ้งว่าเมื่อเราได้รับเงินและจะไปถอนแจ้งและส่งดหมายไปให้ วันนี้เราได้รับเงินและไปถอนแจ้งเรียบร้อยแล้วเลยมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง และหากไม่แต่ใจให้เข้าไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้เลยอย่าคิดไปเอง ใช้เวลาไม่นานและจะได้ไม่เสียสิทธิที่เราควรจะได้รับด้วย
         ถ้ามีคำถามเพิ่มเติมถามมาได้เลยนะคะ หากตอบได้เราจะเข้ามาตอบค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
พนักงานแบบนี้น่ารังเกียจมากครับ
ตอนอยู่ ก็เอาเปรียบบริษัท
พอโดนให้ออก ก็กลัวเสียเปรียบขึ้นมาทันที
ขอให้ที่ใหม่เค้าเช็คประวัติการทำงานคุณนะครับ
ทำไมความเห็นท่านอื่นถึงห่วงว่า hr จะแทงข้างหลัง ไร้จรรยาบรรณ กลั่นแกล้งล่ะครับ?
พนักงานไร้ความรับผิดชอบอย่างงี้ ก็ควรแจ้งข่าวกันว่าไม่ควรรับมาทำงาน...ก็ถูกแล้วนี่ครับ
ความคิดเห็นที่ 10
เผื่อใครยังไม่รู้  

มาสายบ่อย,ลางานบ่อย,ทำงานช้าไม่ถูกใจ      ไม่ใช่ว่าอยุ่ดีๆจะมาไล่กันออกกันดื้อๆ โดยมางี่เง่าจะไล่ออกไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้นะครับ  

มันต้องมีการตัดเตือน ,ออกใบเตือน ,คาดโทษอะไรกันก่อน    

นายจ้างหากไม่พอใจลูกจ้างจะให้ออกเลย ต้องจ่ายค่าชดเชย 3เดือน ,5เดือน ,10เดือน  ตามอายุงานที่เค้าทำงานมา  
หากไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยหรือให้ค่าเเรงที่ทำงานไว้ก็ถือว่านายจ้างผิดเต็มๆ  

ก็อย่างที่ เจ้าของโพสไปเเจ้งเเรงงาน  เเล้วเจ้าหน้าที่บอกเเหละครับ  กฎระเบียบสัญญาใดๆที่ออกมาเเล้วมันขัดกับหลักศีลธรรม ก็ถือว่าเป็นโมฆะ*
ความคิดเห็นที่ 29
เรื่องมาสาย ที่พนง.บางคนคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย จริงๆมันไม่เล็กนะ  จะแยกเป็นหัวข้อให้ดูว่าเรื่องนี้บ.เขามองซีเรียสขนาดไหน

--เขามองว่าพนง.คนนึงมาสาย  ถ้าบ.ไม่ลงโทษ หรือไม่เชือดไก่ให้ลิงดู มันกระทบถึงต่อทั้งองค์กรได้เลย
คนอื่นที่เขามาเช้าอยู่ดีๆ จะเริ่มรู้สึกโง่ รู้สึกเสียเปรียบ ว่าทำไมอีกคนมาสาย ยังไม่โดนอะไร ตรูจะมาเช้าไปทำไม
ทำให้คนที่ดีๆอยู่ มีวินัยอยู่ในองค์กร พฤติกรรมมันจะค่อยๆเปลี่ยนค่ะ  
ไม่พอเท่านั้น  มาสาย เพื่อนร่วมงานก็ต้องทำงานส่วนนึงแทน  เขาจะรู้สึกยังไง

--ถ้าจะบอกว่า มาสายวันละแค่ 1-2 นาที
คุณลองเอาไม่กี่นาทีนั่นมารวมทั้งเดือนสิ
บางคนรวมแล้ว 6-9 ชม.เลยนะ   นั่นคือการมาสายวันละเล็กๆน้อยๆต่อวัน รวมหนึ่งเดือน  เสมือนขาดงานไปหนึ่งวันเลย
ผลผลิตมันลดลงแน่นอน  คนที่จ้างคุณเขาก็มองตรงนี้

--ถ้าจะบอกว่ามาสายแล้วรับผิดชอบงานดี  ทำงานดี  จะมองแค่เรื่องเวลานิดๆหน่อยๆทำไม
ต้องเข้าใจว่าเวลาจ้างงาน บ.เขาคิดมาแล้ว  ว่าพนง.ตำแหน่งไหนระดับไหน เป็น responsibility base/Output base ถ้าเป็นแบบนั้น เวลาอาจจะไม่ใช่ตัวแปรที่เขาเอามาซีเรียส  (ส่วนมากเป็นระดับสูงขึ้นไป)
แต่ถ้าตำแหน่งทั่วไปที่ไม่ได้สูงมากมักจะเป็น Attendance base เวลาเข้างานเป็นเรื่องสำคัญ  เพราะผลผลิตของพนง.นั้นๆขึ้นกับเวลา หรือต้องสแตนบายติดต่อลูกค้าหรือคนอื่นๆที่เขาทำงานเวลานั้นด้วย
และเรื่องทำงานดี  กับขาดลาสาย  มันคนละเรื่องกัน  อย่างบ.เราเวลาประเมิน  แยกกัน  อันนึงคือผลงาน  อีกอันพฤติกรรม
คนจะดี  มันต้องดีทั้งสอง   มันแทนที่กันไม่ได้  ดีอย่างไปชดเชยอีกอย่างไม่ได้

-- ถ้าจะบอกว่ามาสาย แต่กลับเย็นชดเชยให้แล้วไง ไม่พอหรือ
บริษัทมองว่า  คุณเลือกเวลาทำงานเองไม่ได้  ถ้าพนง.คิดแบบนี้กันทุกคน  ก็เลือกเวลาทำงานเองได้หมดสิ  
ขอแค่ทำครบแปดชม.งั้นหรือมันไม่ใช่อ่ะ  คุณต้องเข้างาน เลิกงานตามเวลาที่เขากำหนด

-- บริษัทมองว่าคนมาสาย คือคนที่เอาเปรียบคนอื่น
เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน  เอาเปรียบบริษัท
เวลาเข้างาน  เป็นเงื่อนไขที่บริษัทตกลงกับพนง.ตั้งแต่ก่อนเริ่มเข้าทำงานแล้ว และคุณรับทราบดี
แลกกับจำนวนเงินเดือนเท่านี้ๆ และคุณยอมรับมัน
แล้วการที่คุณรับเงินเดือนเขาเต็ม  เขาไม่เคยเอาเปรียบเรื่องเงินเดือนคุณ  แต่คุณไปเอาเปรียบเวลาเขา
มันยุติธรรมหรือ  คนทีมีวิธีคิดที่เอาเปรียบคนอื่น  จะมากหรือเล็กน้อย ก็ไม่ดีทั้งนั้น
หัดมีวินัย และซื่อสัตย์กับคนอื่นค่ะ เรื่องเวลา อย่าไปเอาเปรียบเขา

สุดท้าย เรื่องที่คุณได้ค่าชดเชยมานั้นมันเป็นความโชคดีของคุณค่ะ อย่าเอาเป็นแบบอย่างให้คนอื่นเลย เพราะคนอื่นที่ทำผิดแบบเดียวกับคุณ  เขาอาจจะไม่ได้แบบคุณ (และมีแนวโน้มว่าจะเป็นแบบนั้นด้วยสิ  ถ้าบริษัทเขา "เป็นมวย")
ที่บอกเป็นความโชคดีเพราะ
1. บ.คุณอาจจะพลาดตรงไม่ออกหนังสือเตือน หรือทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง  ถ้าเขาออกหนังสือเตือนแล้วซ้ำๆ คุณทำผิดเดิมซ้ำ
เขาให้ออกได้โดยไม่จ่ายชดเชย และอาจจะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า - เพราะเขียนแจ้งไว้แล้วตั้งแต่น.เตือนแรก
2. บ.เขาขี้เกียจวุ่นวายสร้างปัญหาให้ตัวเองและคุณ  ถ้าจะลงเล่นจริงๆหรืออยากจะแก้เผ็ดคุณนะ เขาทำให้คุณเสียเวลาและเสียทรัพย์ได้อีกมากเลย จากแรงงานเขาไปได้ถึงศาลเลยหล่ะ  คุณอาจจะได้เงินคืน  แต่อีกกเป็นปีๆข้างหน้า บวกเสียค่าทนาย ค่าเดินทางนั่นนี่อีกเยอะแยะ

ไม่รู้ดิ  บางทีพนง.ก็ลำพองไปน่ะ ที่ได้ หรือไม่เสีย ไม่ได้รู้เล้ย เพราะบริษัทเขาไม่ทำต่างหาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่