บทความนี้ คัดลอกมาจากบทความของ Jagob ผู้อยู่ในวงการไอดอลมากว่า 10 เรียกว่าเป็นตัวจริง
ของวงการนี้ เห็นว่า น่าสนใจดี เลยอยาก จะเอามาแบ่งปันกัน
บทความเต็ม
https://jagob.blogspot.com/2018/10/jagob-idol-in-thailand-2018.html?fbclid=IwAR3OFj0RhKvB-XMYRY9p7E3_QMSUST3AJHPOSbfTz94tRMnqcsuHQjXytzs
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แม้ว่า BNK48 จะดังแต่คนทั่วไปยังเข้าใจไม่ตรงกันเท่าไหร่
แม้คนไทยทั่วไปเพิ่งจะได้ยินคำว่า ไอดอล จากการมาของ BNK48 ในปี 2017 นั้น แต่ด้วยความที่คนไทยไปคุ้นชินกับความหมายอื่นของ IDOL ไปแล้ว ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของคำๆ นี้มากมาย โดยในเวลานี้ ถ้าพูดถึงไอดอลแล้ว คนไทยทั่วไปจะนึกถึง
1. ไอดอลที่หมายถึงว่า "คนต้นแบบ / คนที่เป็นแบบอย่าง" ซึ่งเป็นความหมายแบบดั้งเดิมของคำนี้จากภาษาอังฤฤษ (ซึ่งยังมีความหมายว่า "รูปเคารพ" ด้วย) ซึ่งในไทยนั้น ไม่รู้ทำไมคำๆนี้จึงแพร่หลายและพยายามยกคนมาเป็น "คนต้นแบบ" กันมากมายนักก็ไม่อาจทราบได้ แบบ ตูน บอดี้สแลมที่วิ่งเพื่อรับเงินบริจาคจัดซื่อเครื่องมือแพทย์นั้นก็กลายเป็น "คนต้นแบบ" ซึ่งมีคนทับศัพท์ว่า "ไอดอล" อยู่ไม่น้อย
2. เน็ตไอดอล ซึ่งไม่รู้ใครบัญญัติคำนี้ขึ้นมา โดยมากเป็นคนดังทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่ได้ดังในแง่ดีอย่างเดียวมีคนที่ดังจากกระทำไม่ดีรวมอยู่ด้วย
3. ไอดอลที่เป็นกลุ่มนักร้อง ซึ่งเป็นความหมายที่เราหยิบยืมมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกลายเป็นพื้นฐานความคิดของคนไทยทั่วไปแล้วว่า คือ ไอดอลคือBNK48 เท่านั้น วงอื่นๆที่ตามมาจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับ BNK48 ตลอด หากทำวงมาในทิศทางเดียวกันก็จะกลายเป็นเลียนแบบ แต่หากสร้างเอกลักษณ์ใหม่แล้วไม่ถูกจริตคนหมู่มาก ก็จะออกตัวหนืดไปยาวๆอย่าง SWEAT16! เป็นต้น
BNK48 กับนิยามไอดอลที่ผิดแปลกออกไป
จากหัวข้อที่แล้ว แทนที่ BNK48 จะเป็นไอดอลสไตล์ญี่ปุ่น เพราะเป็นการซื้อแฟรนไชส์จาก AKB48 แต่ไปๆมาๆ กลายเป็นว่าสื่อมวลชนไทยสื่อสารอะไรคลาดเคลื่อนไปโดยไม่มีใครออกไปแก้ความเข้าใจผิดเลย จนสุดท้ายแล้วคำว่า "ไอดอล" กลายเป็นการรวมความหมาย 3 อย่างของไอดอลที่ผมว่ามาเป็น 3 in 1 ไปซะงั้น โดยทำให้ ไอดอล (ในไทย) หมายถึง "ศิลปินนักร้องที่เป็นบุคคลต้นแบบ ที่คุณสามารถไปพบและคุยได้ที่งานจับมือ" (ต่างจาก AKB48 ที่เป็นไอดอลที่มาจากคนธรรมดาและไปพบเจอได้ตามงานจับมือ) ซึ่งอาจจะทำให้ "วงอื่น" เกิดความลำบาก เพราะกลายเป็นว่า หากไม่มีบุคคลต้นแบบอยู่ในวง (หรือไม่ชูความเก่งของเมมเบอร์) ก็เท่ากับ "ไม่ใช่ไอดอลที่เขาต้องการ" กลายเป็นเพียง "วงคัฟเวอร์" (หรือคนทั่วไปชอบใช้คำว่า "วงโคฟเวอร์") กับ "วงเลียนแบบ BNK48" ไปอย่างน่าปวดหัว ซึ่งหากตั้งใจรับฟังจริงๆ แล้ว "เพลง" ของวงอื่นๆ ไม่ได้เลียนแบบหรืออะไรกับเพลงของ BNK48 เลย ทุกวงมีเพลงเป็นของตนเองทั้งสิ้น
ซึ่งเรื่องนี้อาจจะส่งผลกระทบแบบเดียวกันไปถึงวงที่ยังไม่มีผลงานเพลง ยืดยาวไปถึงในปี 2019 ไปอีกพักใหญ่ๆ ก็เป็นได้
ทิศทางไอดอลในปี 2019
เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ ตอนนี้อุตสาหกรรมดนตรีไทยกำลังเข้าสู่ยุคปฏิวัติ ค่ายต่างๆ มองเห็นการทำตลาดแบบ "ประชาชนเข้าถึงง่าย" และ "ความคล่องตัวในการที่ศิลปินมี activity ร่วมกับแฟนคลับ" เป็นธุรกิจที่น่าจับต้องมากขึ้น หรือพูดง่ายๆ "วงไอดอล (ที่คนเข้าไปเจอตัวได้ง่าย) มีโอกาสทำเงิน" และเริ่มส่งวงใหม่ๆ มาเข้าสู่ตลาดการค้ามากขึ้นแล้วก็ตาม
แต่กระนั้นแล้ว การจะสร้างวงใหม่ๆ แล้วประสบความสำเร็จทันที ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะทิศทางอุตสาหกรรมบันเทิงด้านไอดอลตอนนี้ ค่อนข้างจะเริ่มส่อแววไปทาง Red Ocean (ตลาดมีการแข่งขันสูง จนทุกเจ้าต้องลงทุนทำอะไรมากมาย เช่นลดแลกแจกแถม แต่สุดท้ายก็มีแต่จะขาดทุน เนื่องจากลงทุนเต็มที่แต่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มกับที่ลงทุนไป) เนื่องด้วยฐานแฟนคลับที่มีอยู่อย่างจำกัด (เงินที่วนเวียนในธุรกิจมีเม็ดเงินจำกัด) แต่กลับมีวงเกิดใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ตลาดยิ่งแข่งขันสูงขึ้น เพราะมีคนมาหารส่วนแบ่ง) ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับวงใหม่ๆ ที่เพิ่งจะก่อตั้งว่า พวกเขาจะสามารถหาตลาดหลักของตัวเองและขยายการตลาดต่อไปในทิศทางไหน ภายใต้ BNK48 ที่กรุยทางและกินเค้กก้อนใหญ่อยู่ ในเวลานี้
-------- บทความโดย Jagob
BNK48 กับนิยามไอดอลที่ผิดแปลกออกไป [Jagob]
ของวงการนี้ เห็นว่า น่าสนใจดี เลยอยาก จะเอามาแบ่งปันกัน
บทความเต็ม
https://jagob.blogspot.com/2018/10/jagob-idol-in-thailand-2018.html?fbclid=IwAR3OFj0RhKvB-XMYRY9p7E3_QMSUST3AJHPOSbfTz94tRMnqcsuHQjXytzs
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แม้ว่า BNK48 จะดังแต่คนทั่วไปยังเข้าใจไม่ตรงกันเท่าไหร่
แม้คนไทยทั่วไปเพิ่งจะได้ยินคำว่า ไอดอล จากการมาของ BNK48 ในปี 2017 นั้น แต่ด้วยความที่คนไทยไปคุ้นชินกับความหมายอื่นของ IDOL ไปแล้ว ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของคำๆ นี้มากมาย โดยในเวลานี้ ถ้าพูดถึงไอดอลแล้ว คนไทยทั่วไปจะนึกถึง
1. ไอดอลที่หมายถึงว่า "คนต้นแบบ / คนที่เป็นแบบอย่าง" ซึ่งเป็นความหมายแบบดั้งเดิมของคำนี้จากภาษาอังฤฤษ (ซึ่งยังมีความหมายว่า "รูปเคารพ" ด้วย) ซึ่งในไทยนั้น ไม่รู้ทำไมคำๆนี้จึงแพร่หลายและพยายามยกคนมาเป็น "คนต้นแบบ" กันมากมายนักก็ไม่อาจทราบได้ แบบ ตูน บอดี้สแลมที่วิ่งเพื่อรับเงินบริจาคจัดซื่อเครื่องมือแพทย์นั้นก็กลายเป็น "คนต้นแบบ" ซึ่งมีคนทับศัพท์ว่า "ไอดอล" อยู่ไม่น้อย
2. เน็ตไอดอล ซึ่งไม่รู้ใครบัญญัติคำนี้ขึ้นมา โดยมากเป็นคนดังทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่ได้ดังในแง่ดีอย่างเดียวมีคนที่ดังจากกระทำไม่ดีรวมอยู่ด้วย
3. ไอดอลที่เป็นกลุ่มนักร้อง ซึ่งเป็นความหมายที่เราหยิบยืมมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกลายเป็นพื้นฐานความคิดของคนไทยทั่วไปแล้วว่า คือ ไอดอลคือBNK48 เท่านั้น วงอื่นๆที่ตามมาจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับ BNK48 ตลอด หากทำวงมาในทิศทางเดียวกันก็จะกลายเป็นเลียนแบบ แต่หากสร้างเอกลักษณ์ใหม่แล้วไม่ถูกจริตคนหมู่มาก ก็จะออกตัวหนืดไปยาวๆอย่าง SWEAT16! เป็นต้น
BNK48 กับนิยามไอดอลที่ผิดแปลกออกไป
จากหัวข้อที่แล้ว แทนที่ BNK48 จะเป็นไอดอลสไตล์ญี่ปุ่น เพราะเป็นการซื้อแฟรนไชส์จาก AKB48 แต่ไปๆมาๆ กลายเป็นว่าสื่อมวลชนไทยสื่อสารอะไรคลาดเคลื่อนไปโดยไม่มีใครออกไปแก้ความเข้าใจผิดเลย จนสุดท้ายแล้วคำว่า "ไอดอล" กลายเป็นการรวมความหมาย 3 อย่างของไอดอลที่ผมว่ามาเป็น 3 in 1 ไปซะงั้น โดยทำให้ ไอดอล (ในไทย) หมายถึง "ศิลปินนักร้องที่เป็นบุคคลต้นแบบ ที่คุณสามารถไปพบและคุยได้ที่งานจับมือ" (ต่างจาก AKB48 ที่เป็นไอดอลที่มาจากคนธรรมดาและไปพบเจอได้ตามงานจับมือ) ซึ่งอาจจะทำให้ "วงอื่น" เกิดความลำบาก เพราะกลายเป็นว่า หากไม่มีบุคคลต้นแบบอยู่ในวง (หรือไม่ชูความเก่งของเมมเบอร์) ก็เท่ากับ "ไม่ใช่ไอดอลที่เขาต้องการ" กลายเป็นเพียง "วงคัฟเวอร์" (หรือคนทั่วไปชอบใช้คำว่า "วงโคฟเวอร์") กับ "วงเลียนแบบ BNK48" ไปอย่างน่าปวดหัว ซึ่งหากตั้งใจรับฟังจริงๆ แล้ว "เพลง" ของวงอื่นๆ ไม่ได้เลียนแบบหรืออะไรกับเพลงของ BNK48 เลย ทุกวงมีเพลงเป็นของตนเองทั้งสิ้น
ซึ่งเรื่องนี้อาจจะส่งผลกระทบแบบเดียวกันไปถึงวงที่ยังไม่มีผลงานเพลง ยืดยาวไปถึงในปี 2019 ไปอีกพักใหญ่ๆ ก็เป็นได้
ทิศทางไอดอลในปี 2019
เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ ตอนนี้อุตสาหกรรมดนตรีไทยกำลังเข้าสู่ยุคปฏิวัติ ค่ายต่างๆ มองเห็นการทำตลาดแบบ "ประชาชนเข้าถึงง่าย" และ "ความคล่องตัวในการที่ศิลปินมี activity ร่วมกับแฟนคลับ" เป็นธุรกิจที่น่าจับต้องมากขึ้น หรือพูดง่ายๆ "วงไอดอล (ที่คนเข้าไปเจอตัวได้ง่าย) มีโอกาสทำเงิน" และเริ่มส่งวงใหม่ๆ มาเข้าสู่ตลาดการค้ามากขึ้นแล้วก็ตาม
แต่กระนั้นแล้ว การจะสร้างวงใหม่ๆ แล้วประสบความสำเร็จทันที ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะทิศทางอุตสาหกรรมบันเทิงด้านไอดอลตอนนี้ ค่อนข้างจะเริ่มส่อแววไปทาง Red Ocean (ตลาดมีการแข่งขันสูง จนทุกเจ้าต้องลงทุนทำอะไรมากมาย เช่นลดแลกแจกแถม แต่สุดท้ายก็มีแต่จะขาดทุน เนื่องจากลงทุนเต็มที่แต่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มกับที่ลงทุนไป) เนื่องด้วยฐานแฟนคลับที่มีอยู่อย่างจำกัด (เงินที่วนเวียนในธุรกิจมีเม็ดเงินจำกัด) แต่กลับมีวงเกิดใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ตลาดยิ่งแข่งขันสูงขึ้น เพราะมีคนมาหารส่วนแบ่ง) ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับวงใหม่ๆ ที่เพิ่งจะก่อตั้งว่า พวกเขาจะสามารถหาตลาดหลักของตัวเองและขยายการตลาดต่อไปในทิศทางไหน ภายใต้ BNK48 ที่กรุยทางและกินเค้กก้อนใหญ่อยู่ ในเวลานี้
-------- บทความโดย Jagob