บทความนี้ยกมาจาก
https://jagob.blogspot.com/ ค่ะ
จะจบปี 2018 กันแล้ว ขอสรุปความเคลื่อนไหวของวงการไอดอลไทยกันสักหน่อยดีกว่าครับ
ปี 2018 คงจะเป็นปีที่วงการไอดอลในไทยคึกคักกันไม่น้อย หลังจากการปรากฎตัวของBNK48 , SWEAT16! ในปี 2017 พอปี 2018 ก็มีวงใหม่ๆ เกิดขึ้นมามากมาย จ่ากบขอสรุปเป็นหัวข้อต่างๆ ในมุมมองของจ่ากบนะครับ เพราะบอกกันตามตรงมันมีวงเล็กวงน้อยที่อาจจะลับหูลับตาผู้เขียนไปบ้าง หากตกหล่นวงใดไปขออภัยมา ณ ที่นี้
ปรากฎการณ์คุกกี้เสี่ยงทาย
แม้ BNK48 จะเปิดตัวมาแบบปกติในปี 2017 แต่หลังจากการมาของเพลง Koisuru Fortune Cookies คุกกี้เสี่ยงทาย ซึ่งถูกใจบรรดาคนดังในวงการบันเทิงไทย จนเอาไปเต้นตามกันในวงการตั้งแต่ปลายปี 2017 ก็ทำให้มีคนทั่วไปได้รู้จักเพลงนี้อย่างกว้างขวางในช่วงต้นปี 2018 สร้างปรากฎการณ์ฮิตทั่วบ้านทั่วเมืองอย่างไม่คาดฝัน ทำให้ BNK48 กลายเป็นวงที่ฮ็อตฮิตเนื้อหอมแก่เจ้าของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในบ้านเรา จนต้องเชิญ BNK48 ไปเป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้ากันมาตั้งแต่ต้นปี ไม่ว่าจะเป็น TOYOTA, SAMSUNG, มิรินด้า, LACTASOY ทำให้ผู้คนทั่วไปได้เห็นสาวๆ BNK48 กันอย่างทั่วถึง เรียกได้ว่า ปี2018 คงเป็นปีที่ BNK48 ผันตัวเองขึ้นจากวงที่เคยมีกลุ่มแฟนเป็นกลุ่มคนที่ติดตามวงพี่สาวมาก่อน กลายเป็นวงมหาชนอย่างแท้จริง
แถมด้วยความดังไปทั่วเมื่อต้นปี 2018 ทำให้ ค่าย BNK48 ได้จับมือกับ PLAN B เจ้าพ่อสื่อ ทำให้การPR ดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น เจาะกลุ่มตลาดชัดเจนขึ้น วงจึงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และต้องไม่ลืมการที่วงนี้มีเซเลบ คนดังในวงการต่างๆ ออกตัวสนับสนุน ก็ทำให้มีคนรู้จักกันอย่างแพร่หลาย จนปฎิเสธไม่ได้ว่า วันนี้คนไทยรู้จักชื่อ BNK48 แล้ว ซึ่งจากจากปี 2017 โดยสิ้นเชิง
BNK48 รุ่นสอง เพิ่มเมมเบอร์ = เสริมความมั่นคงในฐานแฟนคลับ
แม้ BNK48 จะเข้ามายึดหัวหาดความเป็นหนึ่งในผู้นำกระแสการตลาดในวงการบันเทิงเทียบเท่ากับดารานักแสดงมีชื่อของไทยมากมายแล้วก็ตาม ทางค่ายก็ยังคงไม่นิ่งนอนใจ ด้วยการย้ำกระแสผ่าน "การออดิชั่นรับเมมเบอร์รุ่นที่ 2 เข้ามาเพิ่ม" ซึ่งความน่าสนใจของเมมเบอร์รุ่นที่ 2 นั้นก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ารุ่นที่ 1 แม้แต่น้อย และหลายๆ คนต่างก็มาพร้อมกับสกิลในการสร้างคาแรคเตอร์ เพื่อปูฐานแฟนคลับของตัวเองได้เป็นอย่างดี พูดได้ว่าต่อให้เริ่มมีคนเบื่อรุ่น 1 แล้ว เขาก็ยังสามารถหันไปติดตามรุ่น 2 ได้ ทางค่ายไม่เปิดโอกาสให้แฟนคลับที่ติดตามอยู่แล้วหนีไปหาวงอื่นเลย เรียกว่าเสริมฐานแฟนคลับมั่นคงอยู่แล้วให้ฐานแน่นเข้าไปอีก
ภาพยนตร์ กับ BNK48
ปี 2018 เป็นปีที่คนวงการบันเทิงหนีไม่พ้น BNK48 แม้แต่ในวงการภาพยนตร์ เพราะการมาของ ภ. BNK48 Girls don't cry ซึ่งโด่งดังไปขายถึงต่างประเทศ , การไปร่วมแสดงในภาพยนตร์ APP WAR ของ อร BNK48 , และ ภ. Home stay ของ เฌอปราง BNK48 ก็ทำให้คนทั่วไปได้เห็นหน้าพวกเธอกันอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าไม่เปิดช่องให้พักหายใจกันเลยทีเดียว
กระแสเลือกตั้ง AKB48 ส่งต่อมาที่ เลือกตั้ง BNK48
หากใครติดตาม AKB48 มาก่อนที่จะมี BNK48 คงจะคุ้นชินกับสิ่งที่เรียกว่า "เลือกตั้งเซ็มบัตสึ" ซึ่งในปี 2018 นั้น BNK48 ก็มีเมมเบอร์ 2 คนเข้าไปติด 1 ใน 100 อันดับ ถึง 2 คน คือ เฌอปราง และ มิวสิค ทำให้กระแสความสนใจ "วัฒนธรรม48" กลับมาอีกครั้ง และทางค่ายของ BNK48 คงคาดหวังกับกระแสการเลือกตั้ง BNK48 ได้แน่นอนแล้ว และ อาจจะมีคนอื่นโหนกระแส "เลือกตั้งเซ็มบัตสึ" กับ "เลือกตั้งทางการเมือง" อยู่ก็ได้ ซึ่งกระแสนี้ อาจจะฝังกลบวงที่กำลังจะหาโอกาสเปิดตัวก่อนขึ้นปีใหม่อยู่ก็เป็นไปได้ หากเคลื่อนตัวแรงในปลายปี 2018 อาจจะเสียเงินPRไปเปล่าๆ ก็ได้ครับ
การปรากฎตัวของวงใหม่
7th Sense
Siam Dream
ความดังระดับมหาชนของ BNK48 นั้นอาจจะทำให้นักลงทุนและผู้ผลิตผลงานเริ่มเห็นความเป็นไปได้ ที่จะส่งวงหญิงล้วนกลับมาสู่วงการเพลงไทยที่แทบไม่มีศิลปินหญิงกันเสียที (ที่ว่าเห็นBNK48แล้วค่อยทำนั้นเป็นเพียงการคาดเดาครับ หลายวงอาจจะเตรียมการมาพอสมควรแล้วก็ได้)
โดยมีวงเกิร์ลกรุ๊ปเบอร์แรกที่ออกมาแนะนำตัวในต้นปี 2018 ออกมาคือ 7th Sense (เซเว่นเซ้นส์) ในช่วงเดือนเมษายน 2018 (แต่กว่าจะออกงานจริงก็อีกหลายเดือนต่อมา พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงจำนวนสมาชิกอยู่ตลอดเวลา) และตามมาด้วย Siam Dream (สยามดรีม) วงไอดอลลูกครึ่งที่มีเมมเบอร์เป็นไทยและญี่ปุ่น ร้องเพลงเป็นภาษาญี่ปุ่น และยึดแนวทางแบบจิกะไอดอล (อินดี้ไอดอล) ที่เปิดตัวและขึ้นแสดงในเดือนมิถุนายน 2018 และยังมีอีกหลายวงเริ่มประกาศออดิชั่นและสร้างไอดอลทางเลือก หรืออาจจะไม่ใช่วงไอดอล ขึ้นมาในช่วงปีนี้ โดยที่ออดิชั่นเสร็จไปแล้ว แต่ยังไม่มีผลงานเพลงให้ฟัง อย่าง FEVER, Secret 12 , A-Muse และยังมีวงจากภาคเหนืออย่าง SomeiYoshino51 ที่เริ่มออกงานอีเวนต์แล้ว กับวงที่ประกาศตัวว่าจะเป็น Underground idol อย่าง Akira-Kuro รวมถึงวงที่ยังรวบรวมสมาชิกกันอีกหลายต่อหลายวง
วงลูกผสมที่ยังไม่เจาะตลาดไทยแต่ไปไกลในประเทศอื่น
Rose Quartz
ซึ่งในกลุ่มที่ไม่ใช่ไอดอลหรือจะเรียกว่าเป็น Girls Group แบบ K-POP นั้น วงที่โดดเด่นในต่างประเทศคงไม่พ้น Rose Quartz (โรส ควอตซ์) ซึ่งเป็นวงลูกผสม 3 สัญชาติ ไทย-เกาหลี-เมียนมา โดยเดิมทีเป็นวงที่เป็นการผสมไทย-เกาหลีจากค่าย 0316 Entertainment ( ซึ่งเคยซอฟท์ลอนช์ก่อนที่ BNK48 จะเปรี้ยงปังเสียอีก) และภายหลังได้มีการร่วมงานกับค่ายเพลงของประเทศเมียนม่า รับเมมเบอร์สัญชาติเมียนม่ามาอีก 2 คน กลายเป็นเกิร์ลกรุ๊ป 5 คน ซึ่งแม้ในไทยจะไม่ค่อยมีฐานแฟนคลับใหญ่อะไรนัก แต่ในเมียนม่า พวกเธอดังระดับซูเปอร์สตาร์ และกำลังบุกไปเกาหลีใต้ ต้นตำรับ K-POP กันแล้ว
ซึ่งส่วนตัวยอมรับว่าการเดินหมากของ Rose Quartz นั้นเหมาะสมมากๆ เพราะหากวงนี้จะต้องมาฝ่าฟันแย่งกันออกงานในประเทศไทยที่มีคนครองตลาดอยู่แล้วนั้น อาจจะทำให้เสียเวลาสร้างชื่อ แถมยังได้ไม่คุ้มเสีย สู้ไป Go Inter ในต่างแดนแล้วดังจะคุ้มกว่า ก็ไม่รู้ว่าวงนี้จะมีวันที่ทำการตลาดในไทยหรือไม่?
SWEAT16! กับการเคลื่อนไหวที่ไม่ค่อยเปรี้ยงปังในปี 2018
Sweat16!
แม้ก่อนเปิดตัวในช่วงตุลาคม 2017 SWEAT16! อาจจะดูเป็นวงที่น่าจับตามอง ด้วยการแสดงสดและตัวเมมเบอร์ แต่ทางวงกลับเผชิญปัญหาอย่างหนักในการเล่นกับกระแสข่าว ซึ่งจำเป็นมากสำหรับการนำตัวเองเข้ามาเป็นไวรัล สาเหตุนึงน่าจะเป็นเพราะต้นสังกัดโยชิโมโต้ซึ่งแม้จะเป็นผู้เจนจัดในการทำคอนเทนต์ตลกให้ไวรัลในญี่ปุ่น แต่รสนิยมการเสพย์คอนเทนต์ของคนไทยนั้นต่างจากของคนญี่ปุ่นค่อนข้างมากทำให้คอนเทนต์ต่างๆ ที่ระดมผลิตออกมายังไม่โดนใจคนไทยทั่วไป รวมทั้งการตลาดที่ไม่ส่งเสริมระบบการซื้อขายสินค้าของวงเอง ก็ล้วนแต่ทำให้ ไม่กลายเป็นกระแสปากต่อปากของแฟนคลับเท่าไหร่อีกเช่นกัน
ส่วนตัวคิดว่า การที่วงเปิดตัวในช่วงเวลาใกล้เคียงกับ BNK48 ก็น่าจะมีส่วนทำให้ฐานแฟนคลับบางส่วนมองว่า SWEAT16! เป็นวงคู่แข่งของBNK48 และยากที่จะเปิดใจยอมรับและผลักดันวงนี้ไปพร้อมกับ BNK48 ได้
หากมองในด้านการ PR แบบไม่คาดหวังจะไปเปิดตลาดใหม่ของต้นสังกัดเองนั้นก็ถือเป็นปัญหาใหญ่ ด้วยการวนเวียนหาช่องทางโกยเงินโดยดึงเงินจากฐานแฟนคลับเก่าที่มีอยู่แล้ว ซึ่งการไม่ทำการตลาดโดยศึกษาราคา หรือ ความสนใจของคนทั่วไป (ที่อยู่นอกเหนือจากกลุ่มฐานแฟนคลับ) ทำให้กลุ่มแฟนคลับที่ยังวนเวียนอยู่ในวงมีปริมาณค่อนข้างเท่าเดิม ฐานแฟนคลับจึงไม่ค่อยขยายตัว แม้จะทำกิจกรรมต่อเนื่องมาปีกว่าๆ แล้ว ก็ตามที
หากทางโยชิโมโต้ไม่รีบปรับกลยุทธ์ในทุกภาคส่วน ปี2019 ก็ยังคงเป็นปีที่ SWEAT16! วนเวียนอยู่ในในสภาพเดิมต่อไปอีก 1 ปี ก็เป็นไปได้
แม้ว่า BNK48 จะดังแต่คนทั่วไปยังเข้าใจไม่ตรงกันเท่าไหร่
แม้คนไทยทั่วไปเพิ่งจะได้ยินคำว่า ไอดอล จากการมาของ BNK48 ในปี 2017 นั้น แต่ด้วยความที่คนไทยไปคุ้นชินกับความหมายอื่นของ IDOL ไปแล้ว ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของคำๆ นี้มากมาย โดยในเวลานี้ ถ้าพูดถึงไอดอลแล้ว คนไทยทั่วไปจะนึกถึง
1. ไอดอลที่หมายถึงว่า "คนต้นแบบ / คนที่เป็นแบบอย่าง" ซึ่งเป็นความหมายแบบดั้งเดิมของคำนี้จากภาษาอังฤฤษ (ซึ่งยังมีความหมายว่า "รูปเคารพ" ด้วย) ซึ่งในไทยนั้น ไม่รู้ทำไมคำๆนี้จึงแพร่หลายและพยายามยกคนมาเป็น "คนต้นแบบ" กันมากมายนักก็ไม่อาจทราบได้ แบบ ตูน บอดี้สแลมที่วิ่งเพื่อรับเงินบริจาคจัดซื่อเครื่องมือแพทย์นั้นก็กลายเป็น "คนต้นแบบ" ซึ่งมีคนทับศัพท์ว่า "ไอดอล" อยู่ไม่น้อย
2. เน็ตไอดอล ซึ่งไม่รู้ใครบัญญัติคำนี้ขึ้นมา โดยมากเป็นคนดังทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่ได้ดังในแง่ดีอย่างเดียวมีคนที่ดังจากกระทำไม่ดีรวมอยู่ด้วย
3. ไอดอลที่เป็นกลุ่มนักร้อง ซึ่งเป็นความหมายที่เราหยิบยืมมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกลายเป็นพื้นฐานความคิดของคนไทยทั่วไปแล้วว่า คือ ไอดอลคือBNK48 เท่านั้น วงอื่นๆที่ตามมาจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับ BNK48 ตลอด หากทำวงมาในทิศทางเดียวกันก็จะกลายเป็นเลียนแบบ แต่หากสร้างเอกลักษณ์ใหม่แล้วไม่ถูกจริตคนหมู่มาก ก็จะออกตัวหนืดไปยาวๆอย่าง SWEAT16! เป็นต้น
BNK48 กับนิยามไอดอลที่ผิดแปลกออกไป
จากหัวข้อที่แล้ว แทนที่ BNK48 จะเป็นไอดอลสไตล์ญี่ปุ่น เพราะเป็นการซื้อแฟรนไชล์จากAKB48 แต่ไปๆมาๆ กลายเป็นว่าสื่อมวลชนไทยสื่อสารอะไรคลาดเคลื่อนไปโดยไม่มีใครออกไปแก้ความเข้าใจผิดเลย จนสุดท้ายแล้วคำว่า "ไอดอล" กลายเป็นการรวมความหมาย 3 อย่างของไอดอลที่ผมว่ามาเป็น 3 in 1 ไปซะงั้น โดยทำให้ ไอดอล (ในไทย) หมายถึง "ศิลปินนักร้องที่เป็นบุคคลต้นแบบ ที่คุณสามารถไปพบและคุยได้ที่งานจับมือ" (ต่างจาก AKB48 ที่เป็นไอดอลที่มาจากคนธรรมดาและไปพบเจอได้ตามงานจับมือ) ซึ่งอาจจะทำให้ "วงอื่น" เกิดความลำบาก เพราะกลายเป็นว่า หากไม่มีบุคคลต้นแบบอยู่ในวง (หรือไม่ชูความเก่งของเมมเบอร์) ก็เท่ากับ "ไม่ใช่ไอดอลที่เขาต้องการ" กลายเป็นเพียง "วงคัฟเวอร์" (หรือคนทั่วไปชอบใช้คำว่า "วงโคฟเวอร์") กับ "วงเลียนแบบ BNK48" ไปอย่างน่าปวดหัว ซึ่งหากตั้งใจรับฟังจริงๆ แล้ว "เพลง" ของวงอื่นๆ ไม่ได้เลียนแบบหรืออะไรกับเพลงของ BNK48 เลย ทุกวงมีเพลงเป็นของตนเองทั้งสิ้น
ซึ่งเรื่องนี้อาจจะส่งผลกระทบแบบเดียวกันไปถึงวงที่ยังไม่มีผลงานเพลง ยืดยาวไปถึงในปี 2019 ไปอีกพักใหญ่ๆ ก็เป็นได้
ทิศทางไอดอลในปี 2019
เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ ตอนนี้อุตสาหกรรมดนตรีไทยกำลังเข้าสู่ยุคปฏิวัติ ค่ายต่างๆ มองเห็นการทำตลาดแบบ "ประชาชนเข้าถึงง่าย" และ "ความคล่องตัวในการที่ศิลปินมี activity ร่วมกับแฟนคลับ" เป็นธุรกิจที่น่าจับต้องมากขึ้น หรือพูดง่ายๆ "วงไอดอล (ที่คนเข้าไปเจอตัวได้ง่าย) มีโอกาสทำเงิน" และเริ่มส่งวงใหม่ๆ มาเข้าสู่ตลาดการค้ามากขึ้นแล้วก็ตาม
แต่กระนั้นแล้ว การจะสร้างวงใหม่ๆ แล้วประสบความสำเร็จทันที ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะทิศทางอุตสาหกรรมบันเทิงด้านไอดอลตอนนี้ ค่อนข้างจะเริ่มส่อแววไปทาง Red Ocean (ตลาดมีการแข่งขันสูง จนทุกเจ้าต้องลงทุนทำอะไรมากมาย เช่นลดแลกแจกแถม แต่สุดท้ายก็มีแต่จะขาดทุน เนื่องจากลงทุนเต็มที่แต่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มกับที่ลงทุนไป) เนื่องด้วยฐานแฟนคลับที่มีอยู่อย่างจำกัด (เงินที่วนเวียนในธุรกิจมีเม็ดเงินจำกัด) แต่กลับมีวงเกิดใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ตลาดยิ่งแข่งขันสูงขึ้น เพราะมีคนมาหารส่วนแบ่ง) ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับวงใหม่ๆ ที่เพิ่งจะก่อตั้งว่า พวกเขาจะสามารถหาตลาดหลักของตัวเองและขยายการตลาดต่อไปในทิศทางไหน ภายใต้ BNK48 ที่กรุยทางและกินเค้กก้อนใหญ่อยู่ ในเวลานี้
-------- บทความโดย Jagob
CR. จาก
https://jagob.blogspot.com/2018/10/jagob-idol-in-thailand-2018.html
Jagob สรุปความเคลื่อนไหว idol in Thailand 2018
จะจบปี 2018 กันแล้ว ขอสรุปความเคลื่อนไหวของวงการไอดอลไทยกันสักหน่อยดีกว่าครับ
ปี 2018 คงจะเป็นปีที่วงการไอดอลในไทยคึกคักกันไม่น้อย หลังจากการปรากฎตัวของBNK48 , SWEAT16! ในปี 2017 พอปี 2018 ก็มีวงใหม่ๆ เกิดขึ้นมามากมาย จ่ากบขอสรุปเป็นหัวข้อต่างๆ ในมุมมองของจ่ากบนะครับ เพราะบอกกันตามตรงมันมีวงเล็กวงน้อยที่อาจจะลับหูลับตาผู้เขียนไปบ้าง หากตกหล่นวงใดไปขออภัยมา ณ ที่นี้
ปรากฎการณ์คุกกี้เสี่ยงทาย
แม้ BNK48 จะเปิดตัวมาแบบปกติในปี 2017 แต่หลังจากการมาของเพลง Koisuru Fortune Cookies คุกกี้เสี่ยงทาย ซึ่งถูกใจบรรดาคนดังในวงการบันเทิงไทย จนเอาไปเต้นตามกันในวงการตั้งแต่ปลายปี 2017 ก็ทำให้มีคนทั่วไปได้รู้จักเพลงนี้อย่างกว้างขวางในช่วงต้นปี 2018 สร้างปรากฎการณ์ฮิตทั่วบ้านทั่วเมืองอย่างไม่คาดฝัน ทำให้ BNK48 กลายเป็นวงที่ฮ็อตฮิตเนื้อหอมแก่เจ้าของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในบ้านเรา จนต้องเชิญ BNK48 ไปเป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้ากันมาตั้งแต่ต้นปี ไม่ว่าจะเป็น TOYOTA, SAMSUNG, มิรินด้า, LACTASOY ทำให้ผู้คนทั่วไปได้เห็นสาวๆ BNK48 กันอย่างทั่วถึง เรียกได้ว่า ปี2018 คงเป็นปีที่ BNK48 ผันตัวเองขึ้นจากวงที่เคยมีกลุ่มแฟนเป็นกลุ่มคนที่ติดตามวงพี่สาวมาก่อน กลายเป็นวงมหาชนอย่างแท้จริง
แถมด้วยความดังไปทั่วเมื่อต้นปี 2018 ทำให้ ค่าย BNK48 ได้จับมือกับ PLAN B เจ้าพ่อสื่อ ทำให้การPR ดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น เจาะกลุ่มตลาดชัดเจนขึ้น วงจึงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และต้องไม่ลืมการที่วงนี้มีเซเลบ คนดังในวงการต่างๆ ออกตัวสนับสนุน ก็ทำให้มีคนรู้จักกันอย่างแพร่หลาย จนปฎิเสธไม่ได้ว่า วันนี้คนไทยรู้จักชื่อ BNK48 แล้ว ซึ่งจากจากปี 2017 โดยสิ้นเชิง
BNK48 รุ่นสอง เพิ่มเมมเบอร์ = เสริมความมั่นคงในฐานแฟนคลับ
แม้ BNK48 จะเข้ามายึดหัวหาดความเป็นหนึ่งในผู้นำกระแสการตลาดในวงการบันเทิงเทียบเท่ากับดารานักแสดงมีชื่อของไทยมากมายแล้วก็ตาม ทางค่ายก็ยังคงไม่นิ่งนอนใจ ด้วยการย้ำกระแสผ่าน "การออดิชั่นรับเมมเบอร์รุ่นที่ 2 เข้ามาเพิ่ม" ซึ่งความน่าสนใจของเมมเบอร์รุ่นที่ 2 นั้นก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ารุ่นที่ 1 แม้แต่น้อย และหลายๆ คนต่างก็มาพร้อมกับสกิลในการสร้างคาแรคเตอร์ เพื่อปูฐานแฟนคลับของตัวเองได้เป็นอย่างดี พูดได้ว่าต่อให้เริ่มมีคนเบื่อรุ่น 1 แล้ว เขาก็ยังสามารถหันไปติดตามรุ่น 2 ได้ ทางค่ายไม่เปิดโอกาสให้แฟนคลับที่ติดตามอยู่แล้วหนีไปหาวงอื่นเลย เรียกว่าเสริมฐานแฟนคลับมั่นคงอยู่แล้วให้ฐานแน่นเข้าไปอีก
ภาพยนตร์ กับ BNK48
ปี 2018 เป็นปีที่คนวงการบันเทิงหนีไม่พ้น BNK48 แม้แต่ในวงการภาพยนตร์ เพราะการมาของ ภ. BNK48 Girls don't cry ซึ่งโด่งดังไปขายถึงต่างประเทศ , การไปร่วมแสดงในภาพยนตร์ APP WAR ของ อร BNK48 , และ ภ. Home stay ของ เฌอปราง BNK48 ก็ทำให้คนทั่วไปได้เห็นหน้าพวกเธอกันอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าไม่เปิดช่องให้พักหายใจกันเลยทีเดียว
กระแสเลือกตั้ง AKB48 ส่งต่อมาที่ เลือกตั้ง BNK48
หากใครติดตาม AKB48 มาก่อนที่จะมี BNK48 คงจะคุ้นชินกับสิ่งที่เรียกว่า "เลือกตั้งเซ็มบัตสึ" ซึ่งในปี 2018 นั้น BNK48 ก็มีเมมเบอร์ 2 คนเข้าไปติด 1 ใน 100 อันดับ ถึง 2 คน คือ เฌอปราง และ มิวสิค ทำให้กระแสความสนใจ "วัฒนธรรม48" กลับมาอีกครั้ง และทางค่ายของ BNK48 คงคาดหวังกับกระแสการเลือกตั้ง BNK48 ได้แน่นอนแล้ว และ อาจจะมีคนอื่นโหนกระแส "เลือกตั้งเซ็มบัตสึ" กับ "เลือกตั้งทางการเมือง" อยู่ก็ได้ ซึ่งกระแสนี้ อาจจะฝังกลบวงที่กำลังจะหาโอกาสเปิดตัวก่อนขึ้นปีใหม่อยู่ก็เป็นไปได้ หากเคลื่อนตัวแรงในปลายปี 2018 อาจจะเสียเงินPRไปเปล่าๆ ก็ได้ครับ
การปรากฎตัวของวงใหม่
7th Sense
Siam Dream
ความดังระดับมหาชนของ BNK48 นั้นอาจจะทำให้นักลงทุนและผู้ผลิตผลงานเริ่มเห็นความเป็นไปได้ ที่จะส่งวงหญิงล้วนกลับมาสู่วงการเพลงไทยที่แทบไม่มีศิลปินหญิงกันเสียที (ที่ว่าเห็นBNK48แล้วค่อยทำนั้นเป็นเพียงการคาดเดาครับ หลายวงอาจจะเตรียมการมาพอสมควรแล้วก็ได้)
โดยมีวงเกิร์ลกรุ๊ปเบอร์แรกที่ออกมาแนะนำตัวในต้นปี 2018 ออกมาคือ 7th Sense (เซเว่นเซ้นส์) ในช่วงเดือนเมษายน 2018 (แต่กว่าจะออกงานจริงก็อีกหลายเดือนต่อมา พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงจำนวนสมาชิกอยู่ตลอดเวลา) และตามมาด้วย Siam Dream (สยามดรีม) วงไอดอลลูกครึ่งที่มีเมมเบอร์เป็นไทยและญี่ปุ่น ร้องเพลงเป็นภาษาญี่ปุ่น และยึดแนวทางแบบจิกะไอดอล (อินดี้ไอดอล) ที่เปิดตัวและขึ้นแสดงในเดือนมิถุนายน 2018 และยังมีอีกหลายวงเริ่มประกาศออดิชั่นและสร้างไอดอลทางเลือก หรืออาจจะไม่ใช่วงไอดอล ขึ้นมาในช่วงปีนี้ โดยที่ออดิชั่นเสร็จไปแล้ว แต่ยังไม่มีผลงานเพลงให้ฟัง อย่าง FEVER, Secret 12 , A-Muse และยังมีวงจากภาคเหนืออย่าง SomeiYoshino51 ที่เริ่มออกงานอีเวนต์แล้ว กับวงที่ประกาศตัวว่าจะเป็น Underground idol อย่าง Akira-Kuro รวมถึงวงที่ยังรวบรวมสมาชิกกันอีกหลายต่อหลายวง
วงลูกผสมที่ยังไม่เจาะตลาดไทยแต่ไปไกลในประเทศอื่น
Rose Quartz
ซึ่งในกลุ่มที่ไม่ใช่ไอดอลหรือจะเรียกว่าเป็น Girls Group แบบ K-POP นั้น วงที่โดดเด่นในต่างประเทศคงไม่พ้น Rose Quartz (โรส ควอตซ์) ซึ่งเป็นวงลูกผสม 3 สัญชาติ ไทย-เกาหลี-เมียนมา โดยเดิมทีเป็นวงที่เป็นการผสมไทย-เกาหลีจากค่าย 0316 Entertainment ( ซึ่งเคยซอฟท์ลอนช์ก่อนที่ BNK48 จะเปรี้ยงปังเสียอีก) และภายหลังได้มีการร่วมงานกับค่ายเพลงของประเทศเมียนม่า รับเมมเบอร์สัญชาติเมียนม่ามาอีก 2 คน กลายเป็นเกิร์ลกรุ๊ป 5 คน ซึ่งแม้ในไทยจะไม่ค่อยมีฐานแฟนคลับใหญ่อะไรนัก แต่ในเมียนม่า พวกเธอดังระดับซูเปอร์สตาร์ และกำลังบุกไปเกาหลีใต้ ต้นตำรับ K-POP กันแล้ว
ซึ่งส่วนตัวยอมรับว่าการเดินหมากของ Rose Quartz นั้นเหมาะสมมากๆ เพราะหากวงนี้จะต้องมาฝ่าฟันแย่งกันออกงานในประเทศไทยที่มีคนครองตลาดอยู่แล้วนั้น อาจจะทำให้เสียเวลาสร้างชื่อ แถมยังได้ไม่คุ้มเสีย สู้ไป Go Inter ในต่างแดนแล้วดังจะคุ้มกว่า ก็ไม่รู้ว่าวงนี้จะมีวันที่ทำการตลาดในไทยหรือไม่?
SWEAT16! กับการเคลื่อนไหวที่ไม่ค่อยเปรี้ยงปังในปี 2018
Sweat16!
แม้ก่อนเปิดตัวในช่วงตุลาคม 2017 SWEAT16! อาจจะดูเป็นวงที่น่าจับตามอง ด้วยการแสดงสดและตัวเมมเบอร์ แต่ทางวงกลับเผชิญปัญหาอย่างหนักในการเล่นกับกระแสข่าว ซึ่งจำเป็นมากสำหรับการนำตัวเองเข้ามาเป็นไวรัล สาเหตุนึงน่าจะเป็นเพราะต้นสังกัดโยชิโมโต้ซึ่งแม้จะเป็นผู้เจนจัดในการทำคอนเทนต์ตลกให้ไวรัลในญี่ปุ่น แต่รสนิยมการเสพย์คอนเทนต์ของคนไทยนั้นต่างจากของคนญี่ปุ่นค่อนข้างมากทำให้คอนเทนต์ต่างๆ ที่ระดมผลิตออกมายังไม่โดนใจคนไทยทั่วไป รวมทั้งการตลาดที่ไม่ส่งเสริมระบบการซื้อขายสินค้าของวงเอง ก็ล้วนแต่ทำให้ ไม่กลายเป็นกระแสปากต่อปากของแฟนคลับเท่าไหร่อีกเช่นกัน
ส่วนตัวคิดว่า การที่วงเปิดตัวในช่วงเวลาใกล้เคียงกับ BNK48 ก็น่าจะมีส่วนทำให้ฐานแฟนคลับบางส่วนมองว่า SWEAT16! เป็นวงคู่แข่งของBNK48 และยากที่จะเปิดใจยอมรับและผลักดันวงนี้ไปพร้อมกับ BNK48 ได้
หากมองในด้านการ PR แบบไม่คาดหวังจะไปเปิดตลาดใหม่ของต้นสังกัดเองนั้นก็ถือเป็นปัญหาใหญ่ ด้วยการวนเวียนหาช่องทางโกยเงินโดยดึงเงินจากฐานแฟนคลับเก่าที่มีอยู่แล้ว ซึ่งการไม่ทำการตลาดโดยศึกษาราคา หรือ ความสนใจของคนทั่วไป (ที่อยู่นอกเหนือจากกลุ่มฐานแฟนคลับ) ทำให้กลุ่มแฟนคลับที่ยังวนเวียนอยู่ในวงมีปริมาณค่อนข้างเท่าเดิม ฐานแฟนคลับจึงไม่ค่อยขยายตัว แม้จะทำกิจกรรมต่อเนื่องมาปีกว่าๆ แล้ว ก็ตามที
หากทางโยชิโมโต้ไม่รีบปรับกลยุทธ์ในทุกภาคส่วน ปี2019 ก็ยังคงเป็นปีที่ SWEAT16! วนเวียนอยู่ในในสภาพเดิมต่อไปอีก 1 ปี ก็เป็นไปได้
แม้ว่า BNK48 จะดังแต่คนทั่วไปยังเข้าใจไม่ตรงกันเท่าไหร่
แม้คนไทยทั่วไปเพิ่งจะได้ยินคำว่า ไอดอล จากการมาของ BNK48 ในปี 2017 นั้น แต่ด้วยความที่คนไทยไปคุ้นชินกับความหมายอื่นของ IDOL ไปแล้ว ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของคำๆ นี้มากมาย โดยในเวลานี้ ถ้าพูดถึงไอดอลแล้ว คนไทยทั่วไปจะนึกถึง
1. ไอดอลที่หมายถึงว่า "คนต้นแบบ / คนที่เป็นแบบอย่าง" ซึ่งเป็นความหมายแบบดั้งเดิมของคำนี้จากภาษาอังฤฤษ (ซึ่งยังมีความหมายว่า "รูปเคารพ" ด้วย) ซึ่งในไทยนั้น ไม่รู้ทำไมคำๆนี้จึงแพร่หลายและพยายามยกคนมาเป็น "คนต้นแบบ" กันมากมายนักก็ไม่อาจทราบได้ แบบ ตูน บอดี้สแลมที่วิ่งเพื่อรับเงินบริจาคจัดซื่อเครื่องมือแพทย์นั้นก็กลายเป็น "คนต้นแบบ" ซึ่งมีคนทับศัพท์ว่า "ไอดอล" อยู่ไม่น้อย
2. เน็ตไอดอล ซึ่งไม่รู้ใครบัญญัติคำนี้ขึ้นมา โดยมากเป็นคนดังทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่ได้ดังในแง่ดีอย่างเดียวมีคนที่ดังจากกระทำไม่ดีรวมอยู่ด้วย
3. ไอดอลที่เป็นกลุ่มนักร้อง ซึ่งเป็นความหมายที่เราหยิบยืมมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกลายเป็นพื้นฐานความคิดของคนไทยทั่วไปแล้วว่า คือ ไอดอลคือBNK48 เท่านั้น วงอื่นๆที่ตามมาจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับ BNK48 ตลอด หากทำวงมาในทิศทางเดียวกันก็จะกลายเป็นเลียนแบบ แต่หากสร้างเอกลักษณ์ใหม่แล้วไม่ถูกจริตคนหมู่มาก ก็จะออกตัวหนืดไปยาวๆอย่าง SWEAT16! เป็นต้น
BNK48 กับนิยามไอดอลที่ผิดแปลกออกไป
จากหัวข้อที่แล้ว แทนที่ BNK48 จะเป็นไอดอลสไตล์ญี่ปุ่น เพราะเป็นการซื้อแฟรนไชล์จากAKB48 แต่ไปๆมาๆ กลายเป็นว่าสื่อมวลชนไทยสื่อสารอะไรคลาดเคลื่อนไปโดยไม่มีใครออกไปแก้ความเข้าใจผิดเลย จนสุดท้ายแล้วคำว่า "ไอดอล" กลายเป็นการรวมความหมาย 3 อย่างของไอดอลที่ผมว่ามาเป็น 3 in 1 ไปซะงั้น โดยทำให้ ไอดอล (ในไทย) หมายถึง "ศิลปินนักร้องที่เป็นบุคคลต้นแบบ ที่คุณสามารถไปพบและคุยได้ที่งานจับมือ" (ต่างจาก AKB48 ที่เป็นไอดอลที่มาจากคนธรรมดาและไปพบเจอได้ตามงานจับมือ) ซึ่งอาจจะทำให้ "วงอื่น" เกิดความลำบาก เพราะกลายเป็นว่า หากไม่มีบุคคลต้นแบบอยู่ในวง (หรือไม่ชูความเก่งของเมมเบอร์) ก็เท่ากับ "ไม่ใช่ไอดอลที่เขาต้องการ" กลายเป็นเพียง "วงคัฟเวอร์" (หรือคนทั่วไปชอบใช้คำว่า "วงโคฟเวอร์") กับ "วงเลียนแบบ BNK48" ไปอย่างน่าปวดหัว ซึ่งหากตั้งใจรับฟังจริงๆ แล้ว "เพลง" ของวงอื่นๆ ไม่ได้เลียนแบบหรืออะไรกับเพลงของ BNK48 เลย ทุกวงมีเพลงเป็นของตนเองทั้งสิ้น
ซึ่งเรื่องนี้อาจจะส่งผลกระทบแบบเดียวกันไปถึงวงที่ยังไม่มีผลงานเพลง ยืดยาวไปถึงในปี 2019 ไปอีกพักใหญ่ๆ ก็เป็นได้
ทิศทางไอดอลในปี 2019
เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ ตอนนี้อุตสาหกรรมดนตรีไทยกำลังเข้าสู่ยุคปฏิวัติ ค่ายต่างๆ มองเห็นการทำตลาดแบบ "ประชาชนเข้าถึงง่าย" และ "ความคล่องตัวในการที่ศิลปินมี activity ร่วมกับแฟนคลับ" เป็นธุรกิจที่น่าจับต้องมากขึ้น หรือพูดง่ายๆ "วงไอดอล (ที่คนเข้าไปเจอตัวได้ง่าย) มีโอกาสทำเงิน" และเริ่มส่งวงใหม่ๆ มาเข้าสู่ตลาดการค้ามากขึ้นแล้วก็ตาม
แต่กระนั้นแล้ว การจะสร้างวงใหม่ๆ แล้วประสบความสำเร็จทันที ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะทิศทางอุตสาหกรรมบันเทิงด้านไอดอลตอนนี้ ค่อนข้างจะเริ่มส่อแววไปทาง Red Ocean (ตลาดมีการแข่งขันสูง จนทุกเจ้าต้องลงทุนทำอะไรมากมาย เช่นลดแลกแจกแถม แต่สุดท้ายก็มีแต่จะขาดทุน เนื่องจากลงทุนเต็มที่แต่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มกับที่ลงทุนไป) เนื่องด้วยฐานแฟนคลับที่มีอยู่อย่างจำกัด (เงินที่วนเวียนในธุรกิจมีเม็ดเงินจำกัด) แต่กลับมีวงเกิดใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ตลาดยิ่งแข่งขันสูงขึ้น เพราะมีคนมาหารส่วนแบ่ง) ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับวงใหม่ๆ ที่เพิ่งจะก่อตั้งว่า พวกเขาจะสามารถหาตลาดหลักของตัวเองและขยายการตลาดต่อไปในทิศทางไหน ภายใต้ BNK48 ที่กรุยทางและกินเค้กก้อนใหญ่อยู่ ในเวลานี้
-------- บทความโดย Jagob
CR. จาก https://jagob.blogspot.com/2018/10/jagob-idol-in-thailand-2018.html