ราชวงศ์เม็งรายมีพญาเม็งรายเป็นปฐมกษัตริย์แห่งเชียงใหม่ พระองค์ทรงพาไพร่ฟ้าประชาชนเสาะแสวงหาทำเลเพื่อ "สร้างบ้านแปงเมือง" ตั้งแต่เชียงราย เมืองฝาง เวียงกุมกาม ลำพูน สุดท้ายพระองค์ก็ทรงได้ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนเป็นจุดศูนย์กลางแล้วแผ่อาณาจักรไปอย่างกว้างขวางดั่งสมญานามของชื่อแคว้น "ล้านนา" มีการสืบราชวงศ์มาอย่างยาวนานหลายพระองค์และหลายร้อยปี (จนมาถึงยุค ร.๕) บางรัชสมัยบ้านเมืองก็ออกศึกสงคราม บางรัชสมัยก็สงบรื่นรมย์จึงมาถึงยุคของพระเมืองเกษเกล้าที่มีพระนางมหาเทวีจิระประภาเป็นมเหสี เหตุการณ์บ้านเมืองในเชียงใหม่ตอนนั้นปั่นป่วน ด้วยว่าเหล่ามุขมนตรีมหาอำมาตย์แตกแยกมีใจฝักใฝ่แคว้นอื่นๆ อยู่ เพราะเชียงใหม่ขนาบด้วยแคว้นเชียงแสนและหลวงพระบาง ด้านตะวันออก ด้านเหนือก็เมืองแสนหวีลงไปจนถึงพุกาม ตองอู ใต้ลงมาแคว้นอยุธยา สุดท้ายพระเมืองเกษเกล้าฯก็ถูกลอบปลงพระชนม์(ความจริงพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่สอง) การสรรหาผู้สืบสันตติวงศ์ก็เป็นไปอยางปั่นป่วน อำมาตย์ฝ่ายนั้นก็จะเอาพระองค์นั้นมาสืบราชฯ ฝ่ายหนึ่งก็จะเอาอีกพระองค์ฯ สุดท้ายก็ตกลงพร้อมใจกันเห็นว่า
พระนางมหาเทวีจิระประภาเจ้าควรเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระสวามี ตรงนี้ก็น่าชื่นชมนะครับ แม้จะขัดแย้งกันจะเป็นจะตาย สุดท้ายก็โหวตกันว่าจะเอาพระนางจิระประภาตามเสียง "ส่วนใหญ่" ก็ยอมตามกันโดยไม่เกี่ยงว่าเป็นผู้หญิง
ตรงนี้ใครที่เคยเหยียดหยามคนอื่นว่าไม่รู้จักประชาธิปไตย ว่าเสียงโหวตไม่มีค่าเท่าคนกรุงก็คิดเสียใหม่นะครับ อย่าลืมว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นมาแล้วหลายร้อยปีแล้ว (ว่าไปทำไมมี? อย่าว่าแต่โหวตเลือกผู้นำเลยครับ โหวตขับไล่ผู้นำก็เคยมีมาแล้วในสมัยนั้น แต่ผมไม่กล้านำมาเล่า กลัวอมยิ้มปลิว)
พระนางจิระประภาเจ้าทรงเป็น "กษัตรีย์" พระองค์แรกแห่งอาณาจักรเชียงใหม่ (ไม่เกี่ยวกับพระนางจามเทวีที่เล่าเมื่อวานนะครับอย่าสับสน) ช่วงที่ครองราชสมบัติก็มีเหตุการณ์วุ่นวายให้ต้องแก้ไขไม่ว่างเว้น "ศึกใน" ก็คือเหล่ามหาอำมาตย์มุขมนตรีก็ยังฮึมๆ ใส่กันอยู่ "ศึกนอก" ยิ่งหนักกว่าเมื่อกองทัพของพระไชยราชาธิราชจากอยุธยายกทัพหลวงหมายจะเข้าตีเชียงใหม่ ในภาวะคับขันเช่นนี้...พระนางจะพึ่งใครก็คงพึ่งได้ยากและมีแนวโน้มว่าคงจะพ่ายกองทัพอยุธยาเป็นแน่ บาทหลวงชาวฮอลันดา(ปินโต)บันทึกเอาไว้ว่า กองทัพอยุธยาที่ยกมาล้อมเชียงใหม่ครานี้มีทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสหนึ่งกองร้อยพร้อมปืนไฟทำให้เป็นต่อเชียงใหม่อยู่หลายขุม สุดท้าย...พระนางตัดสินใจใช้ "น้ำเย็น" เข้าลูบ โดยแต่งพานพุ่มออกมาแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระไชยราชาธิราชและเปิดประตูเมืองเชียงใหม่ให้ทัพอยุธยาเข้าอย่างง่ายดาย ด้วยเหตุว่าไม่เห็นวิธีอื่นใดในการที่จะรักษาเมืองไว้มากไปกว่าวิธีนี้ หากใครได้เคยดูหนังเรื่อง "สุริโยทัย" คงเห็นฉากที่คุณเพ็ญพักตร์ แต่งชุดเจ้านางของเชียงใหม่ออกมาต้อนรับพระไชยราชาธิราช(แสดงโดยคุณพงพัฒน์)นั่นแหละครับพระนางมหาเทวีจิระประภา ในเรื่องอาจจะไม่เด่น เพราะเป็นหนังที่สร้างเพื่อเชิดชูอยุธยาโดยเฉพาะ
เมืองเชียงใหม่จึงรอดพ้นจากกองทัพอยุธยา ซึ่งต่อมาพระนางจิระประภาก็ติดต่อกับทางล้านช้างหลวงพระบาง ซึ่งมีพระเจ้าโพธิสาราชอันเป็นพระลูกเขยของพระนางจิระประภาเองให้มาช่วยเสริมกำลัง เผื่อว่าอยุธยาจะย้อนทัพกลับมาอีก จริงดั่งคาด....อยุธยาย้อนกลับมาอีกครา คราวนี้สู้รบกันอย่างแข็งขัน สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้รับบาดเจ็บ จึงยกทัพกลับอยุธยา...ซึ่งต่อมาพระองค์ก็เสด็จสวรรค์คต นัยว่าโดนลอบวางยาพิษจากแม่หยัวเมืองศรีสุดาจันทร์(ตามหนังเรื่องสุริโยทัย)
หลังจากเสร็จศึกกับอยุธยาแล้ว พระนางจิระประภาก็สละราชย์โดยทรงโปรดให้พระเจ้าหลานเธอคือ "พระไชยเชษฐาธิราช" จากหลวงพระบางมาสืบราชย์ต่อจากพระนาง พระนางครองราชย์ได้เพียงปีกว่า ส่วนพระไชยเชษฐาธิราชก็ครองราชย์ได้ไม่นานคือปีกว่าๆ เช่นกันก็ต้องเสด็จกลับหลวงพระบางด้วยว่าพระราชบิดาเสด็จสวรรคตอย่างกระทันหัน(ตำราฝั่งลาวบอกว่าช้างล้มทับพระองค์) ช่วงที่เสด็จกลับนี้พระองค์ก็ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย ส่วนพระนางจิระประภาก็เสด็จตามด้วย แล้วพระนางก็สิ้นพระชนม์ที่เมืองหลวงพระบางนั่นเอง
...รีรัน: "ยิ่งลักษณ์ไม่ใช่ "นารีขี่ม้าขาว" คนแรกจากเชียงใหม่.../วชรน.
พระนางจิระประภาเจ้าทรงเป็น "กษัตรีย์" พระองค์แรกแห่งอาณาจักรเชียงใหม่ (ไม่เกี่ยวกับพระนางจามเทวีที่เล่าเมื่อวานนะครับอย่าสับสน) ช่วงที่ครองราชสมบัติก็มีเหตุการณ์วุ่นวายให้ต้องแก้ไขไม่ว่างเว้น "ศึกใน" ก็คือเหล่ามหาอำมาตย์มุขมนตรีก็ยังฮึมๆ ใส่กันอยู่ "ศึกนอก" ยิ่งหนักกว่าเมื่อกองทัพของพระไชยราชาธิราชจากอยุธยายกทัพหลวงหมายจะเข้าตีเชียงใหม่ ในภาวะคับขันเช่นนี้...พระนางจะพึ่งใครก็คงพึ่งได้ยากและมีแนวโน้มว่าคงจะพ่ายกองทัพอยุธยาเป็นแน่ บาทหลวงชาวฮอลันดา(ปินโต)บันทึกเอาไว้ว่า กองทัพอยุธยาที่ยกมาล้อมเชียงใหม่ครานี้มีทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสหนึ่งกองร้อยพร้อมปืนไฟทำให้เป็นต่อเชียงใหม่อยู่หลายขุม สุดท้าย...พระนางตัดสินใจใช้ "น้ำเย็น" เข้าลูบ โดยแต่งพานพุ่มออกมาแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระไชยราชาธิราชและเปิดประตูเมืองเชียงใหม่ให้ทัพอยุธยาเข้าอย่างง่ายดาย ด้วยเหตุว่าไม่เห็นวิธีอื่นใดในการที่จะรักษาเมืองไว้มากไปกว่าวิธีนี้ หากใครได้เคยดูหนังเรื่อง "สุริโยทัย" คงเห็นฉากที่คุณเพ็ญพักตร์ แต่งชุดเจ้านางของเชียงใหม่ออกมาต้อนรับพระไชยราชาธิราช(แสดงโดยคุณพงพัฒน์)นั่นแหละครับพระนางมหาเทวีจิระประภา ในเรื่องอาจจะไม่เด่น เพราะเป็นหนังที่สร้างเพื่อเชิดชูอยุธยาโดยเฉพาะ
เมืองเชียงใหม่จึงรอดพ้นจากกองทัพอยุธยา ซึ่งต่อมาพระนางจิระประภาก็ติดต่อกับทางล้านช้างหลวงพระบาง ซึ่งมีพระเจ้าโพธิสาราชอันเป็นพระลูกเขยของพระนางจิระประภาเองให้มาช่วยเสริมกำลัง เผื่อว่าอยุธยาจะย้อนทัพกลับมาอีก จริงดั่งคาด....อยุธยาย้อนกลับมาอีกครา คราวนี้สู้รบกันอย่างแข็งขัน สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้รับบาดเจ็บ จึงยกทัพกลับอยุธยา...ซึ่งต่อมาพระองค์ก็เสด็จสวรรค์คต นัยว่าโดนลอบวางยาพิษจากแม่หยัวเมืองศรีสุดาจันทร์(ตามหนังเรื่องสุริโยทัย)
หลังจากเสร็จศึกกับอยุธยาแล้ว พระนางจิระประภาก็สละราชย์โดยทรงโปรดให้พระเจ้าหลานเธอคือ "พระไชยเชษฐาธิราช" จากหลวงพระบางมาสืบราชย์ต่อจากพระนาง พระนางครองราชย์ได้เพียงปีกว่า ส่วนพระไชยเชษฐาธิราชก็ครองราชย์ได้ไม่นานคือปีกว่าๆ เช่นกันก็ต้องเสด็จกลับหลวงพระบางด้วยว่าพระราชบิดาเสด็จสวรรคตอย่างกระทันหัน(ตำราฝั่งลาวบอกว่าช้างล้มทับพระองค์) ช่วงที่เสด็จกลับนี้พระองค์ก็ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย ส่วนพระนางจิระประภาก็เสด็จตามด้วย แล้วพระนางก็สิ้นพระชนม์ที่เมืองหลวงพระบางนั่นเอง