ครับ/ค่ะ เริ่มใช้กันตั้งแต่ยุคไหนหรอครับ

อยู่ก็สงสัยขึ้นมาครับว่าการใช้คำแบบนี้มาที่มาที่ไปอย่างไร

เช่น (เดา)
ครับ - มาจาก ขอรับใต้เท้า (คุยกับขุนนาง)
ค่ะ - พยาค่ะฝ่าบาท (คุยกับราชวงค์๗

แต่ปัจจุบันเป็นคำใช้แบ่งแย่ง ชาย/หญิง เป็น ครับ/คะ ค่ะ
อย่างที่เราเห็นจ้องจับผิดกันในหลายๆกระทู้

แล้วมีประเทศอื่นที่ใช้คำเพื่อแบ่งแยกเพศเหมือนเราไหมครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ครับ กร่อนมาจาก ขอรับ มาจากคำตอบรับหรือกราบบังคมทูลในสมัยโบราณคือ "ขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม" ก็คือขอรับคำสั่งเจ้านายหรือพระราชโองการใส่เกล้าใส่กระหม่อม (ใส่หัว) ของตนเองเพื่อนำไปถ่ายทอดอีกต่อหนึ่ง  

ค่ะ เข้าใจว่ากร่อนมาจากคำลงท้ายในสมัยโบราณคือ เจ้าข้า พระเจ้าข้า พะยะค่ะ (เข้าใจว่ากร่อนมาจาก พญาข้า) เพคะ  ซึ่งนอกจากเพคะแล้วในสมัยโบราณไม่ได้แบ่งเพศชัดเจน   แล้วก็มีคำลงท้ายว่า คะ/ขา มาตั้งแต่โบราณ ใช้ทั้งชายหญิง เช่น รัชกาลที่ ๓ ทรงเรียกสมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร พระอนุชาว่า "พ่อมั่งขา" ทรงเรียกเจ้าพระยาบดินทรเดชาว่า "พี่บดินทรขา" แต่ภายหลังเปลี่ยนมาใช้เฉพาะผู้หญิง

เจ้าข้า/เจ้าค่ะ เลิกใช้ไปในสมัยจอมพล ป. โดยสนับสนุนให้ใช่ จ้ะ เพื่อให้ฟังดูเท่าเทียมไม่มีชนชั้นมากขึ้น เข้าใจว่า ค่ะ ก็คงจะมานิยมตั้งแต่ยุคนั้นเหมือนกันครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่