.
.
.
ปลาที่มีรูแถวปาก
หลังจากถูกปลดออกจากเบ็ดแล้ว
ถูกปล่อยลงในน้ำอีกครั้ง
แต่เดิมนักวิจัยมักจะเชื่อว่า
ไม่มีผลกับการกินอาหารของปลาต่อไป
แต่งานวิจัยล่าสุดใน
Journal of Experimental Biology พบว่า
ปลาจะดูดกลืนอาหารที่ล่าเหยื่อได้น้อยลง
หลังจากมีรูที่ปากจากเบ็ดตกปลาที่ปลดออกแล้ว
ทีมวิจัยที่นำโดย
Tim Higham
ที่
UC-Riverside
ได้ทำการศึกษาเฉพาะปลาทั่วไป
ในกลุ่มปลาล่าเหยื่อและมีปากกว้าง
เช่น พวกปลา
Bass Bluegill และ
Perches
ที่รู้จักกันดีว่าเป็นประเภทฮุบเหยื่อ/ดูดเหยื่อ
ปลาประเภทนี้มักจะว่ายเข้าไปใกล้เหยื่อ
มักจะไม่ใช้การกินหรืองับเหยื่อให้ฉีกขาด
แต่ใช้วิธีการอ้าปากให้กว้างขึ้น
แล้วใช้แรงดันดูดน้ำและเหยื่อเข้าในปาก
อาการดังกล่าวเหมือนกับคนเราดูดน้ำ
ซึ่งสังเกตได้จากการดูดน้ำจากหลอดดูดกาแฟ
นั่นคือการปิดปากให้แน่นด้วยริมฝีปาก
แล้วดูดน้ำจากหลอดดูดกาแฟให้เข้าในปาก
ลองจินตนาการดู
ถ้ามีรูเล็ก ๆ บนหลอดกาแฟ
หรือน่ากลัวกว่านั้นคือ มีรูที่แก้ม
การดูดน้ำจะทำได้น้อยลงกว่าเดิม
นักวิจัยจึงสนใจจะศึกษาเรื่องนี้ว่า
จะเกิดอะไรขึ้นกับปลาที่มีรูที่ปาก
หลังจากการปลดเบ็ดตกปลาที่ปากออกมาแล้ว
นักวิจัยได้จับปลากลุ่มควบคมุกับกลุ่มตัวอย่าง
จาก
Vancouver Island ใน
Canada
ครึ่งแรกจากการตกปลา
ในแบบทั่วไปของชาวประมง
ครึ่งหลังจากการจับด้วยแหอวน
(ไม่มีรูบนปากของปลา)
จากนั้นนำปลาทั้งสองประเภทมาทำการศึกษา
ในตู้กระจกที่
Bamfield Marine Science Center
ผลจากการศึกษาผ่านภาพวิดีโอความเร็วสูง
ที่อัตราภาพ 500 เฟรมต่อวินาที
หลังจากที่ป้อนอาหารให้กับปลาทั้งสองกลุ่ม
ภาพจากวิดีโอได้แสดงถึงความกว้าง
และความเร็วในการอ้าปากของปลา
ความใกล้ในระยะใดในการฮุบเหยื่อปลา กับ
ความรวดเร็วที่ปลาดูดเหยื่อเข้าไปในปาก
นักวิจัยพบว่าปลาทั้งสองประเภท
ต่างมีพฤติกรรมไม่ต่างกัน
พวกมันต่างอ้าปากที่มีความกว้าง ความเร็ว
การเข้าไปใกล้เหยื่อในระยะทึ่ไม่แตกต่างกัน
แต่ปลาที่มีรูบนปาก
ที่ผ่านการปลดเบ็ดออกมาแล้วปล่อยลงในน้ำ
อัตราการฮุบเหยื่อจะช้าลงถึง
34%
เมื่อเทียบกับปลาอีกกลุ่มหนึ่ง
“ เราค่อนข้างแปลกใจ
กับความแตกต่างในเรื่องเช่นนี้
ยิ่งมีรูบนปากกว้างมากเท่าไร
ยิ่งเห็นความแตกต่างชัดเจนมากขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับปลา
ที่ไม่มีรูบนปากที่มีขนาดเดียวกัน "
Tim Higham ให้ความเห็นเรื่องนี้
ทีมนักวิจัยได้ใช้แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์
ทดลองประมวลผลอัตราความเร็ว
ในการฮุบเหยื่อของปลาตามตัวอย่างทดลอง
โดยใช้ตัวแปรต่าง ๆ เช่น
ขนาดความกว้างของปากปลา
ขนาดของรูเบ็ดตกปลาที่บนปากปลา
ปลาที่มีรูเบ็ดตกปลาบนปากจะฮุบเหยื่อได้ช้าลง
อย่างน้อยราวครึ่งหนึ่งของการสังเกตแบบปกติปลาจะกินอาหารได้ช้าลงมากกว่าที่คาดคิด
ทั้งนี้ยังมีบางสิ่งบางอย่าง
ที่ยังต้องค้นหาคำตอบในเรื่องนี้
รื่องสำคัญที่จะต้องทำการวิจัยต่อไปคือ
1. หาวิธีการปลดเบ็ดตกปลาได้อย่างรวดเร็ว
โดยไม่สร้างบาดแผลที่เป็นรูใหญ่บนปากปลา
2. ขนาดของเบ็ดตกปลาที่จะมีบนปากปลา
3. อัตราการกินเหยื่อที่ช้าลง
จะมีผลต่อสุขภาพปลาอย่างไร
แม้ว่ายังไม่จำเป็นถึงขนาด
ต้องเปลี่ยนวิธีการตกปลา
แต่อย่างน้อยการปล่อยปลาบางส่วนลงในน้ำ
มีส่วนในการเพิ่มจำนวนประชากรของปลา
มากกว่าการตกปลาทุกขนาดขึ้นมากิน/ไม่กิน
ในระยะยาวถ้าทำได้
ด้วยการลดขนาดเบ็ดตกปลา
หรือการเปลี่ยนแปลงประเภทเบ็ดตกปลา
เพราะจากผลการอ่านค่า
การประมวลผลของคอมพิวเตอร์
ยิ่งขนาดรูบนปากปลายิ่งใหญ่
ยิ่งมีผลมากกับการกินอาหารของปลา
ทางเลือกอีกอย่างก็คือ
การคิดใหม่ทำใหม่
เกี่ยวกับการตกปลาประเภทหายาก
และหาวิธีการที่ดีกว่าในการปล่อยปลา
ให้อยู่รอดได้ในระยะยาว
แต่ทั้งนี้ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปเรื่องนี้
แต่สิ่งที่นักวิจัยรู้ในตอนนี้ก็คือ
ร่องรอยเบ็ดตกปลาที่สร้างรูบนปากปลา
ส่งผลต่อความเร็วในการฮุบเหยื่อของปลา
"
สิ่งที่เราวิจัยอยู่นี้ คือ เรื่องที่คนทั่วไปทำ
ในการจับปลาด้วยการตกปลาด้วยเบ็ด
หรือลากแหอวนเพีอจับปลา
มันเป็นคำถามที่ค่อนข้างง่าย
ไม่มีอะไรที่ซับซ้อนเกี่ยวกับเรื่องนี้
และยังไม่มีใครเคยคิดเรื่องนี้มาก่อน
หรือมองไปในลักษณะเช่นนี้ "
Tim Higham กล่าวสรุปเรื่องนี้
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2NLEA6y
.
การฮุบเหยื่อของปลาที่ผ่านการปลดเบ็ดตกปลาแล้วปล่อยลงน้ำ
.
ปลาที่มีรูแถวปาก
หลังจากถูกปลดออกจากเบ็ดแล้ว
ถูกปล่อยลงในน้ำอีกครั้ง
แต่เดิมนักวิจัยมักจะเชื่อว่า
ไม่มีผลกับการกินอาหารของปลาต่อไป
แต่งานวิจัยล่าสุดใน
Journal of Experimental Biology พบว่า
ปลาจะดูดกลืนอาหารที่ล่าเหยื่อได้น้อยลง
หลังจากมีรูที่ปากจากเบ็ดตกปลาที่ปลดออกแล้ว
ทีมวิจัยที่นำโดย Tim Higham
ที่ UC-Riverside
ได้ทำการศึกษาเฉพาะปลาทั่วไป
ในกลุ่มปลาล่าเหยื่อและมีปากกว้าง
เช่น พวกปลา Bass Bluegill และ Perches
ที่รู้จักกันดีว่าเป็นประเภทฮุบเหยื่อ/ดูดเหยื่อ
ปลาประเภทนี้มักจะว่ายเข้าไปใกล้เหยื่อ
มักจะไม่ใช้การกินหรืองับเหยื่อให้ฉีกขาด
แต่ใช้วิธีการอ้าปากให้กว้างขึ้น
แล้วใช้แรงดันดูดน้ำและเหยื่อเข้าในปาก
อาการดังกล่าวเหมือนกับคนเราดูดน้ำ
ซึ่งสังเกตได้จากการดูดน้ำจากหลอดดูดกาแฟ
นั่นคือการปิดปากให้แน่นด้วยริมฝีปาก
แล้วดูดน้ำจากหลอดดูดกาแฟให้เข้าในปาก
ลองจินตนาการดู
ถ้ามีรูเล็ก ๆ บนหลอดกาแฟ
หรือน่ากลัวกว่านั้นคือ มีรูที่แก้ม
การดูดน้ำจะทำได้น้อยลงกว่าเดิม
นักวิจัยจึงสนใจจะศึกษาเรื่องนี้ว่า
จะเกิดอะไรขึ้นกับปลาที่มีรูที่ปาก
หลังจากการปลดเบ็ดตกปลาที่ปากออกมาแล้ว
นักวิจัยได้จับปลากลุ่มควบคมุกับกลุ่มตัวอย่าง
จาก Vancouver Island ใน Canada
ครึ่งแรกจากการตกปลา
ในแบบทั่วไปของชาวประมง
ครึ่งหลังจากการจับด้วยแหอวน
(ไม่มีรูบนปากของปลา)
จากนั้นนำปลาทั้งสองประเภทมาทำการศึกษา
ในตู้กระจกที่ Bamfield Marine Science Center
ผลจากการศึกษาผ่านภาพวิดีโอความเร็วสูง
ที่อัตราภาพ 500 เฟรมต่อวินาที
หลังจากที่ป้อนอาหารให้กับปลาทั้งสองกลุ่ม
ภาพจากวิดีโอได้แสดงถึงความกว้าง
และความเร็วในการอ้าปากของปลา
ความใกล้ในระยะใดในการฮุบเหยื่อปลา กับ
ความรวดเร็วที่ปลาดูดเหยื่อเข้าไปในปาก
นักวิจัยพบว่าปลาทั้งสองประเภท
ต่างมีพฤติกรรมไม่ต่างกัน
พวกมันต่างอ้าปากที่มีความกว้าง ความเร็ว
การเข้าไปใกล้เหยื่อในระยะทึ่ไม่แตกต่างกัน
แต่ปลาที่มีรูบนปาก
ที่ผ่านการปลดเบ็ดออกมาแล้วปล่อยลงในน้ำ
อัตราการฮุบเหยื่อจะช้าลงถึง 34%
เมื่อเทียบกับปลาอีกกลุ่มหนึ่ง
“ เราค่อนข้างแปลกใจ
กับความแตกต่างในเรื่องเช่นนี้
ยิ่งมีรูบนปากกว้างมากเท่าไร
ยิ่งเห็นความแตกต่างชัดเจนมากขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับปลา
ที่ไม่มีรูบนปากที่มีขนาดเดียวกัน "
Tim Higham ให้ความเห็นเรื่องนี้
ทีมนักวิจัยได้ใช้แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์
ทดลองประมวลผลอัตราความเร็ว
ในการฮุบเหยื่อของปลาตามตัวอย่างทดลอง
โดยใช้ตัวแปรต่าง ๆ เช่น
ขนาดความกว้างของปากปลา
ขนาดของรูเบ็ดตกปลาที่บนปากปลา
ปลาที่มีรูเบ็ดตกปลาบนปากจะฮุบเหยื่อได้ช้าลง
อย่างน้อยราวครึ่งหนึ่งของการสังเกตแบบปกติปลาจะกินอาหารได้ช้าลงมากกว่าที่คาดคิด
ทั้งนี้ยังมีบางสิ่งบางอย่าง
ที่ยังต้องค้นหาคำตอบในเรื่องนี้
รื่องสำคัญที่จะต้องทำการวิจัยต่อไปคือ
1. หาวิธีการปลดเบ็ดตกปลาได้อย่างรวดเร็ว
โดยไม่สร้างบาดแผลที่เป็นรูใหญ่บนปากปลา
2. ขนาดของเบ็ดตกปลาที่จะมีบนปากปลา
3. อัตราการกินเหยื่อที่ช้าลง
จะมีผลต่อสุขภาพปลาอย่างไร
แม้ว่ายังไม่จำเป็นถึงขนาด
ต้องเปลี่ยนวิธีการตกปลา
แต่อย่างน้อยการปล่อยปลาบางส่วนลงในน้ำ
มีส่วนในการเพิ่มจำนวนประชากรของปลา
มากกว่าการตกปลาทุกขนาดขึ้นมากิน/ไม่กิน
ในระยะยาวถ้าทำได้
ด้วยการลดขนาดเบ็ดตกปลา
หรือการเปลี่ยนแปลงประเภทเบ็ดตกปลา
เพราะจากผลการอ่านค่า
การประมวลผลของคอมพิวเตอร์
ยิ่งขนาดรูบนปากปลายิ่งใหญ่
ยิ่งมีผลมากกับการกินอาหารของปลา
ทางเลือกอีกอย่างก็คือ
การคิดใหม่ทำใหม่
เกี่ยวกับการตกปลาประเภทหายาก
และหาวิธีการที่ดีกว่าในการปล่อยปลา
ให้อยู่รอดได้ในระยะยาว
แต่ทั้งนี้ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปเรื่องนี้
แต่สิ่งที่นักวิจัยรู้ในตอนนี้ก็คือ
ร่องรอยเบ็ดตกปลาที่สร้างรูบนปากปลา
ส่งผลต่อความเร็วในการฮุบเหยื่อของปลา
" สิ่งที่เราวิจัยอยู่นี้ คือ เรื่องที่คนทั่วไปทำ
ในการจับปลาด้วยการตกปลาด้วยเบ็ด
หรือลากแหอวนเพีอจับปลา
มันเป็นคำถามที่ค่อนข้างง่าย
ไม่มีอะไรที่ซับซ้อนเกี่ยวกับเรื่องนี้
และยังไม่มีใครเคยคิดเรื่องนี้มาก่อน
หรือมองไปในลักษณะเช่นนี้ "
Tim Higham กล่าวสรุปเรื่องนี้
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2NLEA6y
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.