แม้ว่าพระพุทธเจ้ามีปัญญามาก แต่ทำไมต้องบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรมานตนเอง
ทั้งๆ พระพุทธเจ้ามีปัญญามาก แล้วทำไมต้องบำเพ็ญทุกรกิริยา คือการทรมานร่างกายด้วย ในหนังสือพุทธประวัติ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ว่า
พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรมานพระกายให้ลำบากเป็นกิจยากที่จะกระทำได้.
วาระแรก ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุ (เพดานปาก) ด้วยพระชิวหาไว้ให้แน่น จนพระเสโท (เหงื่อ) ไหลออกจากพระกัจฉะ (รักแร้) ในเวลานั้น ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังจับบุรุษมีกำลังน้อยไว้ที่ศีรษะหรือที่คอบีบให้แน่นฉะนั้น, แม้พระกายกระวนกระวายไม่สงบระงับอย่างนี้ ทุกขเวทนานั้นก็ไม่อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่วน, พระองค์มีพระสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียรไม่ท้อถอย. ครั้นทรงเห็นว่าการทำอย่างนั้นไม่ใช่ทาง ตรัสรู้ จึงทรงเปลี่ยนอย่างอื่น.
วาระที่ ๒ ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ, เมื่อลมไม่ได้เดินสะดวกโดยช่องพระนาสิกและช่องพระโอษฐ์ ก็เกิดเสียงดังอู้ทางช่องพระกรรณทั้งสอง ให้ปวดพระเศียร เสียดพระอุทร ร้อนในพระกาย เป็นกำลัง, แม้ได้เสวยทุกขเวทนากล้าถึงเพียงนี้ ทุกขเวทนานั้นไม่ อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่าย มีพระสติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน. ครั้นทรงเห็นว่าการทำอย่างนี้ไม่ใช่ทาง ตรัสรู้ จึงเปลี่ยนอย่างอื่นอีก.
วาระที่ ๓ ทรงอดพระอาหาร ผ่อนเสวยแต่วันละน้อย ๆ บ้างเสวยพระอาหารละเอียดบ้าง, จนพระกายเกี่ยวแห้ง พระฉวีเศร้า หมอง พระอัฐิปรากฏทั่วพระกาย, เมื่อทรงลูบพระกาย เส้นพระโลมามีรากอันเน่าหลุดร่วงจากขุมพระโลมา, พระกำลังน้อยถอยลง จะเสด็จไปข้างไหนก็ซวนล้ม, จนชนทั้งหลายได้เห็นแล้วกล่าวทักว่า พระสมณโคดม ดำไป, บางพวกกล่าวว่า ไม่ดำ เป็นแต่คล้ำไป, บางพวกกล่าวว่า ไม่เป็นอย่างนั้น เป็นแต่พร้อยไป.
ภายหลังทรงสันนิษฐานว่า การทำทุกรกิริยาไม่ใช่ทรงตรัสรู้แน่แล้ว ได้ทรงเลิกเสียด้วยประการทั้งปวง กลับเสวยพระอาหาร โดยปกติ ไม่ทรงอดต่อไปอีก.
สิ่งที่พระมหาบุรุษทรมานตนเอง เราต้องเข้าใจว่าแสดงกรรม เพื่อเจริญธรรม ทำให้บุคคลอื่นได้เห็นได้รู้ ทำไมถึงต้องเป็นเช่นนี้ เพราะโดยกฎแห่งธรรมเป็นเช่นนี้ แล้ววิธีการสุดแล้วแต่พระมหาบุรุษจะไปพิจารณา
ทำไมต้องพูดว่าแล้วแต่มหาบุรุษจะเลือก เพราะว่า บางครั้งวิธีการมี ๔-๕ อย่าง ก็แล้วแต่พระมหาบุรุษจะไปเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง กฎอันนี้เป็นกฎของธรรมอยู่แล้ว แสดงกรรมเพื่อเจริญธรรม
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
แม้ว่าพระพุทธเจ้ามีปัญญามาก แต่ทำไมต้องบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรมานตนเอง
ทั้งๆ พระพุทธเจ้ามีปัญญามาก แล้วทำไมต้องบำเพ็ญทุกรกิริยา คือการทรมานร่างกายด้วย ในหนังสือพุทธประวัติ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ว่า
พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรมานพระกายให้ลำบากเป็นกิจยากที่จะกระทำได้.
วาระแรก ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุ (เพดานปาก) ด้วยพระชิวหาไว้ให้แน่น จนพระเสโท (เหงื่อ) ไหลออกจากพระกัจฉะ (รักแร้) ในเวลานั้น ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังจับบุรุษมีกำลังน้อยไว้ที่ศีรษะหรือที่คอบีบให้แน่นฉะนั้น, แม้พระกายกระวนกระวายไม่สงบระงับอย่างนี้ ทุกขเวทนานั้นก็ไม่อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่วน, พระองค์มีพระสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียรไม่ท้อถอย. ครั้นทรงเห็นว่าการทำอย่างนั้นไม่ใช่ทาง ตรัสรู้ จึงทรงเปลี่ยนอย่างอื่น.
วาระที่ ๒ ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ, เมื่อลมไม่ได้เดินสะดวกโดยช่องพระนาสิกและช่องพระโอษฐ์ ก็เกิดเสียงดังอู้ทางช่องพระกรรณทั้งสอง ให้ปวดพระเศียร เสียดพระอุทร ร้อนในพระกาย เป็นกำลัง, แม้ได้เสวยทุกขเวทนากล้าถึงเพียงนี้ ทุกขเวทนานั้นไม่ อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่าย มีพระสติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน. ครั้นทรงเห็นว่าการทำอย่างนี้ไม่ใช่ทาง ตรัสรู้ จึงเปลี่ยนอย่างอื่นอีก.
วาระที่ ๓ ทรงอดพระอาหาร ผ่อนเสวยแต่วันละน้อย ๆ บ้างเสวยพระอาหารละเอียดบ้าง, จนพระกายเกี่ยวแห้ง พระฉวีเศร้า หมอง พระอัฐิปรากฏทั่วพระกาย, เมื่อทรงลูบพระกาย เส้นพระโลมามีรากอันเน่าหลุดร่วงจากขุมพระโลมา, พระกำลังน้อยถอยลง จะเสด็จไปข้างไหนก็ซวนล้ม, จนชนทั้งหลายได้เห็นแล้วกล่าวทักว่า พระสมณโคดม ดำไป, บางพวกกล่าวว่า ไม่ดำ เป็นแต่คล้ำไป, บางพวกกล่าวว่า ไม่เป็นอย่างนั้น เป็นแต่พร้อยไป.
ภายหลังทรงสันนิษฐานว่า การทำทุกรกิริยาไม่ใช่ทรงตรัสรู้แน่แล้ว ได้ทรงเลิกเสียด้วยประการทั้งปวง กลับเสวยพระอาหาร โดยปกติ ไม่ทรงอดต่อไปอีก.
สิ่งที่พระมหาบุรุษทรมานตนเอง เราต้องเข้าใจว่าแสดงกรรม เพื่อเจริญธรรม ทำให้บุคคลอื่นได้เห็นได้รู้ ทำไมถึงต้องเป็นเช่นนี้ เพราะโดยกฎแห่งธรรมเป็นเช่นนี้ แล้ววิธีการสุดแล้วแต่พระมหาบุรุษจะไปพิจารณา
ทำไมต้องพูดว่าแล้วแต่มหาบุรุษจะเลือก เพราะว่า บางครั้งวิธีการมี ๔-๕ อย่าง ก็แล้วแต่พระมหาบุรุษจะไปเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง กฎอันนี้เป็นกฎของธรรมอยู่แล้ว แสดงกรรมเพื่อเจริญธรรม
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์