🎯~มาลาริน~กองหนุนหายกังวลใจ...จะเคลื่อนงาน ‘ปฏิรูป’ อย่างไร ในวันที่รัฐมนตรีไม่อยู่

กระทู้คำถาม



จะเคลื่อนงาน ‘ปฏิรูป’ อย่างไร ในวันที่รัฐมนตรีไม่อยู่





บรรยากาศการเมืองกลับมาคึกคักครึกครื้นอีกครั้ง หลังจาก คสช. คลายล็อกทางการเมือง ให้พรรคการเมือง นักการเมือง ขยับแข้งขยับขาทำกิจกรรมเซตระบบในพรรคตัวเอง รอรับศึกเลือกตั้งที่หัวหน้า คสช. “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ประกาศว่าจะมีเลือกตั้ง 24 ก.พ. 62 ชัวร์!




ภายใต้ความคึกคักกับการเปิดโฉมหน้าของพรรคพลังประชารัฐ พรรคการเมืองน้องใหม่ มี 4 รัฐมนตรีกระโดดลงสนามเป็นนักการเมืองใหม่ถอดด้าม ทั้ง อุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี




แต่โฟกัสในรายของ ดร.กอบศักดิ์ ที่ผมมีโอกาสได้คุยกับกูรูการเมืองหลายคน เป็นห่วงในเรื่องภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลงานด้านการปฏิรูปประเทศ และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กลัวว่ารมต.มาเล่นการเมืองแล้วงานที่ทำจะสะดุดไม่บรรลุดังที่ตั้งใจไว้

จึงไปค้นหาคำตอบว่าถ้าถึงวันที่ ดร.กอบศักดิ์ ต้องทิ้งเก้าอี้รมต.ประจำสำนักนายกฯ ทิ้งงานปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติ ไปลงสนามเลือกตั้งเต็มตัว ในช่วงต้องลงพื้นที่หาเสียง ใครจะรับไม้หรือมีกลไกมาสานต่อหรือไม่

ก็ไปพบกับระบบที่ถูกออกแบบไว้แล้วที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ภายใต้ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาฯสศช.ยุคนี้ ที่วางระบบติดตามตรวจสอบไว้อย่างน้อย 3 ด่าน

ด่านแรก ถูกล็อกโดยรัฐธรรมนูญ ทุกหน่วยงานต้องรายงานความคืบหน้าในการปฏิรูปประเทศให้สศช.รับทราบ เพื่อจัดทํารายงานผลการดําเนินการ ตามมาตรา 280 ของรัฐธรรมนูญ และมาตรา 33 ของพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดําเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ที่กำหนดให้จัดทํารายงานให้คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และรายงานต่อรัฐสภาเพื่อทราบทุก 3 เดือน ถ้าไม่รายงานมีเรื่องแน่


สิ่งที่รัฐธรรมนูญระบุให้รายงานมี 3 เรื่อง 1. ผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ 2. ประเด็นปัญหา อุปสรรค ที่ทำให้ไม่สามารถ ดําเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศได้ และ 3. ข้อเสนอแนะในการดำเนินการต่อไป

ด่านที่ 2 สศช.กำลังจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ พิจารณา ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ซึ่งทุกหน่วยงานต้องเดินตามร่างยุทธศาสตร์ไปในทิศทางเดียวกัน

ด่านที่ 3 จะมีระบบที่ชื่อว่า “eMENSCR” หรือ ระบบรายงานการติดตามและประเมินผลของยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูป ที่สศช.จับมือกับ “ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ” หรือ NECTEC วางระบบนี้ให้มีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพรองรับการทำงาน

ระบบนี้จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้หน่วยงานของรัฐ สามารถเห็นภาพรวมการดําเนินโครงการ แผนงานภายในหน่วยงานและใช้ประโยชน์จากข้อมูลในระบบฯ ในการเป็นแนวทางการกำหนดนโยบายให้มีทิศทางที่สอดคล้องกันยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ

เรียกได้ว่า หากหน่วยงานไหนไม่มีอะไรคืบหน้าหรือทำงานช้าไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เจ้าระบบนี้ก็จะโชว์ประจานให้หน่วยงานอื่น รัฐมนตรีที่กำกับดูแล และนายกรัฐมนตรีเห็นจากระบบได้ทันที

ฉะนั้นบรรดากูรูเบาใจได้ แม้ว่าแม่ทัพน้อยในการขับเคลื่อนการปฏิรูปอย่าง ดร.กอบศักดิ์ ไม่อยู่ในตำแหน่งรมต.แล้ว แต่ยังมีระบบ กลไกอย่างน้อยๆ 3 ด่าน ถูกออกแบบไว้พร้อมแล้ว


http://www.thansettakij.com/content/332085

หายกังวลได้เลยค่ะ....เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่