นักกีฬาสาววอลเลย์บอลไทย ทานโปรตีนวันละกี่กรัม ปัญหาที่ต้องพิจารณา เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำๆ
การทานโปรตีน มีความจำเป็นสำหรับนักกีฬาอย่างมากในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอ
ธรรมชาติของกล้ามเนื้อ มีการสลายตัวอยู่ตลอดเวลา จากการที่เราต้องเคลื่อนไหวร่างกาย ทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน
โดยเฉพาะนักกีฬาวอลเลย์บอลที่ต้องใช้กล้ามเนื้อช่วงล่างหนักกว่าคนทั่วไป ในระดับเซลล์มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ
ยิ่งซ้อมหนัก โปรแกรมการแข่งขันที่ต่อเนื่องที่โหดๆ
กล้ามเนื้อทำหน้าที่ช่วยพยุงกระดูกรับน้ำหนักของร่างกาย รับแรงกระแทก ช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกาย
เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
ต้องกระโดดเป็นเวลาต่อเนื่อง การทานโปรตีนที่เหมาะสมเพียงพอ จะช่วยให้กล้ามเนื้อมีการซ่อมแซมสึกหรออยู่ทุกวัน
กล้ามเนื้อที่แข็งแรง จะป้องกันปัญหาอุบัติเหตุจากหนักก็กลายเป็นเบา ไม่ให้ลุกลามส่งผลถึงเส้นเอ็นและกระดูกที่อยู่ข้างใน
ปัญหาที่นักกีฬาบาดเจ็บบ่อยๆ ควรพิจารณาเรื่องการทานโปรตีนให้เพียงพอต่อกิจกรรรมที่ใช้งานของกล้ามเนื้อ
มีข้อแนะนำสำหรับคนทั่วไป ต้องการโปรตีนอย่างน้อย 0.75-1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก./วัน ถ้าเป็นนักกีฬาต้องรับประทาน
โปรตีนอย่างน้อย 1.5-2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก./วัน ซึ่งโปรตีนที่เป็นกรัมของน้ำหนักอาหารกับสารอาหารนั้นไม่เหมือนกัน
เช่น อกไก่น้ำหนัก 100 กรัมให้โปรตีนที่เป็นสารอาหารประมาณ 23 กรัม
ตัวอย่าง - นักกีฬามีน้ำหนักตัว 60 กก. ต้องทานโปรตีนให้เพียงพอแต่ความต้องการของร่างกาย 1.5 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./วัน
- เพราะฉะนั้นกรัมที่เป็นสารอาหารที่นักกีฬาต้องทาน คือ 60*1.5 = 90 กรัม
- สมมุติ นักกีฬาเลือกทานอกไก่สำหรับสารอาหารที่เป็นโปรตีน (อกไก่หนัก 100 กรัมให้สารอาหารโปรตีน 23 กรัม)
- สรุป นักกีฬาที่หนัก 60 กิโลกรัม ต้องทานอกไก่วันละ (100/23)*90 =391.3 กรัม หรือทานอกไก่วันละเกือบ 4 ขีด หรือทานอกไก่ชิ้นละฝ่ามือ 4 ชิ้นทุกวัน
ปัญหาการบาดเจ็บบ่อยๆ โค้ชน่าจะพิจารณาโปรแกรมการซ้อมให้เบาลง นักกีฬาเราซ้อมหนัก แต่ทานโปรตีนไม่ถึง + การแข่งขันที่ติดต่อกัน ไม่มีการพัก ควรพิจารณาปัจจัยนี้ด้วย
ขนาดคนปกติใช้ชีวิตประจำวัน เคลื่อนไหวร่างกายก็มีการฉีกขาดในระดับเซลล์อยู่ทุกวัน แต่ร่างกายมีระบบรักษาตัวเอง เมื่ออายุยังน้อยร่างกายยังมีโกรท ฮอร์โมนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
แต่เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อก็สลายตามกาลเวลา ยิ่งมีปัญาหาปวดข้อต่อ กระดูกต่างๆเพราะไม่มีกล้ามเนื้อช่วยพยุงน้ำหนักของร่างกาย รับแรงกระแทกต่างๆ
คนที่เล่นฟิตเนส ออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อยังต้องออกกล้ามเนื้อทีละส่วน ยังต้องมีวันพักกล้ามเนื้อแต่ละมัด ไม่เล่นซ้ำกันติดกันทุกวัน ต้องพักเป็นอาทิตย์
แต่นักกีฬาสาววอลเลย์บอลไทย ต้องซ้อมหนักทุกวัน ต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ต้องกระโดดยิ่งกว่าคนเข้าฟิตเนสอีก แข่งที่เป็นชั่วโมงๆ แข่งติดๆกัน
กล้ามเนื้อคนที่ไหนจะไม่บาดเจ็บ จนวันนึง ถ้ากล้ามเนื้อพูดได้คงบอกไม่ไหวแล้ว ฉันขอสไตร้ท์ ประท้วง หยุดการใช้งานละกัน ซุปเปอร์ฮีโร่ที่ไหนก็ต้องลงเอยที่บาดเจ็บกันเป็นแถบๆ เจ๊กอนตบจนไหล่ทรุด ใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก แค่โดดบล็อคแขนก็ปวดจนแข่งต่อไม่ไหว
ไม่ทราบว่า นักกีฬาสาววอลเลย์บอลไทยเรา ทานโปรตีนกันถึงไหม ซ้อมหนักๆต้องชวนกันไปกิน ไก่ย่าง ปิ้งย่าง ชาบูให้บ่อย (มื้อที่ทานเนื้อสัตว์ติดมัน ควรหลีกเหลี่ยงคาร์บ แป้ง น้ำตาลจากเครื่องดื่ม)อย่าทานแต่ข้าวเหนียว ส้มตำเป็นอาหารหลักโดยปราศจากสารอาหารที่เป็นโปรตีน
เวลาแข่งก็ต้องรู้จัก พกโปรตีนสำเร็จรูป คอลลาเจน ไปทานระหว่างแข่งทุกวันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ (แล้วแต่สะดวกยี่ห้อไหนก็ว่ากันไป เห็นลาร์สัน เจ๊หน่อง เจเจ๊ ทานโปรตีนไรสักอย่างหลังแข่งอยู่)
ทานอาหารที่โรงแรมที่จัดให้ก็ควรมองหาอาหารที่เป็น โปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วต่างๆ ไขมันดี เราเป็นคนไทย ต้องการทานข้าวสวยทานเป็นอาหารหลักที่ให้พลังงานในการแข่งก็จริง แต่เราซ้อมหนัก แข่งหนักก็ต้องการโปรตีนมาชดเชย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรออยู่ทุกวันเช่นกัน
ปล.1 น้องๆที่ต้องไปเล่นลีคต่างประเทศควรเตรียมโปรตีนสำเร็จรูปไปรับประทานทุกวัน ในชีวิตจริงเราคงไม่มีเวลามาต้มอกไก่กิน วันละ 4 ชิ้นหรือต้มไข่ทานวันละโหลสองโหล
งบโปรตีนตรงนี้ควรตั้งไว้เป็นค่าใช้จ่ายระหว่างการใช้ชีวิตในต่างประเทศ ไม่ควรประหยัด
ปล.2 โค้ชควรพิจารณาโปรแกรมการซ้อมที่หนักให้เบาลง เข็ญผู้เล่นให้ซ้อมหนักโดยที่ นกฬ ทานโปรตีนไม่ถึง แล้วบาดเจ็บก่อนลงสนามเท่ากับเป็นการเตะตัดขากำลังของตัวเอง โปรแกรมแข่งควรหมุนเวียนตัวผู้เล่นเป็น 2 ชุดเหมือนทีมญี่ปุ่น ควรสร้างระบบให้สำคัญกว่าตัวผู้เล่น ไม่ควรให้ใครต้องเป็นตัวเอสหลักกระโดดตบซ้ำๆ หรือแบกทีมมากเกินไป ลองยืนยาวแข่งติดๆกัน เดี๋ยวก็ต้องบาดเจ็บ
สาวทีมวอลเลย์บอลไทยทานโปรตีนวันละกี่กรัม ปัญหาบาดเจ็บซ้ำๆที่ต้องพิจารณา
การทานโปรตีน มีความจำเป็นสำหรับนักกีฬาอย่างมากในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอ
ธรรมชาติของกล้ามเนื้อ มีการสลายตัวอยู่ตลอดเวลา จากการที่เราต้องเคลื่อนไหวร่างกาย ทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน
โดยเฉพาะนักกีฬาวอลเลย์บอลที่ต้องใช้กล้ามเนื้อช่วงล่างหนักกว่าคนทั่วไป ในระดับเซลล์มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ
ยิ่งซ้อมหนัก โปรแกรมการแข่งขันที่ต่อเนื่องที่โหดๆ
กล้ามเนื้อทำหน้าที่ช่วยพยุงกระดูกรับน้ำหนักของร่างกาย รับแรงกระแทก ช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกาย
เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
ต้องกระโดดเป็นเวลาต่อเนื่อง การทานโปรตีนที่เหมาะสมเพียงพอ จะช่วยให้กล้ามเนื้อมีการซ่อมแซมสึกหรออยู่ทุกวัน
กล้ามเนื้อที่แข็งแรง จะป้องกันปัญหาอุบัติเหตุจากหนักก็กลายเป็นเบา ไม่ให้ลุกลามส่งผลถึงเส้นเอ็นและกระดูกที่อยู่ข้างใน
ปัญหาที่นักกีฬาบาดเจ็บบ่อยๆ ควรพิจารณาเรื่องการทานโปรตีนให้เพียงพอต่อกิจกรรรมที่ใช้งานของกล้ามเนื้อ
มีข้อแนะนำสำหรับคนทั่วไป ต้องการโปรตีนอย่างน้อย 0.75-1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก./วัน ถ้าเป็นนักกีฬาต้องรับประทาน
โปรตีนอย่างน้อย 1.5-2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก./วัน ซึ่งโปรตีนที่เป็นกรัมของน้ำหนักอาหารกับสารอาหารนั้นไม่เหมือนกัน
เช่น อกไก่น้ำหนัก 100 กรัมให้โปรตีนที่เป็นสารอาหารประมาณ 23 กรัม
ตัวอย่าง - นักกีฬามีน้ำหนักตัว 60 กก. ต้องทานโปรตีนให้เพียงพอแต่ความต้องการของร่างกาย 1.5 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./วัน
- เพราะฉะนั้นกรัมที่เป็นสารอาหารที่นักกีฬาต้องทาน คือ 60*1.5 = 90 กรัม
- สมมุติ นักกีฬาเลือกทานอกไก่สำหรับสารอาหารที่เป็นโปรตีน (อกไก่หนัก 100 กรัมให้สารอาหารโปรตีน 23 กรัม)
- สรุป นักกีฬาที่หนัก 60 กิโลกรัม ต้องทานอกไก่วันละ (100/23)*90 =391.3 กรัม หรือทานอกไก่วันละเกือบ 4 ขีด หรือทานอกไก่ชิ้นละฝ่ามือ 4 ชิ้นทุกวัน
ปัญหาการบาดเจ็บบ่อยๆ โค้ชน่าจะพิจารณาโปรแกรมการซ้อมให้เบาลง นักกีฬาเราซ้อมหนัก แต่ทานโปรตีนไม่ถึง + การแข่งขันที่ติดต่อกัน ไม่มีการพัก ควรพิจารณาปัจจัยนี้ด้วย
ขนาดคนปกติใช้ชีวิตประจำวัน เคลื่อนไหวร่างกายก็มีการฉีกขาดในระดับเซลล์อยู่ทุกวัน แต่ร่างกายมีระบบรักษาตัวเอง เมื่ออายุยังน้อยร่างกายยังมีโกรท ฮอร์โมนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
แต่เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อก็สลายตามกาลเวลา ยิ่งมีปัญาหาปวดข้อต่อ กระดูกต่างๆเพราะไม่มีกล้ามเนื้อช่วยพยุงน้ำหนักของร่างกาย รับแรงกระแทกต่างๆ
คนที่เล่นฟิตเนส ออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อยังต้องออกกล้ามเนื้อทีละส่วน ยังต้องมีวันพักกล้ามเนื้อแต่ละมัด ไม่เล่นซ้ำกันติดกันทุกวัน ต้องพักเป็นอาทิตย์
แต่นักกีฬาสาววอลเลย์บอลไทย ต้องซ้อมหนักทุกวัน ต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ต้องกระโดดยิ่งกว่าคนเข้าฟิตเนสอีก แข่งที่เป็นชั่วโมงๆ แข่งติดๆกัน
กล้ามเนื้อคนที่ไหนจะไม่บาดเจ็บ จนวันนึง ถ้ากล้ามเนื้อพูดได้คงบอกไม่ไหวแล้ว ฉันขอสไตร้ท์ ประท้วง หยุดการใช้งานละกัน ซุปเปอร์ฮีโร่ที่ไหนก็ต้องลงเอยที่บาดเจ็บกันเป็นแถบๆ เจ๊กอนตบจนไหล่ทรุด ใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก แค่โดดบล็อคแขนก็ปวดจนแข่งต่อไม่ไหว
ไม่ทราบว่า นักกีฬาสาววอลเลย์บอลไทยเรา ทานโปรตีนกันถึงไหม ซ้อมหนักๆต้องชวนกันไปกิน ไก่ย่าง ปิ้งย่าง ชาบูให้บ่อย (มื้อที่ทานเนื้อสัตว์ติดมัน ควรหลีกเหลี่ยงคาร์บ แป้ง น้ำตาลจากเครื่องดื่ม)อย่าทานแต่ข้าวเหนียว ส้มตำเป็นอาหารหลักโดยปราศจากสารอาหารที่เป็นโปรตีน
เวลาแข่งก็ต้องรู้จัก พกโปรตีนสำเร็จรูป คอลลาเจน ไปทานระหว่างแข่งทุกวันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ (แล้วแต่สะดวกยี่ห้อไหนก็ว่ากันไป เห็นลาร์สัน เจ๊หน่อง เจเจ๊ ทานโปรตีนไรสักอย่างหลังแข่งอยู่)
ทานอาหารที่โรงแรมที่จัดให้ก็ควรมองหาอาหารที่เป็น โปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วต่างๆ ไขมันดี เราเป็นคนไทย ต้องการทานข้าวสวยทานเป็นอาหารหลักที่ให้พลังงานในการแข่งก็จริง แต่เราซ้อมหนัก แข่งหนักก็ต้องการโปรตีนมาชดเชย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรออยู่ทุกวันเช่นกัน
ปล.1 น้องๆที่ต้องไปเล่นลีคต่างประเทศควรเตรียมโปรตีนสำเร็จรูปไปรับประทานทุกวัน ในชีวิตจริงเราคงไม่มีเวลามาต้มอกไก่กิน วันละ 4 ชิ้นหรือต้มไข่ทานวันละโหลสองโหล
งบโปรตีนตรงนี้ควรตั้งไว้เป็นค่าใช้จ่ายระหว่างการใช้ชีวิตในต่างประเทศ ไม่ควรประหยัด
ปล.2 โค้ชควรพิจารณาโปรแกรมการซ้อมที่หนักให้เบาลง เข็ญผู้เล่นให้ซ้อมหนักโดยที่ นกฬ ทานโปรตีนไม่ถึง แล้วบาดเจ็บก่อนลงสนามเท่ากับเป็นการเตะตัดขากำลังของตัวเอง โปรแกรมแข่งควรหมุนเวียนตัวผู้เล่นเป็น 2 ชุดเหมือนทีมญี่ปุ่น ควรสร้างระบบให้สำคัญกว่าตัวผู้เล่น ไม่ควรให้ใครต้องเป็นตัวเอสหลักกระโดดตบซ้ำๆ หรือแบกทีมมากเกินไป ลองยืนยาวแข่งติดๆกัน เดี๋ยวก็ต้องบาดเจ็บ