อธิบายแผ่นศิลาจารึกของพระพุทธเจ้า

อธิบายแผ่นศิลาจารึกของพระพุทธเจ้า

ศิลาจารึกแผ่นที่ ๑ โศลก พระพุทธเจ้า วิปัสสิน
        "กายตาม ไม่มีลักษณะในเวทนาเกิด
        ดุจดังมายา แสดงออกทุก ๆรูปภาพ
        มายาชนจิตและวิญญาณเดิมมา ไม่มี
        บาปและบุญทั้งปวงว่าง ไม่มีที่อยู่"
        毘婆尸佛偈
        身從無相中受生
        猶如幻出諸形象
        幻人心識本來無
        罪福皆空無所住

ศิลาจารึกแผ่นที่ ๒ โศลกพระพุทธเจ้า สิขิน
        "เริ่มทุก ๆกุศลธรรม เดิมเป็นมายา
        สร้างทุกๆ อกุศลกรรม ก็เป็นมายา
        กาย เหมือนฟองน้ำ จิต เหมือนลม
        มายาแสดงออกไม่มีราก ไม่มีสัจนิสัย"

        尸棄佛偈
        起諸善法本是幻
        造諸惡業亦是幻
        身如聚沫心如風
        幻出無根無實性

ศิลาจารึกแผ่นที่ ๓ โศลก พระพุทธเจ้า เวสสภู
        "อาศัย ๔ มหาภูตรูป ใช้ทำกาย
        จิตเดิมไม่มีเกิด เหตุสภาวะจึงมี
        ปัจจุบันสภาวะถ้าไม่มี จิตก็ไม่มี
        บาปและบุญเหมือนมายา เกิดก็ดับ"

        毘舍浮佛偈
        假藉四大以為身
        心本無生因境有
        前境若無心亦無
        罪福如幻起亦滅

ศิลาจารึกแผ่นที่ ๔ โศลกพระพุทธเจ้ากกุสันธ
        "เห็นกายไม่มีแท้ เป็นพุทธกาย
        รู้จิตเหมือนมายา เป็นพุทธมายา
        รู้ได้ว่ากายและจิตเดิมนิสัยว่าง
        บุคคลนี้กับพุทธะ อะไรแตกต่างกัน"
        拘留孫佛偈
        見身無實是佛身
        了心如幻是佛幻
        了得身心本性空
        斯人與佛何殊別


    บุคคลนี้กับพุทธะ อะไรแตกต่างกัน เป็นภาวะแห่งธรรม เช่นนั้นเอง)
    บุคคลกับพุทธะนี้ไม่อะไรที่แตกต่างกัน ทำไมบุคคลกับพุทธะนี้ถึงไม่มีความแตกต่างกัน เราก็ต้องลองมาแปลความหมายดูก็จะเข้าใจ
    พุทธะ ก็คือ รู้ดีรู้ชั่ว
    แล้วบุคคลนี้มีจิตไหม? บุคคลนี้ก็มีจิต แล้วบุคคลนี้ต่างกันตรงไหน
    ถ้าบุคคลเข้าสู่จิตว่างก็คือเข้าสู่ความเป็นพุทธะ ในบุคคลคนนี้มีจิตพุทธะ ก็เข้าสู่ความว่างเป็นจิตพุทธะ
    ถ้าจิตมีกิเลส ก็เป็นบุคคลที่มีกิเลสก็จบ

ศิลาจารึกแผ่นที่ ๕ โศลก พระพุทธเจ้า โกนาคมน
        "พุทธะไม่เห็นกาย รู้เป็นพุทธะ
        ถ้าหากว่ามีรู้ ต่างก็ไม่มีพุทธะ
        ปัญญาที่สามารถรู้บาปนิสัยว่าง
        ฉะนั้นไม่หวาดกลัวต่อเกิดตาย"

        拘那含牟尼佛偈
        佛不見身知是佛
        若是有知別無佛
        智者能知罪性空
        坦然不怖於生死
    โศลกนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้แต่ง เพราะอธิบายต่ำมาก คนเบื้องแต่งเองแล้วบอกว่าพระพุทธเจ้าองค์นี้องค์นั้นแต่ง

ศิลาจารึกแผ่นที่ ๖ โศลกพระพุทธเจ้ากัสสปะ
        "ทั้งปวงสรรพสัตว์ จิตบริสุทธิ์
        ตามเดิมไม่เกิด ไม่ได้ดับ
        คือกายและจิต เป็นมายาเกิด
        มายาเปลี่ยนแปลงในนั้น ไม่มีบาปบุญ"

        迦葉佛偈
        一切眾生心清淨
        從本無生無可滅
        即此身心是幻生
        幻化之中無罪福

ศิลาจารึกแผ่นที่ ๗ โศลกพระพุทธเจ้าโคดม
        "ธรรม เดิมธรรม ไม่มีธรรมะ
        ไม่มีธรรม ธรรม ก็ธรรมะ
        ปัจจุบันนี้ให้ ไม่มีธรรมกาลเวลา
        ธรรม ธรรม อย่างไหนธรรมะ?"

        釋迦牟尼佛偈
        法本法無法
        無法法亦法
        今付無法時
        法法何曾法

    จารึกไว้ที่เจดีย์ โคงกวง ณ ภูเขา ฮิ่งยื้อซัว เจดีย์องค์นี้เป็นที่บรรจุพระศพของท่าน "สังฆราชโพธิธรรมมหาครูบาหรือตั๊กม้อ" รอบองค์เจดีย์ได้จารึกโศลกปริศนาธรรมของพระพุทธเจ้าแห่งอดีตถึง ๗ พระองค์และคติพจน์ของบรมครูต่าง ๆอีกมากมาย

    จากหนังสือศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น เล่ม ๒ หน้า ๕๖ แปลและเรียบเรียงโดย "ธีรทาส"



    ความหมายของโศลกนี้ หมายความว่า โศลกนี้พูดถึงมายาธรรม สรรพสิ่งทั้งหลายปรุงแต่งขึ้นมา ตามมายาธรรม เป็นสิ่งสมมติ มนุษย์จึงได้นำเอามาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

    ฉะนั้น สรรพสิ่งที่เนื่องด้วยมายาธรรมย่อมไม่ใช่ของเที่ยงแท้ มันเป็นของแค่จริงที่เห็น

    จิตปภัสสร ไม่มีบาป ไม่มีบุญ เพราะว่าเราไปปรุงแต่งจิต เป็นมายาธรรม

    ทำไม ทางพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานจึงต้องเน้นที่จิตปภัสสร เพราะว่า จิตดั้งเดิมของเราไม่มีอะไร แต่เพราะว่าเราไปยึดติดมาหมด ถึงผิด เพราะว่าเราไปยึดติดว่ามีมา เราจึงไม่รู้ว่าเราเป็นผู้ไปติดเอง

    นี่แหละ เป็นจุดเด่นของเซน (禅) เซนนี้ถ้าตามตำรานิกายของมหายาน แต่ในธรรมแล้วไม่ใช่ เซนนี้พยายามจะจุดประเด็นให้เข้าถึงธรรมชาติ จะเน้นตรงนี้ อย่างนี้

    เซนจะบอกว่า "พบพระพุทธเจ้าเมื่อไหร่ก็ให้ฆ่าพระพุทธเจ้าเมื่อนั้น" ก็เพราะว่า ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นขึ้นมาก็ไม่ใช่พระพุทธเจ้าแล้ว

    ถ้าเราคุยกับคนเซนเราต้องระวัง อย่าได้พลาด เช่น คัมภีร์เขาบอกว่าต้องเผา เดี๋ยวเราไม่รู้ก็จะไปเผาจริงๆ นี่แหละพลาดแล้ว

    ท่านเปรียบเทียบว่า อย่าไปยึดมั่นถือมั่น ไม่ใช่ไปเผาจริงๆ

    บางคนก็บอกว่าพระพุทธรูปต้องทุบทิ้งหมด พอกลับบ้านไปก็ไปทุบพระพุทธรูปจริงๆ อย่างนี้ผิด เพราะว่าเซนท่านเปรียบว่า อย่าไปยึดมั่นถือมั่น แต่สิ่งนั้นต้องคงอยู่ในธรรมก็ต้องคงอยู่ในธรรมแล้ว ถ้าอย่างนั้นก็เท่ากับว่าเราเป็นผู้ทำลาย ไม่ใช่เซน นี่แหละ คนละเรื่อง

    ถ้าเราดูหลักธรรมของเซน แล้วเราไปปรึกษาเซน ต้องระวัง ต้องอยู่ใกล้กับครูบาอาจารย์ ถ้าไม่อย่างนั้น ก็จะเพี้ยนทุกราย คนที่เรียนเซนแล้วบ้าเยอะก็มี เช่น เจอพระพุทธเจ้าก็ให้ฆ่าพระพุทธเจ้า แล้วไปฆ่าสาวกของพระพุทธเจ้าก่อนดีกว่า เจอพระภิกษุก็ฆ่าแล้ว นี่แหละ ตายเรียบ

    นี่แหละคำพูดของเซนจะสุดโต่ง โต่งเพื่อที่จะเข้าสู่ธรรมชาติ เขาเรียกว่า เป็นวัชระ (雷) เป็นปัญญา คือสายฟ้าแลบ เข้าใจภายในหนึ่งเสี้ยววินาที เซนจะพาเข้าถึงนิพพานได้เร็วที่สุด เพราะว่าไม่มีอย่างอื่นที่จะนำพาเข้าถึงเร็วขนาดนี้ เพราะจะเน้นปัญญาเท่านั้น

    เซนมีอยู่ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าแล้ว เพราะพระพุทธเจ้าเป็นหัวหน้าเซน ทำไมคนรุ่นหลังถึงไม่ได้เรียนรู้เซน เพราะว่าอาจารย์ท่านกลัวว่าคนรุ่นหลังจะไม่เข้าใจเซนก็จะตัดทิ้ง เพราะกลัวว่า คนที่รับรู้ไปแล้วจะทำพลาด เซนนี้เหมาะกับดอกบัวเหล่าที่ ๔ กำลังจะบาน คือ มีสติปัญญาที่ดี ได้รับธรรมะอีกนิดก็จะบรรลุ

    แต่ทำไมที่เราอ่านประวัติของศิษย์โง่ไปเรียนเซน ก็เป็นดอกบัวเหล่าที่ ๑ แต่อาจารย์นำพาขึ้นมาเป็นดอกบัวเหล่าที่ ๔ เลย แม้ว่าเป็นคนโง่ก็สามารถนำพาขึ้นให้มาเป็นดอกบัวเหล่าที่สูงได้ เพียงแต่ว่ายอมให้จับมือนำพา พอยอมให้จับมือก็ลากขึ้นมาได้ ถ้าเราไม่ยอมให้จับมือต่อให้ฉลาดแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์

    ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นพลังที่มาปรุงแต่ง เป็นมายาแห่งธรรม พอมายาแห่งธรรมปรุงแต่งขึ้นมาคนจึงจับมาสมมติว่า มันคืออะไรๆ นั่นคือจริง แต่ไม่แท้ เพราะว่าจริงคือเห็น แต่ดำรงอยู่เป็นสิ่งนั้นไม่ได้ เพราะอยู่ในกฎแห่งอนิจจัง สิ่งที่แท้ก็คือต้องแปรเปลี่ยนไป

    พระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ก็อยู่ที่กล่าวมานี้

    เพียงแต่ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้นบรรยายแต่ละภูมิ แต่ละคนให้เข้าใจ เหมือนกับภาษา ถ้าเราเข้าใจ ไม่ว่าเราจะเป็นฝรั่ง แขก จีน ไทย พม่า ถ้าโดนตี ก็เจ็บเหมือนกัน แม้ว่าเราเป็นผี โดนตีก็เจ็บเหมือนกัน

    ไม่ว่าเราจะเป็นอะไรมาก็มีหลักเดียวเหมือนกัน คือ หลักธรรม

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่